Last Updated on 31 กรกฎาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์
เนื้อหาในบทความนี้
- เงื่อนไขสิทธิประกันสังคม ม.40 จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ในการฝากครรภ์ และการคลอดบุตร
- เงื่อนไขสิทธิประกันสังคม สำหรับการฝากครรภ์ และการคลอดบุตร ม.33, ม.39
- สิทธิประกันสังคม ขณะตั้งครรภ์ (ฝากครรภ์)
- สิทธิประกันสังคม เมื่อคลอดบุตร
- สิทธิประกันสังคม หลังคลอดบุตร และสิทธิในการดูแลบุตร
- เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร เบิกได้ 50 % ของค่าจ้าง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท โดยเฉลี่ยเป็นเวลา 90 วัน หรือ 3 เดือน
- เงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 800 บาท/บุตรหนึ่งคน
- คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับสิทธิ์ประกันสังคมเรื่องการฝากครรภ์ และการคลอดบุตร คลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่ เช็กลิสต์! คำถามที่พบบ่อย-พร้อมตอบไขข้อสงสัย เกี่ยวกับสิทธิประกันสังคม สำหรับคุณแม่มือใหม่ควรรู้ พร้อมทริคการใช้สิทธิประกันสังคมอย่างไรให้คุ้มค่า
Last Updated on 31 กรกฎาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์
เมื่อเบบี้มา คุณแม่หลายท่านคงตื่นเต้น ดีใจไม่ใช่น้อย และเตรียมพร้อมดูแลสุขภาพกันถ้วนหน้า แต่อีกสิ่งหนึ่งที่ลืมไปไม่ได้เลย นั่นคือ การเช็กสิทธิประกันสังคม สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นผู้ประกันตน ซึ่งสามารถขอรับผลประโยชน์ได้ตั้งแต่ตั้งครรภ์ ไปจนถึงสิทธิในการเลี้ยงดูบุตรเลยทีเดียว
สำหรับบทความนี้ จะพาตามไปใช้สิทธิ์ให้คุ้มค่า โดยเช็กว่าสิทธิประโยชน์ของประกันสังคมฉบับล่าสุด สำหรับคุณแม่ ตั้งแต่ขณะตั้งครรภ์ คลอดบุตร ไปจนถึงการดูแลบุตร จะได้รับสิทธิประโยชน์จากประกันสังคมอะไรบ้าง และเบิกได้เท่าไหร่
- ผู้ประกันตน ม.33 และ ม.39 เบิกค่าสิทธิคลอดบุตร กรณีคลอดบุตร ค่าตรวจ และค่าฝากครรภ์ ได้ทั้งผู้หญิง หรือผู้ชาย (กรณีภรรยาไม่ได้เป็นผู้ประกันตน)
- ค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายไม่เกิน 15,000 บาท ส่วนค่าตรวจและค่าฝากครรภ์ เท่าที่จ่ายจริง จำนวน 5 ครั้ง ไม่เกิน 1,500 บาท
ปัจจุบันการประกันสังคม ให้ความคุ้มครองผู้ประกันตน 3 รูปแบบ แบ่งเป็น
ผู้ประกันตนมาตรา 33 เป็นลูกจ้างที่ทำงานให้กับนายจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป จะได้รับความคุ้มครอง 7 กรณี ได้แก่ ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ ว่างงาน
ผู้ประกันตนมาตรา 39 คนที่ลาออกจากบริษัทเอกชนแล้วไม่เกิน 6 เดือน และเคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 มาก่อนไม่น้อยกว่า 12 เดือน แต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคมไว้อยู่ จะได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี ได้แก่ ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ
ผู้ประกันตนมาตรา 40 เป็นประชาชนทั่วไป ผู้ประกอบการอาชีพอิสระ และแรงงานนอกระบบ (ฟรีแลนซ์) จะได้รับความคุ้มครอง 5 กรณี ได้แก่ ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย ชราภาพ และสงเคราะห์บุตร ตามเงื่อนไขการเกิดสิทธิ
เงื่อนไขสิทธิประกันสังคม ม.40 จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ในการฝากครรภ์ และการคลอดบุตร
แต่ยังมีสิทธิ์ได้รับเงินสงเคราะห์บุตร กรณีเลือกเป็นทางเลือกที่ 3 (จ่าย 300 บาท/เดือน)
เงื่อนไขสิทธิประกันสังคม สำหรับการฝากครรภ์ และการคลอดบุตร ม.33, ม.39
สำหรับสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 จะแตกต่างจากผู้ประกันตนมาตรา 40 ตรงที่มีสิทธิคลอดบุตร กรณีคลอดบุตร ค่าตรวจ และค่าฝากครรภ์ ที่ให้ความคุ้มครองผู้ประกันตนทั้งผู้หญิง หรือผู้ชาย (สามารถเบิกค่าคลอดบุตรให้กับภรรยาได้ในกรณีที่ภรรยาไม่ได้เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39)
ผู้ประกันตนสามารถยื่นผ่านเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคมบนระบบ e-Self Service ยื่นได้ทั้งกรณีคลอดบุตร ค่าตรวจและค่าฝากครรภ์
สิทธิประกันสังคม ขณะตั้งครรภ์ (ฝากครรภ์)
ประกันสังคมได้ให้สิทธิประโยชน์สำหรับคุณแม่ตั้งแต่มีเบบี้อยู่ในท้อง ซึ่งคุณแม่สามารถเบิกค่าฝากครรภ์ วงเงินรวมทั้งหมด 1,500 บาท (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2564) ตามเงื่อนไขกำหนด ดังนี้
• สามารถเบิกค่าฝากครรภ์ ได้ทั้งสามี และภรรยา ที่เป็นผู้ประกันตน โดยเลือกใช้สิทธิประกันสังคมของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น
• เข้ารับการฝากครรภ์ในสถานพยาบาล หรือคลินิกตามมาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็กกระทรวงสาธารณสุข
วงเงิน 1,500 บาท เบิกได้ตามอายุครรภ์ ดังนี้
- ฝากครรภ์ครั้งที่ 1 อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ เบิกได้สูงสุด 500 บาท
- ฝากครรภ์ครั้งที่ 2 อายุครรภ์ 13 – น้อยกว่า 20 สัปดาห์ เบิกได้สูงสุด 300 บาท
- ฝากครรภ์ครั้งที่ 3 อายุครรภ์ 20 – น้อยกว่า 26 สัปดาห์ เบิกได้สูงสุด 300 บาท
- ฝากครรภ์ครั้งที่ 4 อายุครรภ์ 26 – น้อยกว่า 32 สัปดาห์ เบิกได้สูงสุด 200 บาท
- ฝากครรภ์ครั้งที่ 5 อายุครรภ์ 32 – 40 สัปดาห์ เบิกได้สูงสุด 200 บาท
เอกสารประกอบการเบิกเงินทดแทน กรณีฝากครรภ์ มีอะไรบ้าง ?
1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01 ผู้ประกันตนกรอกข้อความครบถ้วน พร้อมลงลายมือชื่อผู้ยื่นคำขอ
2.บัตรประจำตัวประชาชน ( ฉบับจริง )
3. สำเนาสูติบัตรบุตร 1 ชุด (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)
4. สำหรับผู้ประกันตนชายให้แนบสำเนาทะเบียนสมรส กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้แนบหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส
5.กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลให้แนบสำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลด้วย จำนวน 1 ชุด
6. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ของธนาคารหน้าแรกที่มีชื่อ–เลขที่บัญชี (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) มีธนาคาร ดังนี้
- ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน)
- ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)
- ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน)
- ธนาคารทีเอ็มบีธนชาต จำกัด(มหาชน)
- ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
- ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด(มหาชน)
สถานที่ยื่นเรื่อง
ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ภายในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)
ระยะเวลาการอนุมัติสิทธิ
หากยื่นเอกสารครบถ้วน มีคุณสมบัติเป็นไปตามเงื่อนไขการรับสิทธิ และไม่ติดสถานะค้างชำระกรณีสำนักงานประกันสังคมเรียกเงินคืน
สิทธิประกันสังคม เมื่อคลอดบุตร
ค่าคลอดบุตรประกันสังคม เหมาจ่าย จำนวนวงเงิน 15,000 บาท/ครั้ง
นอกจากคุณแม่จะได้รับสิทธิประโยชน์ด้านการเบิกค่าฝากครรภ์แล้ว เมื่อถึงกำหนดคลอดบุตร ยังได้ค่าบริการทางการแพทย์แบบเหมาจ่าย ซึ่งใช้สิทธิประกันสังคมได้ทั้งฝ่ายสามี และภรรยา ที่เป็นผู้ประกันตน โดยเลือกใช้สิทธิประกันสังคม ค่าคลอดบุตรได้เพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น
เงื่อนไขการใช้สิทธิประกันสังคมคลอดบุตร ดังนี้
• จะต้องเป็นผู้ประกันตน จ่ายเงินสมทบมาไม่น้อยกว่า 5 เดือน หรือภายใน 15 เดือน ก่อนครบกำหนดเดือนคลอดบุตร จึงจะสามารถเบิกค่าคลอดประกันสังคมได้
•เบิกค่าคลอดบุตรได้ โดยไม่จำกัดจำนวนบุตร/ครั้ง
1.แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01 ผู้ประกันตนกรอกข้อความครบถ้วน พร้อมลงลายมือชื่อผู้ยื่นคำขอ
2.สำเนาสูติบัตรบุตร 1 ชุด (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)
3.สำหรับผู้ประกันตนชายให้แนบสำเนาทะเบียนสมรส กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้แนบหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส
4.สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอมีธนาคาร ดังนี้
- ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน)
- ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)
- ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน)
- ธนาคารทีเอ็มบีธนชาต จำกัด(มหาชน)
- ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
- ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด(มหาชน)
นอกจากนี้หากผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนไม่เห็นด้วยกับการสั่งจ่ายประโยชน์ทดแทนตามที่กำหนดไว้ สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
หมายเหตุ : มีผลบังคับใช้ตามสิทธิประกันสังคมคลอดบุตร 2564 นับตั้งแต่ 1 มกราคม 2564
สิทธิประกันสังคม หลังคลอดบุตร และสิทธิในการดูแลบุตร
ในกรณีหลังจากคลอดบุตรแล้ว คุณแม่จะได้รับสิทธิประโยชน์อีก 2 ต่อ นั่นคือ
เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร เบิกได้ 50 % ของค่าจ้าง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท โดยเฉลี่ยเป็นเวลา 90 วัน หรือ 3 เดือน
เงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 800 บาท/บุตรหนึ่งคน
เงื่อนไขการมีสิทธิ์รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร ดังนี้
•เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร จะสามารถใช้สิทธิ์ได้เฉพาะฝ่ายหญิงเท่านั้น
•สามารถใช้สิทธิประกันสังคมรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร ได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ดังนั้น บุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร
•จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันรับบริการทางการแพทย์เพื่อการคลอดบุตร (คุ้มครองต่ออีก 6 เดือน เมื่อความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง)
•กรณีกลับมาทำงานก่อนถึงครบกำหนด 90 วัน คุณแม่จะยังได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรตามปกติ
หมายเหตุ : เอกสารประกอบการยื่นคำขอประโยชน์ทดแทน เช่นเดียวกับกรณีคลอดบุตร
นอกจากสิทธิประโยชน์จากทางประกันสังคมที่คุณแม่จะได้รับ ยังมีค่าชดเชย ตามพรบ.คุ้มครองแรงงาน ที่นายจ้างต้องจ่ายเงินให้กับลูกจ้างกรณีลาคลอดบุตร 45 วัน หรือสวัสดิการอื่นๆ ในการล่าคลอดจากองค์กร หรือบริษัทที่คุณแม่ทำงาน ทั้งนี้นโยบายต่างๆ ขึ้นอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ขององค์กร แนะนำให้คุณแม่ติดต่อ สอบถามจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในองค์กรจะเป็นการดีที่สุด และเพื่อรักษาผลประโยชน์ในการลาคลอด
เงื่อนไขการมีสิทธิ์รับเงินสงเคราะห์บุตร ดังนี้
• ต้องเป็นผู้ประกันตน ตามมาตรา 33 หรือ มาตรา 39
• จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน
• สงเคราะห์บุตรจำนวนเงิน 800 บาท/บุตรหนึ่งคน ตั้งแต่แรกเกิด จนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนไม่เกิน 3 คน โดยจะต้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย
• กรณีบุตรเสียชีวิต หรือบุตรบุญธรรม หรือบุตรซึ่งยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น จะไม่ได้รับสิทธิเงินสงเคราะห์บุตร
เอกสารประกอบการเบิกเงินทดแทน กรณีคลอดบุตร มีอะไรบ้าง?
1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส. 2-01)
2. กรณีผู้ประกันตนเคยยื่นใช้สิทธิแล้วและประสงค์จะใช้สิทธิสำหรับบุตรคนเดิม ให้ใช้หนังสือขอใช้สิทธิบุตรคนเดิมกรณีกลับเข้าเป็นผู้ประกันตน จำนวน 1 ฉบับ
3. กรณีผู้ประกันตนหญิงใช้สิทธิ ใช้สำเนาสูติบัตรบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย) จำนวน 1 ชุด
4. กรณีผู้ประกันตนชายใช้สิทธิ ใช้สำเนาทะเบียนสมรส หรือสำเนาทะเบียนหย่าพร้อมบันทึกแนบท้ายของผู้ประกันตนหรือสำเนาทะเบียนรับรองบุตร หรือสำเนาคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย จำนวน 1 ชุด และสำเนาสูติบัตรบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วยจำนวน 1 ชุด)
5. กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลให้แนบสำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลด้วย จำนวน 1 ชุด
6. กรณีผู้ประกันตนต่างชาติขอรับประโยชน์ทดแทนให้ใช้สำเนาบัตรประกันสังคม และสำเนาหนังสือเดือนทาง (passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราว หรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้ จำนวน 1ชุด
7. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อ และเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอ จำนวน 1 ฉบับ ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน ดังนี้
-
- ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน)
- ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)
- ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน)
- ธนาคารทีเอ็มบีธนชาต จำกัด(มหาชน)
- ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
- ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด(มหาชน)
8. เอกสารประกอบการยื่นคำขอฯ ที่เป็นสำเนาให้รับรองความถูกต้องของสำเนาทุกฉบับ และแสดงเอกสารที่เป็นต้นฉบับเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ขอตรวจสอบ กรณีเอกสารหลักฐานสำคัญต่อการพิจารณาเป็นภาษาต่างประเทศให้จัดทำคำแปลเป็นภาษาไทยและรับรองความถูกต้องให้ครบถ้วน
คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับสิทธิ์ประกันสังคมเรื่องการฝากครรภ์ และการคลอดบุตร คลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่ เช็กลิสต์! คำถามที่พบบ่อย-พร้อมตอบไขข้อสงสัย เกี่ยวกับสิทธิประกันสังคม สำหรับคุณแม่มือใหม่ควรรู้ พร้อมทริคการใช้สิทธิประกันสังคมอย่างไรให้คุ้มค่า
หรือหากมีคำถามใดๆเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่ช่อง comment ด้านล่าง ได้เลยนะคะ ทาง admin จะรีบหาข้อมูลมาตอบกลับให้ค่ะ หรือคุณพ่อ คุณแม่ สามารถติดต่อไปที่สายด่วนประกันสังคมได้โดยตรงเช่นกันค่ะ
หรือหากมีคำถามใดๆเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่ช่อง comment ด้านล่าง ได้เลยนะคะ ทาง admin จะรีบหาข้อมูลมาตอบกลับให้ค่ะ หรือคุณพ่อ คุณแม่ สามารถติดต่อไปที่สายด่วนประกันสังคมได้โดยตรงเช่นกันค่ะ
หากคุณแม่ หรือคุณพ่อ ต้องการข้อมูลเรื่องสิทธิประโยชน์สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ หรือสอบถามเรื่องสิทธิประกันสังคมด้านอื่นๆ เพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานประกันสังคม หรือ www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 ได้เลยค่ะ
หรือหากมีคำถามใดๆเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่ช่อง comment ด้านล่าง ได้เลยนะคะ ทาง admin จะรีบหาข้อมูลมาตอบกลับให้ค่ะ หรือคุณพ่อ คุณแม่ สามารถติดต่อไปที่สายด่วนประกันสังคมได้โดยตรงเช่นกันค่ะ
หากคุณแม่ หรือคุณพ่อ ต้องการข้อมูลเรื่องสิทธิประโยชน์สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ หรือสอบถามเรื่องสิทธิประกันสังคมด้านอื่นๆ เพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานประกันสังคม หรือ www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 ได้เลยค่ะ
หรือหากมีคำถามใดๆเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่ช่อง comment ด้านล่าง ได้เลยนะคะ ทาง admin จะรีบหาข้อมูลมาตอบกลับให้ค่ะ หรือคุณพ่อ คุณแม่ สามารถติดต่อไปที่สายด่วนประกันสังคมได้โดยตรงเช่นกันค่ะ
✅✅✅✅✅
เฮลท์สไมล์ บริการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ และตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ ครบ 23 คู่ทุกโครโมโซมที่มีในมนุษย์ รู้เพศ และโรคอื่นๆที่เกิดจากการขาด/เกินของโครโมโซมขนาดเล็กได้มากถึง 92 โรค กับ Brand NIFTY® และ NGD NIPS
✔ ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมอื่นๆ ผลแม่นยำสูง 99.9%
✔ เจาะเลือดเพียง 10 ซีซี ไม่เสี่ยงแท้ง
✔ ราคาคุ้มค่า ประหยัด ค่าบริการเริ่มต้นที่ 9,500 บาท รวมค่าบริการเจาะเลือดถึงบ้าน และแพทย์อ่านผลให้ทุกเคส
✔ สะดวก สบาย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ลดความเสี่ยงจากการเดินทางออกนอกสถานที่
✔ บริการตรวจถึงบ้านทั่วประเทศ ฟรี
✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @Healthsmile
📞 โทร : 089 874 9565
🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของทารกในครรภ์ ได้ที่นี่ https://healthsmile.co.th/prenatal-screening/