เนื้อหาในบทความ
โรคติดต่อทางเพศ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน หากได้รับเชื้อ หรือสงสัยว่าจะได้รับเชื้อที่ทำให้เกิดโรคทางเพศแล้ว ก็ควรตรวจให้แม่นยำ และทำการรักษาโรคให้หายสนิท สำหรับบทความนี้จะแจ้งเกี่ยวกับ หากทำการรักษาแล้ว ต้องรอนานเท่าไหร่ จึงจะมีเพศสัมพันธ์ได้อีกครั้ง โดยที่ไม่แพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น
การมีเพศสัมพันธ์หลังการติดเชื้อแบคทีเรีย
การติดเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคติดต่อทางเพศ ได้แก่
- หนองในเทียม (Ureaplasma parvum, Ureaplasma urealyticum, Mycoplasma hominis, Mycoplasma genitalium)
- หนองในแท้ (Gonorrhea)
- ซิฟิลิส (Treponema pallidum, Syphilis)
หลังจากได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อแบคทีเรียดังกล่าว แพทย์จะสั่งยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อและรักษาโรค เมื่อคุณใช้ยาปฏิชีวนะครบแล้ว ให้รออีกหนึ่งสัปดาห์ก่อนที่จะมีเพศสัมพันธ์
การมีเพศสัมพันธ์หลังการติดเชื้อปรสิต
การติดเชื้อปรสิตในช่องคลอด (Trichomonas vaginalis : Trichomoniasis) เป็นหนึ่งในโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบบ่อยที่สุดที่เกิดจากปรสิต แพทย์จะให้การรักษาโรคติดเชื้อปรสิตทางเพศสัมพันธ์นี้โดยให้ยาฆ่าเชื้อแบบรับประทาน
เช่นเดียวกับการรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จากแบคทีเรีย คุณควรรอหนึ่งสัปดาห์หลังจากการรักษาเสร็จสิ้นก่อนจึงจะกลับมามีเพศสัมพันธ์อีกครั้ง
การมีเพศสัมพันธ์หลังการติดเชื้อไวรัส
เนื่องจากการติดเชื้อไวรัส ทางเพศสัมพันธ์ มีได้หลายเชื้อ เช่น
- เอชไอวี (HIV)
- เริม (Herpes simplex virus)
ซึ่งระยะที่ควรจะงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์แตกต่างกันไป ดังนี้
หากคุณมีโรคเริมที่อวัยวะเพศ (Herpes simplex type 1 and 2) ให้รอจนกว่าแผลที่อวัยวะเพศจะหายไปสนิท ตกสะเก็ดเรียบร้อย และแนะนำให้คุณใช้ถุงยางอนามัยเสมอเพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อเริมไปยังคู่ของคุณ นอกจากนี้ เนื่องจากเริมนั้นมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้ หากภูมิคุ้มกันในร่างกายลดต่ำลง ดังนั้นคุณจะต้องงดเว้นจากการมีเพศสัมพันธ์ทุกครั้งที่เริ่มมีสัญญาณของอาการเป็นเริมขึ้นมาอีกครั้ง
หากคุณมีเชื้อ HIV แนะนำให้งดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าการรักษาจะทำให้คุณมีปริมาณไวรัสที่ตรวจไม่พบ ซึ่งอาจใช้เวลาถึงหกเดือนหลังการวินิจฉัย สิ่งสำคัญคือต้องกินยารักษา HIV อย่างสม่ำเสมอ ใช้ถุงยางอนามัย และตรวจตัวเองและคู่นอนเพื่อตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นประจำ
การรอมีเพศสัมพันธ์หลังจากติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จะทำให้คุณมั่นใจได้ว่าร่างกายจะหายดีและลดความเสี่ยงในการแพร่โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ไปยังคู่นอนคนอื่นๆ สามารถติดต่อเฮลท์สไมล์ เพื่อขอรับความช่วยเหลือในการตรวจคัดกรองโรคทางเพศ การรักษา และการจัดการโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
โทรติดต่อ หรือจองการนัดหมายออนไลน์ได้แล้ววันนี้ที่ LINE ID : @Sex.Disease
ตารางแสดงระยะเวลาที่ปลอดภัย หลังเข้ารับการรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ชื่อโรค และเชื้อก่อโรค | ระยะเวลาที่ควรงดมีเพศสัมพันธ์ |
---|---|
หนองในแท้ (Neisseria gonorrhea) | 1 สัปดาห์ หลังสิ้นสุดการรักษา |
หนองในเทียม (Ureaplasma urealyticum) | 1 สัปดาห์ หลังสิ้นสุดการรักษา |
หนองในเทียม (Ureaplasma parvum) | 1 สัปดาห์ หลังสิ้นสุดการรักษา |
หนองในเทียม (Mycoplasma hominis) | 1 สัปดาห์ หลังสิ้นสุดการรักษา |
หนองในเทียม (Mycoplasma genitalium) | 1 สัปดาห์ หลังสิ้นสุดการรักษา |
หนองในเทียม (Chlamydia trachomatis) | 1 สัปดาห์ หลังสิ้นสุดการรักษา |
ซิฟิลิส (Treponema pallidum) | หลังแผลหายสนิท1 สัปดาห์ หลังสิ้นสุดการรักษา |
เริม (Herpes simplex virus type I) | หลังแผลหายสนิทงดมีเพศสัมพันธ์หากรู้สึกว่าจะเป็นโรคซ้ำ |
เริม (Herpes simplex virus type I) | หลังแผลหายสนิทงดมีเพศสัมพันธ์หากรู้สึกว่าจะเป็นโรคซ้ำ |
เอชไอวี (HIV) | จนกว่าจะตรวจไม่พบไวรัสในเลือด (บางกรณีอาจนานถึง 6 เดือน) |
ปรสิตในช่องคลอด (Trichomonas vaginalis) | 1 สัปดาห์ หลังสิ้นสุดการรักษา |
References
Bani. (2022, November 25). How long after sex should you test for STDs? Your Sexual Health. https://yoursexualhealth.co.uk/blog/how-long-after-sex-should-you-test-for-stds/
Chancroid. (2021, July 13). Cdc.gov. https://www.cdc.gov/std/treatment-guidelines/chancroid.htm
Chlamydial infections. (2022, August 15). Cdc.gov. https://www.cdc.gov/std/treatment-guidelines/chlamydia.htm
Gonococcal infections among adolescents and adults. (2022, December 5). Cdc.gov. https://www.cdc.gov/std/treatment-guidelines/gonorrhea-adults.htm
Herpes – STI treatment guidelines. (2022, September 21). Cdc.gov. https://www.cdc.gov/std/treatment-guidelines/herpes.htm
How long should you wait after being treated for chlamydia to have sex? (n.d.). Plannedparenthood.org. Retrieved April 30, 2024, from https://www.plannedparenthood.org/blog/how-long-should-you-wait-after-being-treated-for-chlamydia-to-have-sex
STD facts – chlamydia. (2022, October 4). Cdc.gov. https://www.cdc.gov/chlamydia/about/?CDC_AAref_Val=https://www.cdc.gov/std/chlamydia/stdfact-chlamydia.htm
The ObGyn Center. (2022, September 1). Sex after an STD diagnosis: How long you should wait. The Ob-Gyn Center Las Vegas ObGyn –. https://lasvegasobgyncenter.com/sex-after-an-std-diagnosis-how-long-you-should-wait/
Urethritis and cervicitis – STI Treatment Guidelines. (2022, September 21). Cdc.gov. https://www.cdc.gov/std/treatment-guidelines/urethritis-and-cervicitis.htm
Last Updated on 15 กรกฎาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์
✅✅✅✅✅
หากมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับอวัยวะเพศ ปัสสาวะแสบขัด ตกขาว มีแผล หรือมีความเสี่ยงที่มีคู่นอนหลายคน หรือ คู่นอนของเรามีคนอื่นด้วย
แนะนำตรวจและรักษาให้ตรงจุด
ด้วยชุดตรวจโรคทางเพศด้วยตนเอง
หากต้องการตรวจเพื่อยืนยันการติดเชื้อ หรือรักษาอาการผิดปกติเกี่ยวกับอวัยวะเพศ ด้วยเทคโนโลยีที่มีความแม่นยำสูง สามารถรักษาให้หายขาดได้ เฮลท์สไมล์ มีให้บริการชุดตรวจด้วยตนเองที่บ้าน ครอบคลุมเชื้อที่ทำให้เกิดแผลที่อวัยวะเพศสูงสุดถึง 14 โรค มีความแม่นยำมากกว่า 95%
เรามีแพคเกจตรวจโรคและความผิดปกติเกี่ยวกับอวัยวะเพศ ให้เลือกอยู่ 4 แพคเกจ
* ทุกแพคเกจ มีแพทย์เฉพาะทางที่ปรึกษาด้านสูตินรีเวช เพื่อแนะนำการรักษา
* ทุกแพคเกจ รวมค่ายารักษาตามโรคที่พบส่งฟรีถึงบ้านโดยเภสัชกร
-
- แพคเกจปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อการรักษา : 900 บาท
เหมาะกับคนที่ยังไม่เคยรักษา ต้องการรักษาด้วยตนเอง แพทย์แนะนำยา แนะนำการรักษา การดูแลตนเองหลังรักษาป้องกันการเป็นซ้ำ - แพคเกจตกขาวผิดปกติ 7 โรค : 2,490 บาท
สำหรับคนที่มีอาการปัสสาวะผิดปกติ หรือตกขาวผิดปกติ
ตรวจได้ 7 เชื้อ ได้แก่
– หนองในแท้
– หนองในเทียม (5 ชนิด)
– พยาธิในช่องคลอด - แพคเกจแผลที่อวัยวะเพศ 11 โรค : 2,990 บาท
สำหรับคนที่มีแผล หรือก้อนที่อวัยวะเพศ
ตรวจได้ 11 เชื้อ ได้แก่
แพคเกจที่ 2. + เพิ่ม
– เริม (2 ชนิด)
– ซิฟิลิส
– แบคทีเรียในช่องคลอด - แพคเกจตรวจครบ 15 โรค : 3,290 บาท *** แนะนำ ***
สำหรับมารดาที่มีตกขาวผิดปกติ แนะนำให้ตรวจโรคแบบครบรอบด้าน
ตรวจได้ 14 เชื้อ ได้แก่
แพคเกจที่ 3. +เพิ่ม
– แผลริมอ่อน
– เชื้อรา (2 ชนิด)
– เชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด (2 ชนิด) รวมไปถึงเชื้อ GBS (Group B Streptococcus) ซึ่งส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์ได้รุนแรง
- แพคเกจปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อการรักษา : 900 บาท
📞 สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และนัดหมายการตรวจได้ที่
– Line ID : @Sex.Disease
หรือคลิกได้ที่ลิงค์นี้
https://link.healthsmile.co.th/add-line/STD-content
🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจโรคทางเพศ และการรักษา ได้ที่นี่
https://healthsmile.co.th/mens-sti-clinic/
https://healthsmile.co.th/womens-sti-clinic/
✅✅✅✅✅
Last Updated on 15 กรกฎาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์