Last Updated on 17 เมษายน 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์

Last Updated on 17 เมษายน 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์

ต้องเจาะน้ำคร่ำไหม ถ้าผลตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมพบว่ามีความเสี่ยงต่ำ?? คุณแม่หลายคนสอบถามเข้ามาเรื่องนี้ เนื่องจากแพทย์แนะนำให้เจาะน้ำคร่ำ แม้ว่าผลการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมจะมีความเสี่ยงต่ำ บทความนี้จะบอกถึงสาเหตุอะไรบ้างที่แม้ว่าผลตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมมีความเสี่ยงต่ำ แต่แพทย์ก็ยังอาจจะแนะนำให้เจาะน้ำคร่ำเพื่อยืนยันผลตรวจ

การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมของทารกในครรภ์

มีอยู่หลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีก็จะมีความแม่นยำ, เทคนิคการตรวจ, ค่าใช้จ่าย, จำนวนครั้งที่ต้องพบแพทย์ที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถอ่านเพิ่มได้ที่บทความ การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม มีกี่แบบ อะไรบ้าง

ต่อไปนี้คือการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมของทารกในครรภ์ ที่พบบ่อยในประเทศไทย

  1. การตรวจคัดกรองในไตรมาสแรก (First Trimester Screening Test):
    • ประกอบด้วยการตรวจเลือดและการตรวจอัลตราซาวนด์ในช่วงสัปดาห์ที่ 11-13 ของการตั้งครรภ์.
    • ข้อดี : ค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก
    • ข้อเสีย : ต้องใช้แพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ (MFM) หรือแพทย์ที่อบรมมาโดยเฉพาะ (ซึ่งในประเทศไทยยังมีอยู่น้อย)
    • ความแม่นยำ : ประมาณ 90%
  2. การตรวจคัดกรองแบบ Quadruple Test:
    • ตรวจเลือดวัดสารชีวเคมีจากเลือดของมารดา 4 ค่า แล้วนำมาคำนวณความเสี่ยง ทำในช่วงสัปดาห์ที่ 15-20 ของการตั้งครรภ์
    • ข้อดี : ค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก (ตรวจที่โรงพยาบาลรัฐฟรี)
    • ข้อเสีย : ความแม่นยำน้อยกว่าวิธีอื่นเล็กน้อย และมีโอกาส false positive (ตรวจว่าความเสี่ยงสูง แต่เจาะน้ำคร่ำแล้วผลปกติ) ประมาณ 5 % ทำให้เพิ่มโอกาสต้องเจาะน้ำคร่ำโดยไม่จำเป็นในบางคน
    • ความแม่นยำ : ประมาณ 80-85%
  3. การตรวจ Non-Invasive Prenatal Testing (NIPT):
    • ตรวจหาข้อมูลทางพันธุกรรมของทารกโดยตรงจากเลือดของมารดา โดยดูจากเศษ DNA จากรกของลูกที่ลอยอยู่ในเลือดของมารดา สามารถทำได้หลังจากสัปดาห์ที่ 10 ของการตั้งครรภ์
    • ข้อดี : ความแม่นยำสูงที่สุด ณ ปัจจุบัน, สามารถตรวจคัดกรองได้หลายโครโมโซม หลายโรค
    • ข้อเสีย : ราคาสูงกว่าวิธีอื่น
    • ความแม่นยำ : 99.9% สำหรับการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม
  4. การตรวจอัลตราซาวนด์ที่ละเอียด (Detailed Ultrasound):
    • ทำโดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์ที่ 18-22 เพื่อตรวจหาลักษณะผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับดาวน์ซินโดรม
    • ข้อเสีย : ความแม่นยำต่ำที่สุด และความแม่นยำขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแพทย์แต่ละท่าน ไม่แน่นอนในแต่ละสถานพยาบาล
    • ความแม่นยำ : ประมาณ 60%

ผลตรวจคัดกรอง ต่างจากผลตรวจน้ำคร่ำอย่างไร

เนื่องจากวิธีที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมด เป็นวิธีการตรวจคัดกรอง (Screening test) เท่านั้น ไม่ได้มีไว้สำหรับทำการวินิจฉัย (Diagnostic test) และการตรวจคัดกรองแต่ละแบบมีข้อดี, ข้อจำกัด และความแม่นยำที่แตกต่างกัน

หากผลตรวจผิดปกติ (มีความเสี่ยงสูง)

หากผลตรวจคัดกรองด้วยวิธี NIPT พบว่ามีความเสี่ยงสูง จำเป็นต้องเจาะน้ำคร่ำเพื่อยืนยันความผิดปกติเสมอ

หากผลตรวจคัดกรองด้วยวิธีอืนๆ พบว่ามีความเสี่ยงสูง อาจเลือกตรวจน้ำคร่ำเพื่อทำการวินิจฉัยเลยก็ได้ หรือหากไม่ต้องการเสี่ยงแท้งจากการเจาะน้ำคร่ำก็อาจะเลือกวิธีตรวจคัดกรองด้วย NIPT เพิ่มก็ได้
อ่านเพิ่มเติม : ผลตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม แบบ Quad test (ควอดเทส) ได้ผลว่ามีความเสี่ยงสูง (High risk) ทำอย่างไรดี !

หากผลตรวจปกติ (มีความเสี่ยงต่ำ)

ในกรณีที่ผลตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม ไม่ว่าจะวิธี NIPT หรือ First Trimester Screening Test, Quadruple test แสดงความเสี่ยงต่ำ และไม่มีปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นกังวล แพทย์อาจแนะนำว่าไม่จำเป็นต้องเจาะน้ำคร่ำ แต่การตัดสินใจนี้ควรปรึกษาแพทย์ที่ดูแลอย่างละเอียดเพื่อให้มีการตัดสินใจที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละกรณี

เหตุผลใดบ้างที่ทำให้แพทย์ต้องเจาะน้้ำคร่ำ แม้ว่าผลตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมปกติ

เนื่องจากการตรวจคัดกรอง แม้ว่าจะเป็นการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมด้วยวิธี NIPT ที่มีความแม่นยำสูงถึง 99.9% แต่ว่าก็มีโอกาสเกิดผล false negative ได้ (คือผลบอกว่าความเสี่ยงต่ำ แต่ทารกในครรภ์มีความผิดปกติ) และโอกาสเกิด false negative ก็จะเยอะมากขึ้น หากความแม่นยำของการตรวจต่ำลง

ดังนั้น แพทย์อาจตัดสินใจที่จะเจาะน้ำคร่ำหลังจากได้ผลคัดกรองที่แสดงความเสี่ยงต่ำได้ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ดังนี้

  1. ผลการตรวจอัลตราซาวน์ผิดปกติ: หากการตรวจอัลตราซาวน์แสดงลักษณะผิดปกติที่อาจบ่งบอกถึงสภาวะทางพันธุกรรมหรือความผิดปกติอื่นๆ ในทารก
  2. ประวัติครอบครัว: หากมีประวัติของความผิดปกติทางพันธุกรรมในครอบครัว เช่น ภาวะ ring chromosome หรือมารดาโครโมโซมผิดปกติ ฯลฯ แพทย์อาจแนะนำการเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจสอบโดยตรง เนื่องจากการตรวจคัดกรองในวิธีต่างๆที่กล่าวมาจะไม่แม่นยำ (อ่านเพิ่ม : 7 สาเหตุ ที่อาจทำให้ผลตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม (NIPS, NIPT, NIFTY) ผิดพลาด)
  3. มารดาเป็นโรคอื่นๆ หรือได้รับการรักษาด้วยวิธีบางอย่าง ที่ทำให้ไม่สามารถตรวจคัดกรองได้: หากมารดามีโรค หรือได้รับยา/การรักษาบางอย่างที่ส่งผลกระทบต่อความแม่นยำของการตรวจคัดกรองทางพันธุกรรม เช่น โรค SLE, ได้รับยาละลายลิ่มเลือก, ได้รับส่วนประกอบของเลือด เป็นต้น ทำให้ผลคัดกรองดาวน์ซินโดรมนั้นไม่ชัดเจน ไม่แม่นยำ
  4. มารดาหรือครอบครัวต้องการยืนยันด้วยการตรวจวินิจฉัย: ในมารดาบางท่าน ที่ต้องการความแม่นยำที่สูงที่สุด อาเลือกการเจาะน้ำคร่ำเป็นวิธีที่สามารถยืนยันการวินิจฉัยของความผิดปกติทางพันธุกรรมได้อย่างแน่นอน แต่ก็ต้องคุยกับแพทย์เรื่องของความเสี่ยงจากผลแทรกซ้อนจากการเจาะน้ำคร่ำด้วยเช่นกัน
  5. เพื่อตรวจหาสภาวะอื่นๆ:
    • การเจาะน้ำคร่ำสามารถใช้ตรวจหาสความผิดปกติอื่นๆได้ เช่น
      • การติดเชื้อในครรภ์ : การติดเชื้อกลุ่ม TORCH , CMV
      • ตรวจปัญหาที่เกี่ยวข้องกับน้ำคร่ำ : ปริมาณน้ำคร่ำที่มากหรือน้อยผิดปกติ
  6. มีประวัติของทารกเสียชีวิตในครรภ์:
    • หากมีประวัติการตั้งครรภ์ก่อนหน้าที่ทารกเสียชีวิตในครรภ์โดยไม่ทราบสาเหตุ, การเจาะน้ำคร่ำอาจช่วยให้เข้าใจสาเหตุได้ดียิ่งขึ้น.
  7. ตรวจหาสภาวะเฉพาะที่ไม่ได้ครอบคลุมในการคัดกรองมาตรฐาน:
    • มีบางสภาวะทางพันธุกรรมที่อาจไม่ได้รับการตรวจสอบในการคัดกรองมาตรฐานและอาจต้องใช้การเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจหา ได้แก่ ความผิดปกติในระดับยีน เช่น โรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง, โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมในระดับยีน เป็นต้น
      อ่านเพิ่ม : เป็นธาลัสซีเมีย ตรวจ NIPT หรือ NIFTY ได้ไหม
  8. คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญทางพันธุกรรม:
    • ในบางกรณี, ผู้เชี่ยวชาญทางพันธุกรรมอาจแนะนำการเจาะน้ำคร่ำเพื่อยืนยันหรือหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาวะพันธุกรรมที่ผิดปกติโดยเฉพาะ.

สรุป ต้องเจาะน้ำคร่ำไหม กรณีถ้าผลคัดกรองดาวน์ซินโดรมปกติ

หากผลตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม ได้ผลว่ามีความเสี่ยงต่ำ ร่วมกับไม่ได้มีความเสี่ยงอื่นๆที่มีความจำเป็นต้องเจาะน้ำคร่ำ ก็ไม่จำเป็นต้องเจาะน้ำคร่ำเพื่อยืนยัน

แต่หากแพทย์พบว่ามีความเสี่ยงใดๆที่จำเป็นต้องเจาะตรวจน้ำคร่ำ เช่น อัลตราซาวนด์พบความผิดปกติ ประวัติสุขภาพของคนในครอบครัว / ตัวมารดาผิดปกติ หรือมีโรคที่สงสัยในทารกที่จำเป็นต้องเจาะน้ำคร่ำ ก็ควรจะได้รับการเจาะตรวจแม้ว่าผลคัดกรองดาวน์ซินโดรมจะปกติก็ตาม

ต้องการคำปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม หรือนัดหมายตรวจ NIPT คลิกที่นี่

call to action NIPT ท้ายบทความ สีชมพู

✅✅✅✅✅

เฮลท์สไมล์ บริการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ และตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ ครบ 23 คู่ทุกโครโมโซมที่มีในมนุษย์ รู้เพศ และโรคอื่นๆที่เกิดจากการขาด/เกินของโครโมโซมขนาดเล็กได้มากถึง 92 โรค กับ Brand NIFTY® และ NGD NIPS

✔ ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมอื่นๆ ผลแม่นยำสูง 99.9%

✔ เจาะเลือดเพียง 10 ซีซี ไม่เสี่ยงแท้ง

✔ ราคาคุ้มค่า ประหยัด ค่าบริการเริ่มต้นที่ 9,500 บาท รวมค่าบริการเจาะเลือดถึงบ้าน และแพทย์อ่านผลให้ทุกเคส

✔ สะดวก สบาย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ลดความเสี่ยงจากการเดินทางออกนอกสถานที่

✔ บริการตรวจถึงบ้านทั่วประเทศ ฟรี

✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @Healthsmile

📞 โทร : 089 874 9565

🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของทารกในครรภ์ ได้ที่นี่ https://healthsmile.co.th/prenatal-screening/

ตารางราคา NGD NIPT 5chromosome 8900 บาท NIFTY focus 10900 บาท NGD NIPS 23 chromosomes 11900 บาท NIFTY Core 12900 บาท NIFTY Pro 17400 บาท
สูตินรีแพทย์ ที่สนใจด้านโครโมโซม ยีน DNA และการตรวจสุขภาพเชิงลึก ให้การดูแลมารดาตั้งครรภ์ ตรวจความผิดปกติของทารกในครรภ์ รักษาสุขภาพทางเพศ และให้ความรู้ด้านการตรวจยีนสุขภาพ การศึกษา - สถานะความรู้ความชำนาญเฉพาะทางที่แพทยสภารับรอง : สาขา สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ( Obstetrics and Gynaecology ) - ประกาศนียบัตรฯ ที่แพทยสภารับรอง : ด้านเวชศาสตร์จีโนมเบื้องต้นสำหรับแพทย์เฉพาะทาง