Last Updated on 31 กรกฎาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์
เนื้อหาในบทความนี้
- ทริคใช้สิทธิประกันสังคมยังไงให้คุ้มค่าที่สุด
- การยื่นเอกสารเพื่อเบิกเงินทดแทน
- ระยะเวลาการอนุมัติสิทธิ – ช่องทางการรับเงิน
- เช็กลิสต์คำถามที่พบบ่อย-พร้อมตอบไขข้อสงสัย
- Q : ภรรยาไม่ได้มีสิทธิประกันสังคม แต่งงานกับสามีที่มีสิทธิประกันสังคม แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส จะสามารถขอใช้สิทธิประกันสังคมที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ ได้หรือไม่?
- Q : กรณีคลอดบุตรใช้สิทธิประกันสังคมฝ่ายชาย (บิดา) ที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาบุตร มีหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการได้รับสิทธิประกันสังคมยังไง?
- Q : กรณีสงเคราะห์บุตรใช้สิทธิประกันสังคมฝ่ายชาย (บิดา) ที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาบุตร สามารถเบิกเงินสงเคราะห์บุตรได้ไหม?
- Q : ฝ่ายชาย จดทะเบียนสมรสกับภรรยาคนแรก จากนั้นเลิกรากันโดยยังไม่ได้หย่าร้าง จากนั้นมีลูกกับภรรยาคนที่ 2 (ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน เนื่องจากยังไม่ได้หย่าจากภรรยาคนแรก) จะเบิกประกันสังคมได้ไหม?
- Q : กรณีขาดส่งเงินประกันสังคม แต่ได้ไปติดต่อขอส่งต่อเรียบร้อยแล้ว จะสามารถเบิกเงินค่าคลอดบุตรได้ไหม?
- Q : ทำงานที่บริษัทแห่งหนึ่ง แต่นายจ้างไม่ขึ้นทะเบียนประกันสังคมให้ ทำอย่างไรได้บ้าง?
- Q: หากนายจ้างเพิกเฉย ต่อการขึ้นทะเบียนประกันสังคมให้ลูกจ้าง จะมีบทลงโทษนายจ้างอย่างไรบ้าง?
- Q : ส่งเงินประกันสังคมได้แค่ 11 เดือนแล้วคลอดบุตร สามารถยื่นรับเงินสงเคราะห์บุตรได้ไหม?
- Q : เคยได้เงินสงเคราะห์บุตรแล้วขาดส่งไป 2 ปี ตอนนี้กลับมาทำงานและส่งเงินสมทบใหม่ ถ้าบุตรยังไม่ถึง 6 ขวบ สามารถยื่นรับเงินสงเคราะห์บุตรใหม่ได้ไหม?
- Q : ค่าคลอดบุตรสามารถเบิกย้อนหลังได้ไหม?
- Q : หลังจากยื่นเรื่องขอสิทธิประโยชน์ค่าคลอดบุตร จะโอนเข้าบัญชีภายในกี่วัน ?
- สิทธิประกันสังคม กรณีแท้งบุตร
Last Updated on 31 กรกฎาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์
สำหรับบทความนี้ เป็นบทความต่อเนื่องจากบทความ เช็กสิทธิ์! คุณแม่มือใหม่ เบิกค่าคลอดบุตร ประกันสังคมจ่ายอะไรให้บ้าง ฉบับ Update 2567 โดยเราได้รวบรวม คำถามที่พบบ่อย พร้อมตอบไขข้อสงสัย เกี่ยวกับสิทธิประกันสังคมเบื้องต้น ที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรทราบ มาไว้ให้แล้ว อีกทั้งแนะนำ ทริคการใช้สิทธิประกันสังคมให้คุ้มค่า ไว้ในบทความเดียวกันนี้ เพื่อเป็นประโยชน์ให้กับคุณผู้ปกครองมือใหม่ทุกท่าน
ทริคใช้สิทธิประกันสังคมยังไงให้คุ้มค่าที่สุด
แน่นอนว่าการใช้สิทธิประกันสังคมต่างๆ จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ทางสำนักงานประกันสังคมกำหนดไว้ ดังนั้น แนะนำให้เหล่าคุณพ่อ คุณแม่ ควรศึกษาอย่างถี่ถ้วน เพื่อรักษาผลประโยชน์สูงสุด และกรณีเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ สามารถขอใช้สิทธิประกันสังคมได้เพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แนะนำให้ใช้สิทธิผู้ประกันตนหญิง เนื่องจากจะได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรอีกด้วย
การยื่นเอกสารเพื่อเบิกเงินทดแทน
ยื่นด้วยตนเอง หรือทำหนังสือมอบอำนาจให้ตัวแทนดำเนินการให้ได้ ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัด ตามสาขา ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ภายในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)
ระยะเวลาการอนุมัติสิทธิ – ช่องทางการรับเงิน
หากยื่นเอกสารครบถ้วน มีคุณสมบัติเป็นไปตามเงื่อนไขการรับสิทธิ์ และไม่ติดสถานะค้างชำระกรณีสำนักงานประกันสังคมเรียกเงินคืน จะได้รับเงินโอนเข้าบัญชีของผู้ประกันตนผ่านธนาคารประเภทออมทรัพย์ ภายใน 7-10 วัน ทำการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสำนักงานประกันสังคมในแต่ละเขตพื้นที่ หากต้องการติดตาม หรือสอบถามผลการอนุมัติ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานประกันสังคม หรือ www.sso.go.th หรือโทร 1506
เช็กลิสต์คำถามที่พบบ่อย-พร้อมตอบไขข้อสงสัย
Q : ภรรยาไม่ได้มีสิทธิประกันสังคม แต่งงานกับสามีที่มีสิทธิประกันสังคม แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส จะสามารถขอใช้สิทธิประกันสังคมที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ ได้หรือไม่?
A : หากฝ่ายชาย จ่ายเงินสมทบตามเงื่อนไขการเกิดสิทธิที่กล่าวไว้ด้านบน และจ่ายเงินสมทบอย่างต่อเนื่องก็สามารถใช้สิทธิประกันสังคมของสามีเบิกได้ค่ะ โดยทางสำนักงานประกันสังคมจะมีแบบฟอร์มเฉพาะสำหรับผู้ประกันตนที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้ยื่นแทน
(อ้างอิง : https://www.facebook.com/ssofanpage/posts/2089049674507179 )
Q : กรณีคลอดบุตรใช้สิทธิประกันสังคมฝ่ายชาย (บิดา) ที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาบุตร มีหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการได้รับสิทธิประกันสังคมยังไง?
A: มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการได้รับสิทธิประกันสังคมกรณีคลอดบุตร ดังนี้ค่ะ
• เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนวันคลอดบุตร
• เอกสารในการยื่นเบิก
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01)
- บัตรประจำตัวประชาชน (ตัวจริง)
- สำเนาทะเบียนสมรส หรือหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส (กรณีผู้ประกันตนชายใช้สิทธิเบิก)
- สูติบัตร พร้อมสำเนา
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนภรรยา
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี
ใช้ได้หลากหลายธนาคาร ดังนี้
ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) // ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) // ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) //ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) // ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) // ธนาคารทีเอ็มบีธนชาต จำกัด (มหาชน) // ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย // ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด
***หลักฐานอื่นๆ หากสำนักงานประกันสังคมที่ผู้ประกันตนไปยื่นเอกสารขอเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติสิทธิ
**** แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส.2-01)และหนังสือรับรองกรณีไม่มีทะเบียนสมรส สามารถดาวน์โหลดได้ที่ เว็บไซต์ www.sso.go.th
Q : กรณีสงเคราะห์บุตรใช้สิทธิประกันสังคมฝ่ายชาย (บิดา) ที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาบุตร สามารถเบิกเงินสงเคราะห์บุตรได้ไหม?
A : สามารถเบิกเงินสงเคราะห์บุตรได้ค่ะ แต่ต้องเป็นไปตามมหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ดังนี้ค่ะ
- เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือนก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน
- จะต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นบุตรบุญธรรมหรือบุตรที่ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น
- เอกสารในการยื่น
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01)
- บัตรประจำตัวประชาชน
- สำเนาทะเบียนสมรส หรือสำเนาทะเบียนหย่าพร้อมบันทึกแนบท้ายหรือสำเนาการจดทะเบียนรับรองบุตร
- สูติบัตร พร้อมสำเนา
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี
ใช้ได้หลากหลายธนาคาร ดังนี้
ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) // ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) // ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) //ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) // ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) // ธนาคารทีเอ็มบีธนชาต จำกัด (มหาชน) // ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย // ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด
***หลักฐานอื่นๆ หากสำนักงานประกันสังคมที่ผู้ประกันตนไปยื่นเอกสารขอเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติสิทธิ
**** แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส.2-01) สามารถดาวน์โหลดได้ที่ เว็บไซต์ www.sso.go.th
Q : ฝ่ายชาย จดทะเบียนสมรสกับภรรยาคนแรก จากนั้นเลิกรากันโดยยังไม่ได้หย่าร้าง จากนั้นมีลูกกับภรรยาคนที่ 2 (ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน เนื่องจากยังไม่ได้หย่าจากภรรยาคนแรก) จะเบิกประกันสังคมได้ไหม?
A : หากฝ่ายชายติดทะเบียนสมรสกับภรรยาคนแรก จะไม่สามารถเบิกสิทธิประโยชน์เบิกค่าคลอด หรือสงเคราะห์บุตรกับภรรยาคนที่ 2 ได้ หากมีการหย่า จะต้องหย่าก่อนที่ภรรยาคนที่ 2 คลอดบุตรถึงจะใช้สิทธิการเบิกค่าคลอดได้
Q : กรณีขาดส่งเงินประกันสังคม แต่ได้ไปติดต่อขอส่งต่อเรียบร้อยแล้ว จะสามารถเบิกเงินค่าคลอดบุตรได้ไหม?
A : สามารถรับสิทธิได้ เมื่อมีการนำส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 5 เดือนภายใน 15 เดือนก่อนเดือนที่คลอดบุตร ไม่ว่าเงินสมทบ 5 เดือนนั้นจะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม
Q : ทำงานที่บริษัทแห่งหนึ่ง แต่นายจ้างไม่ขึ้นทะเบียนประกันสังคมให้ ทำอย่างไรได้บ้าง?
A : ถ้าผู้ประกันตนมีการทำงานกับนายจ้าง ต้องให้นายจ้างแจ้งขึ้นทะเบียนให้ และนายจ้าง กับลูกจ้าง จะต้องนำส่งเงินสมทบในอัตราที่เท่ากัน คือ ร้อยละ 5 ต่อเดือน ของค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับ แนะนำให้ลองตกลงพูดคุยเจรจากับนายจ้างก่อน แต่ถ้านายจ้างยังเพิกเฉยแนะนำให้ท่านติดต่อที่สำนักงานประกันสังคมที่สถานประกอบการตั้งอยู่
Q: หากนายจ้างเพิกเฉย ต่อการขึ้นทะเบียนประกันสังคมให้ลูกจ้าง จะมีบทลงโทษนายจ้างอย่างไรบ้าง?
A: ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ตามมาตรา 96)
Q : ส่งเงินประกันสังคมได้แค่ 11 เดือนแล้วคลอดบุตร สามารถยื่นรับเงินสงเคราะห์บุตรได้ไหม?
A : การได้รับสิทธิประกันสังคมสงเคราะห์บุตร มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้ค่ะ
- จะต้องเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือมาตรา 39 ที่มีการนำส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายใน 36 เดือน ก่อนเดือนที่ใช้สิทธิ ไม่ว่าเงินสมทบ 12 เดือนนั้นจะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม
- จะต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่บุตรบุญธรรมหรือบุตรที่ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น
ดังนั้น กรณีส่งประกันสังคมได้แค่ 11 เดือนแล้วคลอดบุตร หากก่อนหน้านี้ ภายใน 36 เดือน มีการส่งประกันสังคมจนครบ 12 เดือน ก็จะสามารถยื่นรับสิทธิกรณีสงเคราะห์บุตรได้ค่ะ แต่หากส่งแค่ 11 เดือน ก็จะไม่สามารถขอรับสิทธิได้ค่ะ
Q : เคยได้เงินสงเคราะห์บุตรแล้วขาดส่งไป 2 ปี ตอนนี้กลับมาทำงานและส่งเงินสมทบใหม่ ถ้าบุตรยังไม่ถึง 6 ขวบ สามารถยื่นรับเงินสงเคราะห์บุตรใหม่ได้ไหม?
A : ถ้ามีการติดต่อนำส่งเงินสมทบใหม่แล้ว สามารถกรอกแบบฟอร์มขอใช้สิทธิบุตรคนเดิม ยื่นที่สำนักงานประกันสังคม เพื่อรับเงินสงเคราะห์บุตรต่อได้ค่ะ
Q : ค่าคลอดบุตรสามารถเบิกย้อนหลังได้ไหม?
A : สำหรับผู้ประกันตนที่คลอดบุตร ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2558 เป็นต้นมา ให้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน ภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่คลอดบุตร ที่สำนักงานประกันสังคมใกล้บ้าน (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)
หากเกินระยะเวลากำหนดยื่นขอเบิกค่าคลอดบุตร กฎหมายอนุโลมให้ผู้ประกันตน/ผู้มีสิทธิ สามารถยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนได้ พร้อมแสดงเหตุผลที่ไม่สามารถยื่นเรื่องภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ และจะต้องรอการพิจารณา
Q : หลังจากยื่นเรื่องขอสิทธิประโยชน์ค่าคลอดบุตร จะโอนเข้าบัญชีภายในกี่วัน ?
A : กรณีที่สงสัยเรื่องการเบิกค่าคลอดบุตรโอนเข้าบัญชีกี่วัน ทั้งนี้หากส่งเอกสารครบถ้วน และผ่านการอนุมัติ เงินจะโอนเข้าบัญชีประเภทออมทรัพย์ของผู้ประกันตน ภายใน 7-10 วันทำการ นับตั้งแต่วันที่ยื่นเอกสารเสร็จสมบูรณ์
สิทธิประกันสังคม กรณีแท้งบุตร
นอกจากกรณีดังที่กล่าวมาทั้งหมด ประกันสังคมยังให้สิทธิคุ้มครอง ในเรื่องของภาวะการแท้งบุตร ในอายุครรภ์ไม่น้อยกว่า 28 สัปดาห์ ซึ่งมีเหตุจำเป็นต้องผ่าตัดนำเด็กออก กรณีนี้จะยังสามารถเบิกค่าคลอดบุตรได้ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขปกติ แต่ต้องนำใบรับรองแพทย์แทนใบสูติบัตรยื่นเอกสาร จึงจะได้รับสิทธิประโยชน์ในส่วนนี้ได้
หากคุณแม่ หรือคุณพ่อ ต้องการข้อมูลเรื่องสิทธิประโยชน์สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ หรือสอบถามเรื่องสิทธิประกันสังคมด้านอื่นๆ เพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานประกันสังคม หรือ www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 ได้เลย
อ้างอิงข้อมูล
https://www.enfababy.com/social-security-benefits-for-pregnancy
https://web.facebook.com/ssofanpage/photos/a.105303622881804/3661773053901492/?type=3&_rdc=1&_rdr
✅✅✅✅✅
เฮลท์สไมล์ บริการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ และตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ ครบ 23 คู่ทุกโครโมโซมที่มีในมนุษย์ รู้เพศ และโรคอื่นๆที่เกิดจากการขาด/เกินของโครโมโซมขนาดเล็กได้มากถึง 92 โรค กับ Brand NIFTY® และ NGD NIPS
✔ ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมอื่นๆ ผลแม่นยำสูง 99.9%
✔ เจาะเลือดเพียง 10 ซีซี ไม่เสี่ยงแท้ง
✔ ราคาคุ้มค่า ประหยัด ค่าบริการเริ่มต้นที่ 9,500 บาท รวมค่าบริการเจาะเลือดถึงบ้าน และแพทย์อ่านผลให้ทุกเคส
✔ สะดวก สบาย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ลดความเสี่ยงจากการเดินทางออกนอกสถานที่
✔ บริการตรวจถึงบ้านทั่วประเทศ ฟรี
✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @Healthsmile
📞 โทร : 089 874 9565
🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของทารกในครรภ์ ได้ที่นี่ https://healthsmile.co.th/prenatal-screening/