บทความโดย โรเบิร์ต ฟูลตัน
เผยแพร่ วันที่ 28 มีนาคม 2023
ปัจจุบันการตรวจหาโรคจากช่องคลอดนั้นมักได้ผลการตรวจที่มีประสิทธิภาพกว่าการตรวจหาโรคผ่านทางปัสสาวะโดยเฉพาะโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ผลศึกษาจากเว็ปไซด์ Annals of Family Medicine เว็ปไซด์เกี่ยวกับบทความทางการแพทย์ พบว่า ระยะเวลาการตรวจพบการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งรวมถึงเชื้อทางเพศสัมพันธ์อย่าง คลาไมเดีย (Chlamydia : หนองในเทียม) เชื้อไนซีเรีย โกโนเรีย (Neisseria gonorrhea : หนองในแท้) หรือ เชื้อทริโคโมแนส วาจินาลิส (Trichomonas vaginalis : พยาธิในช่องคลอด) โดยการตรวจหาเชื้อจากคลอดนั้นใช้ระยะเวลาน้อยกว่าและได้ผลการตรวจที่ดีกว่าการตรวจผ่านปัสสาวะ
นักวิจัยเองยังศึกษาอีกว่า ในอเมริกา มักจะพบเชื้อหนองในเทียมและเชื้อหนองในแท้มากที่สุด ขณะเดียวกันก็พบว่าเชื้อพยาธิในช่องคลอดนั้นเป็นเชื้อที่รักษาหายได้ง่ายที่สุด (นับเฉพาะเชื้อโรคที่ไม่ใช่ไวรัส) โดยในปี 2559 พบว่าเชื้อดังก่าวสามารถรักษาให้หายได้ถึง 156 ล้านเคสทั่วโลก
ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อแห่งสหรัฐ (CDC) แนะนำมาเป็นระยะเวลานานแล้ว ว่าการตรวจหาเชื้อจากช่องคลอดนั้น จะได้ผลวินิจฉัยที่รวดเร็วและแม่นยำ แต่ถึงแม้จะมีคำแนะนำจาก CDC ให้ตรวจหาเชื้อจากช่องคลอด สถานบริการตรวจสุขภาพหลายๆแห่งก็ยังใช้การตรวจหาเชื้อจากการตรวจปัสสาวะอยู่ดี
ศาสตราจารย์ บาร์บารา แวน เดอร์ พอล (Barbara Van Der Pol, PhD) ศาสตราจารย์ประจำสาขาการแพทย์และสาธารณสุขแห่งมหาวิทยาลัยแอละแบมา เมืองเบอร์มิงแฮม สหราชอาณาจักรกล่าวว่า จากการศึกษาการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ กว่า 97 งานวิจัย ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ปี 2538 ถึงปี 2564 พบว่ากลุ่มตัวอย่างของการศึกษานั้นมักจะใช้ไม่ได้เนื่องจากเป็นการตรวจหาเชื้อโดยวิธีอื่นที่ไม่ใช่การตรวจหาเชื้อจากช่องคลอด ทั้งๆที่สามารถมีกลุ่มตัวอย่างที่ดีกว่านี้หากใช้การตรวจหาเชื้อจากทางช่องคลอด
การตรวจหาหนองในเทียม ด้วยวิธีการตรวจจากทางช่องคลอดนั้นสามารถตรวจพบการติดเชื่อได้ไวและแม่นยำถึง 94.1% (ใช้ค่านัยสำคัญที่ P < .001) แต่หากใช้การตรวจผ่านปัสสาวะแล้ว จะสามารถตรวจพบการติดเชื้อได้ลดลงเหลือเพียง 86.9% (ใช้ค่านัยสำคัญที่ P < .001) และสำหรับเชื้อหนองใน หากตรวจด้วยวิธีการตรวจจากช่องคลอดนั้นจะสามารถพบเชื้อได้ถึง 96.5% (ใช้ค่านัยสำคัญที่ P < .001) แต่ หากตรวจด้วยกลุ่มตัวอย่างปัสสาวะอัตราการพบเชื้อจะอยู่ที่ 90.7% (ใช้ค่านัยสำคัญที่ P < .001) และสำหรับเชื้อพยาธิในช่องคลอดนั้น หากตรวจผ่านจากคลอดจะสามารถพบเชื้อได้ถึง 98% (ใช้ค่านัยสำคัญที่ P < .001) แต่หากตรวจผ่านปัสสาวะจะสามารถพบเชื้อได้เพียง 95.1% (ใช้ค่านัยสำคัญที่ P < .001)
การศึกษาเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศ (STI) ที่ผ่านมานั้นพบว่า หากติดเชื้อในบริเวณท่อปัสสาวะ การตรวจเชื้อหา STI ด้วยวิธีการตรวจปัสสาวะจะไม่สามารถทราบถึงการติดเชื้อในบริเวณนี้ได้ หากไม่มีเซลล์ของปากมดลูกหรือเซลล์ช่องคลอดผสมอยู่ในปัสสาวะที่จะไปนำส่งตรวจ โดยแวน เดอร์พอลและทีมคาดว่าการตรวจการติดเชื้อ STI ด้วยการตรวจปัสสาวะส่งผลให้ไม่สามารถทราบได้ว่าผู้ป่วยนั้นมีการการติดเชื้อ ถึงกว่า 400,000 เคสต่อปี
แวน เดอร์ พอล เสริมอีกว่าหากเป็นโรคทาง STI โดยไม่รู้ตัวว่าติดเชื้อและไม่ได้รับการรักษาอาจนำไปสู่ภาวะมีบุตรยากและอาจกระทบกับความสัมพันธ์ของตนได้
แพทย์หญิง ซาราห์ วูด (Sarah Wood, MD) ผู้บริหารและแพทย์ประจำโรงพยาบาลเด็กฟิลาเดลเฟีย เล่าว่าผู้ให้บริการด้านสุขภาพหลายแห่งมักเลือกใช้การตรวจปัสสาวะเนื่องจากผู้ป่วยอาจจะรู้สึกสะดวกใจมากกว่าวิธีอื่น และการตรวจปัสสาวะนั้นเป็นการตรวจที่สะดวกต้องทั้งสองฝ่าย โดยเพียงแค่นำอุปกรณ์ใส่ปัสสาวะให้แก่ผู้ป่วยเท่านั้น
บทสนทนาระหว่างแพทย์และผู้ป่วยระหว่างการตรวจช่องคลอดอาจเป็นเรื่องละเอียดอ่อนหรือเป็นการรุกล้ำพื้นที่ส่วนตัวมากเกินไป โดยวูดกล่าวอีกว่า บางครั้งแพทย์อาจไม่ได้คำนึงว่าการตรวจช่องคลอดนั้นเป็นเรื่องที่ละเอียดต่อจิตใจ ถึงแม้ว่าการตรวจหาเชื้อ STI จากช่องคลอดนั้นจะเป็นการตรวจที่มีประสิทธิภาพและได้ผลการวินิจฉัยที่แม่นยำมากก็ตาม
วูดยังแนะอีกว่าการสอบถามเบื้องต้น ก่อนการตรวจหาเชื้อจากช่องคลอดนั้นเป็นสิ่งที่ควรทำ เพื่อสอบถามความสมัครใจของผู้ป่วยการว่าต้องการให้ตรวจจากช่องคลอดหรือไม่
แวน เดอร์ พอล ผู้ที่ทำงานคลุกคลีกับการวินิจฉัยผ่านการตรวจหาเชื้อจากช่องคลอดกว่า 40 ปี เสริมว่าแม้ว่าเธอยังหวังว่าการศึกษาเกี่ยวกับการตรวจเชื้อ STI จากช่องคลอดโดยตรงจะสามารถเปลี่ยนแปลงคุณภาพของกลุ่มตัวอย่าง และเพื่อได้ผลลัพธ์และการวินิจฉัยที่มีประสิทธิภาพที่ดีกว่า แต่ถึงอย่างไรเธอก็ตระหนักเช่นกันว่าการคำนึงถึงความยินยอมในกระบวนการและวิธีตรวจหาเชื้อตามความสมัครใจเป็นสิ่งที่ควรใส่ใจเช่นกัน
ที่มา : Spotting STIs: Vaginal Swabs Work Best – Medscape – Mar 28, 2023.
https://www.medscape.com/viewarticle/990200
แปลโดย : ณัชปพัฒน์ ทำสวย
ตรวจสอบความถูกต้องทางการแพทย์โดย : นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์
ขออนุญาติเจ้าของบทความแล้ว
Last Updated on 20 เมษายน 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์
✅✅✅✅✅
หากมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับอวัยวะเพศ ปัสสาวะแสบขัด ตกขาว มีแผล หรือมีความเสี่ยงที่มีคู่นอนหลายคน หรือ คู่นอนของเรามีคนอื่นด้วย
แนะนำตรวจและรักษาให้ตรงจุด
ด้วยชุดตรวจโรคทางเพศด้วยตนเอง
หากต้องการตรวจเพื่อยืนยันการติดเชื้อ หรือรักษาอาการผิดปกติเกี่ยวกับอวัยวะเพศ ด้วยเทคโนโลยีที่มีความแม่นยำสูง สามารถรักษาให้หายขาดได้ เฮลท์สไมล์ มีให้บริการชุดตรวจด้วยตนเองที่บ้าน ครอบคลุมเชื้อที่ทำให้เกิดแผลที่อวัยวะเพศสูงสุดถึง 14 โรค มีความแม่นยำมากกว่า 95%
เรามีแพคเกจตรวจโรคและความผิดปกติเกี่ยวกับอวัยวะเพศ ให้เลือกอยู่ 4 แพคเกจ
* ทุกแพคเกจ มีแพทย์เฉพาะทางที่ปรึกษาด้านสูตินรีเวช เพื่อแนะนำการรักษา
* ทุกแพคเกจ รวมค่ายารักษาตามโรคที่พบส่งฟรีถึงบ้านโดยเภสัชกร
-
- แพคเกจปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อการรักษา : 900 บาท
เหมาะกับคนที่ยังไม่เคยรักษา ต้องการรักษาด้วยตนเอง แพทย์แนะนำยา แนะนำการรักษา การดูแลตนเองหลังรักษาป้องกันการเป็นซ้ำ - แพคเกจตกขาวผิดปกติ 7 โรค : 2,490 บาท
สำหรับคนที่มีอาการปัสสาวะผิดปกติ หรือตกขาวผิดปกติ
ตรวจได้ 7 เชื้อ ได้แก่
– หนองในแท้
– หนองในเทียม (5 ชนิด)
– พยาธิในช่องคลอด - แพคเกจแผลที่อวัยวะเพศ 11 โรค : 2,990 บาท
สำหรับคนที่มีแผล หรือก้อนที่อวัยวะเพศ
ตรวจได้ 11 เชื้อ ได้แก่
แพคเกจที่ 2. + เพิ่ม
– เริม (2 ชนิด)
– ซิฟิลิส
– แบคทีเรียในช่องคลอด - แพคเกจตรวจครบ 15 โรค : 3,290 บาท *** แนะนำ ***
สำหรับมารดาที่มีตกขาวผิดปกติ แนะนำให้ตรวจโรคแบบครบรอบด้าน
ตรวจได้ 14 เชื้อ ได้แก่
แพคเกจที่ 3. +เพิ่ม
– แผลริมอ่อน
– เชื้อรา (2 ชนิด)
– เชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด (2 ชนิด) รวมไปถึงเชื้อ GBS (Group B Streptococcus) ซึ่งส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์ได้รุนแรง
- แพคเกจปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อการรักษา : 900 บาท
📞 สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และนัดหมายการตรวจได้ที่
– Line ID : @Sex.Disease
หรือคลิกได้ที่ลิงค์นี้
https://link.healthsmile.co.th/add-line/STD-content
🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจโรคทางเพศ และการรักษา ได้ที่นี่
https://healthsmile.co.th/mens-sti-clinic/
https://healthsmile.co.th/womens-sti-clinic/
✅✅✅✅✅
Last Updated on 20 เมษายน 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์