Last Updated on 20 เมษายน 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์
เนื้อหาในบทความ
- โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์คืออะไร?
- หากเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แล้วไม่ได้รับการรักษา จะเกิดอะไรขึ้น?
- ภาวะมีบุตรยาก
- ภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์
- เพิ่มความเสี่ยงต่อการทำให้อวัยวะเสียหาย และอาจเกิดโรคมะเร็งได้
- แพร่เชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ไปยังคู่ของคุณ
- มีโอกาสรับเชื้อโรคติดต่อชนิดอื่นๆเพิ่มเติม
- จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์?
- About the Author: นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์
Last Updated on 20 เมษายน 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์
หากคุณหรือคู่นอนของคุณมีอาการผิดปกติของอวัยวะเพศ เช่น ปัสสาวะแสบขัด ตกขาวผิดปกติ มีแผลที่อวัยวะเพศ หรือมีอาการของโรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คุณอาจติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ โดยส่วนใหญ่ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สามารถรักษาได้ด้วยยา แต่เนื่องจากมีเชื้อที่ทำให้เกิดโรคอยู่หลายชนิด จึงจำเป็นต้องตรวจเพื่อทำการรักษาให้ตรงจุด
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์คืออะไร?
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์คือการติดเชื้อที่แพร่กระจายระหว่างคู่นอนผ่านกิจกรรมทางเพศที่อวัยวะเพศ เช่น การมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก หรือการมีเพศสัมพันธ์ทางปาก โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่คุณอาจเคยได้ยิน ได้แก่ หนองใน (Gonorrhea) หนองในเทียม เริมที่อวัยวะเพศ ซิฟิลิส HPV และ HIV
ถึงแม้จะมีวิธีการป้องกันโรคติดต่อทางเพศที่มีประสิทธิภาพสูง ได้แก่ การใส่ถุงยางอนามัย แต่คนส่วนใหญ่ก็มักจะละเลยการป้องกัน ส่วนเมื่อมีการติดโรคแล้วบางโรคแทบจะไม่มีอาการแสดงออก ทำให้คนที่การประมาทในสังเกตความผิดปกติของร่างกาย และเข้ารับการรักษาล่าช้าอาจนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ร้ายแรง
หากเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แล้วไม่ได้รับการรักษา จะเกิดอะไรขึ้น?
หากได้รับการรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ถูกวิธี อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงกับคุณและคู่นอนของคุณ ทั้งในปัจจุบันหรือในอนาคตได้ ต่อไปนี้คือตัวอย่างปัญหาที่อาจเกิดขึ้นเมื่อคุณไม่ได้รับการดูแลทางการแพทย์สำหรับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ภาวะมีบุตรยาก
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หลายชนิด เช่น หนองในแท้ หนองในเทียม และซิฟิลิส สามารถทำให้ผู้หญิงและผู้ชายมีบุตรยากได้ ในผู้หญิงเชื้อโรคเหล่านี้สามารถทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่าอุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic Inflammatory Disease : PID) ทำให้อวัยวะสืบพันธุ์ของผู้หญิงมีการอักเสบ ซึ่งสามารถทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากได้เนื่องจากทำให้ท่อนำไข่เกิดแผลเป็นและไม่สามารถนำไข่เข้ามาในโพรงมดลูกได้ และในผู้ชายการติดเชื้ออาจทำให้อัณฑะอักเสบ ท่ออสุจิอักเสบ เกิดความเสียหายต่อลูกอัณฑะซึ่งสร้างน้ำอสุจิ และเกิดการอุดตันของท่อน้ำอสุจิในผู้ชาย ทำให้ขัดขวางการหลั่งของสเปิร์มและมีบุตรยากได้
โดยเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์นั้น อาจทำให้มีอาการหรือไม่มีอาการก็ได้ ดังนั้น หากสงสัยว่าจะติดเชื้อ ควรที่จะตรวจคัดกรองด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ โดยในประเทศที่เจริญแล้ว เช่น อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา จะมีชุดการตรวจคัดกรองด้วยตนเองที่บ้าน สามารถเก็บสิ่งส่งตรวจด้วยตนเองและส่งไปยังศูนย์แลปเพื่อทำการวินิจฉัยได้
อ่านเพิ่ม : Chlamydia trachomatis โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อาการน้อย แต่ปัญหาเยอะ
ตัวอย่างชุดตรวจด้วยตนเองของประเทศอังกฤษ : https://www.healthline.com/health/at-home-std-test
ภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์
ในผู้หญิง โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนกับการตั้งครรภ์ได้ เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์นอกมดลูก การแท้งบุตร การคลอดก่อนกำหนด และการคลอดมีปัญหาเพิ่มขึ้น เช่น กรณีเป็นเริมที่ช่องคลอด อาจจะไม่สามารถคลอดบุตรธรรมชาติทางช่องคลอดได้ เป็นต้น
นอกจากนี้ คุณผู้หญิงสามารถถ่ายทอดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางอย่างไปยังทารกของคุณในครรภ์หรือระหว่างการคลอด ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงหรือถึงแก่ชีวิตได้ โดยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่คุณสามารถส่งต่อได้ ได้แก่ เริมที่อวัยวะเพศ หนองใน ซิฟิลิส และเอชไอวี
อ่านเพิ่ม : Group B Streptococcus เชื้ออันตรายสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ และทารก
เพิ่มความเสี่ยงต่อการทำให้อวัยวะเสียหาย และอาจเกิดโรคมะเร็งได้
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้รับการรักษา สามารถเจริญเติบโตในร่างกายของคุณโดยไม่ได้รับการตรวจเป็นเวลาหลายปี และทำให้เกิดโรคร้ายแรงหรือถึงตายได้ ตัวอย่างเช่น คนที่ติดเชื้อ HPV สามารถเป็นมะเร็งปากมดลูกหรือมะเร็งทวารหนักได้ ในขณะที่ซิฟิลิสอาจทำให้ตาบอด สมองเสื่อม และหัวใจหรือไตเสียหายได้
แพร่เชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ไปยังคู่ของคุณ
หากไม่ได้รับการรักษาหอย่างเหมาะสม เช่น อาจไปซื้อยามารับประทานเองโดยไม่ได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง อาการต่างๆอาจจะดีขึ้นได้ชั่วครั้งคราว แต่เชื้อที่ไม่ได้รับการรักษานั้นจะมีอยู่ และอาจส่งต่อไปยังคู่นอนของคุณโดยไม่รู้ตัว ซึ่งถึงแม้ว่าคุณจะมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยอยู่เสมอก็ตาม(ใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้ง) แต่ความเสี่ยงของการแพร่เชื้อยังคงอยู่ เนื่องจากเชื้ออาจอยู่นอกบริเวณที่ป้องกันโดยถุงยางอนามัยได้เช่นกัน
มีโอกาสรับเชื้อโรคติดต่อชนิดอื่นๆเพิ่มเติม
การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่เกิดจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกโรค จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดอื่นๆเพิ่มได้อีก ตัวอย่างเช่น การมีแผลเปิดในบริเวณอวัยวะเพศจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีได้ง่ายขึ้น
จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์?
เนื่องจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางอย่างจะไม่แสดงอาการในตอนแรก วิธีเดียวที่จะทราบได้อย่างแน่นอนว่าคุณมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือไม่ก็คือการตรวจด้วยวิธีที่มีความแม่นยำสูง ซึ่ง ณ ปัจจุบัน วิธีที่มีความแม่นยำสูง คือการตรวจหา DNA ของเชื้อ ด้วยวิธี NAAT หรือ PCR ซึ่งใช้หลักการเดียวกันกับการตรวจ COVID PCR ที่มีความแม่นยำสูงเช่นกัน โดยแนะนำให้รับการตรวจเมื่อ
-
- เมื่อมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับอวัยวะเพศ
-
- ทุกครั้งที่คุณมีคู่นอนใหม่
-
- คุณไม่ได้ตรวจมาเป็นระยะเวลานาน
-
- มีคู่นอนหลายคน
-
- หรือไม่เคยตรวจมาก่อน
สิ่งสำคัญคือต้องตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เสมอ หากคุณพบอาการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น ได้แก่ มีไข้ ตุ่มหรือแผลที่บริเวณอวัยวะเพศ รู้สึกแสบร้อนขณะปัสสาวะ ตกขาว และความรู้สึกไม่สบายทั่วไปอื่นๆ คล้ายกับการเป็นไข้หวัด
และเนื่องจากเหตุผลที่ว่า การติดเชื้อหลายๆอย่างไม่มีอาการแสดงใดๆให้เห็น ดังนั้น องค์การอนามัยโลก จึงได้สนับสนุนให้มีการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วยตนเอง เนื่องจากโรคเหล่านี้ทำให้เกิดผลเสียได้มาก
ถ้าคุณเคยมีเพศสัมพันธ์ หรือกำลังมีความสัมพันธ์ที่เสี่ยง อย่างการมีพาร์ทเนอร์ใหม่ หรือควรให้ความสำคัญกับความผิดปกติเกี่ยวกับอวัยวะเพศ และรีบเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยเร็วหากมีความผิดปกติ
ในท้ายที่สุด การรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มีความสำคัญอย่างยิ่งในการรักษาสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ การประมาทไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของคุณเอง แต่อาจมีผลกระทบต่อคนที่คุณรักและสังคมโดยรวม ดังนั้น แนะนำให้ให้ความสำคัญกับการตรวจสุขภาพทางเพศ โดยสามารถซื้อชุดตรวจโรคติดต่อทางเพศมาตรวจได้เองที่บ้าน เพื่อให้สามารถเข้ารับการรักษาได้อย่างรวดเร็ว ลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆจากโรคได้
ผู้อ่านท่านใดที่กำลังคิดว่า ไม่ต้องรับการตรวจรักษา เพราะคิดว่าตนเองไม่มีอาการ หรือคิดว่าไม่เคยมีสัมพันธ์ทางเพศที่เสี่ยง ขอให้ท่านลองพิจารณาใหม่ ไม่มีอะไรที่สำคัญกว่าสุขภาพของตัวเราเอง และไม่มีใครที่สามารถดูแลสุขภาพของเราได้ดีเท่าตัวเราเอง
อ่านต่อ : ชายไทยนอกใจมากที่สุดในโลก หญิงไทยไม่ยอมแพ้ ขอติดอันดับ 2 ของโลก
เพราะฉะนั้น อย่าลังเล หากคุณยังไม่เคยมีการตรวจสุขภาพทางเพศสัมพันธ์ หรือหากมันเป็นเวลานานแล้วที่คุณไม่ได้ไปตรวจสุขภาพเพศสัมพันธ์ ก็ถึงเวลาที่คุณควรจะพิจารณาเรื่องนี้แล้ว. การรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จำเป็นที่สุด และเมื่อรักษาได้ทันท่วงที ผลกระทบจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์นั้นสามารถลดลงได้มาก. อย่าทำให้ตัวเองถูกผลกระทบจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เพราะความละเลยหรือความไม่สนใจ.
✅✅✅✅✅
หากมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับอวัยวะเพศ ปัสสาวะแสบขัด ตกขาว มีแผล หรือมีความเสี่ยงที่มีคู่นอนหลายคน หรือ คู่นอนของเรามีคนอื่นด้วย
แนะนำตรวจและรักษาให้ตรงจุด
ด้วยชุดตรวจโรคทางเพศด้วยตนเอง
หากต้องการตรวจเพื่อยืนยันการติดเชื้อ หรือรักษาอาการผิดปกติเกี่ยวกับอวัยวะเพศ ด้วยเทคโนโลยีที่มีความแม่นยำสูง สามารถรักษาให้หายขาดได้ เฮลท์สไมล์ มีให้บริการชุดตรวจด้วยตนเองที่บ้าน ครอบคลุมเชื้อที่ทำให้เกิดแผลที่อวัยวะเพศสูงสุดถึง 14 โรค มีความแม่นยำมากกว่า 95%
เรามีแพคเกจตรวจโรคและความผิดปกติเกี่ยวกับอวัยวะเพศ ให้เลือกอยู่ 4 แพคเกจ
* ทุกแพคเกจ มีแพทย์เฉพาะทางที่ปรึกษาด้านสูตินรีเวช เพื่อแนะนำการรักษา
* ทุกแพคเกจ รวมค่ายารักษาตามโรคที่พบส่งฟรีถึงบ้านโดยเภสัชกร
-
- แพคเกจปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อการรักษา : 900 บาท
เหมาะกับคนที่ยังไม่เคยรักษา ต้องการรักษาด้วยตนเอง แพทย์แนะนำยา แนะนำการรักษา การดูแลตนเองหลังรักษาป้องกันการเป็นซ้ำ - แพคเกจตกขาวผิดปกติ 7 โรค : 2,490 บาท
สำหรับคนที่มีอาการปัสสาวะผิดปกติ หรือตกขาวผิดปกติ
ตรวจได้ 7 เชื้อ ได้แก่
– หนองในแท้
– หนองในเทียม (5 ชนิด)
– พยาธิในช่องคลอด - แพคเกจแผลที่อวัยวะเพศ 11 โรค : 2,990 บาท
สำหรับคนที่มีแผล หรือก้อนที่อวัยวะเพศ
ตรวจได้ 11 เชื้อ ได้แก่
แพคเกจที่ 2. + เพิ่ม
– เริม (2 ชนิด)
– ซิฟิลิส
– แบคทีเรียในช่องคลอด - แพคเกจตรวจครบ 15 โรค : 3,290 บาท *** แนะนำ ***
สำหรับมารดาที่มีตกขาวผิดปกติ แนะนำให้ตรวจโรคแบบครบรอบด้าน
ตรวจได้ 14 เชื้อ ได้แก่
แพคเกจที่ 3. +เพิ่ม
– แผลริมอ่อน
– เชื้อรา (2 ชนิด)
– เชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด (2 ชนิด) รวมไปถึงเชื้อ GBS (Group B Streptococcus) ซึ่งส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์ได้รุนแรง
- แพคเกจปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อการรักษา : 900 บาท
📞 สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และนัดหมายการตรวจได้ที่
– Line ID : @Sex.Disease
หรือคลิกได้ที่ลิงค์นี้
https://link.healthsmile.co.th/add-line/STD-content
🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจโรคทางเพศ และการรักษา ได้ที่นี่
https://healthsmile.co.th/mens-sti-clinic/
https://healthsmile.co.th/womens-sti-clinic/
✅✅✅✅✅