Last Updated on 17 กรกฎาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์

9 เรื่องควรรู้? แม่หลังคลอด ร่างกายเปลี่ยน เตรียมรับมือ

เนื้อหาในบทความนี้

Last Updated on 17 กรกฎาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์

เชื่อว่า “การตั้งครรภ์” เป็นสิ่งที่แฮปปี้สำหรับคุณแม่ทุกท่าน และตั้งตารอคอยวันที่จะได้พบลูกน้อยในครรภ์ แต่เชื่อว่าคุณแม่หลายคนมีอาการเกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย ที่ส่งผลกระทบมาจากฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงหลังคลอด เพราะภาวะหลังคลอดบุตร ฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรนในร่างกายของแม่หลังคลอดลดต่ำลง จึงส่งผลต่อร่างกายที่เปลี่ยนแปลง

Highlight

● หลังคลอดผมร่วงเยอะมากผิดปกติ เรื่องปกติที่ควรรับมือ

● ผิวแพ้ง่าย เกิดผื่นคันหลังคลอด ปัญหาชวนกุมขมับสำหรับแม่หลังคลอด

● น้ำหนักหลังคลอด ลดลงถึง 6 กิโลกรัม

● เต้านมคัดตึงบวม ทำให้มีอาการเจ็บเต้านม

● มีน้ำคาวปลา ขับออกจากช่องคลอด นานถึง 3-6 สัปดาห์

● หลังคลอดปวดท้องน้อย นานถึง 1 สัปดาห์

● หน้าท้องหย่อนคล้อย พร้อมผิวแตกลาย

● ตอบคำถามหลังคลอดมีเพศสัมพันธ์ได้ตอนไหน

● เตรียมพร้อมสำหรับคุณพ่อ คุณแม่มือใหม่ รับมืออย่างไรเมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก

บทความนี้ จะพาคุณแม่มือใหม่ ไปเตรียมพร้อมรับมือสำหรับการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย โดยการเช็กว่าภาวะหลังคลอดบุตร จะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายส่วนไหนบ้าง พร้อมคำแนะนำการดูแลมารดาหลังคลอด

1.หลังคลอดผมร่วงเยอะมากผิดปกติ เรื่องปกติที่ควรรับมือ

คุณแม่หลังคลอดหลายคน มีอาการผมร่วงหลังคลอด หวีผมทีหลุดร่วงติดมากับหวี หรือมองไปที่พื้นเส้นผมเต็มไปหมด จนเกิดความวิตก กังวล อย่าเพิ่งกังวล และตกใจไปค่ะ เป็นผลเกี่ยวเนื่องจากระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงของแม่หลังคลอด จึงทำให้หลังคลอดผมร่วงเยอะมากกว่าปกติ แต่คุณแม่เบาใจได้ เพราะอาการผมร่วงจะค่อยๆ ดีขึ้น กลับมาเป็นปกติได้ภายใน 6-12 เดือนหลังคลอด
คำแนะนำ
● ดูแลเส้นผม ด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง  อย่าง ธัญพืช เช่น ซีเรียล ข้าวโอ๊ต และไข่แดง สัปดาห์ละ 3 ฟอง
● เลือกใช้แชมพูสูตรอ่อนโยน หรือหากคุณแม่หลังคลอดกังวลใจ อาจทำการเข้าพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำได้ค่ะ 

2.ผิวแพ้ง่าย เกิดผื่นคันหลังคลอด ปัญหาชวนกุมขมับสำหรับแม่หลังคลอด

ผื่นแพ้หลังคลอด อาจทำให้เกิดอาการคัน จนน่าหงุดหงิด คงเป็นปัญหาสำหรับคุณแม่หลังคลอดอยู่ไม่น้อย ซึ่งอาการผิดปกตินี้เป็นผลมาจากฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงของแม่หลังคลอด หรือเกิดจากตัวยาบางชนิดที่แม่หลังคลอดกินอยู่  หรือแพ้ครีมบำรุงหลังคลอดก็เป็นได้เช่นกัน จึงส่งผลให้ผิวแห้งมากกว่าปกติ  ทำให้เกิดการระคายเคืองผิวได้ง่าย และผิวหนังแพ้ง่าย
คำแนะนำ
● ดูแลผิวด้วยการเลี่ยงอาบน้ำร้อน เพื่อลดอาการผิวแห้ง
● บำรุงผิวให้ชุ่มชื้น และเลือกครีมบำรุงผิวสูตรอ่อนโยน
● หากมีผื่นแดง เกิดอาการคันมาก ควรรีบทำการพบแพทย์ทันทีค่ะ เพราะอาจเกิดการลุกลามได้

3.น้ำหนักหลังคลอด ลดลงถึง 6 กิโลกรัม

เชื่อว่าแม่ท้องหลายคนคงรอคอยเวลานี้มานานใช่ไหมคะ แต่ในขณะเดียวกันก็เชื่อว่า ความดีใจมักมาพร้อมกับความกังวล ว่าทำไมน้ำหนักหลังคลอดถึงได้ลดลงมาถึง 6 กิโลกรัม และยังลดลงเรื่อยๆ ต้องบอกว่าเป็นเรื่องปกติค่ะ ที่น้ำหนักตัวของคุณแม่หลังคลอดลดลงมากถึง 6 กิโลกรัม เนื่องจากหลังคลอด รก น้ำคร่ำ และน้ำที่อยู่ในร่างกายขณะคุณแม่ตั้งครรภ์ ได้ถูกขับออกมาด้วยนั่นเอง แต่เมื่อถึงวันนัดตรวจร่างกายหลังคลอดกับคุณหมอ แม่หลังคลอดควรมีน้ำหนักตัวเท่ากับก่อนตั้งครรภ์
คำแนะนำ
● หากน้ำหนักตัวคุณแม่ไม่ลดลง ควรหมั่นออกกำลังกาย แต่ต้องเป็นการออกกำลังกายที่ไม่หักโหมจนเกินไป
● ควบคุมอาหารตามหลักโภชนาการให้เหมาะสมในแต่ละวัน
● ไม่แนะนำให้กินยาลดความอ้วน หรือเครื่องดื่ม เช่น กาแฟ น้ำอัดลม และอาหารที่มีรสชาติเผ็ด ซึ่งจะส่งผลต่อน้ำนม กระทบต่อลูก

4.เต้านมคัดตึงบวม ทำให้มีอาการเจ็บเต้านม

ภาวะหลังคลอดบุตร คุณแม่จะมีเต้านมขยายใหญ่ขึ้น และมีอาการคัดตึง บวม ปวดตามมาด้วย ซึ่งเป็นเรื่องปกติของแม่หลังคลอด เพราะต่อมน้ำนมมีการกระตุ้นให้ผลิตน้ำนมสำหรับลูกน้อย ซึ่งเมื่อลูกน้อยดูดนม จะช่วยบรรเทาอาการคัดตึงลงได้ เพราะน้ำนมมีการระบายออก
คำแนะนำ
● ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบเต้านมก่อนให้นมลูก จะทำให้การไหลเวียนของเลือดบริเวณเต้านมได้ดี และน้ำนมไม่คั่ง ไหลเร็วขึ้น
● รักษาน้ำมันจากต่อมไขมันที่ผลิตออกมาบริเวณเต้านม โดยการใช้น้ำต้มสุกเช็ดทำความสะอาดเพียงอย่างเดียว จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บระหว่างลูกดูดนมได้

5.มีน้ำคาวปลา ขับออกจากช่องคลอด นานถึง 3-6 สัปดาห์

เชื่อว่าคุณแม่หลายท่านต้องเคยได้ยินบ่อยๆ สำหรับคำว่าน้ำคาวปลาของแม่หลังคลอด อาจจะเคยได้ยินจากสื่อโฆษณาต่างๆ เรื่องการบำรุงแม่หลังคลอด ซึ่งอาการที่มีน้ำคาวปลาขับออกจากช่องคลอด หลังจากคลอดบุตร เกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูก ที่หลงเหลืออยู่ภายหลังการคลอด ลักษณะจะมีสีแดงสด ใน 3-4 วันแรกหลังคลอด หลังจากนั้นจะจางลง และแปรเปลี่ยนเป็นมูกสีเหลืองขาว ไม่มีกลิ่น และหลายคนคงเกิดคำถามสงสัยต่อว่า น้ำคาวปลากี่วันหมด ซึ่งน้ำคาวปลาจะหมดภายใน 21 วัน หรือประมาณ 3 สัปดาห์ แตกต่างออกไปในรายบุคคลค่ะ
คำแนะนำ
● ในช่วง 3-4 วันแรกหลังคลอด น้ำคาวปลาจะขับออกมาเยอะ ควรทำการเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ เพื่อรักษาความสะอาด และลดโอกาสการติดเชื้อ
● ควรรักษาความสะอาดของร่างกายสม่ำเสมอ และทำความสะอาดด้วยน้ำสะอาด และสบู่ทุกครั้งหลังจากทำธุระส่วนตัวในห้องน้ำ
● หากมีน้ำคาวปลานานเกิน 4-6 สัปดาห์ และมีกลิ่นเหม็น ควรทำการพบแพทย์ทันที

6.หลังคลอดปวดท้องน้อย นานถึง 1 สัปดาห์

ไม่ว่าคุณแม่จะคลอดโดยธรรมชาติ หรือผ่าคลอด ย่อมเจอกับปัญหาปวดท้องน้อยหลังคลอด ซึ่งมีอาการปวดเกร็งหน้าท้องส่วนล่าง หรืออุ้งเชิงกราน คล้ายกับอาการปวดท้องประจำเดือน หรืออาการช่วงที่ใกล้คลอด รวมถึงมีอาการปวดหลัง สาเหตุก็เนื่องมาจากมดลูกเกิดการบีบรัดตัว เพื่อปรับสภาพ และจะรู้สึกปวดมากขึ้นใน 2-3 วันหลังคลอดลูก และปวดนานถึง 1 สัปดาห์ จนกว่ามดลูกจะกลับคืนสภาพปกติ ดังนั้น เมื่อหลังคลอดปวดท้องน้อย คุณแม่อย่าวิตกกังวลไปค่ะ เพราะสามารถหายได้เอง และบรรเทาอาการปวดได้
คำแนะนำ
● หมั่นเคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง จะช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายได้เร็วยิ่งขึ้น
● นั่งบนหมอนที่ออกแบบมาสำหรับคุณแม่หลังคลอด จะทำให้น้ำหนักไม่ทิ้งลงก้นกบจนเกินไป ซึ่งจะทำให้สบายตัวมากขึ้น
● ประคบน้ำอุ่น หรือน้ำเย็น บริเวณที่ปวด จะช่วยบรรเทาอาการปวดลงได้ แต่หากมีอาการปวดมาก และปวดนานเกิน 10 วัน ควรทำการพบแพทย์ทันที

7.หน้าท้องหย่อนคล้อย พร้อมผิวแตกลาย

คุณแม่หลังคลอด คงกลุ้มใจไม่ใช่น้อย สำหรับสรีระร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะหน้าท้องที่ไม่กระชับ และมีผิวแตกลายที่หน้าท้องเป็นริ้วๆ ซึ่งสาเหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็เนื่องมาจากช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์ กล้ามเนื้อส่วนหน้าท้อง และมดลูกมีการขยายใหญ่ขึ้นเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ เมื่อหลังคลอดผิวบริเวณหน้าท้องจะยังไม่เข้าที่มากนัก แต่จะค่อยๆ ดีขึ้นเมื่อมดลูกคืนสภาพปกติ
คำแนะนำ
● แม่หลังคลอดควรออกกำลังกายเพื่อกระชับหน้าท้อง แต่ไม่ควรหักโหม และใช้ท่าที่หนักจนเกินไป เช่น ออกกำลังกายด้วยท่าโยคะ
● อาจใช้ตัวช่วยลดเลือนริ้วรอยหน้าท้องแตกลาย ด้วยครีมบำรุง ช่วยลดเลือนริ้วรอย แต่คุณแม่ควรเลือกใช้ครีมบำรุงที่อ่อนโยนต่อผิว

8.ตอบคำถามหลังคลอดมีเพศสัมพันธ์ได้ตอนไหน?

แม่หลังคลอดมีเพศสัมพันธ์ได้ ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย น้ำคาวปลาขับออกมาหมด และแผลเย็บหายดี มดลูกเข้าที่ ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์หลังคลอด แต่เพื่อความมั่นใจควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพหลังคลอด จึงแนะนำว่าควรงดการมีเพศสัมพันธ์หลังคลอดในช่วง 4-6 สัปดาห์แรกไปก่อนจะดีที่สุดค่ะ เพื่อลดโอกาศการติดเชื้อ และการเจ็บแผล

9.เตรียมพร้อมสำหรับคุณพ่อ คุณแม่มือใหม่ รับมืออย่างไรเมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก

นอกจากการเตรียมพร้อมรับมือกับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงหลังคลอด ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายของแม่หลังคลอดแล้ว สำหรับคุณพ่อ คุณแม่มือใหม่ การเตรียมพร้อมต้อนรับเบบี๋สมาชิกตัวน้อยของบ้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการบริหารจัดการเวลาระหว่างการทำงาน หรือการดูแลทารกในช่วงวัยแรกเกิด เพราะทารกเป็นวัยที่ต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิล และในเรื่องการดูแลทารกแรกเกิดอย่างถูกวิธี อาทิ การอุ้ม การอาบน้ำ การให้นม คุณพ่อ คุณแม่มือใหม่ควรทำการศึกษา เพื่อทำความเข้าใจ จะได้ลดความกังวล และปฎิบัติอย่างถูกต้อง ดังนั้น การเตรียมพร้อมสำหรับคุณพ่อ คุณแม่มือใหม่ เป็นเรื่องสำคัญที่ทั้งคุณพ่อ คุณพ่อมือใหม่ ควรให้ความร่วมมือกัน เพื่อลูกน้อยสุดที่รักนะคะ

หากแม่หลังคลอดท่านใดสงสัย หรือมีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัญหาภาวะหลังคลอดบุตร และมีอาการหลังคลอดที่ผิดปกติ สามารถสอบถามได้ที่ช่อง COMMENT ด้านล่าง ได้เลยนะคะ ทาง ADMIN จะรีบหาข้อมูลมาตอบกลับให้ค่ะ 👇

📂บทความที่น่าสนใจ : เช็กให้ชัวร์! ก่อนเตรียมตัวเป็นคุณแม่ป้ายแดง อาการแบบไหน ใช่สัญญาณเตือน อาการคนท้องระยะแรก 📋

ลิงก์อ้างอิงข้อมูล

https://bit.ly/3AoHM4j

https://bit.ly/3btuokM

https://bit.ly/3HYBQ3m

https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/september-2013/after-baby-delivery-th

https://bit.ly/3niBf39

https://www.rakluke.com/pregnancy-all/birth/item/rash.html

https://bit.ly/39TDTJy

https://www.enfababy.com/postpartum-cramping

https://th.mamypoko.com/th/mamatips/postpartum02.html https://www.punnita.com/blog/%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD/

ต้องการคำปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม หรือนัดหมายตรวจ NIPT คลิกที่นี่

call to action NIPT ท้ายบทความ สีชมพู

✅✅✅✅✅

เฮลท์สไมล์ บริการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ และตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ ครบ 23 คู่ทุกโครโมโซมที่มีในมนุษย์ รู้เพศ และโรคอื่นๆที่เกิดจากการขาด/เกินของโครโมโซมขนาดเล็กได้มากถึง 92 โรค กับ Brand NIFTY® และ NGD NIPS

✔ ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมอื่นๆ ผลแม่นยำสูง 99.9%

✔ เจาะเลือดเพียง 10 ซีซี ไม่เสี่ยงแท้ง

✔ ราคาคุ้มค่า ประหยัด ค่าบริการเริ่มต้นที่ 9,500 บาท รวมค่าบริการเจาะเลือดถึงบ้าน และแพทย์อ่านผลให้ทุกเคส

✔ สะดวก สบาย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ลดความเสี่ยงจากการเดินทางออกนอกสถานที่

✔ บริการตรวจถึงบ้านทั่วประเทศ ฟรี

✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @Healthsmile

📞 โทร : 089 874 9565

🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของทารกในครรภ์ ได้ที่นี่ https://healthsmile.co.th/prenatal-screening/

ตารางราคา NGD NIPT 5chromosome 8900 บาท NIFTY focus 10900 บาท NGD NIPS 23 chromosomes 11900 บาท NIFTY Core 12900 บาท NIFTY Pro 17400 บาท
HealthSmile Medical writer team เป็นทีมเขียนบทความทางการแพทย์ของบริษัท วัฒนา เมดิคอล แอนด์ เวลล์บีอิง จำกัด ที่มีความต้องการที่จะกระจายความรู้ด้านการแพทย์เชิงลึก เกี่ยวกับการตรวจความผิดปกติของโครโมโซม ยีน และ DNA รวมไปถึงความรู้ด้านการตั้งครรภ์ การตรวจสุขภาพ และโรคภัยต่างๆ หากมีข้อเสนอแนะ สามารถแจ้งได้ที่ [email protected]