ควรตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เมื่อไรหลังจากมีเพศสัมพันธ์?

เนื้อหาในบทความ

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาจะนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพมากมาย โดยบางโรคอาจอันตรายถึงชีวิต (อ่านเพิ่ม : ผลแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น หากไม่ได้รักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์) ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในการตรวจร่างกายตามปกติ นอกจากนี้ยังมีชุดตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่บ้านเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึงการทดสอบและสะดวกยิ่งขึ้น

หากคุณมีเพศสัมพันธ์หรือกิจกรรมทางเพศ (ไม่ว่าจะใช้ทางปาก ช่องคลอด หรือทวารหนัก) ก็มีโอกาสติดเชื้อได้ทั้งนั้น ดังนั้นสิ่งที่ต้องคำนึงเมื่อมีเพศสัมพันธ์ มีดังนี้

ประการแรก การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีการป้องกันอาจทำให้คุณเสี่ยงต่อการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณไม่มั่นใจในสถานะของคู่นอนของคุณว่ามีเชื้อหรือไม่ แต่ถึงแม้ว่าจะมั่นใจในคู่นอนของตนเองแต่ความจริงแล้ว ในประเทศไทยนั้นมีการศึกษาพบว่า คนไทยมีอัตราการนอกใจที่สูงมากค่ะ (ผลวิจัยดูเร็กซ์ : แชมป์โลก “คบซ้อน” ไทยครองที่หนึ่ง “นอกใจ” ที่สุดในโลก)

ดังนั้นถึงแม้จะมั่นใจในคนรัก แต่ตรวจให้ครอบคลุมเพื่อความสบายใจก็ดีค่ะ

ประการที่สอง แน่นอนว่าการมีคู่นอนหลายคน หรือการมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนที่มีคู่นอนหลายคนอาจจะเพิ่มความเสี่ยงด้วยเช่นกัน

ประการที่สาม การไม่รู้เรื่องสุขภาพทางเพศของคู่นอนของคุณอาจทำให้คุณมีความเสี่ยงสูงต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

หากคุณมีส่วนเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมทางเพศที่เสี่ยงตามที่กล่าวไว้ข้างต้น ก็น่าจะกังวลว่าจะได้รับเชื้อหรือติดเชื้ออันตรายมาด้วยหรือเปล่า ดังนั้น เวลาคือสิ่งที่สำคัญในการจัดการกับเชื้อดังกล่าว การตรวจเร็วเกินไปอาจนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ผิดพลาด ในขณะที่การตรวจช้าเกินไปอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและแพร่เชื้อไปยังคู่นอนของคุณ

เมื่อมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ เราอาจจะกังวลและมีแนวโน้มที่จะเข้ารับการตรวจทันที แต่นี่อาจทำให้ผลตรวจออกมาเป็นลบ (หรือผลตรวจแจ้งว่าไม่ติดเชื้อ) ทั้งๆที่ได้รับเชื้อมาแล้ว ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเพราะการติดโรคทางเพศนั้นจะมี “ระยะฟักตัว” ซึ่งมีระยะเวลาแตกต่างกันในเชื้อแต่ละชนิด เช่น เอชไอวี เริม ซิฟิลิส หนองใน ฯลฯ หากมีการติดเชื้อแต่ยังไม่พ้นระยะฟักตัวก็จะทำให้ตรวจไม่พบเชื้อได้

ใช้เวลานานแค่ไหนถึงจะเจอโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์?

หลายๆท่านอาจคิดว่า ทันทีที่เชื้อติดต่อทางเพศสัมพันธุ์เข้าสู่ร่างกาย แพทย์จะสามารถตรวจหาและพบได้ทันที แต่ในความเป็นจริงนั้นซับซ้อนกว่าที่คิดมาก

เราติดเชื้อก็ต่อเมื่อมีเชื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายของเราทางช่องทางต่างๆ ซึ่งหากเป็นการได้รับเชื้อโรคทางการมีเพศสัมพันธ์ (ไม่ว่าจะเป็นทางปาก ทวารหนัก หรือช่องคลอด) จะเรียกว่าโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือ STD : Sexual transmitted disease หรือ STI : Sexual transmitted infection ซึ่งเชื้อที่ก่อโรคสามารถเป็นได้ทั้งไวรัส แบคทีเรีย หรือจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆ

ทันทีที่เชื้อเหล่านี้เข้าสู่ร่างกาย พวกมันจะเริ่มแบ่งตัวแพร่พันธุ์ เมื่อเชื้อแพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆของร่างกายและเริ่มทำลายเซลล์ปกติของเรา ก็จะทำให้มีอาการของโรค เช่น เป็นแผล เจ็บแสบ มีหนอง มีกลิ่นเหม็น ฯลฯ อย่างไรก็ตาม การติดเชื้อทุกอย่างต้องใช้ระยะเวลาที่จะเพิ่มปริมาณเชื้อ จนกระทั่งมีอาการแสดงของการติดเชื้อ และยังขึ้นกับภูมิคุ้มกันของร่างกายผู้ที่ติดเชื้อด้วย

เมื่อการติดเชื้อเริ่มเพิ่มขึ้น มีเชื้อจำนวนมากขึ้น ภูมิคุ้มกันของเราจะตื่นตัวและพยายามต่อสู้เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่กระจาย โดยจะเริ่มจากการผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวและแอนติบอดีเพื่อต่อสู้กับการติดเชื้อ การตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในบางกรณี เช่น การตรวจภูมิคุ้มกัน HIV หมายว่าคุณกำลังตรวจหาแอนติบอดีที่ร่างกายเราผลิตมาต่อสู้กับเชื้อ HIV นั่นเอง

ระยะเวลาฟักตัว (Incubation period) คืออะไร?

ระยะเวลาฟักตัวคือเวลาที่จำเป็นสำหรับร่างกายในการตอบสนองหลังจากติดเชื้อ ดังนั้นหากร่างกายติดเชื้อที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ตอนแรกสุดจึงยังอาจจะไม่ได้มีอาการแสดงทันที และมันต้องใช้เวลาสักระยะจนกว่าแอนติบอดีของร่างกายจะเริ่มโจมตีเชื้อ และทำให้เริ่มแสดงอาการ เช่น หากมีเพศสัมพันธ์กับผู้เป็นโรคเริม (อาการคือมีแผลที่อวัยวะเพศ) กว่าที่ผู้รับเชื้อจะแสดงอาการ ก็จะต้องรอเวลาฟักตัว 2-12 วัน เป็นต้น

กล่าวอีกนัยหนึ่ง ระยะเวลาฟักตัว ก็คือช่วงเวลาระหว่างที่บุคคลได้รับเชื้อเข้ามาในร่างกาย จนถึงเมื่ออาการเริ่มแสดงออกมาให้เห็นครั้งแรก

ซึ่งไม่ควรสับสนระหว่างระยะเวลาฟักตัว (Incubation period) และ ระยะที่ตรวจไม่พบเชื้อหรือวินโดว์พีเรียด (Window period)

ระยะเวลาที่ตรวจไม่พบเชื้อ หรือ วินโดว์พีเรียด (Window period) คืออะไร?

ระยะเวลาที่ตรวจไม่พบเชื้อ หรือวินโดว์พีเรียด คือ ช่วงระหว่างที่ติดเชื้อ และเวลาที่เหมาะสมที่จะตรวจพบเชื้อก่อโรคในร่างกายโดยวัดจากแอนติบอดีที่ผลิต หากคุณเข้ารับการตรวจโดยไม่คำนึงถึงระยะเวลาที่ตรวจไม่พบเชื้อของการติดไวรัส คุณอาจได้ผลลบที่เป็นเท็จ (มีการติดเชื้อ แต่ว่าผลตรวจบอกว่าไม่มีการติดเชื้อ)

ซึ่งผลตรวจที่เป็นลบ อาจหมายความว่าคุณติดเชื้อ แต่ไม่ได้ให้ระยะเวลาพอสำหรับร่างกายในการผลิตแอนติบอดีที่ตรวจพบได้ ดังนั้นเพื่อความมั่นใจ 100% เกี่ยวกับผลลัพธ์ แนะนำให้ทำการตรวจหลังจากสิ้นสุดระยะวินโดว์พีเรียดแม้ว่าอาการจะไม่ออกก็ตาม

กล่าวอีกนัยหนึ่ง ระยะเวลาตรวจไม่พบเชื้อ หรือ วินโดว์พีเรียด ก็คือช่วงเวลาระหว่างที่บุคคลได้รับเชื้อเข้ามาในร่างกาย จนถึงเมื่อเริ่มตรวจหาโรคนั้นๆได้

เช่น HIV จะมีช่วงระยะเวลาที่ตรวจไม่พบเชื้อ หรือ วินโดว์พีเรียด อยู่ที่ประมาณ 1 เดือน จึงจะสามารถตรวจพบได้

ระยะเวลาฟักตัว (Incubation period) และระยะเวลาตรวจไม่พบเชื้อ (Window period) ของโรคติดเชื้อทางเพศต่างๆ

ใช้เวลานานแค่ไหนในการตรวจโรคคลามิเดีย (หนองในเทียม) ?

นี่คือการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ที่มีการรายงานมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา ในช่วงระยะแรกของโรคนี้ ผู้ติดเชื้อบางรายจะแสดงอาการ ที่รวมถึงความเจ็บปวดและแสบร้อนขณะปัสสาวะและขณะมีเพศสัมพันธ์ เลือดออกผิดปกติระหว่างรอบเดือน ตกขาวที่ผิดปกติสำหรับผู้หญิง และหนองหรือน้ำที่ไหลออกจากอวัยวะเพศชาย

ระยะเวลาฟักตัวของโรคคลามิเดีย : ระหว่าง 7 ถึง 21 วัน

ระยะเวลาตรวจไม่พบเชื้อของโรคคลามิเดีย : ระหว่าง 1 ถึง 5 วัน

ใช้เวลานานแค่ไหนในการตรวจหนองในแท้ (Gonorrhea) ?

เป็นเรื่องปกติมากในหมู่คนหนุ่มสาวที่มีเพศสัมพันธ์เป็นประจำ การติดเชื้อนี้เกิดจากแบคทีเรียที่ส่งผลต่ออวัยวะเพศ ปาก หรือทวารหนัก สัญญาณหรืออาการที่อาจพบได้ทั่วไป มีทั้งการปัสสาวะที่เจ็บปวด หนองที่ไหลออกมากจากอวัยวะเพศชาย ความเจ็บปวดหรือบวมที่ลูกอันฑะข้างเดียวสำหรับผู้ชาย การปัสสาวะและมีเพศสัมพันธ์ที่เจ็บปวด รวมถึงอาการปวดท้องและเลือดออกทางช่องคลอดที่ผิดปกติสำหรับผู้หญิง

ระยะเวลาฟักตัวของโรคหนองในแท้ : ระยะเวลาฟักตัวตั้งแต่ 1 ถึง 14 วัน ผู้ชายที่แสดงอาการสังเกตเห็นได้ใน 2 ถึง 5 วันหลังติดเชื้อ ผู้หญิงจะแสดงอาการใน 10 วันแรกหลังการติดเชื้อ

ระยะเวลาตรวจไม่พบเชื้อของโรคหนองในแท้ : ระหว่าง 2 ถึง 6 วัน

ใช้เวลานานแค่ไหนในการตรวจไวรัสตับอักเสบ?

โรคตับอักเสบเป็นโรคติดเชื้อที่ส่งผลร้ายแรงต่อตับ การติดเชื้อไวรัสนี้มีสามประเภทหลัก: A, B และ C แม้ว่าบางประเภทจะไม่แสดงอาการ แต่บางประเภทอาจมีอาการรุนแรงเช่น อาเจียน เบื่ออาหาร ผิวและตาขาวเปลี่ยนเป็นสีเหลือง

ระยะฟักตัวของไวรัสตับอักเสบ : ระยะฟักตัวของไวรัสตับอักเสบแต่ละประเภทจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับโครงสร้างของไวรัสและเส้นทางการแพร่เชื้อ ตัวอย่างเช่น ไวรัสตับอักเสบ A เป็นไวรัสที่ไม่ห่อหุ้มซึ่งไม่มีไกลโคโปรตีนบนเยื่อหุ้มชั้นนอก มีความรุนแรงมากกว่าไวรัสตับอักเสบประเภทอื่น ในทางกลับกัน ไวรัสตับอักเสบ B และ C ถูกห่อหุ้มและกระบวนการแพร่พันธุ์จะช้ากว่าไวรัสตับอักเสบเอ

ระยะฟักตัว:

      • ไวรัสตับอักเสบ A อยู่ระหว่าง 15 ถึง 50 วัน

      • ไวรัสตับอักเสบ B อยู่ระหว่าง 45 ถึง 160 วัน

      • ไวรัสตับอักเสบ C จะอยู่ระหว่าง 14 ถึง 180 วัน

    ระยะเวลาตรวจไม่พบเชื้อของไวรัสตับอักเสบ :

        • ไวรัสตับอักเสบ A จะอยู่ระหว่าง 2 ถึง 7 สัปดาห์

        • ไวรัสตับอักเสบ B 6 สัปดาห์

        • ไวรัสตับอักเสบ C 8 ถึง 9 สัปดาห์

      ใช้เวลานานแค่ไหนในการตรวจเชื้อไวรัส HIV?

      Human Immunodeficiency Virus (HIV) คือการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ที่สามารถกลายไปเป็นโรคเอดส์ ในสหรัฐอเมริกา 1 ใน 4 ของผู้ติดเชื้อเป็นผู้หญิง ชาวอเมริกันมากกว่าล้านชีวิตอาศัยอยู่กับเชื้อนี้ สัญญาณที่พบบ่อยที่สุดของเชื้อ HIV คือ ผื่นตามตัว มีไข้ เจ็บคอ และปวดศีรษะรุนแรง น้ำหนักลดก็เป็นเรื่องปกติ รวมถึงการติดเชื้อยีสต์ที่ขยายใหญ่ขึ้น และผิวหนังที่เป็นขุย

      ระยะเวลาฟักตัวของไวรัส HIV : ระยะเวลาฟักตัวของ HIV อยู่ระหว่าง 2 ถึง 4 สัปดาห์หลังจากได้รับเชื้อไวรัส นั่นคือเมื่ออาการไข้หวัดปรากฎขึ้นและสามารถเป็นนานหลายสัปดาห์

      ระยะเวลาตรวจไม่พบเชื้อของไวรัส HIV: อาจแตกต่างกันระหว่างไวรัสถึงเทคนิคการทดสอบและอื่นๆ การทดสอบแอนติบอดี HIV ต้องใช้เวลาถึง 20 ถึง 90 วันถึงจะแสดงผลที่ถูกต้อง

      หากต้องการซื้อชุดตรวจ HIV ด้วยตนเองที่บ้าน ความแม่นยำเชิงวินิจฉัยมากกว่า 99% เมื่อเทียบกับการตรวจเลือด คลิกที่นี่

      ใช้เวลานานแค่ไหนในการตรวจโรคเริม?

      ไวรัสเริมมี 2 ประเภทหลัก: ประเภท 1 ที่เรียกว่าเริมในช่องปาก และประเภท 2 ที่เรียกว่าเริมที่อวัยวะเพศ ประเภทแรกทำให้เกิดแผลรอบปากและริมฝีปาก ประเภทที่สองทำให้เกิดแผลบริเวณอวัยวะเพศ ทั้งสองมีความแตกต่างกัน แต่ปัจจุบัน เนื่องจากเพศสัมพันธ์มีการสัมผัสระหว่างปากและอวัยวะเพศ ทำให้เริมในช่องปากก็สามารถติดที่อวัยวะเพศได้

      ระยะเวลาฟักตัวของ HSV1 และ HSV2 (โรคเริม ): ระยะฟักตัวเริ่มต้นของเชื้อโรคเริมอยู่ระหว่าง 2 ถึง 12 วัน โดยเฉลี่ย 4 วัน เมื่อถุงน้ำแตกจะทำให้เกิดแผลจะใช้เวลา 2 ถึง 4 สัปดาห์ในการที่แผลจะอาการดีขึ้น

      ระยะเวลาตรวจไม่พบเชื้อของ HSV1 และ HSV2 (โรคเริม): ระยะเวลา seroconversion ของ STD อยู่ที่ 3 ถึง 6 สัปดาห์ นี่เป็นเวลาที่จำเป็นให้คนผลิตแอนติบอดีที่สามารถตรวจพบได้โดยการทดสอบ ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่รายงานว่าแอนติบอดีตรวจเจอหลังติดเชื้อประมาณ 16 สัปดาห์

      แต่ปัจจุบัน เราสามารถใช้ชุดตรวจ DNA ของเชื้อ เพื่อยืนยันการติดเชื้อได้ทันทีตั้งแต่เริ่มมีอาการ และมีความแม่นยำสูง (อ่านต่อ : แพคเกจตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วยวิธี Multiplex PCR แม่นยำสูง)

      ใช้เวลานานแค่ไหนในการตรวจโรคซิฟิลิส?

      นี่คือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากแบคทีเรีย มันเริ่มจากแผลที่ไม่มีอาการเจ็บปวดซึ่งมักจะปรากฎที่อวัยวะเพศ ทวารหนัก และปาก แบคทีเรียนี้สามารถอยู่ในร่างกายนานหลายปีหลังจากติดเชื้อ

      ระยะเวลาฟักตัวโรคซิฟิลิส: การพัฒนาโอกาสเป็นด่านหลักของการติดเชื้อนี้ ในคณะที่ระยะฟักตัวของซิฟิลิสอยู่ที่เฉลี่ย 21 วัน แต่อาการสามารถปรากฎได้ตลอดเวลาระหว่าง 10 ถึง 90 วัน

      ระยะเวลาตรวจไม่พบเชื้อของโรคซิฟิลิส: 3 ถึง 6 สัปดาห์โดยทั่วไป แต่แหล่งข้อมูลส่วนใหญ่แนะนำให้ไปทดสอบหลังจากติดเชื้อ 90 วัน

      แต่ปัจจุบัน เราสามารถใช้ชุดตรวจ DNA ของเชื้อ เพื่อยืนยันการติดเชื้อได้ทันทีตั้งแต่เริ่มมีอาการ และมีความแม่นยำสูง (อ่านต่อ : แพคเกจตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วยวิธี Multiplex PCR แม่นยำสูง)

      ใช้เวลานานแค่ไหนในการตรวจโรคพยาธิในช่องคลอด Trichomonas vaginalis?

      ระยะเวลาฟักตัวของโรคพยาธิในช่องคลอด: ระยะเวลาอยู่ในช่วง 5 ถึง 28 วันหลังติดเชื้อ เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกาย จะใช้เวลาระยะหนึ่งก่อนจะแสดงอาการ แม้ว่าผู้ชายและผู้หญิงส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อโรคพยาธิในช่องคลอดจะไม่แสดงอาการใดๆ แต่บางคนจะแสดงสัญญาณ

      ผู้หญิงจะมีอาการปวดระหว่างปัสสาวะและมีเพศสัมพันธ์ อวัยวะเพศจะมีสีแดงและคัน และยังมีการตกขาวที่มีกลิ่นเหม็นซึ่งมีสีต่างๆ จากสีขาวไปจนสีเขียว ผู้ชายจะมีการระคายเคืองภายในองคชาตและยังรู้สึกปวกแสบปวดร้อนระหว่างปัสสาวะและมีเพศสัมพันธ์

      ระยะเวลาตรวจไม่พบเชื้อของโรคพยาธิในช่องคลอด: คุณสามารถเข้ารับการตรวจโรคที่รักษาง่ายที่สุดนี้ระหว่าง 3 ถึง 7 วันหลังติดเชื้อ

      ตารางสรุประยะเวลาที่สามารถตรวจพบโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วยวิธีต่างๆ

      ชื่อโรค ระยะเวลาฟักตัว
      (Incubation period) (วัน)
      ระยะเวลาที่ตรวจไม่พบเชื้อ
      หรือ วินโดว์พีเรียด
      (Window period) (วัน)
      ระยะเวลาที่ตรวจได้ด้วยชุดตรวจ Multiplex PCR (วัน)
      โรคคลามิเดีย (หนองในเทียม) 7-21 1-5 ทันทีที่ได้รับเชื้อ
      หนองในแท้ (Gonorrhea) 1-14 2-6 ทันทีที่ได้รับเชื้อ
      ไวรัสตับอักเสบ A : 15-50
      B : 45-160
      C : 14-180
      A : 2-7 (สัปดาห์)
      B : 6 (สัปดาห์)
      C : 8-9 (สัปดาห์)
      ตรวจไม่ได้
      ไวรัส HIV 2-4 (สัปดาห์) 20-90 ตรวจไม่ได้
      เริม 2-12 3-6 (สัปดาห์) ทันทีที่มีอาการแผลที่อวัยวะ
      ซิฟิลิส 10-90 90 ทันทีที่มีอาการแผลที่อวัยวะ
      พยาธิในช่องคลอด Trichomonas vaginalis 5-28 3-7 ทันทีที่มีอาการ

      จะเห็นได้ว่าการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์นั้นมีหลายวิธีให้เลือก ตั้งแต่วิธีที่ใช้กันมานาน แต่ความแม่นยำต่ำ จนถึงวิธีที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถตรวจได้เร็วและแม่นยำสูง ซึ่ง ณ ปัจจุบัน วิธีที่สามารถตรวจได้เร็วและแม่นยำที่สุดก็จะเป็นการตรวจ Multiple PCR ที่สามารถตรวจหา DNA ของเชื้อได้อย่างแม่นยำแม้เชื้อจะตายแล้ว

      แต่อย่างไรก็ดี แต่ละวิธีก็จะมีความแตกต่างกันทั้งในเรื่องของราคา และช่วงเวลาที่ใช้ในการอ่านและแปลผล ดังนั้น ก่อนจะเลือกวิธีการตรวจ สามารถปรึกษาเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญของ เฮลท์สไมล์ ก่อนได้ โดย เฮลท์สไมล์ จะใช้เทคนิคการตรวจ Multiplex PCR ที่สามารถเก็บสิ่งส่งตรวจจากช่องคลอด แผลที่อวัยวะเพศ หรือปัสสาวะได้ง่ายๆ มีความแม่นยำสูงเทียบเท่ากับการเก็บสิ่งส่งตรวจโดยแพทย์ (อ้างอิง) พร้อมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาและยาส่งถึงบ้าน

      Last Updated on 20 เมษายน 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์

      ✅✅✅✅✅

      หากมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับอวัยวะเพศ ปัสสาวะแสบขัด ตกขาว มีแผล หรือมีความเสี่ยงที่มีคู่นอนหลายคน หรือ คู่นอนของเรามีคนอื่นด้วย

      แนะนำตรวจและรักษาให้ตรงจุด

      ด้วยชุดตรวจโรคทางเพศด้วยตนเอง

       

      รูปชุดตรวจ STD

      หากต้องการตรวจเพื่อยืนยันการติดเชื้อ หรือรักษาอาการผิดปกติเกี่ยวกับอวัยวะเพศ ด้วยเทคโนโลยีที่มีความแม่นยำสูง สามารถรักษาให้หายขาดได้ เฮลท์สไมล์ มีให้บริการชุดตรวจด้วยตนเองที่บ้าน ครอบคลุมเชื้อที่ทำให้เกิดแผลที่อวัยวะเพศสูงสุดถึง 14 โรค มีความแม่นยำมากกว่า 95%

      เรามีแพคเกจตรวจโรคและความผิดปกติเกี่ยวกับอวัยวะเพศ ให้เลือกอยู่ 4 แพคเกจ

      * ทุกแพคเกจ มีแพทย์เฉพาะทางที่ปรึกษาด้านสูตินรีเวช เพื่อแนะนำการรักษา
      * ทุกแพคเกจ รวมค่ายารักษาตามโรคที่พบส่งฟรีถึงบ้านโดยเภสัชกร

        1. แพคเกจปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อการรักษา : 900 บาท
          เหมาะกับคนที่ยังไม่เคยรักษา ต้องการรักษาด้วยตนเอง แพทย์แนะนำยา แนะนำการรักษา การดูแลตนเองหลังรักษาป้องกันการเป็นซ้ำ
        2. แพคเกจตกขาวผิดปกติ 7 โรค : 2,490 บาท
          สำหรับคนที่มีอาการปัสสาวะผิดปกติ หรือตกขาวผิดปกติ
          ตรวจได้ 7 เชื้อ ได้แก่
          – หนองในแท้
          – หนองในเทียม (5 ชนิด)
          – พยาธิในช่องคลอด
        3. แพคเกจแผลที่อวัยวะเพศ 11 โรค : 2,990 บาท
          สำหรับคนที่มีแผล หรือก้อนที่อวัยวะเพศ
          ตรวจได้ 11 เชื้อ ได้แก่
          แพคเกจที่ 2. + เพิ่ม
          – เริม (2 ชนิด)
          – ซิฟิลิส
          – แบคทีเรียในช่องคลอด
        4. แพคเกจตรวจครบ 15 โรค : 3,290 บาท *** แนะนำ ***
          สำหรับมารดาที่มีตกขาวผิดปกติ แนะนำให้ตรวจโรคแบบครบรอบด้าน
          ตรวจได้ 14 เชื้อ ได้แก่
          แพคเกจที่ 3. +เพิ่ม
          – แผลริมอ่อน
          – เชื้อรา (2 ชนิด)
          – เชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด (2 ชนิด) รวมไปถึงเชื้อ GBS (Group B Streptococcus) ซึ่งส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์ได้รุนแรง

      📞 สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และนัดหมายการตรวจได้ที่
      – Line ID : @Sex.Disease
      หรือคลิกได้ที่ลิงค์นี้
      https://link.healthsmile.co.th/add-line/STD-content

      🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจโรคทางเพศ และการรักษา ได้ที่นี่
      https://healthsmile.co.th/mens-sti-clinic/
      https://healthsmile.co.th/womens-sti-clinic/

      ✅✅✅✅✅

      package STD price
      สูตินรีแพทย์ ที่สนใจด้านโครโมโซม ยีน DNA และการตรวจสุขภาพเชิงลึก ให้การดูแลมารดาตั้งครรภ์ ตรวจความผิดปกติของทารกในครรภ์ รักษาสุขภาพทางเพศ และให้ความรู้ด้านการตรวจยีนสุขภาพ การศึกษา - สถานะความรู้ความชำนาญเฉพาะทางที่แพทยสภารับรอง : สาขา สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ( Obstetrics and Gynaecology ) - ประกาศนียบัตรฯ ที่แพทยสภารับรอง : ด้านเวชศาสตร์จีโนมเบื้องต้นสำหรับแพทย์เฉพาะทาง

      Last Updated on 20 เมษายน 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์