Last Updated on 17 กรกฎาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์

เนื้อหาในบทความนี้

Last Updated on 17 กรกฎาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์

ดาวน์โหลดไฟล์

  1. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการฝากครรภ์ พ.ศ. ๒๕๖๔ (เลิกใช้แล้ว)
  2. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีการป้องกันและควบคุมโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์ พ.ศ. ๒๕๖๔ (เลิกใช้แล้ว)
  3. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการป้องกันและควบคุมกลุ่มอาการดาวน์ในหญิงตั้งครรภ์ พ.ศ. ๒๕๖๔ (เลิกใช้แล้ว)
  4. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก พ.ศ. ๒๕๖๔ (เลิกใช้แล้ว)
  5. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการป้องกันและควบคุมการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. ๒๕๖๔ (เลิกใช้แล้ว)
  6. ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับบริการพื้นฐาน จ่ายตามรายการบริการ พ.ศ. ๒๕๖๖
    • รวมจากข้อ 1-4
    • ปรับปรุงข้อ 5 เป็น บริการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย

เนื่องจากมีประกาศเปลี่ยนแปลง ปี 2566

ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับบริการพื้นฐาน จ่ายตามรายการบริการ พ.ศ. ๒๕๖๖

สามารถอ่านบทความ update ล่าสุดได้ที่นี่

ในตอนที่แล้ว เราได้ทำการสรุปสิทธิ์ต่างๆของคุณแม่ เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ตามที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2565 มาให้จำนวน 3 หัวข้อ คือ

อ่านต่อ ตอนแรก คลิกที่นี่


สำหรับตอนที่ 2 นี้ เราจะมาพูดถึงอีก 2 ข้อที่เหลือ ที่เพิ่งประกาศมาเป็นข่าวดีให้กับคนไทยทุกคนค่ะ

เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก พ.ศ. ๒๕๖๔

มะเร็งปากมดลูก ถือเป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับสองของประเทศไทย รองจากมะเร็งเต้านม แต่หากไปดูในประเทศที่พัฒนาแล้ว จะพบว่ามะเร็งปากมดลูกนั้นเป็นมะเร็งในอันดับที่ 7-8 เลยทีเดียว ซึ่งสาเหตุของการที่ประเทศพัฒนาแล้วพบมะเร็งนี้น้อยนั้นก็เนื่องจากประเทศต่างๆเหล่านั้นเข้าถึงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอนั่นเอง ซึ่งการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกนั้นจะทำให้เราสามารถตรวจพบความผิดปกติตั้งแต่ก่อนเป็นมะเร็งได้ และทำการรักษาความผิดปกตินั้นจนหายสนิทได้ก่อนเป็นมะเร็ง

ดังนั้น การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก จึงถือว่าเป็นการตรวจคัดกรองที่จำเป็นสำหรับผู้หญิงทุกคน โดยทางกระทรวงสาธารณสุข ได้ให้สิทธิในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแก่ หญิงไทยทุกคนที่มีช่วงอายุตามที่กำหนด ดังนี้

  • อายุตั้งแต่ 30-59 ปี ทุกคน ให้สิทธิ์ตรวจ 1 ครั้ง ทุก 5 ปี
  • อายุตั้งแต่ 15-29 ปี ให้ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในกรณีที่มีความเสี่ยงสูง (ครั้งแรก) และให้ได้รับตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 1 ครั้ง ทุก 5 ปี

โดยจะเป็นการให้บริการด้วยวิธีใดวิธีหนี่งต่อไปนี้ก็ได้ ขึ้นอยู่กับเขต / จังหวัดที่ให้บริการ

  • Pap smear : วิธีใช้ไม้หรือแปรงป้ายที่ปากมดลูกเพื่อเอาเซลล์ไปตรวจ หรือวิธี
  • Visual inspection with acetic acid (VIA) : วิธีที่ใช้กรดอะซิติก หรือกรดน้ำส้มป้ายที่ปากมดลูก เพื่อดูความผิดปกติ หรือวิธี
  • HPV DNA Test : การตรวจหาเชื้อไวรัส HPV ที่ก่อโรคมะเร็งปากมดลูก

นอกจากนี้ หากกรณีผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกพบความผิดปกติ หน่วยบริการ
สามารถส่งตรวจวินิจฉัยด้วยวิธี Colposcope หรือ วิธี Liquid based cytology หรือตัดชิ้นเนื้อ (Biopsy/LEEP) และตรวจทางพยาธิวิทยา เพื่อทำการวินิจฉัยอย่างละเอียดได้ด้วย


เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการป้องกันและควบคุมการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. ๒๕๖๔

แม้ว่าประเทศไทย จะประสบกับปัญหาเรื่องปัญหาการชะลอตัวของการขยายตัวประชากร (กล่าวคือ มีเด็กไทยเกิดใหม่ต่อปีน้อย) แต่ทว่า ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม โดยเฉพาะการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นก็ถือเป็นปัญหาที่ป้องกันด้วยเช่นกัน โดยทางสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้มีงบประมาณสนับสนุนเพื่อป้องกันและควบคุมการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยให้บริการแก่ หญิงไทยอายุต่ำกว่า 20 ปี ทุกคน ที่ต้องการคุมกำเนิด หรืออยู่ในภาวะหลังคลอด หรือหลังแท้ง

มีบริการที่สามารถเลือกรับ เพื่อคุมกำเนิดได้ตามรายการดังนี้

  • บริการใส่ห่วงอนามัยคุมกำเนิด ซึ่งเป็นวิธีคุมกำเนิดที่ไม่มีฮอร์โมน สามารถคุมกำเนิดได้นานถึง 5 ปี
  • บริการฝังยาคุมกำเนิด เป็นวิธีคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมน สามารถคุมกำเนิดได้นาน 3 ปี

นอกจากนี้ กรณีตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ (ท้องไม่พร้อม) ก็ยังสามารถปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการยุติการตั้งครรภ์ได้ โดยสามารถหาข้อมูลอ่านเพิ่มเติม เกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์กรณีท้องไม่พร้อมได้ที่นี่ เครือข่ายอาสาเพื่อการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย https://www.rsathai.org/networkservice/


หากมีคำถามเพิ่มเติม สามารถสอบถามทีมงานของเฮลท์สไมล์ได้ที่ช่อง comment ด้านล่าง

ทางทีมงานจะรีบหาคำตอบมาให้ค่ะ

ต้องการคำปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม หรือนัดหมายตรวจ NIPT คลิกที่นี่

call to action NIPT ท้ายบทความ สีชมพู

✅✅✅✅✅

เฮลท์สไมล์ บริการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ และตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ ครบ 23 คู่ทุกโครโมโซมที่มีในมนุษย์ รู้เพศ และโรคอื่นๆที่เกิดจากการขาด/เกินของโครโมโซมขนาดเล็กได้มากถึง 92 โรค กับ Brand NIFTY® และ NGD NIPS

✔ ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมอื่นๆ ผลแม่นยำสูง 99.9%

✔ เจาะเลือดเพียง 10 ซีซี ไม่เสี่ยงแท้ง

✔ ราคาคุ้มค่า ประหยัด ค่าบริการเริ่มต้นที่ 9,500 บาท รวมค่าบริการเจาะเลือดถึงบ้าน และแพทย์อ่านผลให้ทุกเคส

✔ สะดวก สบาย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ลดความเสี่ยงจากการเดินทางออกนอกสถานที่

✔ บริการตรวจถึงบ้านทั่วประเทศ ฟรี

✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @Healthsmile

📞 โทร : 089 874 9565

🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของทารกในครรภ์ ได้ที่นี่ https://healthsmile.co.th/prenatal-screening/

ตารางราคา NGD NIPT 5chromosome 8900 บาท NIFTY focus 10900 บาท NGD NIPS 23 chromosomes 11900 บาท NIFTY Core 12900 บาท NIFTY Pro 17400 บาท
HealthSmile Medical writer team เป็นทีมเขียนบทความทางการแพทย์ของบริษัท วัฒนา เมดิคอล แอนด์ เวลล์บีอิง จำกัด ที่มีความต้องการที่จะกระจายความรู้ด้านการแพทย์เชิงลึก เกี่ยวกับการตรวจความผิดปกติของโครโมโซม ยีน และ DNA รวมไปถึงความรู้ด้านการตั้งครรภ์ การตรวจสุขภาพ และโรคภัยต่างๆ หากมีข้อเสนอแนะ สามารถแจ้งได้ที่ [email protected]