Chlamydia โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

เนื้อหาในบทความนี้

Chlamydial Infection

Chlamydia  เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นโรคติดต่อที่พบบ่อยที่สุดในทางนรีเวช มีบทบาททำให้เกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ  ปากมดลูกอักเสบ ท่อปัสสาวะอักเสบ ในผู้ชายอาจมีอาการปวดแสบปัสสาวะและมีหนองไหลจากท่อปัสสาวะ

อาการและอาการแสดง   

โดยทั่วไปจะไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อยตรวจภายในอาจพบปากมดลูกบวมแดง มีมูกปนหนองออกมา บางรายมีอาการอักเสบของท่อปัสสาวะ หรือการอักเสบของลำไส้ใหญ่ส่วนล่าง (ไส้ตรง) ร่วมด้วยกรณีมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก

การติดเชื้อ Chlamydia trachomatis (หนองในเทียม) ในวัยรุ่นและผู้ใหญ่

การติดเชื้อ Chlamydia trachomatis หรือที่เรียกในภาษาไทยคือ โรคหนองในเทียม เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียทางเพศสัมพันธ์ที่มีรายงานบ่อยที่สุดในสหรัฐอเมริกาและประเทศไทย

โดยในประเทศไทย มีการศึกษาจาก คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อ้างอิง) พบว่าคนที่มีอาการอักเสบในทางเดินปัสสาวะและอวัยวะเพศ พบว่าเป็นเชื้อ หนองในเทียม (Chlamydia Trachomatis) 22% แต่ที่สำคัญคือ ในงานวิจัยกลับพบว่า ผู้หญิงที่ไม่มีอาการใดๆ ก็พบว่ามีการติดเชื้อ หนองในเทียม (C. Trachomatis) ได้เช่นกันที่ 3%

หนองในเทียมนี้ พบบ่อยในผู้ที่มีอายุ ≤24 ปี การติดเชื้อนี้ส่งผลเสียตามมาหลายอย่าง ซึ่งอาการที่ร้ายแรงที่สุด ได้แก่ การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน (Pelvic inflammatory disease : PID) อาจทำให้เกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูก และภาวะมีบุตรยาก 

การติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการเป็นเรื่องปกติในผู้ที่มีเชื้ออยู่ทั้งเพศชายและหญิง ในการตรวจหาการติดเชื้อหนองในเทียม ในประเทศไทย ยังไม่มีคำแนะนำว่าควรตรวจคัดกรองบ่อยแค่ไหน แต่ในประเทศสหรัฐอเมริกาแนะนำให้ตรวจคัดกรองสตรีที่มีเพศสัมพันธ์ทุกคนที่มีอายุน้อยกว่า 25 ปีเป็นประจำทุกปี เช่นเดียวกับการคัดกรองสตรีที่มีอายุมากกว่าที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ (เช่น ผู้หญิงอายุ ≥25 ปีที่มีคู่นอนใหม่, คู่นอนมากกว่าหนึ่งคน, มีคู่นอนที่เป็นเพศเดียวกัน, หรือมีคู่นอนที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์) 

การติดเชื้อหนองในเทียม อาจไม่มีอาการ แต่ทำให้เกิดท้องนอกมดลูก หรือมีบุตรยากได้

สงสัยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
สงสัยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

หากมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับอวัยวะเพศ ปัสสสาวะแสบขัด ตกขาว มีแผล หรือมีความเสี่ยงที่มีคู่นอนหลายคน หรือ คู่นอนของเรามีคนอื่นด้วย

หากต้องการตรวจเพื่อยืนยันการติดเชื้อ หรือรักษาอาการผิดปกติเกี่ยวกับอวัยวะเพศ ด้วยเทคโนโลยีที่มีความแม่นยำสูง สามารถรักษาให้หายขาดได้ เฮลท์สไมล์ มีให้บริการชุดตรวจด้วยตนเองที่บ้าน ครอบคลุมเชื้อที่ทำให้เกิดแผลที่อวัยวะเพศสูงสุดถึง 14 โรค มีความแม่นยำมากกว่า 95%

เรามีแพคเกจตรวจโรคและความผิดปกติเกี่ยวกับอวัยวะเพศ ให้เลือกอยู่ 4 แพคเกจ

* ทุกแพคเกจ มีแพทย์เฉพาะทางที่ปรึกษาด้านสูตินรีเวช เพื่อแนะนำการรักษา
* ทุกแพคเกจ รวมค่ายารักษาตามโรคที่พบส่งฟรีถึงบ้านโดยเภสัชกร

  1. แพคเกจปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อการรักษา : 900 บาท
    • เหมาะกับคนที่ยังไม่เคยรักษา ต้องการรักษาด้วยตนเอง แพทย์แนะนำยา แนะนำการรักษา การดูแลตนเองหลังรักษาป้องกันการเป็นซ้ำ
  2. แพคเกจตกขาวผิดปกติ 7 โรค : 1,990 บาท
    • สำหรับคนที่มีอาการปัสสาวะผิดปกติ หรือตกขาวผิดปกติ
    • ตรวจได้ 7 เชื้อ ได้แก่
      • หนองในแท้
      • หนองในเทียม (5 ชนิด)
      • พยาธิในช่องคลอด
  3. แพคเกจแผลที่อวัยวะเพศ 11 โรค : 2,490 บาท *** แนะนำ ***
    • สำหรับคนที่มีแผล หรือก้อนที่อวัยวะเพศ
    • ตรวจได้ 11 เชื้อ ได้แก่
      • แพคเกจที่ 2. + เพิ่ม
      • เริม (2 ชนิด)
      • ซิฟิลิส
      • แบคทีเรียในช่องคลอด
  4. แพคเกจตรวจครบ 14 โรค : 2,990 บาท
    • สำหรับมารดาที่มีตกขาวผิดปกติ แนะนำให้ตรวจโรคแบบครบรอบด้าน
    • ตรวจได้ 14 เชื้อ ได้แก่ แพคเกจที่ 3. +เพิ่ม
      • แผลริมอ่อน
      • เชื้อรา
      • เชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด (2 ชนิด) รวมไปถึงเชื้อ GBS (Group B Streptococcus) ซึ่งส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์ได้รุนแรง

📞 สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และนัดหมายการตรวจได้ที่
Line ID : @Sex.Disease
หรือคลิกได้ที่ลิงค์นี้
https://link.healthsmile.co.th/add-line/STD-content

🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจโรคทางเพศ และการรักษา ได้ที่นี่
https://link.healthsmile.co.th/STD-package

จากการศึกษากลุ่มนักศึกษาหญิงในสหรัฐอเมริกา พบว่าการติดเชื้อหนองในเทียมที่เกิดขึ้นนั้นสัมพันธ์กับการติดเชื้อ BV (Bacterial vaginosis) และ HPV (Human papilloma virus) สายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูงจะก่อมะเร็งปากมดลูกได้

การตรวจคัดกรอง Chlamydia ในเพศหญิงทุกปี หรืออาจจะบ่อยกว่านั้นในกรณีมีความเสี่ยงสูง สามารถช่วยลดอัตราการเกิดอุ้งเชิงกรานอักเสบ (PID) ได้

ส่วนการตรวจคัดกรอง Chlamydia ในเพศชาย ควรตรวจในแหล่งที่มีความชุกของโรคสูง เช่น คลินิกวัยรุ่น ทัณฑสถาน หรือคลินิกเฉพาะทางโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือสำหรับกลุ่มคนที่มีโอกาสติดเชื้อสูง เช่น กลุ่มชายรักชาย

การวินิจฉัยโรคหนองในเทียม

สำหรับผู้หญิง การติดเชื้อ C. trachomatis สามารถวินิจฉัยได้จากการใช้ไม้พันสำลีเก็บสารคัดหลั่งในช่องคลอดหรือปากมดลูกหรือปัสสาวะก็ได้ มาตรวจ

สำหรับผู้ชาย การติดเชื้อในท่อปัสสาวะ C. trachomatis สามารถวินิจฉัยได้โดยการทดสอบปัสสาวะ หรือใช้ไม้พันสำลีสอดเข้าไปในท่อปัสสาวะ 

การตรวจโรคนี้ ด้วยการย้อมเชื้อในสไลด์แก้ว จะไม่พบเชื้อ แต่จะพบเม็ดเลือดขาวมากกว่า 10 เซลล์ต่อกำลังขยาย 1,000 เท่า โดยไม่พบเชื้ออื่น เช่น เชื้อหนองใน เชื้อเริม หรือ Trichomonas

การวินิจฉัยที่ดีที่สุด ณ ปัจจุบัน คือการใช้วิธี NAATs : Nucleic Acid Amplification Tests (เทคนิคเดียวกันนี้ สามารถใช้ในการหาเชื้อ COVID-19 ได้ด้วย) ซึ่งการตรวจด้วยวิธีนี้ สามารถตรวจหา DNA ของเชื้อที่อยู่ในช่องคลอด หรือท่อปัสสาวะ หรือปากมดลูกของผู้ป่วยได้

สำหรับการเก็บตัวอย่างจากระบบทางเดินปัสสาวะที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการตรวจหนองในเทียมโดยใช้ NAAT ได้แก่ ปัสสาวะครั้งแรกของวัน (สำหรับผู้ชาย) และการใช้ไม้พันสำลีกวาดในช่องคลอด (สำหรับผู้หญิง) ซึ่งทั้งสองวิธี สามารถเก็บและนำส่งด้วยตัวเองก็ได้

การติดเชื้อ C. trachomatis ทางทวารหนักและช่องปากในผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักหรือทางปากสามารถวินิจฉัยได้โดยการเก็บสิ่งส่งตรวจจากช่องทางทั้งสองได้ โดยสามารถเก็บสิ่งส่งตรวจเองได้เช่นกัน

ควรทำการตรวจคัดกรองการติดเชื้อ C. trachomatis ทางทวารหนักเป็นประจำทุกปี ในผู้ชายหรือหญิงที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก 

คนส่วนใหญ่ที่มี C. trachomatis ที่ตำแหน่งช่องปากและลำคอ มักจะไม่มีอาการและความรุนแรงของการติดเชื้อ C. trachomatis ในช่องปาก ยังไม่ชัดเจน และพบได้ไม่บ่อย จึงอาจจะไม่จำเป็นต้องตรวจ

หากมีข้อสงสัย หรือต้องการตรวจด้วยตนเอง พร้อมรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ คลิกที่นี่
หรือ Add LINE ID : @Sex.Disease

การรักษา

การรักษาผู้ที่มีเชื้อ C. trachomatis ช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางอนามัยการเจริญพันธุ์และการถ่ายทอดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ นอกจากนี้ การรักษาคู่นอนไปด้วยพร้อมๆกันสามารถป้องกันการติดเชื้อซ้ำและการติดเชื้อของคู่นอนรายอื่นได้ 

การรักษาหญิงตั้งครรภ์มักป้องกันการแพร่เชื้อ C. trachomatis ไปยังทารกแรกเกิดระหว่างการคลอด ควรให้การรักษาทันทีสำหรับทุกคนที่ติดเชื้อหนองในเทียม 

หากเป็นโรคนี้ และได้รับการรักษาล่าช้า ก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน (เช่นอุ้งเชิงกรานอักเสบ PID) ได้มากและรุนแรงได้

สูตรที่แนะนำสำหรับการติดเชื้อหนองในเทียมในวัยรุ่นและผู้ใหญ่

Doxycycline 100 มก. รับประทาน 2 ครั้ง/วัน เป็นเวลา 7 วัน

สูตรทางเลือก
Azithromycin 1 g รับประทานครั้งเดียว
หรือ
Levofloxacin 500 mg รับประทานวันละครั้ง เป็นเวลา 7 วัน

    • ควรงดเพศสัมพันธ์จนกว่าอาการจะหายเป็นปกติ (อย่างน้อย 7 วันหลังเริ่มการรักษา)

    • ควรรักษาคู่นอนด้วยทุกราย และคู่ที่เคยมีเพศสัมพันธ์ด้วยทุกรายในช่วง 60 วันก่อนการรักษา

    • ถ้าผู้ป่วยได้รับยาอย่างถูกต้อง ผลการรักษาจะดีมาก อัตราหายมากกว่าร้อยละ 95

    • ถ้ารักษาแล้วอาการไม่หายอาจเกิดจากมีการติดเชื้ออื่นๆ เช่น Trichomonas vaginalis หรือ anaerobic infection อื่นๆร่วมด้วย

    • ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นหนองในเทียมควรได้รับการตรวจหาเชื้อเอชไอวี โรคหนองใน และซิฟิลิส ด้วยเสมอ

    • กลุ่มชายรักชายที่ติดเชื้อเอชไอวีและมีการวินิจฉัยหนองในเทียมทางทวารหนักควรได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวี

การติดตามอาการหลังการรักษา

ในผู้หญิงที่ไม่ตั้งครรภ์ และได้รับการรักษาด้วยสูตรที่แนะนำข้างต้น ไม่จำเป็นต้องตรวจซ้ำ เว้นแต่จะมีข้อสงสัยเกี่ยวกับความสม่ำเสมอในการรับประทานยา, อาการยังคงอยู่ หรือสงสัยว่ามีการติดเชื้อซ้ำ 

ไม่แนะนำให้ใช้ NAATs ในการตรวจซ้ำที่ระยะเวลา น้อยกว่า 4 สัปดาห์หลังจากเสร็จสิ้นการรักษา เพราะอาจจะยังสามารถพบ DNA ของเชื้อที่ยังคงค้างอยู่ได้ ซึ่งนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ผิดพลาดได้

กลุ่มคนที่ควรพิจารณาพิเศษ

หญิงตั้งครรภ์

การให้ยา azithromycin เพื่อรักษาโรคนี้นั้นปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในระหว่างตั้งครรภ์ ห้ามใช้ Doxycycline ในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 ของการตั้งครรภ์ เนื่องจากมีความเสี่ยงที่ฟันของทารกจะเปลี่ยนสี ตัวยา levofloxacin มีความเสี่ยงต่ำต่อทารกในครรภ์ในระหว่างตั้งครรภ์ แต่มีโอกาสเกิดพิษในระหว่างให้นมบุตร อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากการศึกษาในสัตว์เพิ่มความกังวลเกี่ยวกับความเสียหายของกระดูกอ่อนต่อทารกแรกเกิด

ในหญิงตั้งครรภ์ ควรมีการตรวจซ้ำโดยวิธี NAAT หลังการรักษาประมาณ 4 สัปดาห์ เพื่อยืนยันว่าไม่มีเชื้อหนองในเทียมแล้ว เนื่องจากอาจเกิดผลที่ตามมาที่รุนแรงในมารดาและทารกแรกเกิดหากการติดเชื้อยังคงอยู่ นอกจากนี้ หญิงตั้งครรภ์ทุกรายที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อหนองในเทียมควรได้รับการตรวจซ้ำ 3 เดือนหลังการรักษา 

ในผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่า 25 ปีและผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อโรคหนองในเทียม (เช่น ผู้ที่มีคู่นอนใหม่ คู่นอนมากกว่าหนึ่งคน คู่นอนที่มีคู่นอนพร้อมกัน หรือคู่นอนที่มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์) ควรได้รับการตรวจคัดกรอง

    • ช่วงการฝากครรภ์ครั้งแรก

    • ตรวจซ้ำในช่วงไตรมาสที่ 3

เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังคลอดของมารดาและการติดเชื้อหนองในเทียมในทารก

ยาที่แนะนำสำหรับการติดเชื้อ Chlamydial ในระหว่างตั้งครรภ์

Azithromycin 1 g รับประทานครั้งเดียว

สูตรทางเลือก
Amoxicillin 500 มก. รับประทาน 3 ครั้ง/วัน เป็นเวลา 7 วัน

เนื่องจากเชื้อหนองในเทียมอาจจะมีการดื้อยา amoxicillin ได้ ดังนั้นจึงเป็นเพียงการรักษาทางเลือกสำหรับ C. trachomatis สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่สามารถได้รับยา Azithromycin เท่านั้น 

การรักษาหนองในเทียมในผู้ติดเชื้อเอชไอวี

ผู้ที่เป็นโรคหนองในเทียมและติดเชื้อเอชไอวีควรได้รับการรักษาเช่นเดียวกับผู้ที่ไม่มีเชื้อเอชไอวี

การติดเชื้อหนองในเทียมในทารกแรกเกิด

การตรวจคัดกรองและการรักษาหญิงตั้งครรภ์ก่อนคลอดเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการติดเชื้อหนองในเทียมในทารกแรกเกิด การติดเชื้อ C. trachomatis ของทารกแรกเกิดเป็นผลมาจากการสัมผัสกับปากมดลูกที่ติดเชื้อของมารดาขณะที่คลอดผ่านทางช่องคลอด 

การติดเชื้อในทารกแรกเกิด C. trachomatis ตรวจพบได้ในหลายตำแหน่ง เช่น เยื่อเมือกของตา, คอหอย, ระบบทางเดินปัสสาวะและทวารหนัก แม้ว่าการติดเชื้ออาจไม่แสดงอาการใดๆก็ตาม

C. trachomatis ในทารกแรกเกิดมักเป็นที่รู้จักจากเยื่อบุตาอักเสบที่ตรวจพบใน 5-12 วันหลังคลอด นอกจากนี้ C. trachomatis ยังสามารถทำให้เกิดโรคปอดอักเสบกึ่งเฉียบพลัน ไม่มีไข้ โดยเริ่มมีอาการเมื่ออายุ 1-3 เดือน 

ในบทความนี้ จะไม่ได้กล่าวรายละเอียดถึงการติดเชื้อ C.Trachomatis ในทารก และเด็ก


ที่มา :

Chlamydial infections. (2022, August 15). Cdc.gov. https://www.cdc.gov/std/treatment-guidelines/chlamydia.htm

✅✅✅✅✅

ตกขาว-ช่องคลอดมีกลิ่น คลิกที่นี่

หากมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับอวัยวะเพศ ปัสสาวะแสบขัด ตกขาว มีแผล หรือมีความเสี่ยงที่มีคู่นอนหลายคน หรือ คู่นอนของเรามีคนอื่นด้วย

หากต้องการตรวจเพื่อยืนยันการติดเชื้อ หรือรักษาอาการผิดปกติเกี่ยวกับอวัยวะเพศ ด้วยเทคโนโลยีที่มีความแม่นยำสูง สามารถรักษาให้หายขาดได้ เฮลท์สไมล์ มีให้บริการชุดตรวจด้วยตนเองที่บ้าน ครอบคลุมเชื้อที่ทำให้เกิดแผลที่อวัยวะเพศสูงสุดถึง 14 โรค มีความแม่นยำมากกว่า 95%

เรามีแพคเกจตรวจโรคและความผิดปกติเกี่ยวกับอวัยวะเพศ ให้เลือกอยู่ 4 แพคเกจ

* ทุกแพคเกจ มีแพทย์เฉพาะทางที่ปรึกษาด้านสูตินรีเวช เพื่อแนะนำการรักษา
* ทุกแพคเกจ รวมค่ายารักษาตามโรคที่พบส่งฟรีถึงบ้านโดยเภสัชกร

    1. แพคเกจปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อการรักษา : 900 บาท
      เหมาะกับคนที่ยังไม่เคยรักษา ต้องการรักษาด้วยตนเอง แพทย์แนะนำยา แนะนำการรักษา การดูแลตนเองหลังรักษาป้องกันการเป็นซ้ำ
    2. แพคเกจตกขาวผิดปกติ 7 โรค : 2,490 บาท *** แนะนำ ***
      สำหรับคนที่มีอาการปัสสาวะผิดปกติ หรือตกขาวผิดปกติ
      ตรวจได้ 7 เชื้อ ได้แก่
      – หนองในแท้
      – หนองในเทียม (5 ชนิด)
      – พยาธิในช่องคลอด
    3. แพคเกจแผลที่อวัยวะเพศ 11 โรค : 2,990 บาท
      สำหรับคนที่มีแผล หรือก้อนที่อวัยวะเพศ
      ตรวจได้ 11 เชื้อ ได้แก่
      แพคเกจที่ 2. + เพิ่ม
      – เริม (2 ชนิด)
      – ซิฟิลิส
      – แบคทีเรียในช่องคลอด
    4. แพคเกจตรวจครบ 14 โรค : 3,290 บาท *** แนะนำ ***
      สำหรับมารดาที่มีตกขาวผิดปกติ แนะนำให้ตรวจโรคแบบครบรอบด้าน
      ตรวจได้ 14 เชื้อ ได้แก่
      แพคเกจที่ 3. +เพิ่ม
      – แผลริมอ่อน
      – เชื้อรา
      – เชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด (2 ชนิด) รวมไปถึงเชื้อ GBS (Group B Streptococcus) ซึ่งส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์ได้รุนแรง

📞 สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และนัดหมายการตรวจได้ที่
– Line ID : @Sex.Disease
หรือคลิกได้ที่ลิงค์นี้
https://link.healthsmile.co.th/add-line/STD-content

🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจโรคทางเพศ และการรักษา ได้ที่นี่
https://healthsmile.co.th/mens-sti-clinic/
https://healthsmile.co.th/womens-sti-clinic/

✅✅✅✅✅

package STD price