Last Updated on 14 สิงหาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์
เนื้อหาในบทความนี้
Last Updated on 14 สิงหาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์
การตรวจ NIPT เป็นการตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมโดยการตรวจเศษของ DNA ของลูกที่ลอยอยู่ในเลือดคุณแม่ (เรียกว่า cell-free fetal DNA : cffDNA) ซึ่งมีความแม่นยำในการตรวจหาดาวน์ซินโดรม และความผิดปกติของโครโมโซมคู่อื่นๆสูง คุณแม่ที่ได้รับเลือดมาก็สามารถตรวจดาวน์ซินโดรมได้ แต่มีข้อจำกัดในการตรวจในกรณีคุณแม่ที่เคยได้รับเลือด หรือส่วนประกอบอื่นๆของเลือด เช่น เกร็ดเลือด น้ำเลือด (Plasma) ฯลฯ มา เนื่องจากในเลือดที่บริจาคมานั้น ก็จะมีเซลล์ที่มี DNA ของบุคคลอื่นอยู่ด้วย ทำให้ DNA เหล่านั้นเข้ามาปะปนในเลือดของคุณแม่ ดังนั้นในระยะสั้น (น้อยกว่า 4 เดือน) DNA ดังกล่าวนั้นจะยังเหลืออยู่ในเลือดของคุณแม่ และจะทำให้ผลตรวจ NIPT คลาดเคลื่อนได้
อ่านเพิ่ม 7 ข้อห้ามของคุณแม่ ที่ไม่สามารถตรวจ NIPT หรือ NIFTY ได้
กรณีคุณแม่ได้รับเลือดของผู้อื่น (Allogeneic blood transfusion)
ได้รับเลือดของผู้อื่น นานเกิน 4 เดือน สามารถตรวจ NIPT ได้
สามารถตรวจ NIPT ได้ หลังจากรับเลือดที่ผู้อื่นบริจาคมาแล้วนานอย่างน้อย 4 เดือน เนื่องจากช่วงเวลา 4 เดือน จะทำให้เลือดที่เคยได้รับมาสลายจนหมด และเหลือ DNA ของผู้อื่นที่จะส่งผลกระทบต่อความแม่นยำของการตรวจ
การตรวจ NIPT ในบางประเทศ ได้แก่ ประเทศอังกฤษ แนะนำให้รอ 4 เดือน (อ้างอิง) สำหรับ Brand NGD NIPS ที่ทางเฮลท์สไมล์ให้บริการ สามารถตรวจได้หลังรับบริจาคเลือดที่ 4 เดือน เช่นกัน รวมถึงแบรนด์ NIFTY ที่สามารถตรวจได้สูงสุดถึง 92 ความผิดปกติ ก็สามารตรวจได้ที่ 4 เดือนเช่นกัน (update ข้อมูลเมื่อ 14 สิงหาคม 2567)
ระยะเวลาที่ต้องเว้น หลังการได้รับเลือดของผู้อื่นก่อนการตรวจ NIPT ของแต่ละแบรนด์
(update ข้อมูลเมื่อ กค 2567)
- NGD NIPS : 120 วัน
- NIFTY : 120 วัน
- Panorama :
- กรณีได้รับเฉพาะเม็ดเลือดแดง หรือ PRC (ไม่มี DNA) เว้น 2-3 ชม ก่อนเจาะตรวจ
- กรณีได้รับเลือดชนิด Whole blood (มีเม็ดเลือดขาวด้วย) รอ 2-4 อาทิตย์
- หากตรวจแล้วผลยังมีเลือดของ donor อยู่ จะออกเป็น contamination/ atypical finding แนะนำให้รออีก 2-3 อาทิตย์ ค่อยเจาะตรวจซ้ำ
ได้รับเลือดของผู้อื่น มาไม่เกิน 4 เดือน ไม่สามารถตรวจ NIPT ได้
หากได้รับเลือดจากไม่ถึง 4 เดือน จะมี DNA ของผู้อื่นปะปนกับเลือดที่ได้รับมา อาจทำให้ผลการตรวจ NIPT ผิดพลาดได้ และบางกรณีก็ไม่สามารถอ่านผลได้ (No call) ได้
หากเพิ่งได้รับเลือดมาในระยะเวลาไม่เกิน 4 เดือน ทำอย่างไรได้บ้าง
ทั้งนี้ หากคุณแม่เพิ่งได้รับเลือดมาในระยะเวลาไม่เกิน 4 เดือน สามารถเลือกตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมด้วยวิธีอื่นๆได้ ดังนี้
- ตรวจ NIPT ด้วยเทคโนโลยี SNP แบรนด์ Panorama (คลิกที่นี่เพื่อสอบถาม)
- อัลตราซาวด์อย่างเดียว
- ตรวจ Quadruple test
- อัลตราซาวด์ความหนาของผนังต้นคอ (Nuchal translucency)
- ตรวจ first trimester screening test
- ตรวจ combined test
ซึ่งคุณแม่สามารถอ่านรายละเอียดของการตรวจแต่ละวิธีได้ที่บทความนี้ : https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/residents-fellows/1757/
กรณีคุณแม่ได้รับเลือดของตนเอง (Autologous blood transfusion)
หากได้รับเลือดของตนเอง สามารถตรวจ NIPT ได้โดยไม่ต้องรอระยะเวลา
การได้รับเลือดของตนเอง (Autologous Blood Transfusion) คือ การที่ผู้ป่วยได้บริจาคเลือดของตนเอง และเก็บเลือดของผู้ป่วยเองไว้ในธนาคารเลือด เพื่อนำมาถ่ายเลือดที่บริจาคไว้ล่วงหน้านั้นกลับเข้าสู่ร่างกายของผู้ป่วยในภายหลัง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการรับเลือดจากผู้อื่น เช่น การติดเชื้อหรือปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกัน ซึ่งการรับเลือดของตนเองดังกล่าว มักจะทำในกรณีต่อไปนี้
- เป็นการผ่าตัดที่มีเวลาเตรียมผู้ป่วย เนื่องจากต้องให้เวลาในการพักฟื้นหลังการบริจาคเลือดอย่างน้อย 3 วันก่อนการผ่าตัด
- เป็นการผ่าตัดที่คาดว่าผู้ป่วยจะเสียเลือดมาก มักเป็นการผ่าตัดใหญ่ เช่น การผ่าตัดโรคกระดูกใหญ่ๆ การผ่าตัดหลอดเลือด และการผ่าตัดระบบหัวใจและทรวงอก เป็นต้น
- กรณีที่ผู้ป่วยเป็นผู้ที่มีหมู่เลือดหายากหรือไม่สามารถหาผู้บริจาคที่มีเลือดเข้ากันได้
กรณีคุณแม่ได้รับเลือดของตนเอง (Autologous Blood Transfusion) เท่านั้น ไม่ได้รับเลือดที่บริจาคโดยผู้อื่นเลย ก็จะสามารถตรวจ NIPT ได้ โดยไม่จำเป็นต้องรอ 4 เดือน เนื่องจากเลือดที่ได้รับไม่ได้มีการปนเปื้อนของ DNA ของผู้บริจาครายอื่นๆ ทำให้ไม่มี DNA ของผู้อื่นมาปนเปื้อน
เพิ่งบริจาคเลือด สามารถตรวจ NIPT ได้หรือไม่
การตรวจ NIPT นั้น ใช้เลือดประมาณ 10 ซีซีเท่านั้น ไม่ได้ใช้เลือดปริมาณมาก ดังนั้น หากคุณแม่เพิ่งบริจาคเลือดก่อนการตั้งครรภ์ก็สามารถตรวจ NIPT ได้ตามปกติ
แต่อย่างไรก็ดี ทางการแพทย์ ไม่แนะนำให้มารดาตั้งครรภ์บริจาคเลือด เนื่องจากต้องการสารอาหารและต้องการเลือดเพื่อนำพาสารอาหารไปสู่ลูกน้อยในครรภ์
สรุป
คุณแม่ตั้งครรภ์ ที่ได้รับเลือด หรือส่วนประกอบของเลือดอื่นๆจากบุคคลอื่น (Allogeneic blood transfusion) ไม่ว่าจะเป็นจากสาเหตุใดก็ตาม ต้องรออย่างน้อย 4 สัปดาห์ก่อนเข้ารับการตรวจ NIPT แต่หากได้รับเลือด หรือส่วนประกอบของเลือดจากตนเอง (Autologous blood transfusion) ไม่จำเป็นต้องรอ 4 เดือน
Reference
Faculty of Medicine Siriraj Hospital. (n.d.). การเตรียมเลือดตนเองก่อนผ่าตัด. Mahidol.ac.th. Retrieved July 7, 2024, from https://www.si.mahidol.ac.th/th/department/tranfusion/article_detail.asp?id=840
Screening for Down’s syndrome, Edwards’ syndrome and Patau’s syndrome: NIPT. (n.d.). Gov.uk. Retrieved July 7, 2024, from https://www.gov.uk/government/publications/screening-for-downs-syndrome-edwards-syndrome-and-pataus-syndrome-non-invasive-prenatal-testing-nipt/screening-for-downs-syndrome-edwards-syndrome-and-pataus-syndrome-nipt
✅✅✅✅✅
เฮลท์สไมล์ บริการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ และตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ ครบ 23 คู่ทุกโครโมโซมที่มีในมนุษย์ รู้เพศ และโรคอื่นๆที่เกิดจากการขาด/เกินของโครโมโซมขนาดเล็กได้มากถึง 92 โรค กับ Brand NIFTY® และ NGD NIPS
✔ ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมอื่นๆ ผลแม่นยำสูง 99.9%
✔ เจาะเลือดเพียง 10 ซีซี ไม่เสี่ยงแท้ง
✔ ราคาคุ้มค่า ประหยัด ค่าบริการเริ่มต้นที่ 9,500 บาท รวมค่าบริการเจาะเลือดถึงบ้าน และแพทย์อ่านผลให้ทุกเคส
✔ สะดวก สบาย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ลดความเสี่ยงจากการเดินทางออกนอกสถานที่
✔ บริการตรวจถึงบ้านทั่วประเทศ ฟรี
✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @Healthsmile
📞 โทร : 089 874 9565
🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของทารกในครรภ์ ได้ที่นี่ https://healthsmile.co.th/prenatal-screening/