Last Updated on 17 กรกฎาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์

Last Updated on 17 กรกฎาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์

รบกวนสอบถามกรณีแพทย์อ่านผลวินิจฉัยว่าลูกเป็นโรคดาว์นซินโดรมผิด

รบกวนสอบถามผู้รู้หรือผู้มีประสบการณ์ครับว่ากรณีมีแพทย์อ่านผลวินิจฉัยทารกในครรภ์ผิด ทั้งที่ความจริงผลปรากฎออกมาชัดว่าเด็กที่คลอดมีโอกาสเป็นดาว์นซินโดรมสูง คือถ้าแพทย์ไม่บกพร่องอย่างร้ายแรง พ่อแม่เด็กก็จะทราบได้ว่าลูกที่เกิดมาจะเป็นดาว์นซินโดรม อาจเลือกขอให้ทำแท้งได้ตามกฎหมาย

กรณีนี้พ่อแม่เด็กสามารถเรียกร้อง หรือฟ้องร้องอย่างไรกับแพทย์คนนี้ได้บ้างครับ หรือมีหน่วยงานช่องทางไหนบ้างที่ดูแลเรื่องนี้ได้โดยตรงครับ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการดูแลเด็กดาว์นซินโดรม เพื่อเป็นข้อมูลในการเรียกร้องจากโรงพยาบาลด้วยครับ ขอบคุณมากครับ

https://pantip.com/topic/41453124

ก่อนอื่น บทความนี้ขอเริ่มปูพื้นฐานด้วยข้อมูลของการตรวจคัดกรอง และการตรวจวินิจฉัยดาวน์ซินโดรมของทารกในครรภ์ ว่ามีกี่วิธี และความแม่นยำ (detection rate) ของแต่ละวิธีมากน้อยขนาดไหน

การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม

ในปัจจุบัน มีการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมอยู่หลายวิธี แต่ละวิธีก็มีความแม่นยำ (detection rate) ที่แตกต่างกัน (อ่านเพิ่มได้ที่นี่ : การตรวจคัดกรองการตั้งครรภ์ทารกกลุ่มอาการดาวน์ (Down syndrome screening)) ซึ่งแต่ละวิธีก็มีความแม่นยำและความยากในการตรวจที่แตกต่างกัน แต่โดยส่วนใหญ่ในประเทศไทย จะมีวิธีคัดกรองดาวน์ซินโดรมของทารกในครรภ์ที่ใช้บ่อยๆอยู่ 2 วิธี คือ

  1. การตรวจ Quadruple Test (หรือเรียกสั้นๆว่า Quad test) เป็นการตรวจเลือดของคุณแม่ เพื่อหาค่าของสารเคมี 4 ชนิด และนำมาคำนวณเป็นความเสี่ยงของทารกในครรภ์ ซึ่งวิธีนี้หญิงไทยทุกคนที่ตั้งครรภ์ สามารถเข้ารับการตรวจได้ฟรีที่โรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศ (อ่านเพิ่มได้ที่นี่ : คัดกรองดาวน์ซินโดรมฟรี ทั่วประเทศไทย คืออะไร ใช้วิธีไหน แม่นยำเหรอ) หรือในโรงพยาบาลเอกชน ก็จะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 2,000-4,000 บาท การตรวจ Quad test นี้จะมีความแม่นยำอยู่ที่ประมาณ 67-81%
  2. การตรวจ NIPT (Non-invasive prenatal testing) ซึ่งเป็นการตรวจเลือดของคุณแม่ เพื่อหาเศษของ DNA ของรกของทารก ที่ลอยอยู่ในเลือดของมารดา (cell-free fetal DNA) (อ่านเพิ่มได้ที่นี่ : การตรวจสารพันธุกรรมทารกในครรภ์ (Cell-free fetal DNA) คัดกรองดาวน์ซินโดรม) วิธีนี้จะเป็นการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมมีความแม่นยำที่สูงที่สุดในปัจจุบัน คือ มีความแม่นยำที่ 99.9% แต่อย่างไรก็ดี การตรวจคัดกรองด้วยวิธีนี้จะมีค่าใช้จ่าย ที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องชำระเอง โดยข้อมูล ณ ปัจจุบันขณะที่เขียนบทความนี้ (พฤษภาคม 2565) จะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 9,500 – 30,000 บาท ขึ้นกับจำนวนโครโมโซม โรคที่สามารถตรวจได้ และสถานพยาบาลที่ให้บริการ โดยปกติ แพคเกจตรวจเหล่านี้ จะเริ่มต้นที่ 5 โครโมโซม ไปจนถึง 23 โครโมโซม (ครบทุกคู่ที่มีในมนุษย์) อาจจะมีการบวกความผิดปกติที่เกิดจากการขาด / เกินของโครโมโซมขนาดเล็ก (microdeletion / duplication syndrome)

สำหรับวิธีการตรวจอื่นๆ เช่น First trimester screening คือการตรวจอัลตราซาวนด์ความหนาของต้นคอเด็ก (NT) ร่วมกับการตรวจค่าสารเคมีในเลือดประกอบ หรือ วิธีอื่นๆ ทางผู้เขียนขอละไว้ เนื่องจากต้องใช้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญในระดับสูงกว่าสูตินรีแพทย์ทั่วไปในการอัลตราซาวนด์ หรือไม่ก็เป็นวิธีที่คุณแม่ต้องเจาะเลือดซ้ำหลายครั้ง ในประเทศไทย จึงยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก

การตรวจวินิจฉัยดาวน์ซินโดรม

การตรวจวินิจฉัย จะแตกต่างจากการตรวจคัดกรอง เนื่องจากการตรวจวินิจฉัยจะเป็นการนำเซลล์ของทารกในครรภ์มาตรวจโดยตรง ทำให้มีความแม่นยำสูงที่สุด คือ 100% แต่แน่นอน เนื่องจากเป็นการนำเซลล์ของทารกในครรภ์มาตรวจโดยตรง จึงจำเป็นต้องทำการเข้าไปตัด หรือดูดเอาเซลล์ของทารกในครรภ์ออกมา ซึ่งสามารถทำได้อยู่ 2 วิธี คือ 1. เจาะชิ้นเนื้อรก (CVS) ในไตรมาสแรก หรือ 2. การเจาะน้ำคร่ำ (amniocentesis) ในไตรมาสสอง

เนื่องจากการตรวจวินิจฉัยนี้ ต้องแทงเข็มเข้าไปยังถุงการตั้งครรภ์ หรือเนื้อรกโดยตรง ทำให้อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อทารกในครรภ์ เช่น ภาวะน้ำคร่ำรั่ว น้ำคร่ำติดเชื้อ หรือรุนแรงจนทำให้เกิดการแท้งบุตรได้ (ประมาณ 0.5%)

……….

ตอบคำถาม “แพทย์อ่านผลวินิจฉัยว่าลูกเป็นโรคดาว์นซินโดรมผิด”

สำหรับคำถามนี้ เนื่องจากข้อมูลที่คุณพ่อใน pantip ท่านนี้ไม่ได้ให้รายละเอียดมา ทางผู้เขียนจึงขอแยกตอบออกเป็น 3 กรณี ดังนี้

กรณีแรก : คุณแม่ไม่ได้เข้ารับการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมใดๆเลย

กรณีที่ 2 : คุณแม่ได้รับการตรวจคัดกรอง แต่ผลตรวจคัดกรองออกมาเป็น false negative (ผลตรวจบอกว่าความเสี่ยงต่ำ แต่ทารกในครรภ์เป็นโรค)

กรณีที่ 3 : คุณแม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยยืนยันด้วยการเจาะน้ำคร่ำ หรือตัดชิ้นเนื้อรกตรวจแล้ว แต่ว่าแพทย์อ่านและแจ้งผลผิด

กรณีแรก : คุณแม่ไม่ได้เข้ารับการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมใดๆเลย

สำหรับกรณีนี้ คือคุณแม่เข้ารับการฝากครรภ์ อาจจะเป็นที่คลินิกหรือโรงพยาบาล แต่ว่าไม่ได้รับคำแนะนำเรื่องการเจาะเลือดตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมใดๆเลย หรืออาจจะได้รับการคัดกรองดาวน์ซินโดรมด้วยอัลตราซาวนด์เพียงอย่างเดียวตลอดการตั้งครรภ์ (ซึ่งมีความแม่นยำอยู่ที่ประมาณ 60%) ดังนั้น โอกาสที่จะตรวจไม่พบระหว่างฝากครรภ์ จึงมีได้เสมอ ฉะนั้น ปัจจุบัน จึงมีเทคโนโลยีการตรวจใหม่ๆเพิ่มขึ้นมา เพื่อให้การตรวจคัดกรองมีความแม่นยำเพิ่มมากขึ้น

ณ ปัจจุบันในประเทศไทย ยังไม่มีข้อกำหนด หรือแนวทางมาตรฐานในการให้คำแนะนำเรื่องการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมที่ออกจากราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ดังนั้น หากคุณแม่ไม่ได้รับคำแนะนำใดๆเกี่ยวกับเรื่องการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม อาจจะต้องคุยกับแพทย์ที่ให้การฝากครรภ์ หรือทางคลินิก/โรงพยาบาลโดยตรง

กรณีที่ 2 : คุณแม่ได้รับการตรวจคัดกรอง แต่ผลตรวจคัดกรองออกมาเป็น false negative (ผลตรวจบอกว่าความเสี่ยงต่ำ แต่ทารกในครรภ์เป็นโรค)

สำหรับการตรวจคัดกรอง เนื่องจาก ณ ปัจจุบันยังไม่มีการคัดกรองดาวน์ซินโดรมวิธีไหนที่มีความแม่นยำแบบ 100% ดังนั้น จึงมีโอกาสที่จะเกิด false negative (ผลตรวจได้ความเสี่ยงต่ำ แต่ทารกในครรภ์มีความผิดปกติ) ได้ โดย Quad test จะมีความแม่นยำที่ 80% ส่วน NIPT จะมีความแม่นยำที่ 99.9%

สาเหตุของการเกิด false negative สามารถอ่านได้ที่บทความนี้ 7 สาเหตุ ที่อาจทำให้ผลตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม (NIPS, NIPT, NIFTY) ผิดพลาด

จะเห็นได้ว่า Quad test มีความแม่นยำ (detection rate) อยู่ที่ประมาณ 67-81% แสดงว่าเด็กที่เป็นดาวน์ซินโดรม 10 คน จะมี 2-3 คนที่วิธีนี้ตรวจไม่พบ ซึ่งเนื่องจากการตรวจวิธีนี้ มีโอกาสที่จะผิดพลาดได้ จึงไม่มีโรงพยาบาล หรือศูนย์ตรวจไหนรับประกันความผิดพลาดจากผลตรวจนี้

ดังนั้น กรณีที่คุณแม่เลือกตรวจด้วยวิธี Quad test แล้วผลเป็น false negative ก็จะไม่สามารถเรียกร้องเงินประกันใดๆได้

ส่วนการตรวจ NIPT นั้น มีความแม่นยำสูงถึง 99.9% แม้ว่าจะมีโอกาสน้อยมากที่จะตรวจไม่พบความผิดปกติ แต่ก็ยังมีโอกาสอยู่เช่นกัน ซึ่งโดยปกติแล้ว การตรวจวิธีนี้ทางศูนย์แลปแต่ละแบรนด์ มักจะมีเงินประกันความผิดพลาดกรณีดังกล่าวอยู่ โดยจะมีเงินประกันอยู่ในช่วง 1 – 2 ล้านบาท แล้วแต่แบรนด์ที่เลือกตรวจ (อ่านเพิ่มได้ที่นี่ : ประกันของการตรวจ NIFTY Focus , NIFTY Core และ NIFTY Pro มีรายละเอียดอย่างไร อย่างไหนจ่าย อย่างไหนไม่อยู่ในประกัน?)

สำหรับการเบิกประกัน กรณีคุณแม่ตรวจ NIPT แต่ผลเป็น False negative สามารถสอบถามได้จากแพทย์ที่ทำการสั่งตรวจ หรือสอบถามโดยตรงไปยังศูนย์ตรวจที่ให้บริการแบรนด์ดังกล่าวได้เลยว่าต้องใช้เอกสารใดบ้างเพื่อประกอบการเบิกประกัน

กรณีที่ 3 : คุณแม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยยืนยันด้วยการเจาะน้ำคร่ำ หรือตัดชิ้นเนื้อรกตรวจแล้ว แต่ว่าแพทย์อ่านและแจ้งผลผิด

กรณีนี้คือ คุณแม่ตั้งครรภ์ ได้เข้ารับการตรวจวินิจฉัยด้วยการเจาะน้ำคร่ำ หรือตัดชิ้นเนื้อรกตรวจแล้ว และผลการตรวจออกมาผิดปกติ แต่แพทย์รายงานว่าปกติ ลักษณะนี้มารดาตั้งครรภ์อาจจะต้องคุยกับแพทย์ หรือโรงพยาบาลที่ทำการตรวจโดยตรงถึงสาเหตุที่แจ้งผลผิดพลาด

สำหรับคุณแม่ที่ฝากครรภ์ / คลอดกับโรงพยาบาลรัฐ อาจจะได้การช่วยเหลือตามมาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ที่จะเป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้รับบริการภายใต้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาลและบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ ซึ่งออกมาเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนผู้ป่วยและญาติ เพื่อลดความขัดแย้งระบบสาธารณสุข ลดฟ้องร้องแพทย์

ส่วนคุณแม่ที่ฝากครรภ์ / คลอดกับโรงพยาบาลเอกชน อาจจะต้องสอบถามไปยังแพทย์ หรือโรงพยาบาลที่ฝากครรภ์เพื่อพูดคุยกันอีกทีค่ะ

สรุป

การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม ณ ปัจจุบันมีอยู่หลายวิธี ขึ้นอยู่กับกำลังของครอบครัวในการจ่าย และปัจจัยอื่นๆอีกหลายๆอย่าง ดังนั้นทางทีมงาน เฮลท์สไมล์ จึงเขียนบทความ 8 ขั้นตอนในการเลือกการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมให้คุ้มค่า (NIFTY, Quad test, อัลตราซาวนด์ และอื่นๆ) ขึ้นมา เพื่อช่วยให้คุณแม่ตั้งครรภ์และครอบครัว ได้สามารถเลือกการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมและโครโมโซมของทารกในครรภ์ได้อย่างเหมาะสมที่สุด

อย่างไรก็แล้วแต่ โครโมโซม ก็เปรียบเสมือนกับแม่พิมพ์ของชีวิต ซึ่งยังต้องการการเติมเต็มด้วยสารอาหาร ความรัก การฝากครรภ์ และการกระตุ้นพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ลูกน้อยนั้นเติบโตขึ้นมาได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด

ต้องการคำปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม หรือนัดหมายตรวจ NIPT คลิกที่นี่

call to action NIPT ท้ายบทความ สีชมพู

✅✅✅✅✅

เฮลท์สไมล์ บริการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ และตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ ครบ 23 คู่ทุกโครโมโซมที่มีในมนุษย์ รู้เพศ และโรคอื่นๆที่เกิดจากการขาด/เกินของโครโมโซมขนาดเล็กได้มากถึง 92 โรค กับ Brand NIFTY® และ NGD NIPS

✔ ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมอื่นๆ ผลแม่นยำสูง 99.9%

✔ เจาะเลือดเพียง 10 ซีซี ไม่เสี่ยงแท้ง

✔ ราคาคุ้มค่า ประหยัด ค่าบริการเริ่มต้นที่ 9,500 บาท รวมค่าบริการเจาะเลือดถึงบ้าน และแพทย์อ่านผลให้ทุกเคส

✔ สะดวก สบาย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ลดความเสี่ยงจากการเดินทางออกนอกสถานที่

✔ บริการตรวจถึงบ้านทั่วประเทศ ฟรี

✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @Healthsmile

📞 โทร : 089 874 9565

🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของทารกในครรภ์ ได้ที่นี่ https://healthsmile.co.th/prenatal-screening/

ตารางราคา NGD NIPT 5chromosome 8900 บาท NIFTY focus 10900 บาท NGD NIPS 23 chromosomes 11900 บาท NIFTY Core 12900 บาท NIFTY Pro 17400 บาท
HealthSmile Medical writer team เป็นทีมเขียนบทความทางการแพทย์ของบริษัท วัฒนา เมดิคอล แอนด์ เวลล์บีอิง จำกัด ที่มีความต้องการที่จะกระจายความรู้ด้านการแพทย์เชิงลึก เกี่ยวกับการตรวจความผิดปกติของโครโมโซม ยีน และ DNA รวมไปถึงความรู้ด้านการตั้งครรภ์ การตรวจสุขภาพ และโรคภัยต่างๆ หากมีข้อเสนอแนะ สามารถแจ้งได้ที่ [email protected]