Last Updated on 13 กันยายน 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์
เนื้อหาในบทความ
- ความเชื่อผิดๆ 1 : คุณจะไม่ติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STD) หากคุณไม่ได้เพศสัมพันธ์
- ความเชื่อผิดๆ 2 : คุณจะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STD) ถ้าใช้ชักโครกเดียวกัน
- ความเชื่อผิดๆ 3 : คนที่เป็นโรคติดต่อทางเพศ จะต้องมีอาการผิดปกติ
- ความเชื่อผิดๆ 4 : เราควรจะตรวจหา STD ก็ต่อเมื่อเรามีเพศสัมพันธ์บ่อยๆ
- ความเชื่อผิดๆ 5 : คุณจะติดเชื้อเริม (herpes) จากคนที่มีแผลเริมที่อวัยวะเพศเท่านั้น
- ความเชื่อผิดๆ 6 : คุณจะไม่เป็น STD จากสระว่ายน้ำหรืออ่างอาบน้ำร้อน
- ความเชื่อผิดๆ 7 : คุณจะไม่ติดเชื้อ STD หากคุณใช้ถุงยางอนามัย
- ความเชื่อผิดๆ 8 : คุณจะไม่เป็น STD จากจากจูบ
- ความเชื่อผิดๆ 9 : การเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STD) รักษาไม่หาย
- ความเชื่อผิดๆ 10 : คุณไม่สามารถเป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STD) ได้มากกว่าหนึ่งครั้ง
- ความเชื่อผิดๆ 11 : การเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STD) นั้นเป็นเรื่องที่เลวร้าย
- ความเชื่อผิดๆ 12 : คุณสามารถดูจากภายนอกได้ว่ามีใครติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- ความเชื่อผิดๆ 13 : คุณไม่จำเป็นต้องกังวลเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพราะปัจจุบันการรักษามีประสิทธิภาพมาก
- ความเชื่อผิดๆ 14 : โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จะหายไปเอง
- ความเชื่อผิดๆ 15 : การตรวจโรคติดต่อทางเพศเจ็บ
- About the Author: นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์
Last Updated on 13 กันยายน 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์
ประเทศไทยเราค่อนข้างมีเสรีภาพทางเพศ เรามีพระราชบัญญัติสมรสเท่าเทียม เรามีคลินิกสุขภาพทางเพศ และภาครัฐก็ค่อนข้างสนับสนุนเรื่องของสุขภาพทางเพศในด้านต่างๆ แต่อย่างไรก็ดี มีความเชื่อเกี่ยวกับโรคทางเพศอีกหลายอย่าง ที่ต้องการการแก้ไข เพื่อป้องกันการติดต่อเชื้อโรคต่างๆทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างรุนแรงหากไม่ได้รับการตรวจและรักษาโรคติดต่อทางเพศอย่างเหมาะสม เช่น ภาวะมีบุตรยาก การเป็นฝีหนองในช่องท้อง อัณฑะอักเสบ ฯลฯ เป็นต้น
บทความนี้จะพูดถึงความเชื่อหลายๆอย่าง ที่แพร่หลายอยู่ในอินเตอร์เน็ต และทำให้เข้าใจผิด ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อเกี่ยวกับสาเหตุ การรักษา การแพร่เชื้อ ฯลฯ ซึ่งเราได้ตรวจสอบข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ จากแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่น ข้อมูลจากเว็บไซต์ของโรงเรียนแพทย์ชั้นนำในประเทศไทย วารสารทางการแพทย์ต่างๆ เช่น New England Journal และวารสารสมาคมการแพทย์อเมริกัน (JAMA) นำมารวบรวมเป็นบทความนี้ และตรวจทานโดยแพทย์เรียบร้อยแล้ว
ความเชื่อผิดๆ 1 : คุณจะไม่ติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STD) หากคุณไม่ได้เพศสัมพันธ์
หลายคนยังเชื่อว่า หากได้สอดใส่ ก็จะไม่ติดโรค
แต่ความเป็นจริงแล้ว “คุณติดโรคได้โดยไม่จำเป็นต้องมีเพศสัมพันธ์เสมอไป“
แม้ว่าการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ นั้นส่วนมากจะเกิดจากการร่วมเพศที่มีสอดใส่อวัยวะเพศ แต่จริงๆแล้ว การจูบ หรือการร่วมเพศทางปาก ก็ทำให้ติดเชื้อได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น
- โรคหนองในแท้ (Gonorrhea) สามารถติดเชื้อได้ที่บริเวณ อวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือลำคอ โดยสามารถติดเชื้อผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์ทางปากหรือทางทวารหนักได้
- ซิฟิลิส (Syphilis) และ HPV สามารถติดเชื้อได้เพียงแค่ผิวหนังสัมผัสกัน
- HIV นั้น การมีเพศสัมพันธ์จะเป็นความเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากที่สุด แต่ยังสามารถติดเชื้อได้จากการสัมผัสกับเลือดโดยตรงจากผู้ติดเชื้อ (โดยเฉพาะการใช้เข็มหรืออุปกรณ์ฉีดยาอื่นๆร่วมกับผู้ติดเชื้อ)
อ่านเพิ่ม : การทำรักด้วยปาก (Oral Sex) กับความเสี่ยงที่คุณอาจไม่คาดคิด
ความเชื่อผิดๆ 2 : คุณจะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STD) ถ้าใช้ชักโครกเดียวกัน
“เราจะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ถ้าใช้ห้องน้ำสาธารณะ” เรามักจะได้ยินคำพูดนี้บ่อยๆ แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้นความเสี่ยงจากการติดเชื้อทางเพศจากห้องน้ำนั้นเกือบจะเป็น 0 เนื่องจากเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรียเหล่านั้นจะตายเมื่อเซลล์เชื้อโรคอยู่ภายนอกร่างกาย
นอกจากนี้เชื้อ STI และ HIV นั้นจะติดก็ต่อเมื่อเชื้อโรคที่อยู่ในสภาพของเหลวที่แพร่เชื้อไปยังบาดแผลเปิดที่อักเสบเท่านั้น เพราะฉะนั้น “การใช้ชักโครกสาธารณะจึงไม่ทำให้คุณติดเชื้อ“
แต่แม้ว่าการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศจากห้องน้ำจะเกิดขึ้นได้ยากก็ตาม เราก็ควรจะมีการป้องกันการติดเชื้ออื่นๆจากการเข้าห้องน้ำด้วยเช่นกัน
อ่านเพิ่ม : กลัวติดเชื้อจากห้องน้ำสาธารณะ จะไม่เข้าก็ไม่ได้ ทำอย่างไรดี?
ความเชื่อผิดๆ 3 : คนที่เป็นโรคติดต่อทางเพศ จะต้องมีอาการผิดปกติ
ความจริงคือ “เราสามาถติดเชื้อทางเพศได้ โดยที่ไม่มีอาการอะไรปรากฎออกมาเลย” ซึ่งทำให้คนที่มีเชื้อไม่รู้ตัว และถ่ายทอดเชื้อโรคไปสู่ผู้อื่นต่อเนื่องกันไปได้มาก และนี่จึงเป็นสาเหตุสำคัญว่าทำไมการเราจึงควรตรวจหาโรคติดต่อทางเพศอย่างเสมอ ก่อนที่จะใช้ชีวิตร่วมกับคู่นอนคนใหม่ หรือมีคนรักใหม่
อ่านเพิ่ม : เรา / คู่นอนของเรา สามารถเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยไม่มีอาการได้ไหม
ความเชื่อผิดๆ 4 : เราควรจะตรวจหา STD ก็ต่อเมื่อเรามีเพศสัมพันธ์บ่อยๆ
จริงอยู่ที่การมีเพศสัมพันธ์ทำให้เสี่ยงต่อการติดโรค ซึ่งหากยิ่งเรามีเพศสัมพันธ์บ่อย ก็ยิ่งมีโอกาสติดเชื้อมากขึ้น แต่จริงๆแล้วการมีกิจกรรมทางเพศทุกรูปแบบต่างหากที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ โดยเฉพาะเมื่อคู่หรือคนรักของคุณไม่เคยตรวจหาเชื้อมาก่อน หรือไม่ได้ป้องกันระหว่างการมีกิจกรรมทางเพศ
และในความเป็นจริงแล้ว ทุกเพศทุกวัยสามารถติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศได้ “แม้กระทั่งคนที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์โดยการสอดใส่ ก็มีความเสี่ยงในการติดเชื้อได้” เพราะฉะนั้นการใช้อุปกรณ์ป้องกันขณะมีเพศสัมพันธ์จะสามารถป้องกันตัวเราจากการติดเชื้อได้มากขึ้น และควรตรวจหาเชื้อติดต่อทางเพศเป็นระยะๆในกรณีที่มีเพศสัมพันธ์
ความเชื่อผิดๆ 5 : คุณจะติดเชื้อเริม (herpes) จากคนที่มีแผลเริมที่อวัยวะเพศเท่านั้น
ความจริงคือเราสามารถติดเชื้อเริมจากคนที่มีเชื้อเริม (herpes) ตอนไหนก็ได้ ไม่สำคัญว่าคนคนนั้นมีแผลที่เกิดจากเชื้อเริม (herpes) หรือไม่
แต่หากสัมผัสกับแผลเริม (herpes) โดยตรงก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น และ “เมื่อคุณได้สัมผัสเชื้อเริมนั้นแล้ว ตัวคุณเองก็สามารถส่งต่อเชื้อเริม (herpes)ไปยังผู้อื่นได้ทันทีโดยที่ตัวของคุณนั้นไม่จำเป็นต้องมีแผล“
และที่สำคัญ ถุงยางอนามัยไม่สามารถการป้องกันการติดเชื้อเริมได้ทั้งหมด แต่ถึงก็ควรจะใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์เพื่อป้องกันการติดเชื้ออื่นๆร่วมด้วย
อ่านเพิ่ม : แผลที่อวัยวะเพศ แบบไหนร้ายแรงต้องรีบรักษา
ความเชื่อผิดๆ 6 : คุณจะไม่เป็น STD จากสระว่ายน้ำหรืออ่างอาบน้ำร้อน
เราอาจเคยได้ยินมาว่า ‘ถ้ามีเพศสัมพันธ์ในสระว่ายน้ำหรืออ่างน้ำร้อนจะไม่ทำให้ติดโรคทางเพศ เพราะว่าคลอรีนและน้ำร้อนนั้นจะทำให้เชื้อโรคตาย’ แต่นั้นไม่เป็นความจริง ความจริงแล้ว “คุณยังมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคติดต่อทางเพศอยู่ หลังจากมีกิจกรรมทางเพศในสระว่ายน้ำหรืออ่างน้ำร้อน” โดยเฉพาะหากคุณมีเพศสัมพันธ์ในสระว่ายน้ำ คลอรีนจะทำให้ช่องคลอดคุณแห้ง มีโอกาสเกิดการบาดเจ็บของอวัยวะเพศชายและช่องคลอด และเพิ่มการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
นอกจากนี้ การมีเพศสัมพันธ์ในสระว่ายน้ำหรืออ่างน้ำร้อน “เสี่ยงที่จะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะอีกด้วย หากน้ำในสระว่ายน้ำหรืออ่างอาบน้ำร้อนนั้นไม่สะอาด และมีเชื้อโรคอยู่“
อ่านเพิ่ม : การติดเชื้อจากสระว่ายน้ำ
ความเชื่อผิดๆ 7 : คุณจะไม่ติดเชื้อ STD หากคุณใช้ถุงยางอนามัย
ความเข้าใจผิดๆ : ความจริงแล้ว “คุณยังเสี่ยงที่จะติดเชื้อ STD อยู่แม้ว่าคุณจะใช้ถุงยางอนามัย” นั้นเพราะว่าอาจจะยังมีบางส่วนที่ถุงยางอนามัยไม่สามารถปกปิดได้ทั้งหมด และ STI ยังสามารถแพร่เชื่อได้หากสัมผัสกับบริเวณนั้นๆที่ไม่ได้ถูกปกปิด และทุกครั้งที่คุณใช้ถุงยางอนามัยขอให้คุณตรวจสอบวัสดุที่ใช้ในการผลิต ด้านที่สวมใส่ รวมถึงวันหมดอายุด้วย เพื่อให้ได้การป้องกันที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด
อ่านเพิ่ม : โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ “ถุงยางอนามัย” ไม่ช่วย
ความเชื่อผิดๆ 8 : คุณจะไม่เป็น STD จากจากจูบ
ความเป็นจริงแล้วนั้น“คุณสามารถติดและได้รับเชื้อผ่านปากได้” และสามารถได้รับเชื้อผ่านการจูบหรือการสัมผัสน้ำลายและปากของผู้ติดเชื้อได้เช่นกัน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ เชื้อเริม (herpes) ซิฟิลิส (Syphilis) หนองในแท้ และหนองในเทียม
ความเชื่อผิดๆ 9 : การเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STD) รักษาไม่หาย
จริงอยู่ที่ว่าโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STD) หลายโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ อย่าง HIV, HPV, เริม (herpes) และไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) แต่ปัจจุบันนั้นมียาหลายตัวเช่น ยาต้านไวรัสสำหรับ HIV ที่สามารถช่วยให้ไม่มีการแสดงอาการของโรคได้ แต่แม้ว่าจะมียาต้านไวรัสออกมาแต่เชื้อเหล่านั้นก็ยังจะอยู่ในร่างกายเราตลอดชีวิต
นอกจากนี้โรคอื่นๆที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STD) นั้นอย่าง โรคหนองใน (gonorrhea) ซิฟิลิส (syphilis) หนองในเทียม (chlamydia) และโรคพยาธิในช่องคลอด (trichomoniasis) นั้นสามารถรักษาให้หายขาดได้แล้ว
อ่านเพิ่ม : รวม 7 โรค (มากกว่า 11 เชื้อ) ที่ทำให้เกิดตกขาวผิดปกติ และแนวทางการรักษา
ความเชื่อผิดๆ 10 : คุณไม่สามารถเป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STD) ได้มากกว่าหนึ่งครั้ง
“คุณสามารถเป็น STD ได้มากกว่าหนึ่งครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเชื้อที่เป็นแบคทีเรีย” แม้ว่าการติดเชื้อจะหายไปจากการรับประทานยาปฏิชีวนะก็ตาม คุณก็ยังสามารถติดเชื้อได้อีกหากคุณสัมผัสกับเชื้อซ้ำ และสำหรับการติดเชื้อที่เกิดจากไวรัส เชื้อนั้นสามารถอยู่ในร่างกายของคุณ และบางครั้งอาจทำให้อาการกำเริบได้แม้ว่าจะติดเคยเชื้อแล้วก็ตาม
อ่านเพิ่ม : เริม ติดได้ เพียงแค่สัมผัส !
ความเชื่อผิดๆ 11 : การเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STD) นั้นเป็นเรื่องที่เลวร้าย
คุณเคยได้ยินประโยคเหล่านี้ไหม ‘เป็นหนองในคือพวกคนสำส่อน’ ‘เป็นเอดส์แล้วต้องตายแน่ๆ’ แต่เราจะบอกคุณว่ามันไม่ใช่แบบนั้น บางครั้งการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์นั้นอาจจะไม่ได้เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงเพียงอย่างเดียว อาจจะเกิดจากการถูกคู่นอนนำเชื้อมาให้ก็เป็นได้ ดังนั้นการเป็นโรคติดต่อทางเพศถือเป็นเรื่องปกติที่พบได้ในคนทั่วๆไป คุณไม่จำเป็นต้องรู้สึกแย่ คุณแค่ยอมรับมันและดูแลสุขภาพ สุขอนามัยของคุณและคู่รักของคุณเท่านั้นเอง
แต่หากคุณมีพฤติกรรมเสี่ยง และสงสัยว่าจะติดโรคทางเพศ ก็ควรที่จะตรวจโรคติดต่อทางเพศให้แน่ชัด และเข้ารับการรักษา พร้อมกับบอกคู่นอนของคุณให้ทำการตรวจด้วย
อ่านเพิ่ม : จะคุยกับแฟนอย่างไร ถ้าผลตรวจเราเป็นโรคติดต่อทางเพศ
ความเชื่อผิดๆ 12 : คุณสามารถดูจากภายนอกได้ว่ามีใครติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
คุณอาจคิดว่ามันจะชัดเจน ถ้าคุณหรือคู่นอนมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เมื่อเรานึกถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พวกเราหลายคนมักนึกถึงอาการที่เด่นชัด เช่น ก้อนเนื้อ แผล ผื่น หรือสิ่งคัดหลั่งที่ไม่พึงประสงค์ แต่บ่อยครั้งที่โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ไม่มีอาการหรืออาการแสดงใดๆ เลย (หรืออาจไม่ปรากฏเป็นเวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน) ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อาจไม่ทราบว่าตนมีหากยังไม่ได้ตรวจ
อ่านเพิ่ม : Chlamydia trachomatis โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อาการน้อย แต่ปัญหาเยอะ
แม้ว่าคุณจะไม่มีอาการหรืออาการแสดงใดๆ คุณควรเข้ารับการตรวจหากคุณมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน (ไม่สวมถุงยางอนามัย) และแน่นอน วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันตัวเองคือการใช้ถุงยางอนามัยเสมอทุกครั้ง
ความเชื่อผิดๆ 13 : คุณไม่จำเป็นต้องกังวลเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพราะปัจจุบันการรักษามีประสิทธิภาพมาก
แม้ว่าการรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จะมีประสิทธิภาพมาก แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ตั้งแต่แรกเสมอ เพราะไวรัสบางชนิด เช่น เริมที่อวัยวะเพศ และเอชไอวี แม้จะสามารถให้ยารักษาได้ แต่เชื้อก็ยังคงอยู่ในร่างกาย นอกจากนี้ยังมีหลักฐานว่าโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางชนิด เช่น โรคหนองใน อาจเกิดการดื้อต่อยาปฏิชีวนะ และเป็นเชื้อรุนแรงได้ นอกจากนี้ หากคุณติดโรคโดยที่ไม่รู้ตัวและไม่ได้รักษา ก็อาจเกิดผลเสียต่อสุขภาพอื่นๆตามมาได้ด้วยเช่นกัน
อ่านเพิ่ม : ผลแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น หากไม่ได้รักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ความเชื่อผิดๆ 14 : โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จะหายไปเอง
เป็นไปได้ยากมาก ที่โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จะหายไปเอง และหากคุณรอโดยไม่รับเข้ารับการรักษา ทำให้การรักษาล่าช้า คุณเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่ก่อให้เกิดปัญหาระยะยาว นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการแพร่เชื้อไปยังคู่นอน แม้ว่าคุณจะไม่มีอาการแสดงใดๆ ในขณะนั้นก็ตาม
ความเชื่อผิดๆ 15 : การตรวจโรคติดต่อทางเพศเจ็บ
การตรวจโรคทางเพศสำหรับทั้งชายและหญิง สามารถทำได้ง่ายและรวดเร็วพอๆ กับการเก็บตัวอย่างปัสสาวะ หรือในบางกรณีอาจต้องเจาะเลือดตรวจ หรือใช้ไม้พันสำลีป้ายบริเวณอวัยวะเพศ แต่รับรองว่าด้วยเทคโนโลยีการตรวจ ณ ปัจจุบัน แม้ว่าจะรู้สึกอึดอัดขณะที่ทำการตรวจ แต่ก็จะไม่ทำให้เจ็บปวด และ ณ ปัจจุบัน มีชุดตรวจที่คุณสามารถตรวจเองได้ที่บ้าน และส่งเข้าศูนย์แลปเพื่อรับการตรวจ อย่างเช่นที่ เฮลท์สไมล์ ให้บริการอยู่
หากต้องการตรวจโรคติดต่อทางเพศด้วยตนเอง ง่าย สะดวก และเป็นส่วนตัว สามารถติดต่อได้ที่ LINE ID : @Sex.Disease หรือคลิกที่ลิงค์นี้ : https://lin.ee/Y0zopaC
✅✅✅✅✅
หากมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับอวัยวะเพศ ปัสสาวะแสบขัด ตกขาว มีแผล หรือมีความเสี่ยงที่มีคู่นอนหลายคน หรือ คู่นอนของเรามีคนอื่นด้วย
แนะนำตรวจและรักษาให้ตรงจุด
ด้วยชุดตรวจโรคทางเพศด้วยตนเอง
หากต้องการตรวจเพื่อยืนยันการติดเชื้อ หรือรักษาอาการผิดปกติเกี่ยวกับอวัยวะเพศ ด้วยเทคโนโลยีที่มีความแม่นยำสูง สามารถรักษาให้หายขาดได้ เฮลท์สไมล์ มีให้บริการชุดตรวจด้วยตนเองที่บ้าน ครอบคลุมเชื้อที่ทำให้เกิดแผลที่อวัยวะเพศสูงสุดถึง 14 โรค มีความแม่นยำมากกว่า 95%
เรามีแพคเกจตรวจโรคและความผิดปกติเกี่ยวกับอวัยวะเพศ ให้เลือกอยู่ 4 แพคเกจ
* ทุกแพคเกจ มีแพทย์เฉพาะทางที่ปรึกษาด้านสูตินรีเวช เพื่อแนะนำการรักษา
* ทุกแพคเกจ รวมค่ายารักษาตามโรคที่พบส่งฟรีถึงบ้านโดยเภสัชกร
-
- แพคเกจปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อการรักษา : 900 บาท
เหมาะกับคนที่ยังไม่เคยรักษา ต้องการรักษาด้วยตนเอง แพทย์แนะนำยา แนะนำการรักษา การดูแลตนเองหลังรักษาป้องกันการเป็นซ้ำ - แพคเกจตกขาวผิดปกติ 7 โรค : 2,490 บาท
สำหรับคนที่มีอาการปัสสาวะผิดปกติ หรือตกขาวผิดปกติ
ตรวจได้ 7 เชื้อ ได้แก่
– หนองในแท้
– หนองในเทียม (5 ชนิด)
– พยาธิในช่องคลอด - แพคเกจแผลที่อวัยวะเพศ 11 โรค : 2,990 บาท
สำหรับคนที่มีแผล หรือก้อนที่อวัยวะเพศ
ตรวจได้ 11 เชื้อ ได้แก่
แพคเกจที่ 2. + เพิ่ม
– เริม (2 ชนิด)
– ซิฟิลิส
– แบคทีเรียในช่องคลอด - แพคเกจตรวจครบ 15 โรค : 3,290 บาท *** แนะนำ ***
สำหรับมารดาที่มีตกขาวผิดปกติ แนะนำให้ตรวจโรคแบบครบรอบด้าน
ตรวจได้ 14 เชื้อ ได้แก่
แพคเกจที่ 3. +เพิ่ม
– แผลริมอ่อน
– เชื้อรา (2 ชนิด)
– เชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด (2 ชนิด) รวมไปถึงเชื้อ GBS (Group B Streptococcus) ซึ่งส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์ได้รุนแรง
- แพคเกจปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อการรักษา : 900 บาท
📞 สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และนัดหมายการตรวจได้ที่
– Line ID : @Sex.Disease
หรือคลิกได้ที่ลิงค์นี้
https://link.healthsmile.co.th/add-line/STD-content
🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจโรคทางเพศ และการรักษา ได้ที่นี่
https://healthsmile.co.th/mens-sti-clinic/
https://healthsmile.co.th/womens-sti-clinic/
✅✅✅✅✅