จะคุยกับแฟนอย่างไร ถ้าผลตรวจเราเป็นโรคติดต่อทางเพศ

เนื้อหาในบทความ

สำหรับการพูดคุยกับคนรัก หรือคู่ชีวิตเรื่องที่ค่อนข้างจริงจัง สภาวะอารมณ์ของคู่สนทนาสามารถแปรปรวนได้เสมอ และไม่ใช่ทุกครั้งที่จะสามารถยอมรับสิ่งที่ผู้อื่นพูดได้ จึงเป็นเรื่องปกติที่ผู้พูดอาจจะรู้สึกอึดอัด และไม่ค่อยอยากจะพูดถึงเรื่องที่จริงจัง แต่ถ้าคุณติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (STI : Sexually Transmitted Infection) หรือที่เรียกว่า โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STD : Sexually Transmitted Disease) มันจำเป็นที่จะต้องแจ้งให้อีกฝ่ายทราบ และหาทางอธิบายสื่งที่เราเป็นอยู่เพื่อการรักษา และป้องกันการแพร่เชื้อต่อ

แพทย์เฉพาะทางสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา ได้ให้เคล็ดลับ การบอกคนอื่นว่าเราเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ดังนี้

ความสำคัญของโรคติดต่อทางเพศ

สิ่งที่สำคัญคือคุณต้องรู้ไว้ คือ STI หรือ STD นั้นบางครั้งมักไม่แสดงอาการหรือไม่พบความผิดปกติใดๆ แต่เมื่อคุณเป็นแล้วมันหากไม่ได้รับการรักษาอาจนำไปสู่ ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ ภาวะมีบุตรยาก หรือ ภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ได้

STI โดยทั่วไปแล้วสามารถรักษาให้หายขาดได้ เช่น หนองในเทียม เริมที่อวัยวะเพศ หูด หนองใน และซิฟิลิส ในส่วนบางโรคไม่สามารถรักษาให้หายขาดแต่สามารถจัดการให้ไม่เป็นอันตรายได้ ได้แก่ เริม HIV/เอดส์ ไวรัสตับอักเสบบีและ HPV

อาการที่พบได้เมื่อคุณเป็น STI

    • เป็นผื่น

    • เจ็บเวลาปัสสาวะ หรือปัสสาวะบ่อย

    • อาการบวมแดงหรือคันรุนแรงบริเวณอวัยวะเพศ

    • สารคัดหลั่ง หรือตกขาวจากช่องคลอดมีกลิ่นไม่ดี มีสีที่ผิดปกติ

    • เลือดออกบริเวณช่องคลอด

    • เจ็บปวดตอนมีเพศสัมพันธ์

การตรวจเพื่อทราบผลตั้งแต่เนิ่นๆ เป็นสิ่งสำคัญเพื่อจะได้รีบรักษาโรคอย่างรวดเร็ว

มีคนเป็นโรคติดต่อทางเพศเยอะมั้ย ?

ข้อมูลล่าสุดจากศูนย์ควบคุมโรค ประเทศสหรัฐอเมริกาในปี 2018 เผยว่า คน 1 ใน 5 คนเคยเป็น STI ครั้งใดครั้งหนึ่งในชีวิต ซึ่งมีคนติดเชื้อเป็นผู้ป่วยใหม่ปีละ 26 ล้านราย และเกือบครึ่งเป็นในช่วงอายุ 15 ถึง 24 ปี โดยมีค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคเหล่านี้ต่อปีสูงถึง 16,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

สำหรับประเทศไทย อ้างอิงจาก เว็บสารสนเทศสุขภาพไทย https://www.hiso.or.th/ พบว่าสถานการณ์การป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (ไม่รวมโรคเอดส์) ในรอบ 10 ปี
ระหว่างปี พ.ศ. 2553 ถึงปี พ.ศ. 2562 เพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจนในทุกกลุ่มอายุ โดยบางโรคเพิ่มขึ้นมากกว่า 5 เท่าในช่วงเวลา 10 ปี

ตัวเลขเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า STI เป็นเรื่องที่พบได้ปกติทั่วไป การยอมรับนั้นถือเป็นจุดที่ดีในการเปิดเผยสิ่งที่เราเป็น

เข้าใจในสิ่งที่เรากำลังเผชิญอยู่

ก่อนที่จะกังวลเรื่องการเปิดเผยกับคู่นอน ว่าคุณเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ เราแนะนำให้คุณเรียนรู้กับโรคที่คุณเป็นอยู่ก่อน เพื่อจะได้ทำให้การอธิบายกับคู่ หรือครอบครัวเข้าใจได้ง่ายขึ้น

“ขั้นแรกคือการมีความเข้าใจที่ดีเกี่ยวกับโรคนี้ เมื่อคุณเข้าใจดี ความรู้สึกละอายและความรู้สึกผิดจะบรรเทาลง และเมื่อคุณรู้วิธีการควบคุมและมีการจัดการต่อโรค คุณจะสามารถอธิบายสิ่งเหล่านี้แก่ครอบครัวและคู่ของคุณได้ด้วยความเข้าใจที่คุณมี ครอบครัวและคนรักของคุณเขารักคุณเสมอ เพียงแต่เขาไม่เข้าใจและไม่รู้ว่ามันคืออะไรแค่นั้นเอง”

โดยสามารถอ่านบทความเกี่ยวกับโรคต่างๆได้ที่นี่ (https://healthsmile.co.th/tag/โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ)

เปิดใจและเตรียมรับมือกับสิ่งที่ผู้อื่นกำลังจะตัดสินเรา

ให้เริ่มบทสนทนาด้วยการเปิดใจ ซื่อตรงและอยู่กับความเป็นจริง อารมณ์ที่กำลังจะเกิดกับผู้ฟังนั้นมีหลากหลาย ตั้งแต่ตกใจ โกรธ รังเกียจ เข้าใจ ยอมรับ ฯลฯ แต่ขอให้คุณเตรียมพร้อมรับมือกับในกรณีที่เลวร้ายที่สุด

“จงเปิดใจเมื่อคุณจะสนทนา – และเตรียมพร้อมการตัดสินจากพวกเขา ให้คิดไว้ว่าเขาอาจสับสนได้หรืออาจจะเดินหนีคุณไป ซึ่งเขาอาจจะทำแบบนี้หลายครั้ง ในการเริ่มบทสนทนา แต่คุณสามารถบอกพวกเขาได้ว่า ‘ฉันไม่ได้คาดหวังให้คุณโอเคกับการบอกวันนี้ ไม่เป็นไรนะ มันยากที่จะเข้าใจ แต่ฉันก็เคารพคุณมากพอที่จะบอกเรื่องนี้’”

วิธีบอกคู่รักใหม่ของคุณว่าคุณเป็น STI

สำหรับคู่รักใหม่ ที่เพิ่งมีความสัมพันธ์กันไม่นาน ขอให้คุณตรงไปตรงมากับสิ่งที่คุณเป็นแม้ความสัมพันธ์นั้นจะเป็นแบบคู่รักใหม่หรือยังอยู่ในสถานะไม่ชัดเจน ลองคิดดูหากคู่ของคุณเป็น STI คุณก็ต้องการให้เขาบอกคุณเช่นกันเพื่อที่คุณจะสามารถป้องกันสุขภาพของคุณใช่ไหม นั้นก็คงเหมือนกันคุณจะต้องบอกเขา – โดยเฉพาะถ้าความสัมพันธ์อยู่ในขั้นจริงจังแล้ว

“ปกติแล้วคุณจะได้รับเชื้อหนองในและหนองในเทียมภายใน 3 เดือนหลังจากการมีปฏิสัมพันธ์ทางเพศ ดังนั้นถ้าคุณเป็น STD และ STI บอกคู่ของคุณที่มีปฏิสัมพันธ์ทางเพศใน 3 เดือนที่ผ่านมาด้วย ไม่ว่าคู่หรือคุณเป็นแพร่เชื้อคุณต้องคำนึงถึงผลที่ตามมาระยะยาว”

ถึงเวลาที่ต้องบอกคู่ว่าเราเป็น STI

    • เจอกันในที่ที่สบายและปลอดภัย

    • เปิดใจและพร้อมตอบคำถามที่อาจจะตามมา

    • ตั้งสติและไม่ถกเถียง : คนอื่นๆอาจจะตื่นตระหนกและอารมณ์เสีย เมื่อได้รับข่าวร้าย แต่อย่างไรก็ดีหากทั้งคุณและเขาอารมณ์เสีย คุณจะไม่สามารถได้ข้อสรุปอะไรเลย

    • หากคู่ของคุณต้องการเวลาหรือระยะห่างเพื่อประมวลสิ่งที่เกิดขึ้น จงเคารพและให้สิ่งที่เขาต้องการ

    • หากคู่ของคุณสงบและเข้าใจให้ใช้เวลาเพื่อถามเกี่ยวกับประวัติทางเพศที่ผ่านมา คุณอาจพบว่าพวกเขาเคยเป็น STI เมื่อคุณพบแล้วคุณอาจจะร่วมกันเพื่อดูแลสุขภาพ

“ผู้คนส่วนมากจะกังวลมากเมื่อต้องบอกคู่ของตนว่าพวกเขาเป็น STI และไม่ค่อยอยากบอกคู่ของพวกเขา เนื่องจากคนทั่วไปมักจะไม่ค่อยถามหาประวัติทางเพศกัน แต่อย่างไรก็ตาม การพูดคุยกันเมื่อมีการติดเชื้อแล้ว ถือว่าเป็นความจำเป็น เพื่อประโยชน์ของคู่ของเราให้ได้รับการรักษาที่เร็ว และป้องกันการติดเชื้อให้คนอื่น”

จะจัดการกับ STI ในความสัมพันธ์ที่ไม่มั่นคงยังไง

บางคู่อาจโกรธ หรือเสียความรู้สึกอย่างรุนแรง ซึ่งอาจมาจากความอับอาย หรือมาจากความกลัว ถ้าคุณคิดว่าคู่ของคุณอาจจะรู้สึกผิดหวังอย่างรุนแรง ข่มขู่ และมีความเสี่ยงที่จะทำรุนแรง ให้คุณทำให้ตัวเองปลอดภัยก่อน แนะนำให้พูดคุยกับคู่ในที่สาธารณะที่มีผู้คนรายล้อม คุณยังมีบุคคลที่ 3 ที่คุณไว้ใจได้อยู่ด้วยขณะที่บอกเรื่องการติดเชื้อนี้กับคู่ของคุณ

“ถ้าคุณไม่ได้อยู่ในความสัมพันธ์ที่มั่นคงกับบุคคลนั้น คุณไม่ควรบอกเรื่องนี้ในห้องนอน เพราะนั่นเป็นพื้นที่ที่ค่อนข้างจำกัดและอาจนำไปสู่อันตรายต่อคุณได้”

หากเกิดเหตูการณ์รุนแรงให้ติดต่อเพื่อขอความช่วยเหลือไปที่เบอร์ 191 หรือสถานีตำรวจใกล้บ้าน

หลังจากเปิดเผยว่าเป็น STI/STD แล้วคุณไม่ควรโทษตัวเองอีกต่อไป

หากคุณพูดกับคู่และครอบครัวของคุณแล้ว สิ่งต่างๆอาจไม่ได้ไปในทางที่ดี ควรทำยังไงต่อ?

เราขอเน้นย้ำว่าการโทษตัวเองนั้นไม่ใช่คำตอบ ให้ระลึกไว้ว่าโรคที่คุณเป็นนั้นอาจจะได้รับเชื้อมานานเท่าไหร่ หรือจากใครก็ได้ หรือบางครั้งหากไม่ได้รับการตรวจด้วยเทคนิคที่ดีพอ คุณก็อาจจะไม่ได้เป็นโรคนั้นจริงๆก็ได้ (แพทย์บางท่านอาจจะบอกว่าคุณเป็น STD แค่จากประวัติโดยไม่ได้ตรวจยืนยันใดๆ)

“ อาการ STD ที่คุณเป็นวันนี้ อาจเป็นสิ่งที่คุณมีมานานแล้วแต่พึ่งแสดงออกมา หลายครั้งอาจะมีคำถามเกิดขึ้นมาว่า ‘มันเกิดขึ้นได้อย่างไร’ ความเป็นจริงนั้นมันอาจเกิดตอนที่คุณสัมผัสกับเริมตอนอายุน้อยๆ แล้วเชื้อมันก็อยู่แบบนั้นมาเป็น สิบๆปี ก็เป็นไปได้”

“ คนมักคิดว่า ‘ฉันได้มาจากไหน’ ‘ฉันทำอะไรผิด’ เป็นความจริงที่ว่า STD สามารถติดเชื้อได้ตั้งแต่อายุยังน้อย และอาจจะไม่มีอาการเลยก็ได้ และคุณไม่ควรจะไม่โทษตัวเองอีกต่อไป”

เป็น STD หรือ STI สามารถรักษาได้ แต่ไม่ควรทำพฤติกรรมเสี่ยงเหมือนเดิม

ถ้าคู่ของคุณเป็น STI แทบทั้งหมดสามารถรักษาได้ และสามารถเป็นซ้ำได้หากไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อ แน่นอนว่าวิธีที่ป้องกันได้ดีที่สุดคือการใช้ถุงยางอนามัย แม้ว่าจะไม่สามารถป้องกันได้ 100% แต่ก็ควรใช้ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์

แม้แต่ผู้ป่วยติดเชื้อ HIV หลายรายที่ใช้ยาอย่างถูกวิธี ก็แทบจะไม่ตรวจเจอไวรัสเลย ดังนั้นหากคู่ของคุณสวมถุงยางและตรวจไม่พบเชื้อไวรัส ความเสี่ยงในการติดโรคก็จะต่ำลงด้วย ตราบใดที่ทั้งคู่ไม่มีอาการอักเสบของโรคหนองใน หรือหนองในเทียม แต่นั้นเป็นผลมาจากการเปิดใจ และซื่อสัตย์ที่จะบอกและตอบคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่เป็น และคุณควรที่จะศึกษาเกี่ยวกับ HIV และยารักษาเพราะเมื่อ คู่รักของคุณเอ่ยชื่อชื่อยารักษาคุณจะได้ทราบว่านั้นคือยารักษาจริงหรือไม่

กรณีที่คุณมีเขาเป็นคู่นอนคนเดียว (เขาเอาเชื้อโรคมาติดให้คุณ)

    • คุณควรรักษาตัวคุณเอง

    • ควรแจ้งให้คู่ของคุณเข้ารับการรักษาพร้อมกัน

    • คุณหรือคู่ของคุณ ควรแจ้งให้คนที่เคยมีเพศสัมพันธ์ด้วยทุกคน ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาเข้ารับการรักษาด้วยทุกคน เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อต่อ

    • พิจารณาเรื่องความสัมพันธ์ ว่ารับได้กับพฤติกรรมเช่นนี้หรือไม่ และจะคงความสัมพันธ์ระหว่างกันไว้เป็นแบบใด

    • ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์

กรณีที่คุณไปรับเชื้อมาจากคนอื่น (คุณอาจจะเอาเชื้อโรคไปติดให้เขา)

    • คุณควรรักษาตัวคุณเอง

    • ควรแจ้งให้คู่ของคุณเข้ารับการตรวจ และหากพบการติดเชื้อก็แนะนำให้รับการรักษาพร้อมกัน (บางกรณี อาจให้การรักษาเลยโดยไม่ต้องตรวจซ้ำก็ได้)

    • ควรแจ้งให้คนที่คุณเคยมีเพศสัมพันธ์ด้วยทุกคน ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาเข้ารับการรักษาด้วยทุกคน เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อต่อ

    • ควรเลิกพฤติกรรมมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน

กรณีที่ไม่แน่ใจ ว่าใครเอามาติดให้ใครกันแน่

    • ควรรักษาทั้งสองคนพร้อมกัน และแนะนำให้แจ้งคนที่คุณเคยมีเพศสัมพันธ์ด้วยทุกคน ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาเข้ารับการรักษาด้วยทุกคน เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อต่อ

    • ทั้งสองคนควรเลิกพฤติกรรมมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน

Last Updated on 20 เมษายน 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์

✅✅✅✅✅

หากมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับอวัยวะเพศ ปัสสาวะแสบขัด ตกขาว มีแผล หรือมีความเสี่ยงที่มีคู่นอนหลายคน หรือ คู่นอนของเรามีคนอื่นด้วย

แนะนำตรวจและรักษาให้ตรงจุด

ด้วยชุดตรวจโรคทางเพศด้วยตนเอง

 

รูปชุดตรวจ STD

หากต้องการตรวจเพื่อยืนยันการติดเชื้อ หรือรักษาอาการผิดปกติเกี่ยวกับอวัยวะเพศ ด้วยเทคโนโลยีที่มีความแม่นยำสูง สามารถรักษาให้หายขาดได้ เฮลท์สไมล์ มีให้บริการชุดตรวจด้วยตนเองที่บ้าน ครอบคลุมเชื้อที่ทำให้เกิดแผลที่อวัยวะเพศสูงสุดถึง 14 โรค มีความแม่นยำมากกว่า 95%

เรามีแพคเกจตรวจโรคและความผิดปกติเกี่ยวกับอวัยวะเพศ ให้เลือกอยู่ 4 แพคเกจ

* ทุกแพคเกจ มีแพทย์เฉพาะทางที่ปรึกษาด้านสูตินรีเวช เพื่อแนะนำการรักษา
* ทุกแพคเกจ รวมค่ายารักษาตามโรคที่พบส่งฟรีถึงบ้านโดยเภสัชกร

    1. แพคเกจปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อการรักษา : 900 บาท
      เหมาะกับคนที่ยังไม่เคยรักษา ต้องการรักษาด้วยตนเอง แพทย์แนะนำยา แนะนำการรักษา การดูแลตนเองหลังรักษาป้องกันการเป็นซ้ำ
    2. แพคเกจตกขาวผิดปกติ 7 โรค : 2,490 บาท
      สำหรับคนที่มีอาการปัสสาวะผิดปกติ หรือตกขาวผิดปกติ
      ตรวจได้ 7 เชื้อ ได้แก่
      – หนองในแท้
      – หนองในเทียม (5 ชนิด)
      – พยาธิในช่องคลอด
    3. แพคเกจแผลที่อวัยวะเพศ 11 โรค : 2,990 บาท
      สำหรับคนที่มีแผล หรือก้อนที่อวัยวะเพศ
      ตรวจได้ 11 เชื้อ ได้แก่
      แพคเกจที่ 2. + เพิ่ม
      – เริม (2 ชนิด)
      – ซิฟิลิส
      – แบคทีเรียในช่องคลอด
    4. แพคเกจตรวจครบ 15 โรค : 3,290 บาท *** แนะนำ ***
      สำหรับมารดาที่มีตกขาวผิดปกติ แนะนำให้ตรวจโรคแบบครบรอบด้าน
      ตรวจได้ 14 เชื้อ ได้แก่
      แพคเกจที่ 3. +เพิ่ม
      – แผลริมอ่อน
      – เชื้อรา (2 ชนิด)
      – เชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด (2 ชนิด) รวมไปถึงเชื้อ GBS (Group B Streptococcus) ซึ่งส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์ได้รุนแรง

📞 สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และนัดหมายการตรวจได้ที่
– Line ID : @Sex.Disease
หรือคลิกได้ที่ลิงค์นี้
https://link.healthsmile.co.th/add-line/STD-content

🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจโรคทางเพศ และการรักษา ได้ที่นี่
https://healthsmile.co.th/mens-sti-clinic/
https://healthsmile.co.th/womens-sti-clinic/

✅✅✅✅✅

package STD price
สูตินรีแพทย์ ที่สนใจด้านโครโมโซม ยีน DNA และการตรวจสุขภาพเชิงลึก ให้การดูแลมารดาตั้งครรภ์ ตรวจความผิดปกติของทารกในครรภ์ รักษาสุขภาพทางเพศ และให้ความรู้ด้านการตรวจยีนสุขภาพ การศึกษา - สถานะความรู้ความชำนาญเฉพาะทางที่แพทยสภารับรอง : สาขา สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ( Obstetrics and Gynaecology ) - ประกาศนียบัตรฯ ที่แพทยสภารับรอง : ด้านเวชศาสตร์จีโนมเบื้องต้นสำหรับแพทย์เฉพาะทาง

Last Updated on 20 เมษายน 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์