Last Updated on 31 กรกฎาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์

เนื้อหาในบทความนี้

Last Updated on 31 กรกฎาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์

ประเทศไทย ถือเป็นหนึ่งในหลายๆประเทศที่มีระบบบริการสุขภาพดีเป็นอันดับต้นๆของโลก และทางกระทรวงสาธารณสุขก็พยายามเป็นอย่างยิ่ง ที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของมารดาและทารกในครรภ์เพื่อที่จะให้ประชากรในประเทศไทยนั้นมีคุณภาพ โดยเริ่มต้นตั้งแต่การฝากครรภ์ การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมของทารกในครรภ์ การตรวจเรื่องโลหิตจาง/ธาลัสซีเมีย การคุมกำเนิดให้กับวัยรุ่นเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ฯลฯ สำหรับบทความนี้ เราจะเป็นการสรุปสิทธิ์ต่างๆของคุณแม่ เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ตามที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2565 มาให้อ่านกันค่ะ

สิทธิ์คุณแม่คนไทยต้องรู้

ดาวน์โหลดไฟล์

      1. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการฝากครรภ์ พ.ศ. ๒๕๖๔ (เลิกใช้แล้ว)
      2. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีการป้องกันและควบคุมโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์ พ.ศ. ๒๕๖๔ (เลิกใช้แล้ว)
      3. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการป้องกันและควบคุมกลุ่มอาการดาวน์ในหญิงตั้งครรภ์ พ.ศ. ๒๕๖๔ (เลิกใช้แล้ว)
      4. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก พ.ศ. ๒๕๖๔ (เลิกใช้แล้ว)
      5. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการป้องกันและควบคุมการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. ๒๕๖๔ (เลิกใช้แล้ว)
      6. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับบริการพื้นฐาน จ่ายตามรายการบริการ พ.ศ. ๒๕๖๖
        • รวมจากข้อ 1-4
        • ปรับปรุงข้อ 5 เป็น บริการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย

    เนื่องจากมีประกาศเปลี่ยนแปลง ปี 2566

    ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับบริการพื้นฐาน จ่ายตามรายการบริการ พ.ศ. ๒๕๖๖

    สามารถอ่านบทความ update ล่าสุดได้ที่นี่


     

    เรื่องการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการฝากครรภ์ พ.ศ. ๒๕๖๔

    สำหรับคนไทยทุกคนที่มีเลขบัตรประชาชน 13 หลัก สามารถเข้ารับบริการฝากครรภ์ได้ฟรีที่สถานพยาบาลของรัฐทุกแห่ง หรือสถานพยาบาลเอกชนบางแห่งที่เข้าร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้(กรุณาสอบถามสถานพยาบาลแต่ละแห่งก่อนเข้ารับการฝากครรภ์เสมอ) โดยที่ไม่ต้องคำนึงว่าจะเป็นสิทธิ์บัตรทอง หรือประกันสังคม หรือข้าราชการ

    โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จัดให้มีบริการต่างๆด้านการฝากครรภ์ดังนี้

        • ฝากครรภ์ครั้งที่ 1 – 8

        • ฝากครรภ์ครั้งที่ 9 ขึ้นไป (ขึ้นกับแพทย์ผู้ตรวจพิจารณาความจำเป็น)

        • บริการตรวจอัลตราซาวด์ (เหมาจ่าย 400 บาท)

        • บริการตรวจสุขภาพช่องปากและขัดทำความสะอาดฟัน (เหมาจ่าย 500 บาท)

        • การตรวจเลือดตามรายการดังต่อไปนี้
              • ซิฟิลิส (VDRL) 2 ครั้ง

              • เอดส์ (HIV Antibody) 2 ครั้ง

              • ตับอักเสบบี (Hepatitis B surface antigen : HBs Ag) 1 ครั้ง

              • ความสมบูรณ์ของเลือด (CBC + MCV) และ/หรือ DCIP 1 ครั้ง

              • การตรวจกรุ๊ปเลือด Blood group : ABO/Rh 1 ครั้ง

        โดยบริการฝากครรภ์ที่ได้มาตรฐานที่ดีตามมาตรฐานที่กำหนด จะต้องมีกิจกรรมบริการ การตรวจคัดกรองที่จำเป็นและการประเมินความเสี่ยงตามช่วงอายุครรภ์ ดังต่อไปนี้ครบถ้วนด้วย

            • ประวัติส่วนตัว การเจ็บป่วย และทางสูติกรรม

            • ข้อมูลการตั้งครรภ์ปัจจุบัน

            • ตรวจร่างกาย ปอด หัวใจ

            • ประเมินสุขภาพจิต

            • ประเมินความเสี่ยงการตั้งครรภ์

            • พบแพทย์เพื่อประเมินความเสี่ยงการตั้งครรภ์

            • Prenatal counselling กลุ่มอาการดาวน์ และธาลัสซีเมีย

            • คัดกรองกลุ่มอาการดาวน์ 14 – 18 wks.

            • คัดกรองเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ทุกราย 24 – 28 wks. (ยกเว้นกลุ่มเสี่ยงให้คัดครองตั้งแต่การมาฝากครรภ์ครั้งแรก)
                  • Glucose challenge test (GCT)

                  • Oral glucose tolerance test (OGTT)

              • ประเมินการคลอด

              • การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ครั้งที่1 และครั้งที่ 2
                    • ตรวจปัสสาวะ Multiple urine dipstick
                    • ตรวจซิฟิลิส TPHA หรือ anti TP (กรณีที่ TPHA/anti TP ผลเป็นบวกในการตรวจครั้งแรก หรือเคยเป็นบวกมาก่อนให้เปลี่ยนการตรวจจาก TPHA/anti TP เป็น VDRL/RPR)*
                    • ตรวจซิฟิลิส VDRL/RPR
                    • ตรวจเอดส์ Anti – HIV
                    • ตรวจตับอักเสบบี HBs Ag
                    • ตรวจความสมบูรณ์ของเลือดและคัดกรองธาลัสซีเมีย CBC for MCV,Hct, Hb
                    • ตรวจคัดกรองธาลัสซีเมีย DCIP
                      ถ้าผล MCV + DCIP เป็นบวกทั้งคู่ให้ตรวจยืนยัน Hb typing/PCR เพื่อกำหนดคู่เสี่ยงการตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์และยุติการตั้งครรภ์
                    • ตรวจหมู่เลือด (ABO และ Rh)

                • ตรวจสุขภาพช่องปาก

                • ฝึกแปรงฟันแบบลงมือปฏิบัติและขัดทาความสะอาดฟัน

                • การตรวจครรภ์ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound)
                      • ครั้งที่ 1 ประเมินอายุครรภ์เพื่อกาหนดวันคลอดและคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์

                      • ครั้งที่ 2 ประเมินการเจริญเติบโตและความผิดปกติของทารกในครรภ์

                      • ครั้งที่ 3 Optional

                  • การประเมินสุขภาพทารกในครรภ์
                        • NST

                        • ตรวจ Ultrasound ดูน้ำคร่า

                    • การฉีดวัคซีน
                          • วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก (dT) (จำนวนครั้งที่ให้ขึ้นอยู่กับประวัติการได้รับวัคซีนในอดีต)

                          • วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ (≥ 4 เดือน)

                          • วัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 (> 12 สัปดาห์)

                      • การให้ยาเสริมธาตุเหล็ก กรดโฟลิก ไอโอดีน และแคลเซียม กินทุกวัน ตลอดอายุการตั้งครรภ์

                      • โรงเรียนพ่อแม่**
                            • การปฏิบัติตัวระหว่างตั้งครรภ์

                            • การใช้ยา

                            • โภชนาการ

                            • พัฒนาการทารก

                            • กิจกรรมทางกายและการนอน

                            • การเตรียมตัวก่อนคลอด และระหว่างคลอด

                            • การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

                      ส่วนกรณี การบริการฝากครรภ์ในกรณีครรภ์เสี่ยงสูงหรือมีภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลมากกว่าบริการพื้นฐานสำหรับบริการ ฝากครรภ์ หน่วยบริการ
                      สามารถเรียกเก็บค่าใช้จ่ายได้ตามสิทธิรักษาพยาบาลของผู้มีสิทธิรายนั้น

                      ตารางแสดงแนวทางฝากครรภ์คุณภาพ ปี 2565 กรมอนามัย : กิจกรรมบริการ การตรวจคัดกรองที่จำเป็นและการประเมินความเสี่ยงตามช่วงอายุครรภ์

                      ตารางแสดงแนวทางฝากครรภ์คุณภาพ ปี 2565 กรมอนามัย : กิจกรรมบริการ การตรวจคัดกรองที่จำเป็นและการประเมินความเสี่ยงตามช่วงอายุครรภ์ หน้า 1

                      ตารางแสดงแนวทางฝากครรภ์คุณภาพ ปี 2565 กรมอนามัย : กิจกรรมบริการ การตรวจคัดกรองที่จำเป็นและการประเมินความเสี่ยงตามช่วงอายุครรภ์ หน้า 2

                       

                      ตารางแสดงแนวทางฝากครรภ์คุณภาพ ปี 2565 กรมอนามัย : กิจกรรมบริการ การตรวจคัดกรองที่จำเป็นและการประเมินความเสี่ยงตามช่วงอายุครรภ์ หน้า 3

                       

                      ตารางแสดงแนวทางฝากครรภ์คุณภาพ ปี 2565 กรมอนามัย : กิจกรรมบริการ การตรวจคัดกรองที่จำเป็นและการประเมินความเสี่ยงตามช่วงอายุครรภ์ หน้า 4


                       

                      เรื่องการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีการป้องกันและควบคุมโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์ พ.ศ. ๒๕๖๔

                      จากข้อที่ผ่านมา จะเห็นว่า กรณีฝากครรภ์แล้ว ถ้าผลตรวจคัดกรองธาลัสซีเมียของทั้งบิดา / มารดา (MCV + DCIP) เป็นบวกทั้งคู่ให้ตรวจยืนยัน Hb typing/PCR เพื่อกำหนดคู่เสี่ยงการตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์และยุติการตั้งครรภ์

                      โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จะช่วยเหลือค่าบริการตรวจยืนยันโลหิตจางธาลัสซีเมียให้แก่หญิงไทยซึ่งตั้งครรภ์ และสามี หรือคู่ของหญิงตั้งครรภ์ที่เป็น คนไทยทุกคน ที่มีผลการคัดกรองโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียผิดปกติ ไม่ต้องคำนึงว่าจะเป็นสิทธิ์บัตรทอง หรือประกันสังคม หรือข้าราชการ

                      โดยมีรายละเอียดดังนี้

                      *** หมายเหตุ รายการตรวจในกรณีเหล่านี้ ผู้เขียนไม่แน่ใจในการฝากครรภ์ที่สถานพยาบาลของเอกชนว่าสามารถใช้สิทธิ์ได้หรือไม่ กรุณาสอบถามสถานพยาบาลแต่ละแห่งอีกครั้ง

                          • ค่าตรวจ Hb typing : 270 บาท

                          • ค่าตรวจ Alpha – thalassemia 1 : 800 บาท

                          • ค่าตรวจ Beta – thalassemia : 3,000 บาท

                          • ค่าตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ จ่ายแบบเหมาจ่าย ในอัตรา 2,500 บาท ต่อการตั้งครรภ์ โดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
                                • การตัดชิ้นเนื้อรก (Chorionic villus sampling,CVS)

                                • การเจาะน้าคร่า (Amniocentesis)

                                • การเจาะเลือดทารกจากสายสะดือ (Cordocentesis)

                            • ค่ายุติการตั้งครรภ์ 3,000 บาทต่อการตั้งครรภ์


                           

                          เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการป้องกันและควบคุมกลุ่มอาการดาวน์ในหญิงตั้งครรภ์ พ.ศ. ๒๕๖๔

                          การบริการป้องกันและควบคุมกลุ่มอาการดาวน์ในหญิงตั้งครรภ์ เป็นการให้บริการแก่ หญิงไทยซึ่งตั้งครรภ์ทุกคน ไม่ต้องคำนึงว่าจะเป็นสิทธิ์บัตรทอง หรือประกันสังคม หรือข้าราชการ โดยมีรายละเอียดดังนี้

                          ค่าบริการตรวจคัดกรอง Down syndrome ในหญิงตั้งครรภ์ทุกกลุ่มอายุ

                              • ค่าบริการเจาะเลือดและค่าขนส่งเลือด

                              • ค่าตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์

                              • ค่าหัตถการเพื่อตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ เมื่อผลการตรวจ Quadruple test พบว่ามีความเสี่ยงสูง โดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
                                    • การเจาะน้าคร่า (Amniocentesis)

                                    • การเจาะเลือดทารกจากสายสะดือ (Cordocentesis)

                                • ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการในการตรวจโครโมโซมยืนยันทารกในครรภ์

                                • ค่ายุติการตั้งครรภ์ กรณีทารกในครรภ์มีความผิดปกติ

                              จะเห็นได้ว่า การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมในหญิงตั้งครรภ์ ตามสิทธิที่ สปสช. ให้นั้น ถือว่าเป็นก้าวสำคัญในการยกระดับการฝากครรภ์ของคนไทย ให้มีความมั่นใจมากขึ้นว่าทารกในครรภ์จะไม่มีปัญหาเรื่องดาวน์ซินโดรม

                              แต่อย่างไรก็ดี เทคนิคการตรวจที่ได้รับฟรีนั้น เป็นการตรวจที่เรียกว่า Quadruple test ซึ่งมีความแม่นยำ (detection rate) อยู่ที่ประมาณ 80% และไม่สามารถตรวจในครรภ์แฝดได้

                              หากคุณแม่ต้องการการตรวจคัดกรองที่มีความแม่นยำมากขึ้นกว่านี้ โดย ณ ปัจจุบัน มีการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมที่มีความแม่นยำสูงถึง 99.9% และสามารถตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมในครรภ์แฝดได้ ได้แก่การตรวจ NIPT หรือ Non-invasive Prenatal testing ซึ่งจะไม่สามารถรับบริการได้จากโรงพยาบาลของรัฐทั่วๆไป

                              อ่านเพิ่มที่นี่
                              —– การตรวจสารพันธุกรรมทารกในครรภ์ (Cell-free fetal DNA) คัดกรองดาวน์ซินโดรม
                              —– อายุครรภ์ที่เหมาะจะเจาะตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม (NIPT, NIPS, NIFTY) คือช่วงไหน
                              —– การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม แบบ NIPT (นิฟ หรือนิฟตี้) ตรวจในครรภ์แฝดได้ไหม

                              จะเห็นได้ว่า การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมนั้นมีอยู่หลายวิธี ทั้งวิธีที่ไม่มีค่าใช้จ่าย (ฟรีที่โรงพยาบาลของรัฐ)แต่ความแม่นยำ 80% หรือวิธีการตรวจ NIPT ที่ความแม่นยำสูงถึง 99.9% เมื่อเทียบกับการเจาะน้ำคร่ำ ซึ่งการเจาะน้ำคร่ำจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดการแท้งบุตรได้ ดังนั้น หากคุณแม่ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าตนเองควรเลือกการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมแบบไหนดี ลองอ่านบทความนี้ เพื่อช่วยตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

                              —– 8 ขั้นตอนในการเลือกการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมให้คุ้มค่า (NIFTY, Quad test, อัลตราซาวนด์ และอื่นๆ)


                              อ่านต่อ ตอนที่ 2 คลิกที่นี่
                              4. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก พ.ศ. ๒๕๖๔
                              และ
                              5. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการป้องกันและควบคุมการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. ๒๕๖๔

                              ต้องการคำปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม หรือนัดหมายตรวจ NIPT คลิกที่นี่

                              call to action NIPT ท้ายบทความ สีชมพู

                              ✅✅✅✅✅

                              เฮลท์สไมล์ บริการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ และตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ ครบ 23 คู่ทุกโครโมโซมที่มีในมนุษย์ รู้เพศ และโรคอื่นๆที่เกิดจากการขาด/เกินของโครโมโซมขนาดเล็กได้มากถึง 92 โรค กับ Brand NIFTY® และ NGD NIPS

                              ✔ ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมอื่นๆ ผลแม่นยำสูง 99.9%

                              ✔ เจาะเลือดเพียง 10 ซีซี ไม่เสี่ยงแท้ง

                              ✔ ราคาคุ้มค่า ประหยัด ค่าบริการเริ่มต้นที่ 9,500 บาท รวมค่าบริการเจาะเลือดถึงบ้าน และแพทย์อ่านผลให้ทุกเคส

                              ✔ สะดวก สบาย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ลดความเสี่ยงจากการเดินทางออกนอกสถานที่

                              ✔ บริการตรวจถึงบ้านทั่วประเทศ ฟรี

                              ✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @Healthsmile

                              📞 โทร : 089 874 9565

                              🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของทารกในครรภ์ ได้ที่นี่ https://healthsmile.co.th/prenatal-screening/

                              ตารางราคา NGD NIPT 5chromosome 8900 บาท NIFTY focus 10900 บาท NGD NIPS 23 chromosomes 11900 บาท NIFTY Core 12900 บาท NIFTY Pro 17400 บาท
                              HealthSmile Medical writer team เป็นทีมเขียนบทความทางการแพทย์ของบริษัท วัฒนา เมดิคอล แอนด์ เวลล์บีอิง จำกัด ที่มีความต้องการที่จะกระจายความรู้ด้านการแพทย์เชิงลึก เกี่ยวกับการตรวจความผิดปกติของโครโมโซม ยีน และ DNA รวมไปถึงความรู้ด้านการตั้งครรภ์ การตรวจสุขภาพ และโรคภัยต่างๆ หากมีข้อเสนอแนะ สามารถแจ้งได้ที่ [email protected]