เพราะทารกในครรภ์มีระบบประสาท และสมอง เริ่มก่อตัวตั้งแต่อายุครรภ์ 2 สัปดาห์ และเริ่มมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง การกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์ จากคุณพ่อ คุณแม่ จึงเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการทารกในครรภ์ จนถึงพัฒนาการเด็กทารกหลังคลอด
ตั้งแต่รู้ว่ามีเด็กในครรภ์ คุณพ่อ คุณแม่หลายๆ ท่านอาจกำลังตื่นเต้น ดีใจ รอวันที่จะได้เจอหน้าลูกน้อย และเตรียมบำรุงร่างกายให้พร้อม เพื่อดูแลเด็กในครรภ์ เพราะอยากให้ลูกน้อยมีพัฒนาการของวัยทารกที่ดี ไปจนถึงเติบโต ดังนั้น นอกจากบำรุงร่างกายที่ดีแล้ว สิ่งที่คุณพ่อ คุณแม่ควรให้ความสำคัญกับเด็กในท้องเช่นกัน คือ พัฒนาการทารก โดยการกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์ เพื่อกระตุ้นระบบประสาท และสมองของทารกในครรภ์ ให้ทารกมีพัฒนาการเรียนรู้ที่ดี ไปจนถึงหลังคลอด
บทความนี้เลยอยากพาคุณพ่อ คุณแม่ ไปทำความรู้จักกับพัฒนาการเด็กทารก ด้านสมอง และระบบประสาทของทารกในครรภ์ หลังจากเกิดการปฎิสนธิ พร้อมแนะนำวิธีกระตุ้นพัฒนาการเด็กในครรภ์ ที่คุณพ่อ คุณแม่เองก็สามารถทำได้
พัฒนาการทารกในครรภ์ ที่เด็กในครรภ์อยากบอก “แม่จ๋าหนูเริ่มมีพัฒนาการแล้วนะ”
● พัฒนาการทารกในครรภ์ อายุครรภ์ 3 สัปดาห์
ระยะสัปดาห์ที่ 3 ทารกในครรภ์เริ่มสร้างระบบประสาท โดยมีการแบ่งเซลล์สมองออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ สมองส่วนหน้า สมองส่วนกลาง และสมองส่วนหลัง รวมถึงมีการเพิ่มเซลล์ประสาทเป็นรูปร่างคล้ายสมอง ระหว่างสัปดาห์ที่ 3 – 4
●พัฒนาการของทารกในครรภ์ อายุครรภ์ 6 สัปดาห์
ระยะสัปดาห์ที่ 6 สมองของเด็กในท้อง ส่วนที่เกี่ยวกับความคิด เริ่มมีพัฒนาการอย่างรวดเร็วกว่าสมองส่วนอื่นๆ ทำให้ทารกในครรภ์เริ่มมีการเคลื่อนไหวเพื่อตอบโต้ ดังนั้นระยะนี้ทารกในครรภ์จึงมีพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อด้วยเช่นกัน
●พัฒนาการทารกในครรภ์ อายุครรภ์ 8 สัปดาห์
ระยะสัปดาห์ที่ 8 ทารกในครรภ์เริ่มมีพัฒนาการของระบบประสาทต่างๆ มากขึ้นเรื่อยๆ โดยเริ่มมีเซลล์ประสาทเชื่อมโยงกันมากขึ้น อาทิ แขนงของเดนไดรท์ (Dendrites) ทำหน้าที่ในการรับข้อมูลและแขนงที่เป็นจุดเชื่อมต่อสัญญาณกับเซลล์อื่น ๆ (Synaptic function) ซึ่งทำให้เด็กในท้องเริ่มมีการงอตัว และลำคอ
●พัฒนาการของทารกในครรภ์ อายุครรภ์ 10 สัปดาห์
ระยะสัปดาห์ที่ 10 ทารกในครรภ์เริ่มมีการเคลื่อนไหวร่างกาย จากการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น อาทิ การชำเลืองมองของตา อ้าปาก กำมือได้บางส่วน งอนิ้วเท้าได้
●พัฒนาการทารกในครรภ์ อายุครรภ์ 19 สัปดาห์
ระยะสัปดาห์ที่ 19 ทารกในครรภ์เริ่มมีการเคลื่อนไหว หายใจ และอัตราการเต้นของหัวใจเริ่มคงที่สม่ำเสมอ
●พัฒนาการของทารกในครรภ์ อายุครรภ์ 20 สัปดาห์
ระยะสัปดาห์ที่ 20 อวัยวะสำหรับการได้ยิน หรือที่เรียกว่า อวัยวะรูปหอยโข่ง (cochlea) ในช่องหู มีขนาดใหญ่เท่ากับของผู้ใหญ่ ซึ่งตั้งแต่อายุครรภ์ 20 สัปดาห์เป็นต้นไป ทารกในครรภ์จะตอบสนองต่อระดับของเสียงมากขึ้น
●พัฒนาการทารกในครรภ์ อายุครรภ์ 24 สัปดาห์
ระยะสัปดาห์ที่ 24 ทารกในครรภ์จะมีการตอบสนองต่อการได้ยินเสียงดัง ด้วยการกระพริบตาทันทีเมื่อได้ยินเสียง
●พัฒนาการของทารกในครรภ์ อายุครรภ์ 27 สัปดาห์
ระยะสัปดาห์ที่ 27 ลูกตาดำของทารกในครรภ์ เริ่มมีการตอบสนองต่อแสง และควบคุมปริมาณของแสงที่เข้าสู่เยื่อเรตินา
หลังจากนี้จะเป็นช่วงที่ก้าวเข้าสู่ไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ หรือช่วงอายุครรภ์สัปดาห์ที่ 28-40 ซึ่งเป็นช่วงที่คุณแม่ใกล้คลอด พัฒนาการเด็กในครรภ์ จะมีพัฒนาการของระบบประสาท และกล้ามเนื้อพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการลืมตาดูโลกอย่างสมบูรณ์
ปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการทารกตั้งแต่ในครรภ์ ไปจนถึงหลังคลอด
คุณพ่อ คุณแม่หลายๆ ท่าน อาจจะคิดว่า ระดับสติปัญญา พัฒนาการเด็กทารก ขึ้นอยู่กับพันธุกรรมของคุณพ่อ คุณแม่เพียงอย่างเดียว หรือเกิดจากการเรียนรู้ ฝึกฝน หลังจากที่เด็กในท้องคลอด และเริ่มเข้าใจสิ่งต่างๆ รอบตัว แต่ทราบหรือไม่ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่ง เพราะพัฒนาการเด็กทารก สามารถส่งเสริมได้ตั้งแต่ในครรภ์ด้วยคุณพ่อ คุณแม่
โดยมีปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ พัฒนาการของวัยทารก ทำให้เด็กในท้องมีระดับสติปัญญา และมีการเรียนรู้ที่ดีตั้งแต่ในครรภ์ ไปจนถึงหลังคลอด ดังนี้
1. พันธุกรรมที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากคุณพ่อ คุณแม่
พันธุกรรมของลูกน้อย นอกจากสีผิว สีตา สีผม ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากคุณพ่อ คุณแม่ ซึ่งถูกกำหนดลักษณะต่างๆ เหล่านี้โดยยีน นอกจากนี้พัฒนาการของสมองมากกว่า 80% ของยีนทั้งหมดในร่างกาย ยังมีความเกี่ยวข้องกับการทำงานของสมอง และระบบประสาทด้วย
2. สารอาหารที่คุณแม่รับประทานตอนตั้งครรภ์
ช่วงตั้งครรภ์เป็นช่วงที่ควรเอาใจใส่กับการดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะเรื่องการรับประทานอาหาร เพราะสารอาหารที่คุณแม่รับประทานเข้าไป จะสามารถส่งผ่านไปสู่ทารกในครรภ์ได้ ซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการทารก อาทิ
● คุณแม่ขาดโฟเลต อาจทำให้ทารกพิการ หรือหากรุนแรงอาจถึงขั้นไม่มีเนื้อสมอง
● คุณแม่ขาดธาตุเหล็ก อาจทำให้ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักตัวน้อย หรือคลอดก่อนกำหนดได้
● คุณแม่ขาดไอโอดีน เป็นผลให้ทารกในครรภ์ขาดไอโอดีน และไทรอยด์ฮอร์โมน ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเซลล์ประสาททารกในครรภ์ หากรุนแรงอาจส่งผลให้ทารกเกิดภาวะปัญหาอ่อนได้
●คุณแม่ขาดกรดไขมันชนิดโอเมก้า 3 อาจส่งผลต่อพัฒนาการสมองส่วนกลาง และพัฒนาการระบบประสาทของทารก
3.เสียงระบบการทำงานของร่างกายคุณแม่ช่วงตั้งครรภ์ มีผลต่อพัฒนาการทารก
เสียงการเต้นของหัวใจ เสียงการบีบตัวของลำไส้ และเสียงการเคลื่อนไหวของกระแสโลหิตของคุณแม่ เด็กในท้องจะสามารถได้ยินเสียงเหล่านี้ได้ ส่งผลต่อการกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์ ด้านการได้ยิน
4.ภาวะอารมณ์ของคุณแม่ช่วงตั้งครรภ์
มีการศึกษาวิจัยพบว่า หากคุณแม่มีความเครียดมากในระหว่างตั้งครรภ์ จะมีผลกับทารกในครรภ์ เนื่องจากขณะที่คุณแม่มีอารมณ์แปรปรวน รู้สึกเครียด โกรธ หงุดหงิด ร่างกายจะหลังสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับความเครียด เช่น คอร์ติซอล (cortisol) ออกมา ซึ่งสามารถส่งผ่านรกไปถึงทารกในครรภ์ ส่งผลกระทบกับพัฒนาการทารกทางด้านสมองได้
โดยงานวิจัยจากประเทศฟินแลนด์ พบว่าการที่คุณแม่มีความเครียดรุนแรงอย่างต่อเนื่องขณะตั้งครรภ์ ทำให้เด็กในท้องที่เกิดมามีแนวโน้มที่จะมีความผิดปกติทางบุคลิกภาพ กล่าวคือ มีความผิดปกติทางจิตที่แสดงออกมาในรูปแบบของพฤติกรรม การนึกคิด และความรู้สึก ที่ผิดแปลกไปจากคนทั่วไป จนส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต เมื่อเทียบกับกลุ่มคุณแม่ที่ไม่มีความเครียดระหว่างตั้งครรภ์เลย
ดร.ทรูดี เซเนวิรัตเน จากราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งสหราชอาณาจักร ได้ระบุอีกว่า การตั้งครรภ์ คือช่วงเวลาแห่งความเครียด และหากไม่มีการแก้ปัญหาความเครียดที่เกิดขึ้นกับคุณแม่ขณะตั้งครรภ์ ก็มีโอกาสสูงที่คุณแม่จะมีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดต่อไปได้ ดังนั้น วิธีลดความเครียดระหว่างตั้งครรภ์ โดยการพักผ่อน ขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง และระบายความรู้สึกให้ใครสักคนฟัง จะช่วยได้
เคล็ด (ไม่) ลับ ส่งเสริมพัฒนาการทารกในครรภ์ ที่พ่อ แม่มือใหม่ทำได้
พัฒนาการทารกในท้อง สามารถเกิดขึ้นได้ตามปัจจัยที่ส่งผลต่อระบบประะสาท และสมองของเด็กในท้อง ตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น ดังนั้น มาดูกันว่า คุณพ่อ คุณแม่ จะมีการส่งเสริมพัฒนาการเด็กในครรภ์ ที่สอดคล้องกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์ ได้อย่างไรบ้าง
1.เลือกรับประทานสารอาหารที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของสมอง และพัฒนาการของระบบประสาทของเด็กในท้อง
● รับประทานผักใบเขียวต่าง ๆ เช่น คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ปวยเล้ง ผักบรอกโคลี หน่อไม้ฝรั่ง ถั่วลันเตา ผักกาดหอม น้ำส้ม ตับหมู ตับไก่ และนม เป็นต้น ซึ่งสารอาหารเหล่านี้จะมีปริมาณโฟเลตสูง แต่ควรมีการรับประทานโฟเลตเสริมในรูปแบบของยาเม็ด ในขนาด 0.4-4 มิลลิกรัมต่อวัน ก่อนตั้งครรภ์ 8 สัปดาห์ ไปจนครบ 12 สัปดาห์ ควบคู่ไปด้วยกัน ซึ่งจะมีผลต่อพัฒนาการทารกในท้องที่ดี
●รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก ซึ่งมีมากในเนื้อสัตว์ เลือด ตับ เครื่องในไก่ ปลา กุ้ง และหอย วันละ 6-12 ซ้อนกินข้าว และรับประทานร่วมกับผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เช่น ฝรั่ง ส้ม และอาหารที่มีวิตามินเอสูง เช่น ตับ ไข่ ฟักทอง แครอท มะละกอสุก และมะม่วงสุก วันละ 3 – 4 ส่วน
●รับประทานอาหารที่มีไอโอดีนสูง เช่น อาหารทะเล ปู ปลา กุ้ง สาหร่ายทะเล และเลือกใช้เครื่องปรุงรสที่มีการเสริมไอโอดีน เช่น เกลือผสมไอโอดีน ซอสผสมไอโอดีน ซีอิ้วผสมไอโอดีน เป็นต้น จะสามารถป้องกันการขาดไอโอดีนของเด็กในท้องได้
●รับประทานอาหารที่มีกรดไขมันชนิดโอเมก้า 3 อาทิ ปลาทะเลน้ำลึก จำพวกปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาอินทรีย์ ปลาซาร์ดีน และกุ้ง หรือปลาน้ำจืดบางชนิด เช่น ปลาสวาย ปลาช่อน ปลาดุก และในธัญพืช ถั่วเหลือง เมล็ดฟักทอง เป็นต้น
2.ออกกำลังกาย เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และผ่อนคลายอารมณ์แปรปรวนช่วงตั้งครรภ์
ช่วงตั้งครรภ์คุณแม่ส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักตัวเพิ่ม ทำให้รู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลียได้ง่าย และมีอาการปวดตามข้อต่อ และกล้ามเนื้อ รวมถึงมีภาวะอารมณ์ที่แปรปรวน จากระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงในร่างกายช่วงตั้งครรภ์ การออกกำลังกายที่เหมาะสมในช่วงตั้งครรภ์ เช่น โยคะ การว่ายน้ำและการเต้นแอโรบิกในน้ำ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยทำให้ร่างกายของคุณแม่ รู้สึกสดชื่น ผ่อนคลาย และหลั่งสารแห่งความสุข (Endorphins) ออกมา ส่งผลต่อพัฒนาการที่ดีของทารกในครรภ์ ขณะที่คุณแม่ออกกำลังกาย ทารกในครรภ์จะมีการเคลื่อนไหว ไปสัมผัสผนังหน้าท้องของคุณแม่ ซึ่งเป็นการกระตุ้นระบบประสาทการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ด้วยเช่นกัน
3.ส่องไฟฉายบริเวณผิวหน้าท้องแม่ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทารกในครรภ์ด้านการมองเห็น
คุณพ่อ คุณแม่ สามารถส่งเสริมพัฒนาการเด็กในครรภ์ด้านการมองเห็น โดยสร้างความสนใจ สร้างความอยากรู้อยากเห็นให้กับเด็กในครรภ์ได้ ด้วยการส่องไฟฉายเคลื่อนไปมาซ้าย ขวา หรือเปิด-ปิดไฟฉายเป็นจังหวะๆ ขณะทำกิจกรรมก็สามารถพูดคุยกับทารกไปด้วยได้เช่นกัน
“แนะนำ” ควรทำกิจกรรมเมื่อเด็กในท้องเริ่มดิ้น ไปจนถึงคลอด และควรทำเมื่ออยู่ในห้องมืด เพราะจะทำให้ทารกในครรภ์ มีพัฒนาการของวัยทารกด้านการเรียนรู้ได้ดีมากยิ่งขึ้น
4.พูดคุยกับเด็กในท้อง และเปิดเสียงดนตรีให้เด็กในท้องฟัง เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านการได้ยิน
หากคุณพ่อ คุณแม่ มีการพูดคุยกับเด็กในท้อง และเล่านิทานให้เด็กในท้องฟัง ส่งผลให้เด็กในท้องเคยชินกับเสียงของคุณพ่อ คุณแม่ และเกิดความผูกพันต่อกันได้มากขึ้น และเป็นการกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์ ในสมองส่วนการได้ยิน เพื่อเตรียมพร้อมต่อการเจริญเติบโตเมื่อคลอดออกมา
นอกจากนี้ การเปิดเพลงให้เด็กในท้องฟัง เสียงดนตรีจะช่วยกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์ ทำให้เด็กในท้องมีพัฒนาการที่ดีทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสติปัญญา เสริมสร้างอารมณ์ที่แจ่มใส และหลังคลอดเป็นเด็กเลี้ยงง่าย ร่าเริง ไม่ร้องกวน และมีพัฒนาการด้านภาษา การออกเสียงได้เร็วกว่าปกติ
“แนะนำ” ควรทำหลังมื้ออาหารของคุณแม่ เพราะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการส่งเสริมพัฒนาการทารกในครรภ์ด้านการได้ยิน และเป็นช่วงที่ทารกในครรภ์รับรู้ได้ดีที่สุด
5.ลูบ สัมผัสหน้าท้อง และตบหน้าท้องเบาๆ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทารกในครรภ์ด้านการรับรู้ความรู้สึก
คุณพ่อ คุณแม่ สามารถเอามือลูบสัมผัสวนไปรอบๆ โดยเริ่มจากหัว–หลัง ก้น-ขา แขน หัว แล้ววนไปตามลำตัวช้าๆ โดยการทำเช่นนี้ คุณแม่ต้องทราบตำแหน่งศีรษะของทารกในครรภ์ ซึ่งสามารถสอบถามได้จากแพทย์ หรือพยาบาลที่ตรวจครรภ์ การลูบหน้าท้อง สามารถทำร่วมกันได้กับการพูดคุย ร้องเพลงให้ลูกฟัง ซึ่งการลูบท้องจะช่วยให้ทารกเคยชินกับการสัมผัสจากคุณพ่อ คุณแม่ และช่วยให้อารมณ์ดี สงบ เป็นเด็กเลี้ยงง่ายหลังคลอด
นอกจากนี้ การตบหน้าท้องเบาๆ เป็นจังหวะ 2 ครั้งลงบนก้นทารก ในขณะที่เด็กในครรภ์ดิ้น จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์ ด้านไหวพริบ ด้านการเรียนรู้ และปรับตัว เพื่อตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมภายนอก เพราะทารกในครรภ์อาจมีการตอบสนองตอบ โดยการเตะหน้าท้อง
6.นั่งเก้าอี้โยก ฟังเพลงขับกล่อม พร้อมลูบหน้าท้องเบาๆ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทารกในครรภ์ด้านการเคลื่อนไหว
คุณแม่สามารถนั่งเก้าอี้โยกหน้า-หลัง อาจจะมีเสียงเพลงเพราะ ๆ ขับกล่อมไปด้วย พร้อมกับลูบสัมผัสหน้าท้องไปพร้อมๆกัน หรืออาจจะใช้การพูดคุยแทนเสียงเพลง พร้อมการลูบสัมผัสก็ได้เช่นกัน วิธีนี้จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์ ด้านเซลล์ประสาทการทรงตัว และการเคลื่อนไหวร่างกาย ทารกในครรภ์จะเกิดการเรียนรู้ มีไหวพริบ และปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเองได้
นอกจากการส่งเสริมพัฒนาการเด็กในครรภ์ด้วยคุณพ่อ คุณแม่แล้ว คนในครอบครัวเองก็สามารถมีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการทารกในครรภ์ร่วมกับคุณพ่อ คุณแม่ได้ด้วยนะคะ และยังถือเป็นการสร้างความผูกพันกับคนในครอบครัว ระหว่างคุณพ่อ คุณแม่ รวมถึงปู่ ย่า ตา ยาย และทารกในครรภ์ได้อีกทางหนึ่งค่ะ เพราะพื้นฐานอารมณ์และพัฒนาการทารกในท้อง ทุกๆคนในครอบครัวถือเป็นส่วนหนึ่งในการเริ่มสร้างพื้นฐานพัฒนาการเด็กทารกที่ดี ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ได้ค่ะ
หากคุณพ่อ คุณแม่ท่านใดอยากปรึกษาเกี่ยวการส่งเสริมพัฒนาการทารกในครรภ์ พัฒนาการของวัยทารกหลังคลอด โดยเฉพาะคุณแม่ที่กำลังมีความเครียด กังวล กับปัญหาต่างๆ ช่วงตั้งครรภ์ หรือหลังคลอด ไม่ว่าจะเป็นปัญหาชีวิตคู่ ความอึดอัดใจต่างๆ อย่าเก็บไว้คนเดียวนะคะ เพราะความเครียด ความกังวล สามารถส่งผลต่อพัฒนาการทารกในครรภ์ ไปจนถึงเติบโตได้ค่ะ
ทางเฮลท์สไมล์เรามีนักจิตวิทยาคลินิก พร้อมให้คำปรึกษา เป็นเพื่อนรับฟังความอึดอัด ความกังวลใจ รวมถึงทดสอบและประเมินสุขภาพจิตของคุณพ่อ คุณแม่นะคะ หากสนใจสามารถแอดไลน์ได้ที่ 📱 Line ID : @healthsmilecenter หรือคลิกได้ที่ลิงก์นี้เลยค่ะ https://lin.ee/CDUgd8d
__________________________________________________________
📌📌 เตรียมความพร้อมคุณพ่อ คุณแม่มือใหม่ ทางด้านร่างกาย และจิตใจ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทารกในครรภ์ ด้วยโปรแกรม HAPPY MOMMY จากเฮลท์สไมล์
เฮลท์สไมล์เราพร้อมให้การดูแลสุขภาพจิตใจคุณแม่ช่วงตั้งครรภ์ และสมาชิกในครอบครัว เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กในครรภ์ ไปพร้อมๆกับการดูแลสุขภาพร่างกายลูกน้อยในครรภ์อย่างการการตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์ เลยค่ะ
✔ ประเมินระดับความรุนแรงของอาการซึมเศร้าช่วงตั้งครรภ์ โดยนักจิตวิทยาคลินิกโดยตรง
✔ ให้คำปรึกษา และแนะนำแนวทางวิธีปรับอารมณ์คุณแม่ให้ดีขึ้น โดยนักจิตวิทยาคลินิกโดยตรง
✔ ช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัว ด้วยกิจกรรมบำบัดกลุ่ม โดยมีพยาบาลผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และผู้เชี่ยวชาญดูแลอย่างใกล้ชิด
✔ โปรแกรมออนไลน์ สะดวก ไม่ต้องเดินทาง เลือกเวลานัดหมายได้อิสระ ในราคาคุ้มค่า มาตรฐานเทียบเท่าโรงพยาบาลชั้นนำ
อ้างอิงข้อมูลจาก
พิชฏา อังคะนาวิน, “การส่งเสริมสมองเพื่อพัฒนาการของทารกในครรภ์,” วารสารสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 3 (พฤศจิกายน 2559): 164-170.
BBC NEWS ไทย. (2022). สุขภาพจิต : ความเครียดของแม่อาจทำให้ลูกในท้องมีความผิดปกติทางบุคลิกภาพเพิ่มขึ้น, สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2562. จาก. https://www.bbc.com/thai/features-49641703
Last Updated on 17 กรกฎาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์