เนื้อหาในบทความนี้

ยาอะไรบ้าง ที่ส่งผลต่อการตรวจคัดกรองโครโมโซม NIPT, NIFTY

มีคุณแม่หลายๆท่าน ที่สงสัย ว่าการกินยารักษาโรคประจำตัว หรือยาต่างๆ จะส่งผลต่อการตรวจคัดกรองโครโมโซมด้วย NIPT หรือ NIFTY หรือไม่อันที่จริงแล้ว มีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลต่อการตรวจ

NIPT หรือ NIFTY ได้แก่ โรคประจำตัวของมารดา(บางโรค), ภาวะโรคอ้วน, การเกิด Vanishing twins หรือ Mosaicism ของรก ฯลฯ ซึ่งสามารถอ่านได้จากบทความนี้ : 7 สาเหตุ ที่อาจทำให้ผลตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม (NIPS, NIPT, NIFTY) ผิดพลาด

แต่สำหรับบทความนี้ เราจะมุ่งเน้น เรื่องของยา ที่อาจส่งผลต่อการตรวจ NIPT ได้ ดังนี้

ยาที่ส่งผลต่อปริมาณ fetal fraction ของ DNA ทารกในเลือดคุณแม่

Fetal fraction คือ ปริมาณชิ้นส่วนของ DNA ของทารกในครรภ์ ที่หลุดลอยอยู่ในเลือดของคุณแม่ โดย Fetal fraction ของทารกในครรภ์ควรจะมีปริมาณมากกว่า 4% จึงจะสามารถรายงานผลได้

ยาเบาหวาน Metformin (1)
ชื่อการค้า เช่น Diamet, Formin, Glucomet, Glucophage, Gluformin, ฯลฯ
ส่งผลให้ %fetal fraction ลดลง

การรับประทานยาเพื่อการรักษาโรคประจำตัวตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป (two or more medications) (1)
ส่งผลให้ %fetal fraction ลดลง

ยาละลายลิ่มเลือด ชนิด low molecular weight heparin (LMWH) (2)
ได้แก่ Enoxaparin (Clexane) , dalteparin (Fragmin), tinzaparin (Innohep) ซึ่งยาเหล่านี้ ใช้เพื่อป้องกันและรักษาภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นในหลอดเลือดดำ หรือโรคหัวใจ
ยากลุ่มนี้ อาจจะทำให้รายงานผลตรวจ NIPT ไม่ได้

รับประทานยาต่างๆอยู่ สามารถตรวจ NIPT ได้หรือไม่

ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าคุณแม่จะได้รับยาดังกล่าวข้างต้น ก็ไม่ได้เป็นข้อห้ามในการเข้ารับการตรวจ NIPT แต่อย่างใด และหากว่ารายงานผลได้ (% fetal fraction มีเพียงพอ) ผลที่ได้ ก็จะมีเปอร์เซ็นต์ความแม่นยำไม่ได้แตกต่างไปจากคุณแม่ที่ไม่ได้รับประทานยาดังกล่าวแต่อย่างใด

ยาที่คุณแม่ถามบ่อยๆ ว่าสามารถรับประทานร่วมกับการตรวจ NIFTY หรือ NIPT ได้หรือไม่

ชื่อยา หรือกลุ่มยา สามารถรับประทานก่อนตรวจ NIPT หรือ NIFTY ได้หรือไม่
  • ยาฆ่าเชื้อ เช่น amoxy
  • ยาลดไข้ เช่น paracetamol
  • ยาลดความดันโลหิต
  • ยารักษาโรคไทรอยด์
  • ยาบำรุงครรภ์
  • วัคซีนป้องกัน COVID-19
  • วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่
  • วัคซีนบาดทะยัก
ได้

 

มีไข้ ตรวจ NIPT หรือ NIFTY ได้หรือไม่

ตามข้อมูลทางการแพทย์แล้ว สามารถตรวจได้โดยไม่ได้ส่งผลต่อความแม่นยำของการตรวจ แต่เราแนะนำว่า คุณแม่ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการไข้ และรักษาให้หายดีก่อนการตรวจ ก็จะดีที่สุด

References

Kuhlmann-Capek, M., Chiossi, G., Singh, P., Monsivais, L., Lozovyy, V., Gallagher, L., Kirsch, N., Florence, E., Petruzzi, V., Chang, J., Buenaventura, S., Walden, P., Gardner, B., Munn, M., & Costantine, M. (2019). Effects of medication intake in early pregnancy on the fetal fraction of cell‐free DNA testing. Prenatal Diagnosis, 39(5), 361–368. https://doi.org/10.1002/pd.5436

Wardrop, J., Dharajiya, N., Boomer, T., McCullough, R., Monroe, T., & Khanna, A. (2016). Low molecular weight heparin and noninvasive prenatal testing [22C]. Obstetrics and Gynecology, 127(Supplement 1), 32S. https://doi.org/10.1097/01.aog.0000483371.41616.e2

หากมีคำถามใดๆเกี่ยวกับเนื้อหาในบทความ สามารถกรอกคำถามไว้ที่แบบฟอร์มด้านท้ายของบทความ ทางทีมงานเฮลท์สไมล์ของเราจะรีบตอบกลับให้เร็วที่สุดค่ะ

ตรวจนิฟตี้ ราคาประหยัด

หากต้องการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมครบ 23 คู่ รู้เพศ และโรคอื่นๆได้มากถึง 94 โรคกับ Brand NIFTY®️ หรือ NGD NIPS

📞 สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และนัดหมายการตรวจได้ที่ Line ID : @Healthsmile
หรือคลิกได้ที่ลิงค์นี้ https://link.healthsmile.co.th/add-line/NIFTY-content

🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของทารกในครรภ์ ได้ที่นี่ https://healthsmile.co.th/prenatal-screening/

คุณแม่ทุกคนอยากให้ลูกในครรภ์สมบูรณ์ แข็งแรง ไม่มีความผิดปกติ ไม่เป็นดาวน์ซินโดรม หรืออาการผิดปกติอื่นๆ ดังนั้นการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ซึ่งมีหลายการตรวจจึงเป็นเรื่องสำคัญ

✅✅✅✅✅