เนื้อหาในบทความนี้

ประกันของการตรวจ NIFTY Focus , NIFTY Core และ NIFTY Pro มีรายละเอียดอย่างไร อย่างไหนจ่าย อย่างไหนไม่อยู่ในประกัน?

ประกันของการตรวจ NIFTY มีข้อกำหนดอย่างไรบ้าง เบิกจ่ายอย่างไร เตรียมเอกสารอะไรบ้าง

สำหรับคุณแม่ที่เลือกความมั่นใจให้กับคนในครอบครัว ด้วยการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมของทารกในครรภ์ ด้วยวิธีที่มีความแม่นยำสูง 99.9% ไม่ว่าจะเป็น NIFTY focus, NIFTY Core หรือ NIFTY pro หรือว่าแบรนด์อื่นๆ เช่น NGD NIPS, Thai NIPs ฯลฯ ก็จะพบว่าแต่ละบริษัท แต่ละแบรนด์จะมีประกันความผิดพลาดของการตรวจ และประกันการเจาะน้ำคร่ำกรณีผลตรวจคัดกรองผิดปกติ

ในบทความนี้ เราจะมาทำความเข้าใจกันให้เห็นชัด โดยเฉพาะแบรนด์ NIFTY ว่ามีประกันอะไรบ้าง และมีข้อจำกัดหรือว่าผลแบบใดบ้างที่ไม่อยู่ในประกันดังกล่าว

ประกันของ NIFTY มีอะไรบ้าง

(ข้อมูลนี้มีผลตั้งแต่ 10 พฤษภาคม 2561 : Update ข้อมูลล่าสุดเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2565)

(Updated 20 February 2022)

1. วงเงินชดเชยค่าเจาะน้ำคร่ำ กรณีผลเป็นความเสี่ยงสูง (High Risk)

  • NIFTY Focus 12,500 บาท
  • NIFTY Core 12,500 บาท
  • NIFTY Twin 20,000 บาท
  • NIFTY Pro 25,000 บาท

ด้านบนนี้คือเงินประกัน ในกรณีที่ผลตรวจออกมาว่ามีความเสี่ยงสูงที่ลูกจะเป็นดาวน์ซินโดรม (High risk) หรือมี High risk ในโครโมโซมต่างๆที่แพคเกจแต่ละแพคเกจตรวจได้ จึงจำเป็นต้องตรวจยืนยันด้วยการเจาะน้ำคร่ำ (Amniocentesis) ซึ่งทาง NIFTY จะเป็นผู้ออกค่าเจาะและค่าตรวจน้ำคร่ำให้ตามจริง โดยไม่เกินวงเงินดังกล่าว

โดย High risk ในที่นี้นั้น ครอบคลุมไปทุก 23 คู่โครโมโซม และ microdeletion/duplication syndrome ทั้ง 84 โรค (กรณี NIFTY Pro) ที่รายงานผลว่า high risk เลยทีเดียว จะเห็นได้ว่า การเลือกเจาะ NIFTY นั้นมีความคุ้มค่ามากพอสมควร เพราะว่าหากเจาะแล้วพบว่าเป็น High risk ก็แทบจะไม่ต้องเสียค่าเจาะน้ำคร่ำอีก ดังนั้นในกรณีคุณแม่มีอายุครรภ์มากกว่า 35 ปี ที่อาจจำเป็นต้องเจาะน้ำคร่ำนั้น ทางเลือกของการตรวจ NIFTY (หรือ NIPT, NIPS แบรนด์อื่นๆที่มีประกันให้) จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจมาก เนื่องจากไม่เสี่ยงต่อการแท้งบุตร และหากพบความผิดปกติ ก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินเพิ่มด้วย

2. วงเงินชดเชยกรณีผลลบลวง (False negative)

  • หลังคลอด 2,000,000 บาท
  • ก่อนคลอด 100,000 บาท
  • ครอบคลุมความผิดปกติที่ตรวจได้ในแต่ละ package รวมถึง duplication / deletion syndrome ที่มีขนาดมากกว่า 5 Mb (NIFTY Pro)
  • **กรุณาอ่านข้อมูลเพิ่มเติมในใบยินยอมการตรวจ

ข้อนี้เป็นข้อที่ค่อนข้างกว้าง และมีคุณแม่หลายๆท่านถามเข้ามามากพอสมควร เนื่องจากในใบเซนต์ยินยอมการตรวจนั้น บางแห่งจะเป็นภาษาอังกฤษ 100% นอกจากนี้หลังเซนต์เรียบร้อยแล้ว ก็ไม่ได้มีใบสำเนาให้กับคุณแม่ได้เก็บไว้ด้วย (ซึ่งทางบริษัท เฮลท์สไมล์ จำกัด ได้แนบไฟล์เพื่อให้คุณแม่ได้อ่านฉบับเต็มไว้แล้วที่นี่ ภาษาไทย / ภาษาอังกฤษ Update กุมภาพันธ์ 2565)

ข้อจำกัด ที่ NIFTY ไม่รับประกัน มีดังนี้

  • ความผิดปกติที่เกิดจาก chromosomal polyploid (triploid, tetraploid ฯลฯ )
  • ความผิดปกติในการจัดโครงสร้างของโครโมโซม (balance or unbalance translocation)
  • ภาวะที่ชิ้นส่วนของโครโมโซมสลับตาแหน่งกัน (chromosome inversion)
  • ความผิดปกติแบบที่ปลายของโครโมโซมเชื่อมติดกัน (ring)
  • ภาวะที่ทารกได้รับชิ้นส่วนโครโมโซมมาจากพ่อหรือแม่เพียงผู้เดียว Uniparental disomy (UPD)
  • ความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เกิดจากยีนเดียวหรือหลายๆยีน (monogenic/polygenic disease)
  • โรคที่เกิดจากการที่มีภาวะโครโมโซมปกติ และผิดปกติปะปนกัน (Mosaicism)

สาเหตุของผลบวกลวง หรือผลลบลวง

สาเหตุของผลบวกลวง หรือผลลบลวง ส่วนมากเกิดจากหลายภาวะ เช่น

  • การที่รก, มารดา หรือตัวทารกเอง มีภาวะ Mosaicism (มีโครโมโซมปกติและผิดปกติปะปนกัน)
  • ความผิดปกติของโครโมโซมที่มีในบิดาหรือมารดาอยู่ก่อนแล้ว
  • มีประวัติผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ
  • เคยรักษาโรคโดยใช้ stem cell
  • การที่บิดาหรือมารดาเคยมีประวัติการได้รับเลือดภายใน 1 ปีก่อนส่งตรวจ
  • การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด
  • การที่ผล ultrasound บ่งชี้ถึงความผิดปกติ
  • เนื้องอกร้ายแรงระหว่างการตั้งครรภ์
  • ทารกในครรภ์มีมากกว่า 2 คน

เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่อาจทำให้ผลการตรวจผิดพลาดได้จากการมี DNA จากแหล่งอื่นปะปน

Vanishing twins

นอกจากนั้น NIFTY test ยังไม่สามารถรับสิ่งส่งตรวจจากครรภ์แฝดที่ทารกคนหนึ่งเสียชีวิตหรือหยุดพัฒนาหลังการตั้งครรภ์ไปแล้ว 8 สัปดาห์ (vanishing twin syndrome) หรือสิ่งตรวจที่ส่งภายใน 8 สัปดาห์หลังจากตรวจพบ vanishing twin ก็ไม่สามารถส่งตรวจ NIFTY ได้เช่นกัน

เปอร์เซนต์ของโครโมโซมของทารกในกระแสเลือดของมารดา fetal cfDNA (%) ไม่เพียงพอ

อีกกรณีหนึ่งที่สำคัญคือ การมีปริมาณของโครโมโซมของทารกในกระแสเลือดของมารดาไม่เพียงพอ เหล่านี้ส่งผลกระทบต่อผลการตรวจ NIFTY ได้ และในส่วนของการระบุเพศของทารกนั้นอาจจะมีความผิดพลาดได้เช่นกันหากผลการวิเคราะห์อยู่ในช่วง Gray zone

ขั้นตอนการขอเงินชดเชย กรณีที่ต้องเจาะน้ำคร่ำ (กรณีตรวจพบ High risk)

ถ้าเกิดกรณี high risk ขึ้น ทางนิฟตี้จะมีการส่งเอกสาร letter of authorization ให้กับทางคลินิก หรือโรงพยาบาลที่คุณแม่ฝากครรภ์อยู่ได้เตรียมไว้ให้คุณแม่เซ็นต์ เพื่อเข้ารับการเจาะน้ำคร่ำตรวจยืนยันผล ซึ่งคุณแม่จะต้องสำรองจ่ายไปก่อน

หลังจากเจาะน้ำคร่ำเสร็จ และได้ผลตรวจน้ำคร่ำเรียบร้อยแล้ว คุณแม่จะต้องเตรียมเอกสารส่ง เพื่อรับเงินชดเชยการเจาะน้ำคร่ำ ดังนี้

  • ผลการตรวจ NIFTY
  • สำเนาผลการเจาะน้ำคร่ำ
  • สำเนาใบเสร็จการเจาะน้ำคร่ำค่ะ (กรณีนี้ทางบริษัทจ่ายคนไข้จริงตามใบเสร็จในวงเงินที่บริษัทกำหนดและตามเเพคเกจต่างๆ)
  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาหน้า Book Bank คนไข้ที่จะให้ทำการโอนเงินให้
  • Letter of authorization ชุดเอกสารการประกันที่ทางบริษัทส่งไปให้คนไข้เซ็นต์

ระยะเวลาหลังจากรอประกันเคลมใช้เวลาประมาณ 1 เดือน

หากคุณแม่เลือกตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมกับทางบริษัท เฮลท์สไมล์ ของเรา คุณแม่สามารถติดต่อกับ Admin เพื่อให้ช่วยประสานงานด้านการส่งเอกสารเพื่อเคลมประกันต่างๆได้เลยค่ะ

อ่านต่อ : กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม (Down’s syndrome)

อ่านต่อ : การตรวจสารพันธุกรรมทารกในครรภ์ (Cell-free fetal DNA)

อ่านต่อ : ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม (Down’s Syndrome Screening) ด้วย NIPT


ตรวจดาวน์ซินโดรม คลิกที่นี่ บริการถึงบ้านทั่วประเทศ

หากมีคำถามใดๆเกี่ยวกับเนื้อหาในบทความ สามารถกรอกคำถามไว้ที่แบบฟอร์มด้านท้ายของบทความ ทางทีมงานเฮลท์สไมล์ของเราจะรีบตอบกลับให้เร็วที่สุดค่ะ

ตรวจนิฟตี้ ราคาประหยัด

หากต้องการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมครบ 23 คู่ รู้เพศ และโรคอื่นๆได้มากถึง 94 โรคกับ Brand NIFTY®️ หรือ NGD NIPS

📞 สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และนัดหมายการตรวจได้ที่ Line ID : @Healthsmile
หรือคลิกได้ที่ลิงค์นี้ https://link.healthsmile.co.th/add-line/NIFTY-content

🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของทารกในครรภ์ ได้ที่นี่ https://healthsmile.co.th/prenatal-screening/

คุณแม่ทุกคนอยากให้ลูกในครรภ์สมบูรณ์ แข็งแรง ไม่มีความผิดปกติ ไม่เป็นดาวน์ซินโดรม หรืออาการผิดปกติอื่นๆ ดังนั้นการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ซึ่งมีหลายการตรวจจึงเป็นเรื่องสำคัญ

✅✅✅✅✅

6 Comments

  1. NIFTY ไม่ต้องตรวจไกลถึงที่ฮ่องกงแล้ว! 12 มีนาคม 2022 at 17:32 - Reply

    […] อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันของ NIFTY… […]

  2. ผลตรวจ NIFTY หรือ ผลตรวจ NIPT ผิดปกติ ต้องทำอย่างไรต่อ? 16 มิถุนายน 2022 at 18:55 - Reply

    […] อ่านเพิ่มเติม : ประกันของการตรวจ NIFTY Focus , NIFTY Core และ NIFTY Pro มี… […]

  3. […] ทุกการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมที่เฮลท์สไมล์ให้บริการ มีประกันกรณีพบความเสี่ยงสูงและต้องยืนยันด้วยการเจาะน้ำคร่ำ ตั้งแต่ 10,000-25,000 บาท และมีประกันความผิดพลาด (False negative) ทุกแพคเกจ ตั้งแต่ 1-2 ล้านบาท พร้อมทีมงานช่วยเช็คเอกสารให้คุณแม่ก่อนยื่นเพื่อรับเงินประกัน (อ่านต่อ : ประกันของการตรวจ NIFTY Focus , NIFTY Core และ NIFTY Pro มี…) […]