คนที่เป็นดาวน์ซินโดรมสามารถมีบุตรได้

ตามทฤษฎีแล้ว หากมีพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งเป็นดาวน์ซินโดรม โอกาสที่ลูกจะเกิดมาเป็นดาวน์ซินโดรมจะอยู่ที่ 50%

โดยส่วนใหญ่การตั้งครรภ์ที่มีคนใดคนหนึ่งเป็นดาวน์ซินโดรมแบบนี้ มักจะเป็นฝ่ายชายปกติและฝ่ายหญิงเป็นดาวน์ซินโดรม

จนถึงปัจจุบัน มีรายงานไม่มากนักเกี่ยวกับการที่ฝ่ายชายที่เป็นดาวน์ซินโดรม จะแต่งงานกับผู้หญิงปกติและมีลูกด้วยกัน และมีรายงานยิ่งน้อยลงไปอีก ในกรณีที่ทั้งฝ่ายชายและหญิงสองคนเป็นดาวน์ซินโดรมแล้วมีลูกด้วยกัน

ความต้องการทางเพศของผู้เป็นดาวน์ซินโดรม

ในอดีต ความต้องการทางเพศ และเรื่องเพศในผู้ที่เป็นดาวน์ซินโดรมมักไม่ค่อยได้มีการศึกษาและพูดถึงมากนัก และมีความเชื่อผิดๆว่าการเรียนรู้ช้า หรือพัฒนาการทางสมองที่ช้าของผู้เป็นดาวน์ซินโดรมจะทำให้เขาคิดแบบเด็กๆตลอดไป

แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้ที่เป็นดาวน์ซินโดรมนั้นมีความรู้สึกทางเพศ และต้องการความรักความอบอุ่นเช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ครอบครัวผู้ดูแลจะต้องแสดงออกอย่างถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องเพศ และต้องให้การศึกษาเรื่องการดูแลสุขภาพทางเพศ เช่น การรักษาความสะอาด การคุมกำเนิด การป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ฯลฯ เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ทั่วไปด้วย

ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นชาย หรือหญิง ที่เป็นดาวน์ซินโดรม ก็มีความต้องการทางเพศเช่นเดียวกันกับผู้คนทั่วไป แต่ว่าการแสดงออกของผู้ที่เป็นดาวน์ซินโดรมนั้นอาจจะไม่เหมือนคนทั่วไป ซึ่งก็อาจจะทำให้เกิดผลเสียตามมาได้ หากผู้ดูแลไม่ได้ให้ความรู้ความเข้าใจด้านเพศแก่ผู้เป็นดาวน์ซินโดรม

ทำไมกรณีที่ผู้เป็นดาวน์ซินโดรมตั้งครรภ์ ถึงมักจะเป็นฝ่ายชายปกติและฝ่ายหญิงที่เป็นดาวน์ซินโดรม

การตั้งครรภ์โดยส่วนใหญ่จะเกิดจากความยินยอมพร้อมใจของทั้งฝ่ายชายและหญิง ที่จะมีบุตรด้วยกัน แต่เนื่องจากฝ่ายชายที่เป็นผู้ป่วยดาวน์ซินโดรมอาจจะมีการแสดงออกด้านความรักได้ไม่ดีนัก จึงมักจะไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์กับฝ่ายหญิงที่ปกติได้ ต่างกับฝ่ายหญิงที่เป็นดาวน์ซินโดรมจะสามารถมีโอกาสมีเพศสัมพันธ์กับฝ่ายชายที่เป็นปกติได้มากกว่า

นอกจากการตั้งครรภ์ที่เกิดจากความต้องการของทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงที่เป็นดาวน์ซินโดรมจากข้างต้นแล้ว จะเห็นได้ว่าผู้ที่เป็นดาวน์ซินโดรมนั้นมีความต้องการทางเพศเช่นเดียวกัน แต่ว่าการแสดงออกอาจจะไม่ได้เหมือนกับคนทั่วไป ดังนั้น ในเพศหญิงที่เป็นดาวน์ซินโดรมจึงมีโอกาสที่จะถูกล่อลวงไปมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ยินยอมได้ง่ายกว่า และการรับรู้ความเสี่ยงเกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์ที่มีน้อย จึงสามารถพบการตั้งครรภ์ในหญิงที่เป็นดาวน์ซินโดรมได้มากกว่า ชายที่เป็นดาวน์ซินโดรม

หากเป็นดาวน์ซินโดรม แล้วต้องการตั้งครรภ์ ต้องทำอย่างไรลูกถึงจะไม่เป็นดาวน์ซินโดรม

โอกาสที่บุตรของผู้ที่เป็นดาวน์ซินโดรมจะเป็นดาวน์ซินโดรมด้วย จะมีอยู่สูงถึงประมาณ 50% เลยทีเดียว แต่ ณ ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ช่วยตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมอยู่หลายวิธีที่จะช่วยคัดกรองได้ว่าทารกในครรภ์นั้นเป็นดาวน์ซินโดรมหรือไม่ โดยในบทความนี้ จะขอนำเสนอ 2 วิธีที่มีประสิทธิภาพสูงในการตรวจคัดกรองภาวะดาวน์ซินโดรมของทารกในครรภ์

1. ตรวจตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ (ตั้งแต่ก่อนตัวอ่อนฝังตัว)

วิธีนี้ต้องใช้เทคโนโลยีช่วยในการเจริญพันธุ์ หรือการทำเด็กหลอดแก้วมาช่วย (ไม่ว่าจะเป็นการทำ ICSI หรือ IVF) โดยการนำไข่ของมารดา และอสุจิของบิดามาผสมกันภายนอกจนกลายเป็นตัวอ่อน จากนั้นจึงนำเซลล์บางส่วนของตัวอ่อนไปตรวจวิเคราะห์โครโมโซม เพื่อดูว่าตัวอ่อนที่ได้นั้นมีความเสี่ยงที่จะเป็นดาวน์ซินโดรมหรือไม่ โดยหากตัวอ่อนนั้นเป็นดาวน์ซินโดรม ก็จะถูกคัดออก และจะนำเฉพาะตัวอ่อนที่สมบูรณ์ใส่ในครรภ์ของคุณผู้หญิง

ข้อดี : รู้ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ ไม่จำเป็นต้องยุติการตั้งครรภ์หากทารกในครรภ์ผิดปกติ

ข้อเสีย :
– ค่าใช้จ่ายในการทำเด็กหลอดแก้วสูง
– มีความเสี่ยงระหว่างการทำเด็กหลอดแก้ว ทั้งจากการทำหัตถการต่างๆ เช่น การเก็บไข่ และการให้ยากระตุ้นต่างๆ
– หากตัวอ่อนเป็นดาวน์ซินโดรม ชนิดที่เป็น Mosaicism ก็อาจจะทำให้ตรวจไม่พบได้ (อ่านเพิ่ม : [เด็กหลอดแก้ว] ทำ ICSI ตรวจโครโมโซมก่อนใส่ตัวอ่อนแล้ว ต้องตรวจ NIPT หรือ ตรวจนิฟตี้ ซ้ำอีกไหม)

2. ตรวจหลังการตั้งครรภ์แล้ว

หลังการตั้งครรภ์ จะมีวิธีตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมอยู่หลายวิธี ซึ่งมีประสิทธิภาพ และความแม่นยำแตกต่างกันไป ตามบทความนี้ การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม มีกี่แบบ อะไรบ้าง

แต่วิธีที่จะนำมาเสนอในบทความนี้ เป็นวิธีการตรวจคัดกรองที่มีความแม่นยำในการคัดกรองดาวน์ซินโดรมสูงถึง 99.9% ได้แก่ การตรวจ NIPT (Non-invasive prenatal testing) ซึ่งสามารถตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์เป็นต้นไป โดยหากพบความผิดปกติก็จำเป็นต้องเจาะน้ำคร่ำเพื่อยืนยันผลตรวจ และยุติการตั้งครรภ์หากพบว่าเด็กในครรภ์เป็นดาวน์ซินโดรมจริง

ข้อดี :
– สามารถตั้งครรภ์โดยธรรมชาติได้
– ค่าใช้จ่ายในการตรวจน้อยกว่าการทำเด็กหลอดแก้วและตรวจตัวอ่อนมาก

ข้อเสีย
– หากทารกในครรภ์เป็นดาวน์ซินโดรม ต้องยุติการตั้งครรภ์
– ต้องรอทารกในครรภ์ให้โตจนอายุครรภ์อย่างน้อย 10 สัปดาห์

สรุป

ดาวน์ซินโดรมสามารถตั้งครรภ์ได้ ดังนั้น หากมีคนในบ้านเป็นดาวน์ซินโดรม ไม่ว่าจะเป็นเพศชายหรือหญิง ผู้ดูแลควรให้ความรักความเอาใจใส่เฉกเช่นคนปกติทั่วไป และควรให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ การคุมกำเนิด และการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วยเสมอ

และหากต้องการตั้งครรภ์ด้วยตนเองจริงๆ ก็มีความเสี่ยงสูงที่ลูกในครรภ์จะผิดปกติ แต่ก็สามารถป้องกันได้ด้วยการใช้เทคโนโลยีในการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมที่มีอยู่หลายวิธี

References

Down syndrome misconceptions vs. Reality. (2011, June 1). Global Down Syndrome Foundation. https://www.globaldownsyndrome.org/about-down-syndrome/misconceptions-vs-reality/

Relationships & sexuality. (n.d.). Ndss.org. Retrieved April 11, 2024, from https://ndss.org/resources/relationships-sexuality

หากมีคำถามใดๆเกี่ยวกับเนื้อหาในบทความ สามารถกรอกคำถามไว้ที่แบบฟอร์มด้านท้ายของบทความ ทางทีมงานเฮลท์สไมล์ของเราจะรีบตอบกลับให้เร็วที่สุดค่ะ

✅✅✅✅✅

เฮลท์สไมล์ บริการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ และตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ ครบ 23 คู่ทุกโครโมโซมที่มีในมนุษย์ รู้เพศ และโรคอื่นๆที่เกิดจากการขาด/เกินของโครโมโซมขนาดเล็กได้มากถึง 92 โรค กับ Brand NIFTY® และ NGD NIPS

✔ ตรวจเลือดดาวน์ ผลแม่นยำสูง 99.9%

✔ เจาะเลือดตรวจดาวน์เพียง 10 ซีซี ไม่เสี่ยงแท้ง

✔ ราคาคุ้มค่า ประหยัด ค่าบริการเริ่มต้นที่ 9,500 บาท

✔ สะดวก สบาย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ลดความเสี่ยงจากการเดินทางออกนอกสถานที่

✔ บริการตรวจทั่วประเทศ ถึงบ้านคุณ

✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @Healthsmile

📞 โทร : 089 874 9565

🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของทารกในครรภ์ ได้ที่นี่ https://healthsmile.co.th/prenatal-screening/