พ่อแม่มือใหม่ควรรู้! ภาษาท่าทางของลูกน้อยวัย 1 เดือน มีความหมาย

เนื้อหาในบทความนี้

คุณพ่อ คุณแม่มือใหม่ จับสังเกตให้ดี ลูกน้อยส่งสัญญาณท่าทางตามพัฒนาการเด็กแรกเกิด 1 เดือน หรือไม่? พร้อมเรียนรู้วิธีกระตุ้นพัฒนาการทารกด้วยของเล่นเสริมพัฒนาการ เพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนาการตามวัยให้ลูกน้อยมีพัฒนาการที่สมบูรณ์

ใครบอกว่าทารก 1 เดือนนั้น มีแค่การกิน กับการนอน ในขณะเดียวกันลูกน้อยของคุณกำลังมีพัฒนาการการเรียนรู้จากสิ่งรอบๆ ตัว ผ่าน ตา หู จมูก การสัมผัส และการตอบโต้ด้วย บทความนี้จะพาคุณพ่อ คุณแม่มือใหม่ตามไปเช็กกันค่ะ ว่า พัฒนาการทารก 1 เดือน มีอะไรบ้าง โดย ”คู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5 ปี ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ” ได้บอกไว้ดังนี้

1.พัฒนาการเด็ก 1 เดือน : จ้องหน้า 1-2 วินาที หรือมองตามวัตถุเคลื่อนไหว

เคยสังเกตกันไหมคะว่า เวลาเล่นกับทารก หรือพูดคุยด้วย ทารกจะจ้องหน้า หรือหันตามเสียงของคุณพ่อคุณแม่ หรือมองตามวัตถุที่เคลื่อนไหวไปมา นั่นก็เป็นเพราะว่าโดยสัญชาตญาณตามวัยของทารกแรกเกิด จะชอบมองใบหน้าของแม่มากที่สุด และชอบมองวัตถุที่เคลื่อนไหว โดยเฉพาะวัตถุที่มีสีสัน หรือสีตัดกันที่ชัดเจน เช่น สีขาวกับสีดำ เพราะทารกจะยังไม่สามารถมองเห็นได้ชัด หรือโฟกัสได้ในระยะมากกว่า 1 ฟุต

ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด 1 เดือน ทางด้านการมองเห็น และการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งรอบข้าง กระตุ้นพัฒนาการด้านสมอง ในการจดจำสิ่งรอบๆ ตัว คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรมีการส่งเสริมพัฒนาการทารก ดังนี้

เคล็ด (ไม่) ลับ ส่งเสริมพัฒนาการเด็กทารก 1 เดือน ด้านการมองเห็น

● ขณะอาบน้ำ แต่งตัว หรืออุ้มลูก ควรให้เด็กอยู่ในท่านอนหงาย หรืออุ้มเด็กให้หน้าคุณพ่อคุณแม่ ห่างจากใบหน้าเด็กประมาณ 30 ซม.

● ควรสบตา ทำตาโตบ้าง กระพริบตาบ้าง เพื่อให้เด็กสนใจสิ่งที่อยู่ตรงหน้า

● มีการพูดคุย ยิ้ม สลับกับทำตาโต กะพริบตา เพื่อกระตุ้นให้เด็กมองที่ปากสลับกับดวงตา

● ของเล่นเสริมพัฒนาการเด็ก ควรใช้เป็นโมบายสีสันสดใส แขวนไว้ตรงหัวเปล หรือของเล่นที่มีการเคลื่อนไหวสีสันสดใส

ข้อสังเกต : ทารก 1 เดือน อาจมีอาการตาเหล่ได้นิดหน่อย แต่จะหายไปได้เองเมื่ออายุ 2- 3 เดือน ยกเว้นกรณีที่ตาเหล่ชนิดตาดำหาย อาการนี้ไม่ควรชะล่าใจ ควรรีบพาไปพบแพทย์ ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการสังเกตพัฒนาการเด็กทารก ก็จะช่วยให้เราทราบถึงความผิดปกติได้เช่นกัน

2.พัฒนาการเด็ก 1 เดือน : ขาเหยียดออก นอนคว่ำ ยกศีรษะเล็กน้อย หันหน้าซ้ายขวา

ทารก 1 เดือน จะมีพัฒนาการด้านการใช้กล้ามเนื้อ เพื่อกระตุ้นให้มีร่างกาย และการเคลื่อนไหวที่ดี ทารก 1 เดือนจึงสามารถเหยียดขาทั้ง 2 ข้างได้ มือ และแขนมีการเคลื่อนไหว และในขณะนอนคว่ำจะเริ่มยกศีรษะขึ้นเองได้เล็กน้อย และหันศีรษะซ้ายขวาได้เล็กน้อยเช่นกัน แต่กล้ามเนื้อคอจะยังไม่แข็งแรงมาก คุณพ่อ คุณแม่ต้องคอยประคองศีรษะช่วยอีกแรง

ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนากล้ามเนื้อของของเด็ก 1 เดือน ทางด้านการเคลื่อนไหวของร่างกาย คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยกระตุ้นให้ร่างกายทารก มีการตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ ได้ ดังนี้

เคล็ด (ไม่) ลับ ส่งเสริมพัฒนาการเด็กทารก 1 เดือน ด้านร่างกาย และการเคลื่อนไหว

● จับทารกนอนคว่ำ แล้วคุณพ่อคุณแม่เขย่าของเล่นเสริมพัฒนาการเด็ก อย่าง กรุ๊งกริ๊ง ค่อยๆ ส่ายไปมาซ้ายขวาให้เกิดเสียง ควรจับของเล่นให้อยู่ตรงหน้าทารกห่างประมาณ 30 ซม. เพื่อให้ทารกสนใจ และหันศีรษะตามเสียง เพื่อเป็นการพัฒนากล้ามเนื้อคอ

● จับทารกนอนหงาย แล้วจับขาเหยียดออก สลับกับจับขาขึ้นลง เพื่อเป็นการพัฒนากล้ามเนื้อขา แต่ควรทำอย่างเบามือ และไม่ควรทำถี่จนเกินไป

● คุณพ่อคุณแม่ควรมีการสัมผัส อุ้มลูกบ่อยๆ หรือทำกิจกรรมให้ลูกดู เช่น ร้องเพลงให้ฟัง จะทำให้เด็กมีการตอบสนองออกทางด้านร่างกาย

● อุ้มทารกขึ้นพาดบ่า ใช้มือช่วยประคองลำคอ พาออกไปเดินเล่นใกล้ๆ ให้ทารกเกิดความสนใจต่อสิ่งของรอบข้าง เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ลูกพยายามหันศีรษะไปมา และใช้สายตามองสิ่งของ

3.พัฒนาการเด็ก 1 เดือน : สะดุ้ง เคลื่อนไหวร่างกาย เมื่อได้ยินเสียง และมีการส่งเสียงเพื่อสื่อสาร

เมื่อทารกได้ยินเสียงพูดของผู้ใหญ่ความดังระดับปกติ จะมีปฏิกิริยายาตอบสนองต่อเสียงที่ได้ยิน โดยการสะดุ้ง หรือเคลื่อนไหวร่างกาย โดยเฉพาะเสียงของคุณพ่อคุณแม่ หรือคนใกล้ชิด ทารกจะจดจำเสียงได้ดี นอกจากแสดงการตอบโต้ต่อการรับรู้ของเสียงที่ได้ยินแล้ว ทารกยังสามารถสื่อสารได้โดยการส่งเสียง เพื่อบอกให้คุณพ่อคุณแม่รับรู้ว่าทารกต้องการอะไร อาทิ ส่งเสียงร้อง อาจหมายถึงทารกหิว หรือไม่สบายตัว หรือส่งเสียงอ้อแอ้ อาจหมายถึงทารกดีใจที่ได้เห็นหน้าคุณพ่อคุณแม่ ดังนั้น การสังเกตท่าทาง หรือการส่งเสียงของทารก จึงเป็นสิ่งสำคัญ

ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิดของเด็ก 1 เดือน ทางด้านการเข้าใจภาษา และการสื่อสารของทารก คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยกระตุ้นการรับรู้ และการโต้ตอบของทารกได้ ดังนี้

เคล็ด (ไม่) ลับ ส่งเสริมพัฒนาการเด็กทารก 1 เดือน ด้านการเข้าใจภาษา และการสื่อสารของทารก

● ให้ทารกนอนหงาย แล้วคุณพ่อคุณแม่พูดคุย หรือเรียกชื่อทารกบ่อยๆ จากด้านข้างทั้งซ้ายและขวา โดยพูดด้วยน้ำเสียงปกติ

● เมื่อคุณพ่อคุณแม่พูดคุยเสียงดังปกติ หากทารกมีการสะดุ้ง หรือขยับตัว ให้ยิ้มกับลูกน้อย และสัมผัสตัวทารก

● เมื่อคุณพ่อคุณแม่พูดคุยด้วยน้ำเสียงปกติกับทารก แต่ทารกไม่มีปฏิกิริยาโต้ตอบใดๆ ให้เพิ่มระดับเสียงดังขึ้น หากลูกน้อยเริ่มสะดุ้ง หรือขยับตัว ให้ทำการลดเสียงลงอยู่ในระดับปกติ พร้อมกับสัมผัสตัวทารก

ข้อสังเกต : หากทารกร้องไห้นานเกินไป บ่อยผิดปกติ หรือไม่มีปฏิกิริยาโต้ตอบใดๆ กับเสียง ทารกอาจกำลังเจ็บป่วย คุณพ่อคุณแม่ ไม่ควรชะล่าใจ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือพาลูกน้อยไปตรวจร่างกาย

4.พัฒนาการเด็ก 1 เดือน : อารมณ์และจิตใจ ขึ้นอยู่กับสภาวะอารมณ์คุณพ่อคุณแม่

ถึงแม้ว่าทารกจะยังไม่สามารถเข้าใจภาษาการสื่อสารเท่าเด็กโต แต่ทารก 1 เดือน จะสามารถรับรู้ความรู้สึกของคุณพ่อคุณแม่ได้ แล้วจะแสดงอารมณ์ออกมาให้เห็น เช่น หากคุณพ่อคุณแม่เริ่มมีอารมณ์เครียด ทารกจะสามารถรับรู้ได้ทันที และจะแสดงออกมาทางด้านอารมณ์ และจิตใจ เช่น การงอแงร้องไห้ แต่หากคุณพ่อคุณแม่ ยิ้มแย้ม หัวเราะ เล่นกับลูกน้อยด้วยท่าทางอารมณ์ดี ทารกก็จะมีอารมณ์ดี จิตใจแจ่มใสตามไปด้วย

ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนาการทารก 1 เดือน ทางด้านอารมณ์ และจิตใจ คุณพ่อคุณแม่สามารถสร้างความผูกพัน เอาใจใส่ ดูแลให้ความรัก เพื่อกระตุ้นพัฒนาการทางอารมณ์ที่ดีของลูกได้ ดังนี้

เคล็ด (ไม่) ลับ ส่งเสริมพัฒนาการเด็กทารก 1 เดือน ด้านอารมณ์และจิตใจ

● การยิ้มให้ลูกบ่อยๆ ลูกน้อยจะรู้สึกดี และอุ่นใจ ปลอดภัย

● การโอบกอด สัมผัสตัวทารก ลูกจะรับรู้ถึงความรัก ความอบอุ่นจากคุณพ่อคุณแม่

● พาลูกน้อยออกไปเจอกับบรรยากาศ สิ่งแวดล้อมใหม่ๆ เช่น อุ้มลูกพาเดินเล่นไปรอบๆ บ้าน เพื่อรับแสงแดดบ้าง

การเจริญเติบโตตามเกณฑ์ของเด็กทารก 1 เดือน

● น้ำหนักทารกเด็กชาย 3.5-5 กก. และเด็กหญิงน้ำหนัก 3-4.5 กก.

● ส่วนสูงทารกเด็กชาย 50-57 ซม. และส่วนสูงทารกเด็กหญิง 49-57 ซม.

● มีการฉี่วันละ 10 – 15 ครั้ง และขับถ่ายวันละ 3 – 4 ครั้ง

● เส้นรอบศีรษะเด็ก โดยประมาณแรกเกิด 35 ซม.

การส่งเสริมพัฒนาการลูกรัก…เริ่มได้แต่ตั้งแต่อยู่ในครรภ์

การส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด คุณแม่สามารถทำได้ตั้งแต่ลูกน้อยยังอยู่ในครรภ์นะคะ เพราะขณะตั้งครรภ์หากคุณแม่มีการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง และมีสุขภาพจิตใจที่แจ่มใส อารมณ์ดี มีการพูดคุยกับลูก เล่านิทาน อ่านหนังสือให้ลูกฟัง สิ่งเหล่านี้ก็จะส่งผลต่อพัฒนาการของลูกน้อยได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ค่ะ ดังนั้น เหล่าคุณแม่คุณพ่อป้ายแดงอย่ารอช้า มาเริ่มส่งเสริมพัฒนาการลูกรักกันตั้งแต่อยู่ในครรภ์นะคะ

หากคุณพ่อคุณแม่ท่านใดมีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับพัฒนาการเด็กแรกเกิด 1 เดือน หรือสงสัยว่าลูกน้อยมีพฤติกรรมแบบนี้ เป็นไปตามวัยหรือไม่ …สามารถสอบถามได้ที่ช่อง COMMENT ด้านล่าง 👇 ได้เลยนะคะ ทาง ADMIN จะรีบหาข้อมูลมาตอบกลับให้ค่ะ 👨‍⚕️💚🤍

📝บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง🩺

9 เรื่องควรรู้? แม่หลังคลอด ร่างกายเปลี่ยน เตรียมรับมือ 📕https://healthsmile.co.th/blog/9-changes-in-mothers-body-and-mind-after-delivered/

เป็นแม่ควรจะอิ่มเอิบใจ แต่ทำไมกลับเศร้า อาจเป็นเพราะ “ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด” 📗https://healthsmile.co.th/blog/why-mother-feel-sad-post-partum-blue-baby-blue/

📂อ้างอิง📁

https://www.thaichilddevelopment.com/images/doc/Ebook1.pdf
http://203.157.64.3/multim/media/09680.pdf
https://bit.ly/3P5FOd0
https://bit.ly/3ydI2jK
https://www.huggies.co.th/th-th/baby/age-1-3-months/1-month
https://www.rakluke.com/child-development-all/baby-development/item/1-3.html
https://bit.ly/3P4OccP
https://www.sukumvithospital.com/healthcontent.php?id=3621

หากมีคำถามใดๆเกี่ยวกับเนื้อหาในบทความ สามารถกรอกคำถามไว้ที่แบบฟอร์มด้านท้ายของบทความ ทางทีมงานเฮลท์สไมล์ของเราจะรีบตอบกลับให้เร็วที่สุดค่ะ

✅✅✅✅✅

เฮลท์สไมล์ บริการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ และตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ ครบ 23 คู่ทุกโครโมโซมที่มีในมนุษย์ รู้เพศ และโรคอื่นๆที่เกิดจากการขาด/เกินของโครโมโซมขนาดเล็กได้มากถึง 92 โรค กับ Brand NIFTY® และ NGD NIPS

✔ ตรวจเลือดดาวน์ ผลแม่นยำสูง 99.9%

✔ เจาะเลือดตรวจดาวน์เพียง 10 ซีซี ไม่เสี่ยงแท้ง

✔ ราคาคุ้มค่า ประหยัด ค่าบริการเริ่มต้นที่ 9,500 บาท

✔ สะดวก สบาย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ลดความเสี่ยงจากการเดินทางออกนอกสถานที่

✔ บริการตรวจทั่วประเทศ ถึงบ้านคุณ

✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @Healthsmile

📞 โทร : 089 874 9565

🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของทารกในครรภ์ ได้ที่นี่ https://healthsmile.co.th/prenatal-screening/