Last Updated on 8 พฤศจิกายน 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์
Last Updated on 8 พฤศจิกายน 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์
Haemophilus ducreyi แผลริมอ่อน แผลที่อวัยวะเพศ คืออะไร รักษาอย่างไร
หากตรวจพบเชื่อ Haemophilus ducreyi ในภาษาไทย คือ โรคแผลริมอ่อน (Chancroid) คือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งเพศชายและเพศหญิง ซึ่งสามารถพบได้บ่อยรองจากโรคหนองในแท้และหนองในเทียม
โรคแผลริมอ่อนเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า Haemophilus ducreyi ทำให้เกิดแผลบริเวณอวัยวะเพศ มีลักษณะเป็นแผลเปื่อยซึ่งทางการแพทย์เรียกว่า “แผลริมอ่อน” เกิดขึ้นบริเวณรอบๆหรือบนอวัยวะเพศ และผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบโตผิดปกติร่วมด้วย
อาการของแผลริมอ่อน
ผู้ที่ติดเชื้อ Haemophilus ducreyi จะเริ่มแสดงอาการหลังจากได้รับเชื้อ 3-7 วัน โดยจะมีแผลเปื่อยเล็กลักษณะเป็นตุ่ม ขอบแผลนูนชัดเจน ก้นแผลมีหนอง ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ โดยแผลริมอ่อนจะขยายใหญ่ขึ้นกลายเป็นแผลหนองทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บปวดบริเวณแผลขณะปัสสาวะ อุจจาระ หรือในขณะมีเพศสัมพันธ์ รวมถึงอาจมีอาการต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบโตจนเกิดฝีขนาดใหญ่ได้ ซึ่งอาการของโรคแผลริมอ่อนในเพศชายและเพศหญิงมีอาการแตกต่างกันเล็กน้อย เช่น
แผลริมอ่อนในผู้ชาย :
เกิดตุ่มแดงเล็กขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ ใต้หนังหุ้มปลายองคชาต หรือ ถุงอัณฑะ โดยที่แผลอาจลุกลามเป็นแผลเปื่อยได้ภายใน 1-2 วัน ซึ่งผู้ติดเชื้อจะมีอาการเจ็บหรือแสบร้อนบริเวณที่เกิดแผล
แผลริมอ่อนในผู้หญิง :
ผู้หญิงจะเกิดตุ่มแดงเล็กขึ้นบริเวณอวัยวะเพศมากกว่าเพศชาย โดยจะมีอาการเจ็บปวดน้อยกว่าเพศชาย มักพบแผลในแคมเล็ก อวัยวะเพศ ต้นขา ขาหนีบ ปากช่องคลอด ซึ่งลักษณะของอาการแผลริมอ่อนในเพศหญิงมีความคล้ายคลึงกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น หรือบางรายอาจไม่แสดงอาการของโรคริมอ่อนอย่างชัดเจน ส่งผลให้สังเกตอาการได้ยากและอาจแพร่เชื้อสู่คู่นอนโดยไม่รู้ตัว
สาเหตุของโรคแผลริมอ่อน
โรคแผลริมอ่อนเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบที่มีชื่อว่า Haemophilus Ducreyi โดยที่เชื้อสามารถเข้าสู่ร่างกายได้จากการสัมผัสของเหลวจากผู้ที่มีเชื้อแผลริมอ่อนโดยตรง และเข้าสู่ร่างกายผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ผิวหนังที่มีบาดแผล หรือเยื่อบุต่างๆ ซึ่งเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้จะสร้างสารพิษที่ทำให้เกิดแผลบริเวณอวัยวะเพศและบริเวณโดยรอบ
การวินิจฉัยและการตรวจโรคแผลริมอ่อน
ในการวินิจฉัยโรคแผลริมอ่อนปัจจุบันสามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธี ก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน ดังนี้
การป้ายตกขาวไปใส่สไลด์แก้ว และย้อมสีดูเชื้อ (Gram stain)
ข้อดีของวิธีนี้ก็คือ ได้ผลเร็ว และราคาถูก แค่ใช้สไลด์แก้ว น้ำยาเล็กน้อย และกล้องจุลทรรศน์ แต่ประสิทธิภาพในการตรวจนั้นไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากหากเชื้อมีปริมาณน้อย ก็จะมองไม่เห็นได้ นอกจากนี้ยังต้องอาศัยประสบการณ์ของผู้ดูด้วย ถ้าดูแบบลวกๆผ่านๆ ก็อาจจะไม่เห็นเชื้อได้เช่นกัน แพทย์บางท่านจึงไม่ค่อยเชื่อถือวิธีนี้นัก
การเพาะเชื้อ (Bacterial culture)
ขั้นที่ดีกว่าการตรวจด้วยสไลด์แก้ว ก็คือการส่งไปเพาะเชื้อ เพื่อหาว่าเชื้อนั้นมีชนิดใดบ้าง และมีการดื้อยาหรือไม่
ข้อดีของวิธีนี้ คือ สามารถรู้ได้อย่างเจาะจงว่าเป็นเชื้อใด และที่สำคัญคือหากเพาะเชื้อขึ้น ก็จะสามารถตรวจได้ว่า เชื้อที่เป็นอยู่มีภาวะดื้อยาชนิดใดหรือไม่ แต่ข้อจำกัดของวิธีนี้ ก็คือ จะไม่สามารถตรวจได้ กรณีที่เชื้อตายไปหมดแล้ว หรือป้ายไม่โดนบริเวณที่เชื้อยังมีชีวิต นอกจากนี้ยังต้องเก็บเชื้อในสารเพาะเชื้อชนิดจำเพาะ
การตรวจ PCR (Polymerase Chain Reaction) เพื่อหาชิ้นส่วน DNA ของเชื้อ
ปัจจุบันมีเทคโนโลยีในการตรวจที่ดีมากขึ้น สามารถตรวจได้ด้วยความแม่นยำสูง โดยการเก็บชิ้นส่วน DNA ของเชื้อที่อยู่ในช่องคลอด หรือที่บริเวณแผล แล้วส่งตรวจด้วยวิธี PCR (Polymerase Chain Reaction) ซึ่งจะสามารถตรวจได้ทั้ง DNA ของเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัสได้พร้อมๆกันหลายชนิด มีความแม่นยำสูง สามารถเก็บสิ่งส่งตรวจไว้ได้นานถึง 14 วัน โดยไม่มีผลต่อความแม่นยำของการตรวจ
สำหรับวิธีตรวจด้วย PCR นี้ สามารถตรวจได้โดยแพทย์ หรือตรวจด้วยตนเองที่บ้านก็ได้ โดยการตรวจด้วยตนเอง จะค่อนข้างแพร่หลายในการตรวจแถวประเทศฝั่งยุโรปและอเมริกา เนื่องจากสะดวก ประหยัดกว่าการไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล และมีความแม่นยำสูง สามารถให้การรักษาโรคได้อย่างตรงจุด
สำหรับข้อจำกัดของการเก็บตรวจด้วยตนเอง คือ ในประเทศไทยที่มีสิทธิ์การรักษาฟรี การตรวจด้วยตนเองอาจจะมีราคาที่สูงกว่าการตรวจแบบเดิมๆที่ต้องไปพบแพทย์ตามสิทธิ์บัตรทองที่รักษาฟรี (แต่กรณีการรักษาฟรี แพทย์อาจต้องช่วยประหยัด ซึ่งแพทย์ก็อาจจะเลือกวิธีตรวจที่ประหยัด หรืออาจจะไม่ได้ส่งตรวจยืนยันโรคให้กับผู้ป่วย และให้ยามารักษาตามอาการก็เป็นได้)
ใครสามารถตรวจแผลริมอ่อนด้วยตัวเองได้บ้าง
-
- มีอาการไม่รุนแรง
-
- ไปพบแพทย์แล้ว แต่แพทย์ไม่ได้ตรวจให้อย่างละเอียด
-
- มีอาการผิดปกติที่อาจติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น คัน เป็นผื่น ตุ่ม เป็นฝี มีหนองไหล หรือเจ็บปวดที่อวัยวะเพศ ปัสสาวะแสบขัด มีตกขาวผิดปกติ มีกลิ่นเหม็น
-
- มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน เช่น ไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัย ถุงยางอนามัยรั่ว แตก หลุด หรือฉีกขาดขณะมีเพศสัมพันธ์
-
- มีพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ที่มีความเสี่ยง เช่น เปลี่ยนคู่นอนบ่อย มีคู่นอนหลายคน มีคู่นอนที่เสี่ยงต่อการติดโรค
-
- ผู้ที่วางแผนแต่งงาน วางแผนการมีบุตร หรือต้องการตรวจก่อนมีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อสู่คนรักและทารกในครรภ์
อาการอย่างไรที่ควรไปตรวจที่โรงพยาบาลหรือคลินิกสูตินรีแพทย์
-
- มีไข้สูง หนาวสั่น
-
- ปวดท้องน้อยรุนแรง
-
- รักษาด้วยตัวเองแล้วแต่อาการไม่ดีขึ้น
-
- เป็นแผลเรื้อรังเวลานานหลายเดือน และสงสัยว่าเกิดจากมะเร็ง
-
- มีฝีหนอง หรือก้อนอื่นๆที่บริเวณขาหนีบ และอวัยวะเพศ
-
- สงสัยโรคติดเชื้ออื่นๆ เช่น เอดส์ ร่วมด้วย
ต้องการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ด้วยตนเอง 14 โรค ด้วยวิธี Multiplex PCR (รวมแผลริมอ่อน) คลิกที่นี่
วิธีการรักษาโรคแผลริมอ่อน
การรักษาโรคแผลริมอ่อนสามารถรักษาให้ขาดได้ด้วยยาปฏิชีวนะหลายชนิด เช่น Azithromycin Ciprofloxacin Erythromycin Ceftriaxone ยาเหล่านี้มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ช่วยบรรเทาอาการบริเวณแผลริมอ่อน และลดรอยแผลเป็นให้ดีขึ้นได้ภายใน 1 อาทิตย์ ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดของแผลในผู้ป่วยแต่ละรายด้วยเช่นกัน ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการต่อมน้ำเหลืองโตมีขนาดใหญ่มาก แพทย์อาจจะต้องทำการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเจาะระบายน้ำหนองออกเพื่อลดอาการบวมของแผล ซึ่งวิธีนี้จะใช้ระยะเวลาในการรักษาประมาณ 1-3 เดือน
หลังการรักษา ร่องรอยของแผลอาจยังคงมีอยู่ให้เห็นได้ทั้งๆที่กำจัดเชื้อไปได้หมดแล้วก็ตาม สำหรับยาที่แนะนำคือ
-
- Azithromycin 1 g orally in a single dose หรือ
-
- Ceftriaxone 250 mg IM in a single dose หรือ
-
- Ciprofloxacin 500 mg orally twice a day for 3 days หรือ
-
- Erythromycin base 500 mg orally three times a day for 7 days
สำหรับผู้ป่วยตั้งครรภ์มีข้อมูลว่าแผลริมอ่อนนั้นไม่ได้ส่งผลต่อผลลัพธ์ต่อการตั้งครรภ์ แต่การรักษาควรปรึกษาแพทย์ฝากครรภ์ร่วมด้วยเสมอ
Centers for Disease Control and Prevention (CDC) ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แนะนำว่า ผู้ป่วยที่ผลเลือด HIV เป็นบวก หรือในชายที่ไม่ได้ขลิบปลายอวัยวะเพศ มักไม่ค่อยตอบสนองต่อการรักษา ดังนั้น จึงควรตรวจ HIV ด้วยเมื่อผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นแผลริมอ่อน หากผลการตรวจ HIV เป็นผลลบ แนะนำให้ตรวจหาเชื้อซิฟิลิส และตรวจเลือดหาเชื้อ HIV อีกครั้งใน 3 เดือนหลังจากที่วินิจฉัยแผลริมอ่อน
การตรวจติดตามผลการรักษา
หากตอบสนองต่อการรักษา รอยโรคจะเริ่มดีขึ้นภายใน 3-7 วันหลังการรักษา หากไม่ตอบสนองต่อการรักษาให้นึกถึงภาวะต่อไปนี้
-
- การวินิจฉัยไม่ถูกต้อง
-
- ผู้ป่วยอาจมีการติดเชื้ออื่นร่วมด้วย
-
- ผู้ป่วยติดเชื้อ HIV
-
- ผู้ป่วยไม่ได้ใช้ยาตามที่แพทย์สั่ง
-
- เชื้อ H.ducreyi ที่เป็นสาเหตุดื้อต่อยาที่ใช้รักษา
สำหรับการหายของแผลนั้นขึ้นกับขนาดแผลเป็นสำคัญ หากแผลมีขนาดใหญ่มักใช้เวลามากกว่า 2 สัปดาห์ ส่วนการหายของต่อมน้ำเหลืองขาหนีบจะช้ากว่าการหายของแผล และบางครั้งอาจต้องใช้เข็มเจาะดูด เพื่อระบายหนองออกมาด้วย
สำหรับคู่นอน ไม่ว่าจะมีอาการหรือไม่ก็ตาม หากมีประวัติว่ามีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นแผลริมอ่อนในช่วง 10 วันที่ผู้ป่วยมีอาการ ต้องได้รับการรักษาด้วย
ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV ที่เป็นแผลริมอ่อนควรได้รับการติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้มีโอกาสในการล้มเหลวต่อการรักษาสูง และรอยโรคก็จะหายช้ากว่าปกติ
ผู้ป่วยโรคแผลริมอ่อนควรดูแลตนเองควบคู่ไปกับการทานยาปฏิชีวนะ เพื่อรักษาความสะอาดและลดโอกาสการลุกลามของเชื้อแบคทีเรีย ด้วยการงดการมีเพศสัมพันธ์ตลอดระยะเวลาในการรักษา หมั่นใช้น้ำเกลือทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศหรือบริเวณแผลอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรปล่อยให้แผลมีเกิดการอับชื้นหรือเกิดการเสียดสี รวมถึงงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
ภาวะแทรกซ้อนของแผลริมอ่อน
-
- เสี่ยงเกิดรอยทะลุของท่อปัสสาวะ หรือ Urethral Fistula
-
- เกิดแผลเป็นหรือพังผืดบริเวณหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย
-
- เสี่ยงติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัสอื่นๆได้ง่าย
-
- ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบอาจแตกได้หากไม่ได้รักษาโดยเร็วที่สุด
การป้องกันโรคแผลริมอ่อน
สำหรับโรคแผลริมอ่อนสามารถป้องกันได้ โดยการใช้วิธีเดียวกันกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ดังนี้
-
- สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งขณะมีเพศสัมพันธ์
-
- หลีกเลี่ยงพฤติกรรมการเปลี่ยนคู่นอนบ่อย
-
- รักษาความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศอยู่เสมอ
-
- หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีแผลบริเวณอวัยวะเพศ
-
- ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทุกปีและก่อนการแต่งงาน
-
- หากมีภาวะเสี่ยงติดเชื้อแผลริมอ่อนควรรีบปรึกษาแพทย์โดยเร็วที่สุด
References
Update in sexually transmitted diseases – department of obstetrics and gynecology faculty of medicine Chiang Mai university. (n.d.). Cmu.ac.th. Retrieved April 20, 2024, from https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/topic-review/3819/
แผลริมอ่อน คืออะไร เป็นแล้วอันตรายไหม? (2021, April 10). มูลนิธิเพื่อรัก Love Foundation; มูลนิธิเพื่อรัก (Love Foundation). https://lovefoundation.or.th/chancroid/
✅✅✅✅✅
หากมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับอวัยวะเพศ เป็นแผลที่อวัยวะเพศ มีปัสสาวะแสบขัด มีตกขาว หรือมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
แนะนำให้ตรวจหาสาเหตุให้แน่ชัด อย่าปล่อยโรคให้เป็นเรื้อรัง เกิดผลเสียต่อสุขภาพในอนาคต
ด้วยเทคโนโลยีที่มีความแม่นยำสูง สามารถรักษาให้หายขาดได้ เฮลท์สไมล์ มีให้บริการชุดตรวจด้วยตนเองที่บ้าน ครอบคลุมเชื้อที่ทำให้เกิดแผลที่อวัยวะเพศสูงสุดถึง 15 โรค มีความแม่นยำมากกว่า 95%
เรามีแพคเกจตรวจโรคและความผิดปกติเกี่ยวกับอวัยวะเพศ ให้เลือกอยู่ 4 แพคเกจ
* ทุกแพคเกจ มีแพทย์เฉพาะทางที่ปรึกษาด้านสูตินรีเวช เพื่อแนะนำการรักษา
* ทุกแพคเกจ รวมค่ายารักษาตามโรคที่พบส่งฟรีถึงบ้านโดยเภสัชกร
-
- แพคเกจปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อการรักษา : 900 บาท
เหมาะกับคนที่ยังไม่เคยรักษา ต้องการรักษาด้วยตนเอง แพทย์แนะนำยา แนะนำการรักษา การดูแลตนเองหลังรักษาป้องกันการเป็นซ้ำ - แพคเกจตกขาวผิดปกติ 7 โรค : 2,490 บาท
สำหรับคนที่มีอาการปัสสาวะผิดปกติ หรือตกขาวผิดปกติ
ตรวจได้ 7 เชื้อ ได้แก่
– หนองในแท้
– หนองในเทียม (5 ชนิด)
– พยาธิในช่องคลอด - แพคเกจแผลที่อวัยวะเพศ 11 โรค : 2,990 บาท *** แนะนำ ***
สำหรับคนที่มีแผล หรือก้อนที่อวัยวะเพศ
ตรวจได้ 11 เชื้อ ได้แก่
แพคเกจที่ 2. + เพิ่ม
– เริม (2 ชนิด)
– ซิฟิลิส
– แบคทีเรียในช่องคลอด - แพคเกจตรวจครบ 15 โรค : 3,290 บาท
สำหรับมารดาที่มีตกขาวผิดปกติ แนะนำให้ตรวจโรคแบบครบรอบด้าน
ตรวจได้ 15 เชื้อ ได้แก่
แพคเกจที่ 3. +เพิ่ม
– แผลริมอ่อน
– เชื้อรา (2 ชนิด)
– เชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด (2 ชนิด) รวมไปถึงเชื้อ GBS (Group B Streptococcus) ซึ่งส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์ได้รุนแรง
- แพคเกจปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อการรักษา : 900 บาท
📞 สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และนัดหมายการตรวจได้ที่
– Line ID : @Sex.Disease
หรือคลิกได้ที่ลิงค์นี้
https://link.healthsmile.co.th/add-line/STD-content
🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจโรคทางเพศ และการรักษา ได้ที่นี่
https://healthsmile.co.th/mens-sti-clinic/
https://healthsmile.co.th/womens-sti-clinic/
✅✅✅✅✅