สิทธิ์บัตรทอง ฝากครรภ์ คลอดบุตร คุมกำเนิด

เนื้อหาในบทความนี้

แม่ท้อง แม้ไม่มีสิทธิประกันสังคม หรือสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลต่างๆ ก็มีเฮได้ เพราะสามารถใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือที่รู้จักคือ สิทธิบัตรทอง เข้ารับบริการฝากครรภ์ ไปจนคลอดบุตรได้ฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

Update ข้อมูลล่าสุด สิงหาคม 2565

สิทธิบัตรทองคือ บัตรทอง 30 บาท ที่แม่ท้องสามารถใช้สิทธิ์ได้ด้วย แต่จะใช้สิทธิประโยชน์อะไรได้บ้าง แล้วบัตรทองรักษาที่ไหนได้บ้าง

ใช้สิทธิบัตรทองนอกพื้นที่คลอดลูกได้ไหม และการใช้สิทธิบัตรทองคลอดบุตร 2564 ที่แม่ท้องต้องรู้ บทความนี้จะพาไปไขข้อสงสัย เช็กสิทธิบัตรทองคนท้อง 2564 และอัปเดตล่าสุดกันค่ะ

บัตรทอง สิทธิ์ของคนไทยทุกกลุ่ม ครอบคลุมแม่ท้อง

สิทธิบัตรทองคือ สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือสิทธิบัตรทอง 30 บาท ดูแลโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ซึ่งสิทธิบัตรทองคือ สิทธิพื้นฐานของคนไทยทุกคนตั้งแต่แรกเกิด ไปจนตลอดชีวิต สามารถเข้าถึงบริการด้านการแพทย์ และสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง ตาม พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์คุ้มครองค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ดังนี้

● การสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค

● การตรวจ การวินิจฉัย การรักษาพยาบาล ตั้งแต่โรคทั่วไป จนถึงโรคเรื้อรัง

● การตรวจและรับฝากครรภ์ โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง

● การบำบัดและบริการทางการแพทย์

● ยา เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์

● สิทธิบัตรทองคลอด

● การบริบาลทารกแรกเกิด

● การกินอยู่ในหน่วยบริการ

● บริการรถพยาบาล หรือบริการพาหนะรับส่งผู้ป่วย

● บริการพาหนะรับส่งผู้ทุพพลภาพ

● การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย และจิตใจ

● บริการสาธารณสุขด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ

**หมายเหตุ : สิทธิ์ในการใช้บริการบัตรทอง ดังที่กล่าวมาต้องขึ้นอยู่กับข้อบ่งชี้ทางการแพทย์

สิทธิบัตรทองคือ บัตรประกันสุขภาพ ที่ให้สิทธิประโยชน์ทางด้านการบริการทางการแพทย์ สาธารณะสุข ให้เข้าถึงคนไทยทุกกลุ่ม หมายรวมถึงคุณแม่ที่มีการตั้งครรภ์ สามารถใช้สิทธิบัตรทองคนท้องได้ตั้งแต่การฝากครรภ์ ไปจนถึงการใช้สิทธิบัตรทองคลอดบุตรเลยทีเดียว  แต่ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามการใช้สิทธิบัตรทองคนท้อง 2564 และการใช้สิทธิบัตรทองคลอดบุตร 2564  โดยคนไทยที่ได้รับสิทธิบัตรทองจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ดังนี้

เช็กคุณสมบัติ ใครใช้สิทธิบัตรทองได้บ้าง

ผู้ที่สามารถใช้สิทธิบัตรทองได้ ต้องเป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทย มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก และไม่มีสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลอื่นใดที่รัฐจัดให้ ได้แก่ สิทธิประกันสังคม (กรณีขาดส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคมจนหมดสิทธิประกันสังคมจะสามารถใช้สิทธิบัตรทองได้)  / สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น / สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลของหน่วยงานรัฐอื่นๆ เช่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน ข้าราชการการเมือง

แม่ท้องต้องเช็ก! สิทธิบัตรทองคนท้อง ใช้สิทธิ์อะไรได้บ้าง

บัตรทอง ถือเป็นบัตรทองที่ให้สิทธิประโยชน์กับคนท้องด้วย เพราะครอบคลุมถึงคุณแม่ตั้งครรภ์ ซึ่งจะได้รับสิทธิประโยชน์การคุ้มครองค่าใช้จ่ายบริการสาธารณสุข ทั้งด้านบริการสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค เพื่อดูแลสุขภาพแม่ และทารกในครรภ์ ตั้งแต่ฝากครรภ์ ไปถึงใช้สิทธิบัตรทองคลอดบุตร ดังนี้

● การฝากครรภ์ เพิ่มเติมคือไม่จำกัดจำนวนครั้ง แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์

● รับการตรวจปัสสาวะทุกครั้งที่เข้ารับบริการดูแลครรภ์

● การตรวจครรภ์ เพื่อประเมินความเสี่ยง ได้แก่ ตรวจคัดกรองโรคซิฟิลิส ไวรัสเอชไอวี ไวรัสตับอักเสบบี  และตรวจคัดกรองโลหิตจางธาลัสซีเมีย

** สิ่งที่เพิ่มเติมมา คือการคัดกรองธาลัสซีเมียและซิฟิลิส  สามีของหญิงตั้งครรภ์ทุกราย สามารถตรวจคัดกรองพร้อมกับหญิงตั้งครรภ์ได้

● การคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ ด้วยวิธี Quadruple test ซึ่งปัจจุบันสามารถเข้ารับการตรวจคัดกรองได้ทุกอายุ (ไม่จำกัดเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ อายุ 35 ปีขึ้นไปเหมือนก่อนหน้านี้) อ่านเพิ่ม : คัดกรองดาวน์ซินโดรมฟรี ทั่วประเทศไทย คืออะไร ใช้วิธีไหน แม่นยำเหรอ

● การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

● การรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เฉพาะหญิงอายุครรภ์ 4 เดือน (16 สัปดาห์) ขึ้นไป

● การรับวัคซีนป้องกันบาดทะยัก

● การรับยาบำรุงในหญิงตั้งครรภ์ ได้แก่ ยาบำรุงเสริมธาตุเหล็ก โฟลิกและไอโอดีน

● การให้ยาต้านไวรัสเอชไอวีกรณีพบการติดเชื้อเอชไอวี

● การตรวจสุขภาพช่องปากและบริการขัดทำความสะอาดฟัน

● สิทธิบัตรทองคลอดบุตร ไม่ว่าจะเป็นคลอดเองตามธรรมชาติ หรือผ่าคลอด

**หากเลือกใช้สิทธิบัตรทองผ่าคลอดบุตรเอง โดยไม่ได้ขึ้นอยู่กับข้อวินิจฉัยทางการแพทย์ จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง

● การคุมกำเนิดหลังคลอดบุตร

● การประเมินสุขภาพจิตหลังคลอดบุตร คัดกรองโรคซึมเศร้า

● การให้คำแนะนำหลังคลอดบุตร เช่น การให้คำแนะนำกระตุ้นพัฒนาการเด็ก การให้คำปรึกษาการวางแผนครอบครัว การให้คำแนะนำเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิทธิบัตรทองคนท้องได้ที่นี่ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/127/T_0021.PDF

**หมายเหตุ : บริการที่ไม่สามารถใช้สิทธิบัตรทองได้ หรือไม่ได้อยู่ในการคุ้มครองค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับหญิงตั้งครรภ์ อาทิ การรักษาภาวะมีบุตรยาก / การผสมเทียม / การวินิจฉัยและรักษาใดๆ ที่เกินความจำเป็นจากข้อบ่งชี้ทางการแพทย์

เห็นแบบนี้แล้ว แม่ท้องคงมีเฮ เพราะสิทธิบัตรทอง คุณแม่สามารถใช้สิทธิบัตรทองคนท้อง 2564 ได้ และยังมีบางรายการที่อัปเดตเพิ่มมาให้คุณพ่อ หรือสามีใช้สิทธิบัตรทองร่วมด้วย และบัตรทอง ยังครอบคลุมตั้งแต่ฝากครรภ์ ไปจนคลอดบุตรเลยทีเดียว

แต่บางรายการของการใช้บัตรทอง อาจมีข้อกำหนดไว้ เช่น การทำคลอด หากคุณแม่เลือกใช้สิทธิบัตรทองผ่าคลอดบุตร 2564 เอง โดยที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับข้อวินิจฉัยทางการแพทย์ จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง ดังนั้นการศึกษาและทำความเข้าใจในการใช้สิทธิบัตรทองคนท้อง ใช้สิทธิบัตรทองผ่าคลอดบุตร 2564 จึงเป็นสิ่งที่คุณแม่ควรศึกษาเรื่องข้อมูลให้ดีด้วยนะคะ

ถึงอย่างไรคุณแม่ที่ไม่มีสวัสดิการอื่นๆ ของรัฐ ก็อย่าลืมไปใช้สิทธิบัตรทองคนท้อง ใช้สิทธิบัตรทองคลอดบุตร 2564 กันด้วยนะคะ เพราะถือว่าช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดูแลครรภ์ของคุณแม่ ไปได้เยอะเลยทีเดียวค่ะ

แม่ท้องเช็กต่อ! หลังคลอดบุตร ทารกแรกเกิด-5 ปี ใช้สิทธิบัตรทองอะไรได้บ้าง

หลังจากแม่ท้องใช้สิทธิบัตรทอง ในการฝากครรภ์ และใช้สิทธิบัตรทองคลอดบุตร นอกจากสิทธิบัตรทองคนท้องที่กล่าวมาข้างต้น บัตรทองยังให้ความคุ้มครองค่าใช้จ่ายสำหรับบริการด้านสาธารณสุขของเด็กทารกแรกเกิด-5 ปี อีกด้วย ดังนั้น คุณแม่ควรใช้สิทธิบัตรทองต่อให้คุ้มนะคะ จะได้ไม่เสียสิทธิ์

สิทธิบัตรทอง สำหรับเด็กแรกเกิด-5 ปี มีดังนี้

● ตรวจคัดกรองภาวะพร่องไทรอยด์

● ตรวจคัดกรองภาวะซีด การติดเชื้อเอชไอวี

● รับวัคซีนบีซีจี ตับอีกเสบบี บาดทะยัก คอตีบ ไอกรน โปลิโอ หัด หัดเยอรมัน คางทูม ไข้หวัดใหญ่ และไข้สมองอักเสบเจอี

● การติดตามการเจริญเติบโตของทารก เช่น ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็ก

● การตรวจช่องปากและฟัน

● ให้ยาไทรอกซินป้องกันภาวะพร่องไทรอยด์ ยาต้านไวรัสเอชไอวี

● ให้ยาบำรุงเสริมธาตุเหล็ก

● การตรวจวัดสายตาเด็ก

แม่ท้องใช้สิทธิ์ได้ที่ไหน? สิทธิบัตรทองโรงพยาบาล-ใช้สิทธิบัตรทองนอกพื้นที่คลอดลูก

บัตรทองรักษาที่ไหนได้บ้าง เดิมบัตรทองคือ สิทธิบัตรทอง 30 บาท ที่กำหนดให้ประชาชนเข้าใช้สิทธิบัตรทองโรงพยาบาล ที่ลงทะเบียนไว้ ซึ่งเป็นหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เช่น โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หากประชาชนไปใช้สิทธิบัตรทองโรงพยาบาลนอกพื้นที่ ที่ไม่ได้ลงทะเบียนไว้ หรือใช้สิทธิบัตรทองนอกพื้นที่คลอดลูก ที่ไม่ได้ลงทะเบียนไว้ จะต้องเสียเงินเอง หรือใช้สิทธิบัตรทองโรงพยาบาลนอกพื้นที่ต้องกลับไปรับใบส่งตัวที่สถานพยาบาลที่เคยลงทะเบียนไว้

อัปเดตล่าสุด ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565 บัตรทองรักษาที่ไหนได้บ้าง การใช้สิทธิบัตรทองโรงพยาบาล สปสช.ได้ยกระดับบริการบัตรทองรักษาทุกโรค ที่ประชาชนสามารถใช้สิทธิบัตรทองเข้ารักษาในสถานีอนามัย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล ศูนย์สุขภาพชุมชน ศูนย์บริการสาธารณะสุข ที่ไหนก็ได้ทั่วประเทศไทย โดยที่หน่วยบริการจะไม่มีการเรียกให้กลับไปรับใบส่งตัว และหากย้ายหน่วยบริการ สามารถใช้สิทธิ์ได้ทันที ไม่ต้องรอ 15 วัน

เช็กสิทธิบัตรทองโรงพยาบาลของตนเองได้ที่

● เช็กสิทธิบัตรทอง ได้ที่เว็บไซต์ สปสช. https://eservices.nhso.go.th/eServices/mobile/login.xhtml

● เช็กสิทธิบัตรทอง โทรสายด่วน สปสช. 1330 กด 2

● เช็กสิทธิบัตรทอง ผ่าน Line @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6

● เช็กสิทธิบัตรทอง ต่างจังหวัดต่อด้วยตนเองที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 1-12 ส่วนกทม. ติดต่อที่เขต 13

** หมายเหตุ : กรณีที่อยากย้ายสิทธิบัตรทอง เปลี่ยนหน่วยบริการรักษาประจำ สามารถทำได้ 4 ครั้งต่อปี และเอกสารที่ต้องใช้ยื่นเหมือนกับเอกสารที่ใช้ลงทะเบียนขอรับสิทธิบัตรทอง

อยากได้สิทธิบัตรทองให้ตนเองและลูก แม่ท้องต้องทำอย่างไร

สำหรับคุณแม่ที่วางแผนจะมีลูก หรือตั้งครรภ์อยากได้สิทธิบัตรทอง หรือบัตร 30 บาทให้ตนเอง และลูกน้อย ต้องติดต่อลงทะเบียน ดังนี้

1.ลงทะเบียนด้วยตนเอง

  ● ต่างจังหวัด ติดต่อในวันเวลาราชการได้ที่ หน่วยบริการในระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ สถานีอนามัยศูนย์บริการสาธารณสุข  คลินิกชุมชน ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง โรงพยาบาลของรัฐ / สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด / สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 1-12

●กทม. ติดต่อในวัน เวลาราชการได้ที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 13 กทม. / สำนักงานเขต 19 เขตของกรุงเทพฯ

2. ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ สปสช. www.nhso.go.th

** หมายเหตุ : กรณีลูกอายุไม่เกิน 5 ปี คุณพ่อ คุณแม่สามารถลงทะเบียนแทนได้

เอกสารที่ต้องเตรียมลงทะเบียน

  1. บัตรประจำตัวประชาชน สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ถ้ายังไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน ให้ใช้สูติบัตรแทน
  2. กรณีที่อยู่ไม่ตรงตามบัตรประจำตัวประชาชน ให้ใช้หนังสือรับรองการพักอาศัย พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าตนเองนั้นอาศัยอยู่จริง เช่น ใบเสร็จค่าน้ำ ค่าไฟ สัญญาเช่าที่พัก ฯลฯ
  3. แบบคำร้องขอลงทะเบียน สามารถขอได้ ณ จุดรับลงทะเบียน หรือดาวน์โหลดได้ที่ https://www.nhso.go.th/storage/files/shares/PDF/FM-256-02-007-Rev_05.pdf
  4. กรณีให้ผู้อื่นลงทะเบียนแทน ต้องเพิ่มหนังสือมอบอำนาจ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจด้วย

สำหรับแม่ท้อง ตั้งครรภ์ สงสัยหรือมีข้อข้องใจเพิ่มเติม เกี่ยวกับการใช้สิทธิบัตรทอง 30 บาท หรืออยากทราบว่าบัตรทองรักษาที่ไหนได้บ้าง สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ www.nhso.go.th หรือโทรสายด่วน 1330  ได้เลยค่ะ หรือสามารถสอบถามได้ที่ช่อง COMMENT ด้านล่าง 👇 ได้เลยนะคะ ทาง ADMIN จะรีบหาข้อมูลมาตอบกลับให้ค่ะ 👨‍⚕️💚🤍 และหลังจากเช็กสิทธิบัตรทองแล้ว แม่ท้องอย่าลืมไปใช้สิทธิบัตรทองกันด้วยนะคะ

ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

หากมีคำถามใดๆเกี่ยวกับเนื้อหาในบทความ สามารถกรอกคำถามไว้ที่แบบฟอร์มด้านท้ายของบทความ ทางทีมงานเฮลท์สไมล์ของเราจะรีบตอบกลับให้เร็วที่สุดค่ะ

✅✅✅✅✅

เฮลท์สไมล์ บริการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ และตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ ครบ 23 คู่ทุกโครโมโซมที่มีในมนุษย์ รู้เพศ และโรคอื่นๆที่เกิดจากการขาด/เกินของโครโมโซมขนาดเล็กได้มากถึง 92 โรค กับ Brand NIFTY® และ NGD NIPS

✔ ตรวจเลือดดาวน์ ผลแม่นยำสูง 99.9%

✔ เจาะเลือดตรวจดาวน์เพียง 10 ซีซี ไม่เสี่ยงแท้ง

✔ ราคาคุ้มค่า ประหยัด ค่าบริการเริ่มต้นที่ 9,500 บาท

✔ สะดวก สบาย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ลดความเสี่ยงจากการเดินทางออกนอกสถานที่

✔ บริการตรวจทั่วประเทศ ถึงบ้านคุณ

✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @Healthsmile

📞 โทร : 089 874 9565

🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของทารกในครรภ์ ได้ที่นี่ https://healthsmile.co.th/prenatal-screening/

2 Comments

  1. พนัทดา ศรีสุพัธ์ 20 มีนาคม 2023 at 10:02 - Reply

    หนูติดประกันสังคมค่ะ หนูสามารถใช้สิทธิ์ 30 ได้ไหมค่ะ อยากหา ที่ฝากครรภ์แบบไม่เสียตังอ่ะค่ะ ตอนนี้กำลังหาอยู่

    • นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์ 26 มีนาคม 2023 at 12:13 - Reply

      ลองโทรสอบถามค่าใช้จ่ายที่โรงพยาบาลรัฐ ที่คุณแม่ต้องการไปฝากครรภ์ได้เลยครับ
      โดยปกติ จะฝากครรภ์ฟรีทุกสิทธิ์ครับ แต่บางที่อาจจะมีค่าใช้จ่ายบางอย่างครับ