Last Updated on 17 เมษายน 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์
เนื้อหาในบทความนี้
Last Updated on 17 เมษายน 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์
ต้องเจาะน้ำคร่ำไหม ถ้าผลตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมพบว่ามีความเสี่ยงต่ำ?? คุณแม่หลายคนสอบถามเข้ามาเรื่องนี้ เนื่องจากแพทย์แนะนำให้เจาะน้ำคร่ำ แม้ว่าผลการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมจะมีความเสี่ยงต่ำ บทความนี้จะบอกถึงสาเหตุอะไรบ้างที่แม้ว่าผลตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมมีความเสี่ยงต่ำ แต่แพทย์ก็ยังอาจจะแนะนำให้เจาะน้ำคร่ำเพื่อยืนยันผลตรวจ
การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมของทารกในครรภ์
มีอยู่หลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีก็จะมีความแม่นยำ, เทคนิคการตรวจ, ค่าใช้จ่าย, จำนวนครั้งที่ต้องพบแพทย์ที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถอ่านเพิ่มได้ที่บทความ การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม มีกี่แบบ อะไรบ้าง
ต่อไปนี้คือการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมของทารกในครรภ์ ที่พบบ่อยในประเทศไทย
- การตรวจคัดกรองในไตรมาสแรก (First Trimester Screening Test):
- ประกอบด้วยการตรวจเลือดและการตรวจอัลตราซาวนด์ในช่วงสัปดาห์ที่ 11-13 ของการตั้งครรภ์.
- ข้อดี : ค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก
- ข้อเสีย : ต้องใช้แพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ (MFM) หรือแพทย์ที่อบรมมาโดยเฉพาะ (ซึ่งในประเทศไทยยังมีอยู่น้อย)
- ความแม่นยำ : ประมาณ 90%
- การตรวจคัดกรองแบบ Quadruple Test:
- ตรวจเลือดวัดสารชีวเคมีจากเลือดของมารดา 4 ค่า แล้วนำมาคำนวณความเสี่ยง ทำในช่วงสัปดาห์ที่ 15-20 ของการตั้งครรภ์
- ข้อดี : ค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก (ตรวจที่โรงพยาบาลรัฐฟรี)
- ข้อเสีย : ความแม่นยำน้อยกว่าวิธีอื่นเล็กน้อย และมีโอกาส false positive (ตรวจว่าความเสี่ยงสูง แต่เจาะน้ำคร่ำแล้วผลปกติ) ประมาณ 5 % ทำให้เพิ่มโอกาสต้องเจาะน้ำคร่ำโดยไม่จำเป็นในบางคน
- ความแม่นยำ : ประมาณ 80-85%
- การตรวจ Non-Invasive Prenatal Testing (NIPT):
- ตรวจหาข้อมูลทางพันธุกรรมของทารกโดยตรงจากเลือดของมารดา โดยดูจากเศษ DNA จากรกของลูกที่ลอยอยู่ในเลือดของมารดา สามารถทำได้หลังจากสัปดาห์ที่ 10 ของการตั้งครรภ์
- ข้อดี : ความแม่นยำสูงที่สุด ณ ปัจจุบัน, สามารถตรวจคัดกรองได้หลายโครโมโซม หลายโรค
- ข้อเสีย : ราคาสูงกว่าวิธีอื่น
- ความแม่นยำ : 99.9% สำหรับการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม
- การตรวจอัลตราซาวนด์ที่ละเอียด (Detailed Ultrasound):
- ทำโดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์ที่ 18-22 เพื่อตรวจหาลักษณะผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับดาวน์ซินโดรม
- ข้อเสีย : ความแม่นยำต่ำที่สุด และความแม่นยำขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแพทย์แต่ละท่าน ไม่แน่นอนในแต่ละสถานพยาบาล
- ความแม่นยำ : ประมาณ 60%
ผลตรวจคัดกรอง ต่างจากผลตรวจน้ำคร่ำอย่างไร
เนื่องจากวิธีที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมด เป็นวิธีการตรวจคัดกรอง (Screening test) เท่านั้น ไม่ได้มีไว้สำหรับทำการวินิจฉัย (Diagnostic test) และการตรวจคัดกรองแต่ละแบบมีข้อดี, ข้อจำกัด และความแม่นยำที่แตกต่างกัน
หากผลตรวจผิดปกติ (มีความเสี่ยงสูง)
หากผลตรวจคัดกรองด้วยวิธี NIPT พบว่ามีความเสี่ยงสูง จำเป็นต้องเจาะน้ำคร่ำเพื่อยืนยันความผิดปกติเสมอ
หากผลตรวจคัดกรองด้วยวิธีอืนๆ พบว่ามีความเสี่ยงสูง อาจเลือกตรวจน้ำคร่ำเพื่อทำการวินิจฉัยเลยก็ได้ หรือหากไม่ต้องการเสี่ยงแท้งจากการเจาะน้ำคร่ำก็อาจะเลือกวิธีตรวจคัดกรองด้วย NIPT เพิ่มก็ได้
อ่านเพิ่มเติม : ผลตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม แบบ Quad test (ควอดเทส) ได้ผลว่ามีความเสี่ยงสูง (High risk) ทำอย่างไรดี !
หากผลตรวจปกติ (มีความเสี่ยงต่ำ)
ในกรณีที่ผลตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม ไม่ว่าจะวิธี NIPT หรือ First Trimester Screening Test, Quadruple test แสดงความเสี่ยงต่ำ และไม่มีปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นกังวล แพทย์อาจแนะนำว่าไม่จำเป็นต้องเจาะน้ำคร่ำ แต่การตัดสินใจนี้ควรปรึกษาแพทย์ที่ดูแลอย่างละเอียดเพื่อให้มีการตัดสินใจที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละกรณี
เหตุผลใดบ้างที่ทำให้แพทย์ต้องเจาะน้้ำคร่ำ แม้ว่าผลตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมปกติ
เนื่องจากการตรวจคัดกรอง แม้ว่าจะเป็นการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมด้วยวิธี NIPT ที่มีความแม่นยำสูงถึง 99.9% แต่ว่าก็มีโอกาสเกิดผล false negative ได้ (คือผลบอกว่าความเสี่ยงต่ำ แต่ทารกในครรภ์มีความผิดปกติ) และโอกาสเกิด false negative ก็จะเยอะมากขึ้น หากความแม่นยำของการตรวจต่ำลง
ดังนั้น แพทย์อาจตัดสินใจที่จะเจาะน้ำคร่ำหลังจากได้ผลคัดกรองที่แสดงความเสี่ยงต่ำได้ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ดังนี้
- ผลการตรวจอัลตราซาวน์ผิดปกติ: หากการตรวจอัลตราซาวน์แสดงลักษณะผิดปกติที่อาจบ่งบอกถึงสภาวะทางพันธุกรรมหรือความผิดปกติอื่นๆ ในทารก
- ประวัติครอบครัว: หากมีประวัติของความผิดปกติทางพันธุกรรมในครอบครัว เช่น ภาวะ ring chromosome หรือมารดาโครโมโซมผิดปกติ ฯลฯ แพทย์อาจแนะนำการเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจสอบโดยตรง เนื่องจากการตรวจคัดกรองในวิธีต่างๆที่กล่าวมาจะไม่แม่นยำ (อ่านเพิ่ม : 7 สาเหตุ ที่อาจทำให้ผลตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม (NIPS, NIPT, NIFTY) ผิดพลาด)
- มารดาเป็นโรคอื่นๆ หรือได้รับการรักษาด้วยวิธีบางอย่าง ที่ทำให้ไม่สามารถตรวจคัดกรองได้: หากมารดามีโรค หรือได้รับยา/การรักษาบางอย่างที่ส่งผลกระทบต่อความแม่นยำของการตรวจคัดกรองทางพันธุกรรม เช่น โรค SLE, ได้รับยาละลายลิ่มเลือก, ได้รับส่วนประกอบของเลือด เป็นต้น ทำให้ผลคัดกรองดาวน์ซินโดรมนั้นไม่ชัดเจน ไม่แม่นยำ
- มารดาหรือครอบครัวต้องการยืนยันด้วยการตรวจวินิจฉัย: ในมารดาบางท่าน ที่ต้องการความแม่นยำที่สูงที่สุด อาเลือกการเจาะน้ำคร่ำเป็นวิธีที่สามารถยืนยันการวินิจฉัยของความผิดปกติทางพันธุกรรมได้อย่างแน่นอน แต่ก็ต้องคุยกับแพทย์เรื่องของความเสี่ยงจากผลแทรกซ้อนจากการเจาะน้ำคร่ำด้วยเช่นกัน
- เพื่อตรวจหาสภาวะอื่นๆ:
- การเจาะน้ำคร่ำสามารถใช้ตรวจหาสความผิดปกติอื่นๆได้ เช่น
- การติดเชื้อในครรภ์ : การติดเชื้อกลุ่ม TORCH , CMV
- ตรวจปัญหาที่เกี่ยวข้องกับน้ำคร่ำ : ปริมาณน้ำคร่ำที่มากหรือน้อยผิดปกติ
- การเจาะน้ำคร่ำสามารถใช้ตรวจหาสความผิดปกติอื่นๆได้ เช่น
- มีประวัติของทารกเสียชีวิตในครรภ์:
- หากมีประวัติการตั้งครรภ์ก่อนหน้าที่ทารกเสียชีวิตในครรภ์โดยไม่ทราบสาเหตุ, การเจาะน้ำคร่ำอาจช่วยให้เข้าใจสาเหตุได้ดียิ่งขึ้น.
- ตรวจหาสภาวะเฉพาะที่ไม่ได้ครอบคลุมในการคัดกรองมาตรฐาน:
- มีบางสภาวะทางพันธุกรรมที่อาจไม่ได้รับการตรวจสอบในการคัดกรองมาตรฐานและอาจต้องใช้การเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจหา ได้แก่ ความผิดปกติในระดับยีน เช่น โรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง, โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมในระดับยีน เป็นต้น
อ่านเพิ่ม : เป็นธาลัสซีเมีย ตรวจ NIPT หรือ NIFTY ได้ไหม
- มีบางสภาวะทางพันธุกรรมที่อาจไม่ได้รับการตรวจสอบในการคัดกรองมาตรฐานและอาจต้องใช้การเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจหา ได้แก่ ความผิดปกติในระดับยีน เช่น โรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง, โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมในระดับยีน เป็นต้น
- คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญทางพันธุกรรม:
- ในบางกรณี, ผู้เชี่ยวชาญทางพันธุกรรมอาจแนะนำการเจาะน้ำคร่ำเพื่อยืนยันหรือหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาวะพันธุกรรมที่ผิดปกติโดยเฉพาะ.
สรุป ต้องเจาะน้ำคร่ำไหม กรณีถ้าผลคัดกรองดาวน์ซินโดรมปกติ
หากผลตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม ได้ผลว่ามีความเสี่ยงต่ำ ร่วมกับไม่ได้มีความเสี่ยงอื่นๆที่มีความจำเป็นต้องเจาะน้ำคร่ำ ก็ไม่จำเป็นต้องเจาะน้ำคร่ำเพื่อยืนยัน
แต่หากแพทย์พบว่ามีความเสี่ยงใดๆที่จำเป็นต้องเจาะตรวจน้ำคร่ำ เช่น อัลตราซาวนด์พบความผิดปกติ ประวัติสุขภาพของคนในครอบครัว / ตัวมารดาผิดปกติ หรือมีโรคที่สงสัยในทารกที่จำเป็นต้องเจาะน้ำคร่ำ ก็ควรจะได้รับการเจาะตรวจแม้ว่าผลคัดกรองดาวน์ซินโดรมจะปกติก็ตาม
✅✅✅✅✅
เฮลท์สไมล์ บริการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ และตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ ครบ 23 คู่ทุกโครโมโซมที่มีในมนุษย์ รู้เพศ และโรคอื่นๆที่เกิดจากการขาด/เกินของโครโมโซมขนาดเล็กได้มากถึง 92 โรค กับ Brand NIFTY® และ NGD NIPS
✔ ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมอื่นๆ ผลแม่นยำสูง 99.9%
✔ เจาะเลือดเพียง 10 ซีซี ไม่เสี่ยงแท้ง
✔ ราคาคุ้มค่า ประหยัด ค่าบริการเริ่มต้นที่ 9,500 บาท รวมค่าบริการเจาะเลือดถึงบ้าน และแพทย์อ่านผลให้ทุกเคส
✔ สะดวก สบาย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ลดความเสี่ยงจากการเดินทางออกนอกสถานที่
✔ บริการตรวจถึงบ้านทั่วประเทศ ฟรี
✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @Healthsmile
📞 โทร : 089 874 9565
🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของทารกในครรภ์ ได้ที่นี่ https://healthsmile.co.th/prenatal-screening/