Last Updated on 9 สิงหาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์

Last Updated on 9 สิงหาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์

การตรวจ cell-free fetal DNA (ตรวจ NIPT) คืออะไร

ปรับปรุงเนื้อหาล่าสุด 9 สิงหาคม 2567
โดย นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์

ชื่อย่อของการตรวจ : cffDNA , Non-Invasive Prenatal Screening (NIPS), Non-Invasive Prenatal Testing (NIPT) หรือ บางท่านอาจเรียกว่าการตรวจนิฟ

ทำไมจึงต้องตรวจสารพันธุกรรมทารกในครรภ์

  • เพื่อตรวจว่าทารกในครรภ์มีความผิดปกติที่เกิดจากพันธุกรรมหรือไม่ โดยโรคทางพันธุกรรมที่ตรวจได้จะเป็นการตรวจหาภาวะขาดหรือเกินของโครโมโซมเท่านั้น ไม่รวมถึงการกลายพันธุ์ของยีน หรือความผิดปกติที่ไม่ได้เกิดจากภาวะขาดหรือเกิน ของโครโมโซม

การตรวจควรทำเมื่อไหร่

  • ทำการตรวจตั้งแต่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์ขึ้นไป

ต้องใช้สิ่งส่งตรวจอะไรบ้าง

  • ใช้เลือดของมารดา ประมาณ 10 ซีซี โดยไม่ต้องเจาะน้ำคร่ำหรือเจาะชิ้นเนื้อรกมาตรวจ เนื่องจากในเลือดของมารดา จะมีสารพันธุกรรมของทารกอยู่ทำให้สามารถตรวจได้

ต้องมีการเตรียมตัวก่อนการตรวจหรือไม่

  • ไม่ต้องมีการเตรียมตัวเป็นพิเศษ สามารถรับประทานอาหารและยาประจำตัวก่อนการตรวจได้ตามปกติ

อ่านเพิ่มเติม : Top 10 คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม NIPT

การตรวจ cffDNA (การตรวจ NIPT) คืออะไร

เซลล์ลูกในเลือดแม่ มี 2 ชนิดคือ Intact fetal cell และ cell- free fetal DNA

  • Intact fetal cell คือเซลล์ลูกที่พบในเลือดแม่และคงอยู่ในกระแสเลือดแม่ได้ถึง 10 ปีหลังคลอด เป็นเซลล์ที่พบได้ในปริมาณน้อย
    • ไม่สามารถนำมาใช้ในการตรวจคัดกรองความผิดปกติของทารกในครรภ์ได้ เนื่องจากมีปริมาณน้อย และแยกจากเลือดแม่ได้ยาก
  • Cell-free fetal DNA (cffDNA) คือ สิ่งเศษของ DNA ที่ถูกปล่อยจากเซลล์ของรกที่ตายลง (apoptotic placental trophoblast) แล้วลอยเข้าสู่เลือดแม่
    • สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ อายุครรภ์ 7 สัปดาห์ และพบในกระแสเลือดแม่ถึง 3-6% และปริมาณจะเพิ่มขึ้นตามอายุครรภ์
    • ขับออกจากกระแสเลือดแม่ภายใน 1-2 ชั่วโมงหลังคลอด
    • จึงสามารถนำมาใช้ตรวจหา โรคทางพันธุกรรม (single gene disorder), หมู่เลือดในลูก (fetal Rh D genotype evaluation), เพศลูก (Fetal Sex determination) และ การตรวจคัดกรอง aneuploidy (NIPT) ได้

สารพันธุกรรมที่ไม่ได้อยู่ในเซลล์ หรือ cffDNA คือสารที่หลั่งออกมาจากรกในครรภ์ แล้วไหลเวียนอยู่ในเลือดของมารดาระหว่างตั้งครรภ์ โดยสารเหล่านี้จะสัมพันธ์กับสารพันธุกรรมของทารกในครรภ์ และเนื่องจากการตรวจนี้ไม่จำเป็นต้องไปเจาะสารพันธุกรรมของเซลล์ของทารกจริงๆ (โดยไม่ได้เจาะน้ำคร่ำ หรือตัดชิ้นเนื้อรกจากทารก) ทำให้ไม่มีผลแทรกซ้อนจากการตรวจต่อทารกในครรภ์ จึงมักถูกเรียกว่า การตรวจคัดกรองแบบไม่รุกราน หรือ Non-Invasive Prenatal Testing (NIPT) ซึ่งในบทความนี้ ต่อไปจะขอเรียกการตรวจหา cffDNA ว่า “การตรวจ NIPT หรือ การตรวจนิฟ”

สาร cffDNA จะถูกสร้างและหลั่งออกมาจากรกตั้งแต่อายุครรภ์ 7 สัปดาห์เป็นต้นไปและเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุครรภ์ที่เพิ่มขึ้น ในการตรวจสามารถตรวจความผิดปกติของโครโมโซมของทารกได้ ตัวอย่างเช่นการมีโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง (ปกติโครโมโซมจะอยู่เป็นคู่ ทั้งหมด 23 คู่ในร่างกาย) ทำให้เกิดโรคดาวน์ซินโดรม (Down syndrome) ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 18 ทำให้เกิดกลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด (Edward syndrome) และความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 13 เกิดกลุ่มอาการพาทัว (Patau syndrome) เป็นต้น

กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมเป็นความผิดปกติที่พบได้บ่อยและมีความหลากหลายมากที่สุด โดยสามารถคัดกรองด้วยการตรวจ NIPT ได้ ส่วนกลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ดและพาทัวนั้นเป็นกลุ่มอาการที่พบได้น้อยกว่าแต่มีความรุนแรงมากกว่าดาวน์ซินโดรม ซึ่งทารกส่วนมากจะเสียชีวิตหลังจากคลอดไม่นาน นอกจากกลุ่มอาการ 3 กลุ่มที่กล่าวมาแล้ว การตรวจดังกล่าวยังสามารถตรวจหาความผิดปกติอื่นๆที่เกิดจากการขาด – เกินของโครโมโซมอื่นๆได้อีกด้วย เช่น กลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์ที่มีความผิดปกติของโครโมโซมเพศเกินจาก XY เป็น XXY หรือ การขาด-เกินของบางส่วนของโครโมโซมที่มีขนาดเล็กๆ (Microdeletion / duplication syndrome) เช่น กลุ่มอาการคริดูชาต์ (Cri-du-chat syndrome) ที่เกิดจากส่วนของโครโมโซมคู่ที่ 5 ขาดหายไป เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม : 

ตรวจ NIPT หรือ การตรวจนิฟ มีความจำเป็นหรือไม่

การตรวจ NIPT เป็นวิธีการตรวจคัดกรองโครโมโซมที่สามารถตรวจหาโรคทางพันธุกรรมได้มากกว่าแค่ดาวน์ซินโดรม ณ ปัจจุบัน สามารถตรวจภาวะขาด-เกินของโครโมโซมได้ทั้ง 23 คู่ และสามารถตรวจภาวะขาด-เกินของโครโมโซมขนาดเล็กๆได้ด้วย แต่การตรวจ NIPT นั้นแม้จะมี Detection rate สูงถึง 99.9% แต่ก็เป็นเพียงการตรวจเพื่อคัดกรองเท่านั้น ไม่สามารถใช้วินิจฉัยได้ว่าทารกในครรภ์เป็นโรคหรือไม่ หากผลออกมาว่ามีความผิดปกติจะต้องมีการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม

ดังนั้นการตัดสินใจว่าจะเข้ารับการตรวจ NIPT หรือไม่ ขึ้นอยู่กับตัวมารดาว่ามีความต้องการอย่างไร แต่อย่างไรก็ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญจากอเมริกามีหลักๆอยู่ 2 ค่ายเพื่อให้มารดาใช้ในการตัดสินใจ โดยมีรายละเอียดดังนี้

    • ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุศาสตร์ของอเมริกา (ACMG) กล่าวว่าการตรวจ NIPT นั้นเป็นการตรวจที่มีความไวสูงที่สุด (การตรวจที่มีความไวสูงจะสามารถทำให้ตรวจพบความผิดปกติได้ดีกว่ารตรวจที่มีความไวต่ำ) โดยมีประสิทธิภาพมากกว่าการตรวจแบบดั้งเดิม และสามารถตรวจโรคอื่นๆที่ไม่ใช่ดาวน์ซินโดรมได้อีกด้วย ดังนั้น ACMG จึงมีคำแนะนำให้ตรวจในหญิงตั้งครรภ์ทุกคนแทนการตรวจแบบดั้งเดิม

    • ผู้เชี่ยวชาญด้านสูตินารีแพทย์จากอเมริกา (ACOG) ยังคงแนะนำการตรวจแบบดั้งเดิมเป็นหลัก สำหรับการตรวจ NIPT นั้นให้ตรวจเฉพาะมารดาที่มีความเสี่ยงของความผิดปกติเท่านั้น และมารดาต้องเข้าใจถึงข้อจำกัดต่างๆในการตรวจก่อนตรวจและควรปรึกษาแพทย์ทางพันธุศาสตร์ก่อนตรวจด้วย โดยความเสี่ยงที่จะทำให้ทารกในครรภ์มีพันธุกรรมที่ผิดปกติได้แก่
          • มารดามีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป

          • การตรวจจากอัลตราซาวด์บอกว่าทารกในครรภ์อาจมีความผิดปกติจากพันธุกรรม

          • มีประวัติคลอดบุตรที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม

          • การตรวจแบบดั้งเดิมให้ผลว่าเด็กมีความผิดปกติทางพันธุกรรม

      อ่านเพิ่มเติม : 

      มีการแปลผลการตรวจอย่างไร

      หากผลการตรวจ NIPT ออกมาเป็นผลลบ (Low risk หรือความเสี่ยงต่ำ) สามารถบอกได้ว่าทารกมีสารพันธุกรรมต่างๆปกติ แต่ผู้ปกครองยังไม่ควรอุ่นใจเพราะการตรวจเป็นการตรวจเพื่อคัดกรองเท่านั้น จะต้องรอให้ทารกคลอดออกมาเพื่อยืนยันว่าทารกปกติจริงๆ

      หากผลตรวจ NIPT เป็นบวก (High risk หรือความเสี่ยงสูง) จะบอกได้ว่าทารกมีความเสี่ยงที่จะมีความผิดปกติทางพันธุกรรม แต่ต้องมีการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม โดยขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ หากอายุครรภ์อยู่ระหว่าง 10-15 สัปดาห์จะตรวจโดยการการเจาะรกมาตรวจสารพันธุกรรมด้วยการเจาะชิ้นเนื้อรก (Chorionic Villus Sampling : CVS) แต่หากอายุครรภ์ 15-20 สัปดาห์จะสามารถเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจได้ และการตรวจโครโมโซมที่ละเอียดมากขึ้นเพื่อมั่นใจว่าทารกมีหรือไม่มีความผิดปกติจริงๆ

      ในบางกรณีจะไม่สามารถบอกผลตรวจได้ เนื่องจากตัวอย่างเลือดของมารดาที่นำไปใช้ตรวจมีวิธีการเก็บตัวอย่างที่ไม่เหมาะสมเช่น มารดารที่หนักมากว่า 113 กิโลกรัม การเจาะเลือดมารดาที่อายุครรภ์น้อยกว่า 10 สัปดาห์ ในกลุ่มนี้ทั้ง ACMG และ ACOG แนะนำให้ตรวจโดยวิธีเจาะถุงน้ำคร่ำหรือรกเพื่อตรวจจะทำให้ได้ผลการตรวจที่แม่นยำมากกว่า

      มีสิ่งอื่นที่มารดาควรทราบก่อนตรวจหรือไม่

      สำหรับวิธีการตรวจ NIPT เป็นวิธีการตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์ได้ แต่อย่างไรก็ดี ความผิดปกติของทารกในครรภ์นั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ รวมถึงสาเหตุอื่นๆที่ไม่ได้เกี่ยวกับโครโมโซมด้วย เช่น ความผิดปกติที่เกิดจากการติดเชื้อบางชนิด (Group B streptococcus , ซิฟิลิส , หัดเยอรมัน เป็นต้น) หรือความผิดปกติจากการได้รับสารเคมีหรือยาบางอย่าง หรืออาจเกิดความผิดปกติโดยที่ไม่ทราบสาเหตุก็ได้ ดังนั้น แม้ว่าผลการตรวจ NIPT จะปกติ ก็ไม่ได้หมายความว่าทารกในครรภ์จะสมบูรณ์แข็งแรง 100% และคุณแม่ก็ควรที่จะเข้ารับการฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอ

      ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการตรวจ NIPT หรือไม่

      การตรวจ NIPT เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยในการคัดกรองความผิดปกติของทารกในครรภ์ที่มารดาเป็นผู้มีสิทธิเลือก ดังนั้นเพื่อความสบายใจและการตเรียมตัวที่ดีควรปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญ เกี่ยวกับการตรวจดังกล่าว เพื่อขอความเห็นของแพทย์ว่าจำเป็นต้องมีการตรวจ NIPT เพิ่มเติมหรือไม่ และให้ทราบถึงข้อดีและข้อเสียก่อนการตัดสินใจตรวจ

      ทั้งนี้ในปัจจุบัน มีคลินิกแลปจำนวนมากที่ให้บริการตรวจโดยที่ไม่ได้มีความรู้ด้านสูติศาสตร์ ทำให้เมื่อผลตรวจผิดปกติก็จะไม่สามารถให้คำแนะนำใดๆได้ จึงควรเข้ารับบริการการตรวจ NIPT ในสถานพยาบาลหรือบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญ มีแพทย์ให้คำปรึกษา ดูผล และให้คำแนะนำจะดีกว่าการเข้ารับบริการในสถานที่ที่ไม่มีผู้เชี่ยวชาญให้การดูแล

      หากการตั้งครรภ์ครั้งก่อนหน้าให้ผลตรวจเป็นลบ จำเป็นจะต้องตรวจ NIPT ในการตั้งครรภ์ครั้งนี้หรือไม่

      ควรทำการตรวจ NIPT ในทุกๆการตั้งครรภ์เพราะโอกาสของการเกิดทารกที่มีความผิดปกติมีในทุกๆการตั้งครรภ์

      ตรวจ NIPT ใช้เวลานานเท่าใด

      ในการตรวจขึ้นอยู่กับห้องปฏิบัติการที่ส่งตรวจ ซึ่งเวลาที่ใช้รอผลเฉลี่ย 1-2 สัปดาห์

      ตรวจ NIPT สามารถตรวจภาวะหลอดประสาทไม่ปิด ได้หรือไม่

      NIPT ไม่สามารถตรวจภาวะดังกล่าวได้ การตรวจภาวะท่อประสาทไม่ปิดนั้นจะตรวจในไตรมาสที่ 2 โดยตรวจสารชีวเคมีที่ชื่อว่า AFP ในเลือดของมารดา (จะอยู่ในการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมด้วยวิธี Quadruple test)

      ตรวจ NIPT สามารถบอกเพศของทารกได้หรือไม่

      ได้แน่นอน เพราะมีการตรวจโครโมโซมเพศด้วย โดยข้อมูลนี้จะรายงานอยู่ในผลตรวจเป็นปกติ แต่หากมารดาไม่ต้องการทราบเพศของทารก ก็สามารถแจ้งว่าไม่ต้องการทราบเพศของทารกในครรภ์ได้เช่นกัน

      อ่านเพิ่มเติม :

      References

      1. Noninvasive prenatal testing (NIPT) – department of obstetrics and gynecology faculty of medicine Chiang Mai university [Internet]. Cmu.ac.th. [cited 2024 Aug 9]. Available from: https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/topic-review/3622/
         
      2. Prenatal screening aneuploidies using Cell-free fetal DNA [Internet]. Cmu.ac.th. [cited 2024 Aug 9]. Available from: https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lessons/prenatal-screening-aneuploidies-using-cell-free-fetal-dna/
         
      3. Tongsong T. การตรวจทางพันธุกรรมสำหรับทารกระหว่างการตั้งครรภ์ (prenatal genetic test ) – department of obstetrics and gynecology faculty of medicine Chiang Mai university [Internet]. Cmu.ac.th. [cited 2024 Aug 9]. Available from: https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/topic-review/46295/
         
      4. Mortazavipour MM, Mahdian R, Shahbazi S. The current applications of cell-free fetal DNA in prenatal diagnosis of single-gene diseases: A review. Int J Reprod Biomed (Yazd) [Internet]. 2022 [cited 2024 Aug 9];20(8):613. Available from: http://dx.doi.org/10.18502/ijrm.v20i8.11751
         
      5. Everett TR, Chitty LS. Cell‐free fetal DNA: the new tool in fetal medicine. Ultrasound Obstet Gynecol [Internet]. 2015 [cited 2024 Aug 9];45(5):499–507. Available from: http://dx.doi.org/10.1002/uog.14746
         
      6. Raj H, Yelne P. Cell-free fetal deoxyribonucleic acid (cffDNA) analysis as a remarkable method of non-invasive prenatal screening. Cureus [Internet]. 2022 [cited 2024 Aug 9];14(10). Available from: http://dx.doi.org/10.7759/cureus.29965
         
      7. Wikipedia contributors. Cell-free fetal DNA [Internet]. Wikipedia, The Free Encyclopedia. 2024. Available from: https://en.wikipedia.org/w/index.php?title=Cell-free_fetal_DNA&oldid=1222579477
         
      8. Chiu RWK, Lo YMD. Cell‐free fetal DNA coming in all sizes and shapes. Prenat Diagn [Internet]. 2021 [cited 2024 Aug 9];41(10):1193–201. Available from: http://dx.doi.org/10.1002/pd.5952
         

      ต้องการคำปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม หรือนัดหมายตรวจ NIPT คลิกที่นี่

      call to action NIPT ท้ายบทความ สีชมพู

      ✅✅✅✅✅

      เฮลท์สไมล์ บริการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ และตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ ครบ 23 คู่ทุกโครโมโซมที่มีในมนุษย์ รู้เพศ และโรคอื่นๆที่เกิดจากการขาด/เกินของโครโมโซมขนาดเล็กได้มากถึง 92 โรค กับ Brand NIFTY® และ NGD NIPS

      ✔ ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมอื่นๆ ผลแม่นยำสูง 99.9%

      ✔ เจาะเลือดเพียง 10 ซีซี ไม่เสี่ยงแท้ง

      ✔ ราคาคุ้มค่า ประหยัด ค่าบริการเริ่มต้นที่ 9,500 บาท รวมค่าบริการเจาะเลือดถึงบ้าน และแพทย์อ่านผลให้ทุกเคส

      ✔ สะดวก สบาย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ลดความเสี่ยงจากการเดินทางออกนอกสถานที่

      ✔ บริการตรวจถึงบ้านทั่วประเทศ ฟรี

      ✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @Healthsmile

      📞 โทร : 089 874 9565

      🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของทารกในครรภ์ ได้ที่นี่ https://healthsmile.co.th/prenatal-screening/

      ตารางราคา NGD NIPT 5chromosome 8900 บาท NIFTY focus 10900 บาท NGD NIPS 23 chromosomes 11900 บาท NIFTY Core 12900 บาท NIFTY Pro 17400 บาท
      HealthSmile Medical writer team เป็นทีมเขียนบทความทางการแพทย์ของบริษัท วัฒนา เมดิคอล แอนด์ เวลล์บีอิง จำกัด ที่มีความต้องการที่จะกระจายความรู้ด้านการแพทย์เชิงลึก เกี่ยวกับการตรวจความผิดปกติของโครโมโซม ยีน และ DNA รวมไปถึงความรู้ด้านการตั้งครรภ์ การตรวจสุขภาพ และโรคภัยต่างๆ หากมีข้อเสนอแนะ สามารถแจ้งได้ที่ [email protected]