เนื้อหาในบทความนี้

การตรวจ NIPT เป็นการตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมโดยการตรวจเศษของ DNA ของลูกที่ลอยอยู่ในเลือดคุณแม่ (เรียกว่า cell-free fetal DNA : cffDNA) ซึ่งมีความแม่นยำในการตรวจหาดาวน์ซินโดรม และความผิดปกติของโครโมโซมคู่อื่นๆสูง คุณแม่ที่ได้รับเลือดมาก็สามารถตรวจดาวน์ซินโดรมได้ แต่มีข้อจำกัดในการตรวจในกรณีคุณแม่ที่เคยได้รับเลือด หรือส่วนประกอบอื่นๆของเลือด เช่น เกร็ดเลือด น้ำเลือด (Plasma) ฯลฯ มา เนื่องจากในเลือดที่บริจาคมานั้น ก็จะมีเซลล์ที่มี DNA ของบุคคลอื่นอยู่ด้วย ทำให้ DNA เหล่านั้นเข้ามาปะปนในเลือดของคุณแม่ ดังนั้นในระยะสั้น (น้อยกว่า 4 เดือน) DNA ดังกล่าวนั้นจะยังเหลืออยู่ในเลือดของคุณแม่ และจะทำให้ผลตรวจ NIPT คลาดเคลื่อนได้

อ่านเพิ่ม 7 ข้อห้ามของคุณแม่ ที่ไม่สามารถตรวจ NIPT หรือ NIFTY ได้

กรณีคุณแม่ได้รับเลือดของผู้อื่น (Allogeneic blood transfusion)

ได้รับเลือดของผู้อื่น นานเกิน 4 เดือน สามารถตรวจ NIPT ได้

สามารถตรวจ NIPT ได้ หลังจากรับเลือดที่ผู้อื่นบริจาคมาแล้วนานอย่างน้อย 4 เดือน เนื่องจากช่วงเวลา 4 เดือน จะทำให้เลือดที่เคยได้รับมาสลายจนหมด และเหลือ DNA ของผู้อื่นที่จะส่งผลกระทบต่อความแม่นยำของการตรวจ

การตรวจ NIPT ในบางประเทศ ได้แก่ ประเทศอังกฤษ แนะนำให้รอ 4 เดือน (อ้างอิง) สำหรับ Brand NGD NIPS ที่ทางเฮลท์สไมล์ให้บริการ สามารถตรวจได้หลังรับบริจาคเลือดที่ 4 เดือน เช่นกัน รวมถึงแบรนด์ NIFTY ที่สามารถตรวจได้สูงสุดถึง 92 ความผิดปกติ ก็สามารตรวจได้ที่ 4 เดือนเช่นกัน (update ข้อมูลเมื่อ 14 สิงหาคม 2567)

ระยะเวลาที่ต้องเว้น หลังการได้รับเลือดของผู้อื่นก่อนการตรวจ NIPT ของแต่ละแบรนด์

(update ข้อมูลเมื่อ กค 2567)

  • NGD NIPS : 120 วัน
  • NIFTY : 120 วัน
  • Panorama :
    1. กรณีได้รับเฉพาะเม็ดเลือดแดง หรือ PRC (ไม่มี DNA) เว้น 2-3 ชม ก่อนเจาะตรวจ
    2. กรณีได้รับเลือดชนิด Whole blood (มีเม็ดเลือดขาวด้วย) รอ 2-4 อาทิตย์
      • หากตรวจแล้วผลยังมีเลือดของ donor อยู่ จะออกเป็น contamination/ atypical finding แนะนำให้รออีก 2-3 อาทิตย์ ค่อยเจาะตรวจซ้ำ

ได้รับเลือดของผู้อื่น มาไม่เกิน 4 เดือน ไม่สามารถตรวจ NIPT ได้

หากได้รับเลือดจากไม่ถึง 4 เดือน จะมี DNA ของผู้อื่นปะปนกับเลือดที่ได้รับมา อาจทำให้ผลการตรวจ NIPT ผิดพลาดได้ และบางกรณีก็ไม่สามารถอ่านผลได้ (No call) ได้

หากเพิ่งได้รับเลือดมาในระยะเวลาไม่เกิน 4 เดือน ทำอย่างไรได้บ้าง

ทั้งนี้ หากคุณแม่เพิ่งได้รับเลือดมาในระยะเวลาไม่เกิน 4 เดือน สามารถเลือกตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมด้วยวิธีอื่นๆได้ ดังนี้

  1. ตรวจ NIPT ด้วยเทคโนโลยี SNP แบรนด์ Panorama (คลิกที่นี่เพื่อสอบถาม)
  2. อัลตราซาวด์อย่างเดียว
  3. ตรวจ Quadruple test
  4. อัลตราซาวด์ความหนาของผนังต้นคอ (Nuchal translucency)
  5. ตรวจ first trimester screening test
  6. ตรวจ combined test

ซึ่งคุณแม่สามารถอ่านรายละเอียดของการตรวจแต่ละวิธีได้ที่บทความนี้ : https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/residents-fellows/1757/

กรณีคุณแม่ได้รับเลือดของตนเอง (Autologous blood transfusion)

หากได้รับเลือดของตนเอง สามารถตรวจ NIPT ได้โดยไม่ต้องรอระยะเวลา

การได้รับเลือดของตนเอง (Autologous Blood Transfusion) คือ การที่ผู้ป่วยได้บริจาคเลือดของตนเอง และเก็บเลือดของผู้ป่วยเองไว้ในธนาคารเลือด เพื่อนำมาถ่ายเลือดที่บริจาคไว้ล่วงหน้านั้นกลับเข้าสู่ร่างกายของผู้ป่วยในภายหลัง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการรับเลือดจากผู้อื่น เช่น การติดเชื้อหรือปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกัน ซึ่งการรับเลือดของตนเองดังกล่าว มักจะทำในกรณีต่อไปนี้

  1. เป็นการผ่าตัดที่มีเวลาเตรียมผู้ป่วย เนื่องจากต้องให้เวลาในการพักฟื้นหลังการบริจาคเลือดอย่างน้อย 3 วันก่อนการผ่าตัด
  2. เป็นการผ่าตัดที่คาดว่าผู้ป่วยจะเสียเลือดมาก มักเป็นการผ่าตัดใหญ่ เช่น การผ่าตัดโรคกระดูกใหญ่ๆ การผ่าตัดหลอดเลือด และการผ่าตัดระบบหัวใจและทรวงอก เป็นต้น
  3. กรณีที่ผู้ป่วยเป็นผู้ที่มีหมู่เลือดหายากหรือไม่สามารถหาผู้บริจาคที่มีเลือดเข้ากันได้

กรณีคุณแม่ได้รับเลือดของตนเอง (Autologous Blood Transfusion) เท่านั้น ไม่ได้รับเลือดที่บริจาคโดยผู้อื่นเลย ก็จะสามารถตรวจ NIPT ได้ โดยไม่จำเป็นต้องรอ 4 เดือน เนื่องจากเลือดที่ได้รับไม่ได้มีการปนเปื้อนของ DNA ของผู้บริจาครายอื่นๆ ทำให้ไม่มี DNA ของผู้อื่นมาปนเปื้อน

เพิ่งบริจาคเลือด สามารถตรวจ NIPT ได้หรือไม่

การตรวจ NIPT นั้น ใช้เลือดประมาณ 10 ซีซีเท่านั้น ไม่ได้ใช้เลือดปริมาณมาก ดังนั้น หากคุณแม่เพิ่งบริจาคเลือดก่อนการตั้งครรภ์ก็สามารถตรวจ NIPT ได้ตามปกติ

แต่อย่างไรก็ดี ทางการแพทย์ ไม่แนะนำให้มารดาตั้งครรภ์บริจาคเลือด เนื่องจากต้องการสารอาหารและต้องการเลือดเพื่อนำพาสารอาหารไปสู่ลูกน้อยในครรภ์

สรุป

คุณแม่ตั้งครรภ์ ที่ได้รับเลือด หรือส่วนประกอบของเลือดอื่นๆจากบุคคลอื่น (Allogeneic blood transfusion) ไม่ว่าจะเป็นจากสาเหตุใดก็ตาม ต้องรออย่างน้อย 4 สัปดาห์ก่อนเข้ารับการตรวจ NIPT แต่หากได้รับเลือด หรือส่วนประกอบของเลือดจากตนเอง (Autologous blood transfusion) ไม่จำเป็นต้องรอ 4 เดือน

Reference

Faculty of Medicine Siriraj Hospital. (n.d.). การเตรียมเลือดตนเองก่อนผ่าตัด. Mahidol.ac.th. Retrieved July 7, 2024, from https://www.si.mahidol.ac.th/th/department/tranfusion/article_detail.asp?id=840

Screening for Down’s syndrome, Edwards’ syndrome and Patau’s syndrome: NIPT. (n.d.). Gov.uk. Retrieved July 7, 2024, from https://www.gov.uk/government/publications/screening-for-downs-syndrome-edwards-syndrome-and-pataus-syndrome-non-invasive-prenatal-testing-nipt/screening-for-downs-syndrome-edwards-syndrome-and-pataus-syndrome-nipt

ต้องการคำปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม หรือนัดหมายตรวจ NIPT คลิกที่นี่

call to action NIPT ท้ายบทความ สีชมพู

✅✅✅✅✅

เฮลท์สไมล์ บริการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ และตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ ครบ 23 คู่ทุกโครโมโซมที่มีในมนุษย์ รู้เพศ และโรคอื่นๆที่เกิดจากการขาด/เกินของโครโมโซมขนาดเล็กได้มากถึง 92 โรค กับ Brand NIFTY® และ NGD NIPS

✔ ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมอื่นๆ ผลแม่นยำสูง 99.9%

✔ เจาะเลือดเพียง 10 ซีซี ไม่เสี่ยงแท้ง

✔ ราคาคุ้มค่า ประหยัด ค่าบริการเริ่มต้นที่ 9,500 บาท รวมค่าบริการเจาะเลือดถึงบ้าน และแพทย์อ่านผลให้ทุกเคส

✔ สะดวก สบาย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ลดความเสี่ยงจากการเดินทางออกนอกสถานที่

✔ บริการตรวจถึงบ้านทั่วประเทศ ฟรี

✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @Healthsmile

📞 โทร : 089 874 9565

🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของทารกในครรภ์ ได้ที่นี่ https://healthsmile.co.th/prenatal-screening/

ตารางราคา NGD NIPT 5chromosome 8900 บาท NIFTY focus 10900 บาท NGD NIPS 23 chromosomes 11900 บาท NIFTY Core 12900 บาท NIFTY Pro 17400 บาท
สูตินรีแพทย์ ที่สนใจด้านโครโมโซม ยีน DNA และการตรวจสุขภาพเชิงลึก ให้การดูแลมารดาตั้งครรภ์ ตรวจความผิดปกติของทารกในครรภ์ รักษาสุขภาพทางเพศ และให้ความรู้ด้านการตรวจยีนสุขภาพ การศึกษา - สถานะความรู้ความชำนาญเฉพาะทางที่แพทยสภารับรอง : สาขา สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ( Obstetrics and Gynaecology ) - ประกาศนียบัตรฯ ที่แพทยสภารับรอง : ด้านเวชศาสตร์จีโนมเบื้องต้นสำหรับแพทย์เฉพาะทาง