Last Updated on 17 กรกฎาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์
Last Updated on 17 กรกฎาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์
ยาอะไรบ้าง ที่ส่งผลต่อการตรวจคัดกรองโครโมโซม NIPT, NIFTY
มีคุณแม่หลายๆท่าน ที่สงสัย ว่าการกินยารักษาโรคประจำตัว หรือยาต่างๆ จะส่งผลต่อการตรวจคัดกรองโครโมโซมด้วย NIPT หรือ NIFTY หรือไม่อันที่จริงแล้ว มีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลต่อการตรวจ
NIPT หรือ NIFTY ได้แก่ โรคประจำตัวของมารดา(บางโรค), ภาวะโรคอ้วน, การเกิด Vanishing twins หรือ Mosaicism ของรก ฯลฯ ซึ่งสามารถอ่านได้จากบทความนี้ : 7 สาเหตุ ที่อาจทำให้ผลตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม (NIPS, NIPT, NIFTY) ผิดพลาด
แต่สำหรับบทความนี้ เราจะมุ่งเน้น เรื่องของยา ที่อาจส่งผลต่อการตรวจ NIPT ได้ ดังนี้
ยาที่ส่งผลต่อปริมาณ fetal fraction ของ DNA ทารกในเลือดคุณแม่
Fetal fraction คือ ปริมาณชิ้นส่วนของ DNA ของทารกในครรภ์ ที่หลุดลอยอยู่ในเลือดของคุณแม่ โดย Fetal fraction ของทารกในครรภ์ควรจะมีปริมาณมากกว่า 4% จึงจะสามารถรายงานผลได้
ยาเบาหวาน Metformin (1)
ชื่อการค้า เช่น Diamet, Formin, Glucomet, Glucophage, Gluformin, ฯลฯ
ส่งผลให้ %fetal fraction ลดลง
การรับประทานยาเพื่อการรักษาโรคประจำตัวตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป (two or more medications) (1)
ส่งผลให้ %fetal fraction ลดลง
ยาละลายลิ่มเลือด ชนิด low molecular weight heparin (LMWH) (2)
ได้แก่ Enoxaparin (Clexane) , dalteparin (Fragmin), tinzaparin (Innohep) ซึ่งยาเหล่านี้ ใช้เพื่อป้องกันและรักษาภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นในหลอดเลือดดำ หรือโรคหัวใจ
ยากลุ่มนี้ อาจจะทำให้รายงานผลตรวจ NIPT ไม่ได้
รับประทานยาต่างๆอยู่ สามารถตรวจ NIPT ได้หรือไม่
ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าคุณแม่จะได้รับยาดังกล่าวข้างต้น ก็ไม่ได้เป็นข้อห้ามในการเข้ารับการตรวจ NIPT แต่อย่างใด และหากว่ารายงานผลได้ (% fetal fraction มีเพียงพอ) ผลที่ได้ ก็จะมีเปอร์เซ็นต์ความแม่นยำไม่ได้แตกต่างไปจากคุณแม่ที่ไม่ได้รับประทานยาดังกล่าวแต่อย่างใด
ยาที่คุณแม่ถามบ่อยๆ ว่าสามารถรับประทานร่วมกับการตรวจ NIFTY หรือ NIPT ได้หรือไม่
ชื่อยา หรือกลุ่มยา | สามารถรับประทานก่อนตรวจ NIPT หรือ NIFTY ได้หรือไม่ |
|
ได้ |
มีไข้ ตรวจ NIPT หรือ NIFTY ได้หรือไม่
ตามข้อมูลทางการแพทย์แล้ว สามารถตรวจได้โดยไม่ได้ส่งผลต่อความแม่นยำของการตรวจ แต่เราแนะนำว่า คุณแม่ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการไข้ และรักษาให้หายดีก่อนการตรวจ ก็จะดีที่สุด
References
Kuhlmann-Capek, M., Chiossi, G., Singh, P., Monsivais, L., Lozovyy, V., Gallagher, L., Kirsch, N., Florence, E., Petruzzi, V., Chang, J., Buenaventura, S., Walden, P., Gardner, B., Munn, M., & Costantine, M. (2019). Effects of medication intake in early pregnancy on the fetal fraction of cell‐free DNA testing. Prenatal Diagnosis, 39(5), 361–368. https://doi.org/10.1002/pd.5436
Wardrop, J., Dharajiya, N., Boomer, T., McCullough, R., Monroe, T., & Khanna, A. (2016). Low molecular weight heparin and noninvasive prenatal testing [22C]. Obstetrics and Gynecology, 127(Supplement 1), 32S. https://doi.org/10.1097/01.aog.0000483371.41616.e2
✅✅✅✅✅
เฮลท์สไมล์ บริการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ และตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ ครบ 23 คู่ทุกโครโมโซมที่มีในมนุษย์ รู้เพศ และโรคอื่นๆที่เกิดจากการขาด/เกินของโครโมโซมขนาดเล็กได้มากถึง 92 โรค กับ Brand NIFTY® และ NGD NIPS
✔ ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมอื่นๆ ผลแม่นยำสูง 99.9%
✔ เจาะเลือดเพียง 10 ซีซี ไม่เสี่ยงแท้ง
✔ ราคาคุ้มค่า ประหยัด ค่าบริการเริ่มต้นที่ 9,500 บาท รวมค่าบริการเจาะเลือดถึงบ้าน และแพทย์อ่านผลให้ทุกเคส
✔ สะดวก สบาย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ลดความเสี่ยงจากการเดินทางออกนอกสถานที่
✔ บริการตรวจถึงบ้านทั่วประเทศ ฟรี
✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @Healthsmile
📞 โทร : 089 874 9565
🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของทารกในครรภ์ ได้ที่นี่ https://healthsmile.co.th/prenatal-screening/