Last Updated on 17 เมษายน 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์

Last Updated on 17 เมษายน 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์

คนที่เป็นดาวน์ซินโดรมสามารถมีบุตรได้

ตามทฤษฎีแล้ว หากมีพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งเป็นดาวน์ซินโดรม โอกาสที่ลูกจะเกิดมาเป็นดาวน์ซินโดรมจะอยู่ที่ 50%

โดยส่วนใหญ่การตั้งครรภ์ที่มีคนใดคนหนึ่งเป็นดาวน์ซินโดรมแบบนี้ มักจะเป็นฝ่ายชายปกติและฝ่ายหญิงเป็นดาวน์ซินโดรม

จนถึงปัจจุบัน มีรายงานไม่มากนักเกี่ยวกับการที่ฝ่ายชายที่เป็นดาวน์ซินโดรม จะแต่งงานกับผู้หญิงปกติและมีลูกด้วยกัน และมีรายงานยิ่งน้อยลงไปอีก ในกรณีที่ทั้งฝ่ายชายและหญิงสองคนเป็นดาวน์ซินโดรมแล้วมีลูกด้วยกัน

ความต้องการทางเพศของผู้เป็นดาวน์ซินโดรม

ในอดีต ความต้องการทางเพศ และเรื่องเพศในผู้ที่เป็นดาวน์ซินโดรมมักไม่ค่อยได้มีการศึกษาและพูดถึงมากนัก และมีความเชื่อผิดๆว่าการเรียนรู้ช้า หรือพัฒนาการทางสมองที่ช้าของผู้เป็นดาวน์ซินโดรมจะทำให้เขาคิดแบบเด็กๆตลอดไป

แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้ที่เป็นดาวน์ซินโดรมนั้นมีความรู้สึกทางเพศ และต้องการความรักความอบอุ่นเช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ครอบครัวผู้ดูแลจะต้องแสดงออกอย่างถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องเพศ และต้องให้การศึกษาเรื่องการดูแลสุขภาพทางเพศ เช่น การรักษาความสะอาด การคุมกำเนิด การป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ฯลฯ เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ทั่วไปด้วย

ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นชาย หรือหญิง ที่เป็นดาวน์ซินโดรม ก็มีความต้องการทางเพศเช่นเดียวกันกับผู้คนทั่วไป แต่ว่าการแสดงออกของผู้ที่เป็นดาวน์ซินโดรมนั้นอาจจะไม่เหมือนคนทั่วไป ซึ่งก็อาจจะทำให้เกิดผลเสียตามมาได้ หากผู้ดูแลไม่ได้ให้ความรู้ความเข้าใจด้านเพศแก่ผู้เป็นดาวน์ซินโดรม

ทำไมกรณีที่ผู้เป็นดาวน์ซินโดรมตั้งครรภ์ ถึงมักจะเป็นฝ่ายชายปกติและฝ่ายหญิงที่เป็นดาวน์ซินโดรม

การตั้งครรภ์โดยส่วนใหญ่จะเกิดจากความยินยอมพร้อมใจของทั้งฝ่ายชายและหญิง ที่จะมีบุตรด้วยกัน แต่เนื่องจากฝ่ายชายที่เป็นผู้ป่วยดาวน์ซินโดรมอาจจะมีการแสดงออกด้านความรักได้ไม่ดีนัก จึงมักจะไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์กับฝ่ายหญิงที่ปกติได้ ต่างกับฝ่ายหญิงที่เป็นดาวน์ซินโดรมจะสามารถมีโอกาสมีเพศสัมพันธ์กับฝ่ายชายที่เป็นปกติได้มากกว่า

นอกจากการตั้งครรภ์ที่เกิดจากความต้องการของทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงที่เป็นดาวน์ซินโดรมจากข้างต้นแล้ว จะเห็นได้ว่าผู้ที่เป็นดาวน์ซินโดรมนั้นมีความต้องการทางเพศเช่นเดียวกัน แต่ว่าการแสดงออกอาจจะไม่ได้เหมือนกับคนทั่วไป ดังนั้น ในเพศหญิงที่เป็นดาวน์ซินโดรมจึงมีโอกาสที่จะถูกล่อลวงไปมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ยินยอมได้ง่ายกว่า และการรับรู้ความเสี่ยงเกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์ที่มีน้อย จึงสามารถพบการตั้งครรภ์ในหญิงที่เป็นดาวน์ซินโดรมได้มากกว่า ชายที่เป็นดาวน์ซินโดรม

หากเป็นดาวน์ซินโดรม แล้วต้องการตั้งครรภ์ ต้องทำอย่างไรลูกถึงจะไม่เป็นดาวน์ซินโดรม

โอกาสที่บุตรของผู้ที่เป็นดาวน์ซินโดรมจะเป็นดาวน์ซินโดรมด้วย จะมีอยู่สูงถึงประมาณ 50% เลยทีเดียว แต่ ณ ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ช่วยตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมอยู่หลายวิธีที่จะช่วยคัดกรองได้ว่าทารกในครรภ์นั้นเป็นดาวน์ซินโดรมหรือไม่ โดยในบทความนี้ จะขอนำเสนอ 2 วิธีที่มีประสิทธิภาพสูงในการตรวจคัดกรองภาวะดาวน์ซินโดรมของทารกในครรภ์

1. ตรวจตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ (ตั้งแต่ก่อนตัวอ่อนฝังตัว)

วิธีนี้ต้องใช้เทคโนโลยีช่วยในการเจริญพันธุ์ หรือการทำเด็กหลอดแก้วมาช่วย (ไม่ว่าจะเป็นการทำ ICSI หรือ IVF) โดยการนำไข่ของมารดา และอสุจิของบิดามาผสมกันภายนอกจนกลายเป็นตัวอ่อน จากนั้นจึงนำเซลล์บางส่วนของตัวอ่อนไปตรวจวิเคราะห์โครโมโซม เพื่อดูว่าตัวอ่อนที่ได้นั้นมีความเสี่ยงที่จะเป็นดาวน์ซินโดรมหรือไม่ โดยหากตัวอ่อนนั้นเป็นดาวน์ซินโดรม ก็จะถูกคัดออก และจะนำเฉพาะตัวอ่อนที่สมบูรณ์ใส่ในครรภ์ของคุณผู้หญิง

ข้อดี : รู้ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ ไม่จำเป็นต้องยุติการตั้งครรภ์หากทารกในครรภ์ผิดปกติ

ข้อเสีย :
– ค่าใช้จ่ายในการทำเด็กหลอดแก้วสูง
– มีความเสี่ยงระหว่างการทำเด็กหลอดแก้ว ทั้งจากการทำหัตถการต่างๆ เช่น การเก็บไข่ และการให้ยากระตุ้นต่างๆ
– หากตัวอ่อนเป็นดาวน์ซินโดรม ชนิดที่เป็น Mosaicism ก็อาจจะทำให้ตรวจไม่พบได้ (อ่านเพิ่ม : [เด็กหลอดแก้ว] ทำ ICSI ตรวจโครโมโซมก่อนใส่ตัวอ่อนแล้ว ต้องตรวจ NIPT หรือ ตรวจนิฟตี้ ซ้ำอีกไหม)

2. ตรวจหลังการตั้งครรภ์แล้ว

หลังการตั้งครรภ์ จะมีวิธีตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมอยู่หลายวิธี ซึ่งมีประสิทธิภาพ และความแม่นยำแตกต่างกันไป ตามบทความนี้ การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม มีกี่แบบ อะไรบ้าง

แต่วิธีที่จะนำมาเสนอในบทความนี้ เป็นวิธีการตรวจคัดกรองที่มีความแม่นยำในการคัดกรองดาวน์ซินโดรมสูงถึง 99.9% ได้แก่ การตรวจ NIPT (Non-invasive prenatal testing) ซึ่งสามารถตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์เป็นต้นไป โดยหากพบความผิดปกติก็จำเป็นต้องเจาะน้ำคร่ำเพื่อยืนยันผลตรวจ และยุติการตั้งครรภ์หากพบว่าเด็กในครรภ์เป็นดาวน์ซินโดรมจริง

ข้อดี :
– สามารถตั้งครรภ์โดยธรรมชาติได้
– ค่าใช้จ่ายในการตรวจน้อยกว่าการทำเด็กหลอดแก้วและตรวจตัวอ่อนมาก

ข้อเสีย
– หากทารกในครรภ์เป็นดาวน์ซินโดรม ต้องยุติการตั้งครรภ์
– ต้องรอทารกในครรภ์ให้โตจนอายุครรภ์อย่างน้อย 10 สัปดาห์

สรุป

ดาวน์ซินโดรมสามารถตั้งครรภ์ได้ ดังนั้น หากมีคนในบ้านเป็นดาวน์ซินโดรม ไม่ว่าจะเป็นเพศชายหรือหญิง ผู้ดูแลควรให้ความรักความเอาใจใส่เฉกเช่นคนปกติทั่วไป และควรให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ การคุมกำเนิด และการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วยเสมอ

และหากต้องการตั้งครรภ์ด้วยตนเองจริงๆ ก็มีความเสี่ยงสูงที่ลูกในครรภ์จะผิดปกติ แต่ก็สามารถป้องกันได้ด้วยการใช้เทคโนโลยีในการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมที่มีอยู่หลายวิธี

References

Down syndrome misconceptions vs. Reality. (2011, June 1). Global Down Syndrome Foundation. https://www.globaldownsyndrome.org/about-down-syndrome/misconceptions-vs-reality/

Relationships & sexuality. (n.d.). Ndss.org. Retrieved April 11, 2024, from https://ndss.org/resources/relationships-sexuality

ต้องการคำปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม หรือนัดหมายตรวจ NIPT คลิกที่นี่

call to action NIPT ท้ายบทความ สีชมพู

✅✅✅✅✅

เฮลท์สไมล์ บริการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ และตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ ครบ 23 คู่ทุกโครโมโซมที่มีในมนุษย์ รู้เพศ และโรคอื่นๆที่เกิดจากการขาด/เกินของโครโมโซมขนาดเล็กได้มากถึง 92 โรค กับ Brand NIFTY® และ NGD NIPS

✔ ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมอื่นๆ ผลแม่นยำสูง 99.9%

✔ เจาะเลือดเพียง 10 ซีซี ไม่เสี่ยงแท้ง

✔ ราคาคุ้มค่า ประหยัด ค่าบริการเริ่มต้นที่ 9,500 บาท รวมค่าบริการเจาะเลือดถึงบ้าน และแพทย์อ่านผลให้ทุกเคส

✔ สะดวก สบาย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ลดความเสี่ยงจากการเดินทางออกนอกสถานที่

✔ บริการตรวจถึงบ้านทั่วประเทศ ฟรี

✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @Healthsmile

📞 โทร : 089 874 9565

🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของทารกในครรภ์ ได้ที่นี่ https://healthsmile.co.th/prenatal-screening/

ตารางราคา NGD NIPT 5chromosome 8900 บาท NIFTY focus 10900 บาท NGD NIPS 23 chromosomes 11900 บาท NIFTY Core 12900 บาท NIFTY Pro 17400 บาท
สูตินรีแพทย์ ที่สนใจด้านโครโมโซม ยีน DNA และการตรวจสุขภาพเชิงลึก ให้การดูแลมารดาตั้งครรภ์ ตรวจความผิดปกติของทารกในครรภ์ รักษาสุขภาพทางเพศ และให้ความรู้ด้านการตรวจยีนสุขภาพ การศึกษา - สถานะความรู้ความชำนาญเฉพาะทางที่แพทยสภารับรอง : สาขา สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ( Obstetrics and Gynaecology ) - ประกาศนียบัตรฯ ที่แพทยสภารับรอง : ด้านเวชศาสตร์จีโนมเบื้องต้นสำหรับแพทย์เฉพาะทาง