เนื้อหาในบทความนี้
- ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมฟรี คือวิธีไหน
- ทำไม NIPT จึงเป็นทางเลือกที่ “คุ้มค่า”
- สิทธิประโยชน์สำหรับคุณแม่
- ข้อแตกต่าง ระหว่างการตรวจ NIPT ฟรีของรัฐ กับการตรวจ NIPT ของเอกชน
- ถ้าตรวจ NIPT แล้วผลมีความเสี่ยงสูง ต้องทำอย่างไร
- ถ้าตรวจ NIPT แล้วผลออกไม่ได้ (No-call) ต้องทำอย่างไร
- ปัจจุบัน การตรวจ Quad test นั้นอาจจะเลิกใช้ในอนาคต ถ้าเกิดมีการนำ NIPT มาใช้อย่างแพร่หลาย
Quad test วิธีฟรี แล้วมีความเสี่ยงต้องทำอย่างไร- ณ ปัจจุบัน การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมที่แม่นยำที่สุดคือวิธีไหน
- สรุป
การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม “ตรวจนิป (NIPT)” ฟรีทั่วประเทศ คนไทยตรวจได้ทุกคน ทุกสิทธิ์
Update ล่าสุด 21 กันยายน 2561 อ้างอิงจากข่าว ของสำนักข่าว ThaiPost (https://www.thaipost.net/main/detail/18121) เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2561. รัฐบาลให้เจาะเลือดตรวจในกลุ่มอาการดาวน์ในหญิงตั้งครรภ์อายุ 35 ปีขึ้นไปคลอบคลุมทั่วประเทศ ทุกสิทธิ์ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย โดยการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมฟรีนี้ คือวิธี Quad test นั่นเอง
Update ล่าสุด พฤศจิกายน 2566 สิทธิ์ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมฟรี ครอบคลุมมารดาตั้งครรภ์ชาวไทยทุกคน ทุกสิทธิ์การรักษา ไม่ว่าจะเป็นบัตรทอง ประกันสังคม รัฐวิสาหกิจ หรือข้าราชการ ก็สามารถตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมได้ฟรี ทุกคน ทุกสิทธิ์ ( https://www.nhso.go.th/news/4213 )
Update ล่าสุด ตุลาคม 2567 สปสช. เห็นชอบหลักการข้อเสนอบริการตรวจ NIPT ในระบบบัตรทอง ( https://cimjournal.com/public-health-news/pr8-25 )
สปสช. เห็นชอบปรับอัตราจ่ายบริการ NIPT’ ตรวจอาการดาวน์ในครรภ์แบบไม่ลุกล้ำ (https://www.gcc.go.th/2025/01/29/สปสช-เห็นชอบปรับอัตราจ่/)
ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมฟรี คือวิธีไหน
แม้จะมีความคืบหน้าจาก สปสช. ที่เห็นชอบหลักการข้อเสนอบริการตรวจ NIPT ในระบบบัตรทองให้แก่คุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นชาวไทย ฟรีทุกคน ทุกสิทธิ์ เมื่อการประชุมในวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2567 ซึ่งนับเป็นข่าวดีสำหรับคุณแม่คนไทยทุกคน ที่จะได้เข้ารับบริการการตรวจ NIPT หรือ การตรวจนิปส์ที่เดิมมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 9,000 – 20,000 บาท (แล้วแต่สถานพยาบาล) ได้ฟรี โดยวิธีนี้นั้นมีความแม่นยำสูงถึง 99.9%
ทำไม NIPT จึงเป็นทางเลือกที่ “คุ้มค่า”
ที่มาของนโยบายจาก สปสช.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ผลักดันให้การตรวจคัดกรองทารกในครรภ์ด้วยวิธี NIPT (Non-Invasive Prenatal Test) เป็นหนึ่งในสิทธิประโยชน์หลักสำหรับหญิงตั้งครรภ์ทุกสิทธิการรักษา โดยมีพื้นฐานมาจากงานวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขที่แสดงให้เห็นถึง ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจในระยะยาว สำหรับประเทศไทย
ความท้าทายด้านสาธารณสุข
ภาวะโครโมโซมผิดปกติของทารก เช่น
-
กลุ่มอาการดาวน์ (Trisomy 21) พบประมาณ 1 ใน 800 ราย
-
กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด (Trisomy 18) พบประมาณ 1 ใน 5,000 ราย
-
กลุ่มอาการพาทัว (Trisomy 13) พบประมาณ 1 ใน 16,000 ราย
ล้วนส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อพัฒนาการ สุขภาพ และคุณภาพชีวิตของเด็ก รวมถึงภาระค่าใช้จ่ายระยะยาวทั้งต่อครอบครัวและระบบสาธารณสุข
กุญแจสำคัญคือ “ราคาที่เข้าถึงได้”
ผลการวิเคราะห์ต้นทุนพบว่า NIPT จะเป็นทางเลือกที่คุ้มค่าที่สุด หากสามารถลดราคาลงเหลือประมาณ 47 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 1,800 บาท)
การปรับอัตราเบิกจ่ายของ สปสช.
เพื่อตอบรับแนวทางดังกล่าว สปสช. ได้ปรับเพิ่มอัตราค่าบริการตรวจ NIPT จากเดิม 1,700 บาท เป็น 2,700 บาท เพื่อจูงใจให้เกิดการให้บริการในวงกว้าง และตั้งเป้าหมายว่า
-
ในปี 2568 จะมีหญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการ กว่า 237,930 ราย
-
และเพิ่มเป็น 300,000 – 400,000 ราย ในปีถัดไป
สิทธิประโยชน์สำหรับคุณแม่
ภายใต้ประกาศฉบับใหม่ หญิงตั้งครรภ์ในทุกสิทธิการรักษาจะได้รับสิทธิประโยชน์ดังนี้:
✅ ตรวจคัดกรองโครโมโซมผิดปกติ 3 คู่หลัก ได้แก่ Trisomy 21, 18 และ 13 ได้ 1 ครั้งต่อการตั้งครรภ์
✅ ส่งเสริมให้เลือกตรวจด้วยวิธี NIPT ซึ่งมีความแม่นยำสูงและปลอดภัย
✅ หากไม่สามารถรับบริการ NIPT ได้ ยังสามารถเลือกตรวจแบบ Quadruple test ซึ่ง สปสช. ให้การสนับสนุนเช่นกัน
ณ ปัจจุบัน (ผู้เขียนเขียนบทความนี้ ณ วันที่ 13 กรกฎาคม 2568) เริ่มมีการให้บริการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมฟรีด้วยการตรวจ NIPT ในบางของโรงพยาบาลรัฐแล้ว ส่วนบางโรงพยาบาลที่ยังเข้าไม่ถึง ก็จะยังคงเป็นวิธีการเจาะเลือดหาสารชีวเคมีในเลือดของมารดา 4 ค่า (Quadruple test, Quad test, ควอดเทสต์) ซึ่งมีความแม่นยำประมาณ 80-85% และหากผลตรวจผิดปกติ ก็จะต้องตรวจเพื่อยืนยันเพิ่มเติมด้วยการเจาะน้ำคร่ำ ก็การเจาะน้ำคร่ำก็สามารถตรวจได้ฟรีเช่นกัน แต่อย่างไรก็ดี การเจาะน้ำคร่ำก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดการแท้งบุตรได้เล็กน้อย ประมาณ 0.5%
ข้อแตกต่าง ระหว่างการตรวจ NIPT ฟรีของรัฐ กับการตรวจ NIPT ของเอกชน
ข้อพิจารณา | ตรวจ NIPT ฟรี รพ.รัฐ (บัตรทอง ประกันสังคม ข้าราชการ) | ตรวจ NIPT เอกชน (ชำระเงินเอง) |
ค่าใช้จ่าย | ฟรี (อาจจะมีค่าใช้จ่ายอื่นๆตามที่โรงพยาบาลเรียกเก็บ) | 7,000-20,000 บาท |
ค่าวินิจฉัยเพื่อยืนยันผลกรณีผลตรวจพบความเสี่ยงสูง |
– หากเจาะน้ำคร่ำหรือเจาะเลือดสายสะดือที่โรงพยาบาลรัฐ = ฟรี – หากฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลเอกชนจะมีค่าใช้จ่ายในการตรวจดังกล่าวอยู่ที่ประมาณ 10,000-20,000 บาท |
มีเงินประกันให้ แล้วแต่แพคเกจที่เลือก ที่ 10,000 – 25,000 บาท สามารถเลือกตรวจที่โรงพยาบาลไหนก็ได้ทั้งรัฐและเอกชน |
ค่าประกัน หากกรณีเกิดผลลบลวง (ผลบอกว่าทารกเสี่ยงต่ำที่จะเป็นดาวน์ซินโดรม แต่จริงๆแล้วทารกเป็นดาวน์ซินโดรม) | ไม่มีประกันความผิดพลาด | มีประกันอยู่ที่ 1,000,000 – 2,000,000 บาท แล้วแต่เพคเกจที่เลือก |
ตรวจกี่โครโมโซม | 3 คู่ ได้แก่ 13 18 21 | ตรวจได้สูงสุด 23 คู่ รวมความผิดปกติที่เกิดจากการขาด/เกิน ของโครโมโซมขนาดเล็ก (Microdeletion / Duplication) อีก 92 โรค |
รู้เพศหรือไม่ | ณ ประกาศล่าสุด ไม่รวมโครโมโซมเพศ และโรคที่เกิดจากภาวะขาด/เกินของโครโมโซมเพศ | รู้เพศ และโรคที่เกิดจากภาวะขาด/เกินของโครโมโซมเพศ |
ติดต่อที่ใด | โรงพยาบาลรัฐ ทั่วประเทศ |
คลินิกเอกชน HealthSmile ให้บริการทั่วประเทศ |
อายุครรภ์ที่ตรวจได้ | 10-18 สัปดาห์ |
10 สัปดาห์เป็นต้นไป ไม่กำหนดอายุครรภ์สูงสุด แต่การตรวจช้า อาจจะไม่สามารถพิจารณายุติการตั้งครรภ์ได้หากผลตรวจผิดปกติ |
ถ้าตรวจ NIPT แล้วผลมีความเสี่ยงสูง ต้องทำอย่างไร
ต้องตรวจวินิจฉัยเพื่อยืนยันความผิดปกติ ด้วยการเจาะน้ำคร่ำ หรือการเจาะเลือดสายสะดือทารกในครรภ์ (อ่านเพิ่ม : ผลตรวจ NIFTY หรือ ผลตรวจ NIPT ผิดปกติ ต้องทำอย่างไรต่อ? )
ถ้าตรวจ NIPT แล้วผลออกไม่ได้ (No-call) ต้องทำอย่างไร
ในแนวทางที่ออกมา ก็จะแนะนำให้เจาะน้ำคร่ำ หรือเจาะเลือดสายสะดือเพื่อพิสูจน์ความผิดปกติต่อ หรือหากคุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ต้องการตรวจอะไรเพิ่มเติม ก็สามารถทำได้เช่นกัน
แนวทางการตรวจ nipt สปสช
ปัจจุบัน การตรวจ Quad test นั้นอาจจะเลิกใช้ในอนาคต ถ้าเกิดมีการนำ NIPT มาใช้อย่างแพร่หลาย
Quad test วิธีฟรี แล้วมีความเสี่ยงต้องทำอย่างไร
เนื่องจากการตรวจ Quad test มีความแม่นยำอยู่ที่ 80-85% ดังนั้น หากพบว่าผลตรวจมีความเสี่ยงสูง ก็จะแนะนำให้ตรวจเพิ่มเติม ด้วยการตรวจที่มีความแม่นยำมากกว่า โดยมี 2 ทางเลือก ดังนี้
การเจาะน้ำคร่ำ
วิธีนี้เป็นวิธีการตรวจวินิจฉัย ทำโดยการเจาะเอาน้ำคร่ำที่มีเซลล์ของทารกออกมาเพื่อทำการตรวจโครโมโซม ( อ่านเพิ่มเติม เจาะน้ำคร่ำคืออะไร โดยราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย )
-
ค่าตรวจฟรีทุกสิทธิ์ เมื่อตรวจที่โรงพยาบาลรัฐต้องไปที่โรงพยาบาลที่สามารถเจาะน้ำคร่ำได้เท่านั้น ไม่ได้มีให้บริการในทุกโรงพยาบาลรัฐมีความเสี่ยงแท้ง ประมาณ 0.5% เนื่องจากต้องแทงเข็มเข้าดูดน้ำคร่ำจากโพรงมดลูกมาตรวจ
การเจาะตรวจ NIPT
วิธีนี้ ก็เป็นการตรวจคัดกรองเช่นเดียวกันกับการตรวจ Quad test แต่ว่ามีความแม่นยำที่สูงกว่า โดยความมีค่าความแม่นยำของการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมอยู่ที่ 99.9%
-
มีค่าใช้จ่ายอยู่อยู่ที่ประมาณ 9,000 – 20,000 บาท แล้วแต่สถานพยาบาล และจำนวนโครโมโซมที่สามารถตรวจได้มีบริการทั่วประเทศ สามารถติดต่อได้ คลิกที่นี่ไม่เสี่ยงแท้ง เพราะเจาะเลือดจากคุณแม่
ณ ปัจจุบัน การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมที่แม่นยำที่สุดคือวิธีไหน
การตรวจคัดกรองที่แม่นยำที่สุด คือ การตรวจที่ชื่อว่า NIPT (Non-Invasive Prenatal Testing) ซึ่งมีความแม่นยำมากกว่า 99% และสามารถตรวจได้ฟรีตามโรงพยาบาลรัฐแล้ว
รูปภาพ เปรียบเทียบการตรวจ Quad test (80%), NIPT (99.9%) และ เจาะน้ำคร่ำ (100%)
ซึ่งโดยปกติ การตรวจ NIPT นั้นมีเทคนิคที่หลากหลาย และมีรายละเอียดแตกต่างกันเล็กน้อย ทำให้ค่าตรวจของแต่ละบริษัทนั้นแตกต่างกัน แต่โดยรวมแล้ว วิธี NIPT นั้นสามารถตรวจดาวน์ซินโดรมได้แม่นยำ >99% จึงเป็นวิธีตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมอื่นๆ ที่แม่นยำที่สุด ณ ปัจจุบัน
อ่านเพิ่มเติม : Top 10 คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม NIPT
อ่านเพิ่มเติม : ข้อดี – ข้อเสียของการตรวจ NIPT ด้วยวิธี SNP (Panorama) และ NGS (NIFTY, NGD NIPS)
นอกจากนี้ NIPT ยังสามารถรายงานผลโครโมโซมคู่อื่นๆ นอกจากคู่ที่ 21 ที่ทำให้เกิดดาวน์ซินโดรมได้อีกด้วย เช่น คู่ที่ 18 และ 13 รวมไปถึงโครโมโซมเพศ X, Y หรือโครโมโซมอื่นๆได้ด้วย โดย ณ ปัจจุบัน แบรนด์ที่ทาง เฮลท์สไมล์ ของเราให้บริการอยู่ (NIFTY) จะตรวจได้สูงสุดที่ 23 โครโมโซม และความผิดปกติของโครโมโซมขนาดเล็ก (Microdeletion / duplication) อีก 92 ความผิดปกติ
สรุป
ปัจจุบัน แม้ว่าทางที่ประชุมของ สปสช. จะเห็นชอบหลักการข้อเสนอบริการตรวจ NIPT ในระบบบัตรทองให้กับคุณแม่ฟรีทุกราย แต่ก็สามารถตรวจได้ 3 โครโมโซมหลัก คือคู่ที่ 13, 18 และ 21 เท่านั้น ไม่มีการตรวจโครโมโซมเพศ ไม่มีประกันความผิดพลาด หากตรวจพบผลเสี่ยงสูงจะต้องเจาะน้ำคร่ำหรือเจาะเลือดสายสะดือที่โรงพยาบาลรัฐเท่านั้น
หากคุณแม่ ต้องการตรวจความผิดปกติในโครโมโซมคู่อื่นๆของทารกในครรภ์ ก็สามารถเลือกตรวจ NIPT กับบริษัทเอกชน ก็น่าจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสม และเกิดประโยชน์สูงสุด เพราะสามารถทราบถึงโรคทางพันธุกรรมอื่นๆที่การตรวจ NIPT สามารถรายงานผลได้ด้วย โดย ณ ปัจจุบันที่เฮลท์สไมล์ ให้บริการอยู่ก็จะเป็น package NIFTY Pro ที่สามารถตรวจได้สูงสุด 23 โครโมโซม + 92 ความผิดปกติที่เกิดจากภาวะขาด-เกินของโครโมโซมขนาดเล็กๆ
คุณสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับการตรวจ NIPS, NIPT, NIFTY และการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมอื่นๆได้ที่ https://healthsmile.co.th/category/blog-th/nipt/
หากต้องการสอบถามการตรวจ NIPT Add LINE ID @HealthSmile หรือคลิกที่นี่
อ่านเพิ่มเติม : กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม (Down’s syndrome)
อ่านเพิ่มเติม : ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม (Down’s Syndrome Screening) ด้วย NIPT
✅✅✅✅✅
เฮลท์สไมล์ บริการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ และตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ ครบ 23 คู่ทุกโครโมโซมที่มีในมนุษย์ รู้เพศ และโรคอื่นๆที่เกิดจากการขาด/เกินของโครโมโซมขนาดเล็กได้มากถึง 92 โรค กับ Brand NIFTY® และ NGD NIPS
✔ ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมอื่นๆ ผลแม่นยำสูง 99.9%
✔ เจาะเลือดเพียง 10 ซีซี ไม่เสี่ยงแท้ง
✔ ราคาคุ้มค่า ประหยัด ค่าบริการเริ่มต้นที่ 9,500 บาท รวมค่าบริการเจาะเลือดถึงบ้าน และแพทย์อ่านผลให้ทุกเคส
✔ สะดวก สบาย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ลดความเสี่ยงจากการเดินทางออกนอกสถานที่
✔ บริการตรวจถึงบ้านทั่วประเทศ ฟรี
✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @Healthsmile
📞 โทร : 089 874 9565
🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของทารกในครรภ์ ได้ที่นี่ https://healthsmile.co.th/prenatal-screening/