เนื้อหาในบทความนี้

ตรวจคัดกรองดาวน์ผิดปกติ (Quad test : ควอดเทส) ทำอย่างไรต่อ? ต้องเจาะน้ำคร่ำจริงหรือไม่ มีทางเลือกอื่นๆที่ไม่เจาะน้ำคร่ำไหม

ต้องขอบคุณทางภาครัฐ ที่บรรจุสิทธิการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมให้แก่หญิงตั้งครรภ์ได้ฟรี ในโรงพยาบาลรัฐด้วยวิธีที่เรียกว่า Quadruple test หรือ Quad test (ควอดเทส) ให้กับคุณแม่ตั้งครรภ์ทั่วประเทศ

ซึ่งข้อจำกัดของวิธีการตรวจคัดกรองดังกล่าว คือ มีความแม่นยำสูงเพียง 80-85% แต่อย่างไรก็ตามก็ยังดีกว่าไม่ได้ตรวจใดๆเลย และยังดีกว่าการอัลตราซาวนด์เพียงอย่างเดียว ที่มีความแม่นยำเพียงประมาณ 60% เท่านั้น

แต่การตรวจคัดกรองที่มากขึ้น ก็ตามมาด้วยความกังวลที่มากขึ้นเช่นเดียวกัน กล่าวคือ ในคุณแม่ที่มีผลการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมเป็นบวก (ความเสี่ยงสูง, High risk) นั้นไม่ได้แปลว่าทารกในครรภ์จะเป็นดาวน์ซินโดรม และคุณแม่จะต้องเข้ารับการตรวจด้วยวิธีอื่น ๆ เพิ่มเติม โดยมีทางเลือกดังนี้

การเจาะน้ำคร่ำ (Amniocentesis)

การเจาะน้ำคร่ำสามารถใช้เพื่อวินิจฉัยภาวะโครโมโซมและข้อบกพร่องของท่อประสาทได้ โดยใช้เข็มที่มีขนาดยาวประมาณ 7.5 เซนติเมตร แทงเข้าไปทางบริเวณหน้าท้องของคุณแม่ผ่านผิวหนัง ผนังมดลูก รก(กรณีที่มีรกฝังตัวอยู่ทางด้านหน้า) และทะลุถุงน้ำคร่ำเพื่อนำน้ำคร่ำที่อยู่ด้านในมาตรวจ โดยในระหว่างการเจาะน้ำคร่ำจะต้องมีการอัลตราซาวนด์ควบคู่ไปด้วย เพื่อไม่ให้เข็มนั้นโดนตัวของทารกในครรภ์

โดยทั่วไป จะดูดเอาน้ำคร่ำออกมาประมาณ 15-20 ซีซี และนำไปตรวจ Karyotype เพื่อการวินิจฉัยเรื่องโครโมโซมที่ผิดปกติ ซึ่งข้อเสียของการเจาะน้ำคร่ำ คือ มีความเสี่ยงเล็กน้อยต่อการตั้งครรภ์ อาจทำให้เกิดถุงน้ำคร่ำรั่ว การติดเชื้อ หรือรุนแรงจนถึงการแท้งบุตรได้

วิธีนี้ ข้อดี คือ เป็นวิธีที่รู้ดาวน์ซินโดรมได้แม่นยำ 100% และสามารถรู้ความผิดปกติของโครโมโซมอื่นๆได้ครบทุกคู่

การตรวจ NIPT (Non-invastive prenatal Testing)

การตรวจคัดกรองเพิ่มเติมด้วยวิธีนี้ เป็นวิธีที่มีความแม่นยำสูงถึง 99.9% ในการตรวจดาวน์ซินโดรม โดยใช้วิธีการตรวจหา DNA ของลูกที่ลอยอยู่ในกระแสเลือดของแม่ โดย DNA ของลูกนี้จะหลุดลอยมาจากเซลล์รก (อ่านเพิ่มเติม : การตรวจสารพันธุกรรมทารกในครรภ์ (Cell-free fetal DNA) คัดกรองดาวน์ซินโดรม)

วิธีนี้ นอกจากจะประเมินว่าลูกน้อยของคุณมีความเสี่ยงต่อการเป็นดาวน์ซินโดรม หรือไม่แล้ว ยังสามารถตรวจความผิดปกติของโครโมโซมคู่อื่นๆได้ด้ว เช่น โครโมโซมคู่ที่ 13 (trisomy 13 : Patau syndrome), โครโมโซมคู่ที่ 18 (trisomy 18 : Edward syndrome) หรือความผิดปกติของโครโมโซมเพศเช่น (XO : Turner syndrome) ผลลัพธ์ปกติอาจทำให้ไม่จำเป็นต้องไปเจาะน้ำคร่ำ

และบางแบรนด์ ก็สามารถตรวจภาวะขาด / เกิน ของโครโมโซมได้ครบทั้ง 23 คู่ได้เลยเช่นเดียวกัน รวมถึงอาจทราบโรคอื่นๆได้ด้วย

แต่เนื่องจากเป็นการเจาะเลือดแม่ ดังนั้น ความแม่นยำจึงยังได้เพียง 99.9% เท่านั้น ซึ่งสาเหตุของความผิดพลาด 0.1% นั้น สามารถอ่านได้จากบทความนี้ 7 สาเหตุ ที่อาจทำให้ผลตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม (NIPS, NIPT, NIFTY) ผิดปกติ

ดังนั้น หากผลการตรวจคัดกรอง พบความเสี่ยงสูง คุณแม่ก็อย่าเพิ่งรีบกังวลจนเกินเหตุ แต่ควรรีบสอบถามคุณหมอ เพื่อทำการเจาะน้ำคร่ำ หรือสามารถนัดหมายเพื่อทำการตรวจ NIPT ได้

ต้องการคำปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม หรือนัดหมายตรวจ NIPT คลิกที่นี่

call to action NIPT ท้ายบทความ สีชมพู

✅✅✅✅✅

เฮลท์สไมล์ บริการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ และตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ ครบ 23 คู่ทุกโครโมโซมที่มีในมนุษย์ รู้เพศ และโรคอื่นๆที่เกิดจากการขาด/เกินของโครโมโซมขนาดเล็กได้มากถึง 92 โรค กับ Brand NIFTY® และ NGD NIPS

✔ ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมอื่นๆ ผลแม่นยำสูง 99.9%

✔ เจาะเลือดเพียง 10 ซีซี ไม่เสี่ยงแท้ง

✔ ราคาคุ้มค่า ประหยัด ค่าบริการเริ่มต้นที่ 9,500 บาท รวมค่าบริการเจาะเลือดถึงบ้าน และแพทย์อ่านผลให้ทุกเคส

✔ สะดวก สบาย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ลดความเสี่ยงจากการเดินทางออกนอกสถานที่

✔ บริการตรวจถึงบ้านทั่วประเทศ ฟรี

✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @Healthsmile

📞 โทร : 089 874 9565

🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของทารกในครรภ์ ได้ที่นี่ https://healthsmile.co.th/prenatal-screening/

ตารางราคา NGD NIPT 5chromosome 8900 บาท NIFTY focus 10900 บาท NGD NIPS 23 chromosomes 11900 บาท NIFTY Core 12900 บาท NIFTY Pro 17400 บาท
HealthSmile Medical writer team เป็นทีมเขียนบทความทางการแพทย์ของบริษัท วัฒนา เมดิคอล แอนด์ เวลล์บีอิง จำกัด ที่มีความต้องการที่จะกระจายความรู้ด้านการแพทย์เชิงลึก เกี่ยวกับการตรวจความผิดปกติของโครโมโซม ยีน และ DNA รวมไปถึงความรู้ด้านการตั้งครรภ์ การตรวจสุขภาพ และโรคภัยต่างๆ หากมีข้อเสนอแนะ สามารถแจ้งได้ที่ [email protected]