Last Updated on 17 กรกฎาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์

การเจาะตรวจคัดกรองคัดกรองดาวน์ซินโดรมมีกี่แบบ แต่ละแบบความแม่นยำกี่เปอร์เซนต์

เนื้อหาในบทความนี้

Last Updated on 17 กรกฎาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์

วิธีตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม ที่นิยมในไทย ณ ปัจจุบัน มีความแม่นยำเท่าไรบ้าง

ปัจจุบันในประเทศไทย มีการตรวจคัดกรองตรวจดาวน์ซินโดรมหลักๆ อยู่ 4 รูปแบบ เรียงตามความแม่นยำมากที่สุด ไปน้อยที่สุด ดังนี้

  1. การอัลตราซาวนด์อย่างเดียว ความแม่นยำ 60%
  2. การตรวจ Quadruple Marker Test หรือ Quad test ความแม่นยำ 80-85%
  3. การตรวจ 1st trimester screening (Ultrasound + เจาะเลือดหาค่า PAPP-A + beta hCG) ความแม่นยำ 79-87%
  4. การตรวจ NIPT (Non-invasive prenatal testing) ความแม่นยำ 99.9%

ส่วนการวินิจฉัย จะใช้การเจาะน้ำคร่ำ หรือตัดชิ้นเนื้อรกมาตรวจ ความแม่นยำ 100% แต่เสี่ยงที่จะเกิดผลแทรกซ้อนได้ เช่น แท้งบุตร น้ำคร่ำติดเชื้อ เป็นต้น

รูปภาพ แสดงอัตราความแม่นยำของการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม วิธีที่นิยมในประเทศไทย

โดยปกติการฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลของรัฐ คุณแม่ทุกท่านจะได้รับการตรวจที่เป็นมาตรฐานฟรี ได้แก่วิธี Quadruple test ซึ่งมีความแม่นยำอยู่ที่ประมาณ 80-85%

(อ่านต่อ : คัดกรองดาวน์ซินโดรมฟรี ทั่วประเทศไทย คืออะไร ใช้วิธีไหน แม่นยำเหรอ?)

คุณแม่ตั้งครรภ์แต่ละราย ก็จะมีความเสี่ยงของการเกิดความผิดปกติของโครโมโซมทารกแต่ละรายแตกต่างกัน โดยหลักๆแล้ว อายุยิ่งมากจะยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้น หากคุณแม่ใส่ใจในเรื่องของความเสี่ยงที่บุตรในครรภ์จะมีความผิดปกติ ก็อาจจะต้องดูว่าการตรวจที่เราได้รับนั้น มีความแม่นยำที่รับได้หรือไม่ และเรารับได้กับความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้หรือไม่

(อ่านต่อ : 8 ขั้นตอนในการเลือกการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมให้คุ้มค่า (NIFTY, Quad test, อัลตราซาวนด์ และอื่นๆ)

(อ่านต่อ : ตารางรวมความเสี่ยงทารกในครรภ์เป็นดาวน์ซินโดรม ตามอายุของคุณแม่ หน้าเดียวจบ ครบทุกอายุ)

ตารางแสดง ความเสี่ยงในการเกิดดาวน์ซินโดรมของทารกในครรภ์ตามอายุของคุณแม่
ตารางแสดง ความเสี่ยงในการเกิดดาวน์ซินโดรมของทารกในครรภ์ตามอายุของคุณแม่

เราสามารถตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม ในคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ตั้งแต่ช่วงอายุครรภ์ 10 สัปดาห์ (เริ่มตั้งแต่ไตรมาสแรก) ไปจนถึงอายุครรภ์ประมาณ 20 สัปดาห์ (ไตรมาสที่สอง) ซึ่งวิธีการตรวจคัดกรอง และความแม่นยำก็จะมีความแตกต่างกัน

หากต้องการตรวจ NIPT
แบรนด์ NIFTY และ NGD NIPS
สามารถคลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียด

ประวัติของวิธีการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมในอดีต ที่ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมในประเทศไทยแล้ว

การตรวจคัดกรองในช่วงไตรมาสแรก (First-Trimester Screening)

ปัจจุบันมีวิธีตรวจได้ดังนี้

1. เจาะเลือดตรวจ Human Chorionic Gonadotropin (hCG) (ไม่นิยม)

ระดับ hCG ในเลือดมารดาที่ตั้งครรภ์ทารกกลุ่มอาการดาวน์จะสูงเป็น 2 เท่าของมารดาที่ตั้งครรภ์ปกติ จึงนำมาใช้ตรวจคัดกรองในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ได้

2. Pregnancy-associated placenta protein A (PAPP-A) (ไม่นิยม)

PAPP-A เป็นสารเคมีชนิดหนึ่งซึ่งสร้างมาจากรก โดยจะพบระดับที่สูงขึ้นเมื่ออายุครรภ์มากขึ้น แต่ในกระแสเลือดมารดาที่ตั้งครรภ์ทารกกลุ่มอาการดาวน์จะมีค่าต่ำกว่ามารดาที่ตั้งครรภ์ปกติ และประสิทธิภาพของ PAPP-A ในการแยกการตั้งครรภ์ทารกกลุ่มอาการดาวน์ออกจากทารกปกติจะลดลงหากตรวจคัดกรองในอายุครรภ์ที่มากขึ้น (ยิ่งอายุครรภ์มาก ความแม่นยำจะยิ่งลดลง)

3. Nuchal translucency (NT) (ไม่นิยม)

Nuchal translucency หรือ NT คือน้ำที่สะสมบริเวณด้านหลังต้นคอ (ท้ายทอย) ทารกที่มีลักษณะใส สามารถนำมาใช้ในการตรวจคัดกรองการตั้งครรภ์ทารกกลุ่มอาการดาวน์และภาวะโครโมโซมผิดปกติอื่นๆ

โดยพบว่าประมาณ 1 ใน 3 ของทารกที่มี NT หนาผิดปกติจะมีโครโมโซมผิดปกติ การวัดความหนาของ NT อย่างเดียวประสิทธิภาพจะเท่ากับร้อยละ 64 – 70 ดังนั้นการวัดความหนาของ NT เพียงอย่างเดียวจึงถูกแนะนำให้ใช้เฉพาะการตรวจคัดกรองทารกกลุ่มอาการดาวน์ในกรณีการตั้งครรภ์แฝด

4. First trimester screening test (NT + PAPP-A + Beta hCG) ยังใช้อยู่ ณ ปัจจุบัน

คือการอัลตราซาวด์ดูผนังต้นคอ (Nuchal translucency : NT) ที่หนาผิดปกตินี้ ไม่ถือว่าเป็นความพิการของทารกในครรภ์ แต่เป็นเครื่องหมายแสดงถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น โดยสามารถนำมาคำนวณความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ทารกกลุ่มอาการดาวน์ร่วมกับการตรวจ PAPP-A และ hCG ในไตรมาสแรกได้ (combined test) ซึ่งประสิทธิภาพในการตรวจคัดกรองการตั้งครรภ์ทารกกลุ่มอาการดาวน์เท่ากับร้อยละ 79 – 87 ซึ่งประสิทธิภาพดีเทียบเท่ากับการตรวจ quadruple marker test ในไตรมาสสอง

โดยพบว่าประสิทธิภาพจะลดลงหากตรวจคัดกรองในอายุครรภ์ที่มากขึ้น (ยิ่งอายุครรภ์มาก ความแม่นยำจะยิ่งลดลง)

การตรวจคัดกรองในช่วงไตรมาสที่สอง (Second-Trimester Screening)

1. Alpha-fetoprotein (AFP) (ไม่นิยม)

ระดับ AFP ในกระแสเลือดมารดาที่ตั้งครรภ์ทารกกลุ่มอาการดาวน์จะมีค่าต่ำกว่ามารดาที่ตั้งครรภ์ปกติ โดยมีความสามารถตรวจพบทารกกลุ่มอาการดาวน์ได้เพียง 20-37% เท่านั้น จึงต้องนำค่าที่ได้จากการตรวจ AFP ไปคำนวณร่วมกับค่าอื่นๆ เพื่อให้ได้ความแม่นยำที่เพิ่มขึ้น

2. Human Chorionic Gonadotropin (hCG) (ไม่นิยม)

ระดับ hCG ในกระแสเลือดมารดาที่ตั้งครรภ์ทารกกลุ่มอาการดาวน์จะสูงเป็น 2 เท่าของมารดาที่ตั้งครรภ์ปกติหากตรวจในช่วงไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ โดยมีความสามารถตรวจพบทารกกลุ่มอาการดาวน์ได้เพียง 36-49% เท่านั้น ซึ่งหากเอามาใช้ร่วมกับการตรวจ AFP ด้วย (double marker test) จะสามารถตรวจพบทารกกลุ่มอาการดาวน์ได้ 56%

3. Unconjugated estriol (uE3) (ไม่นิยม)

ระดับ uE3 ในกระแสเลือดมารดาที่ตั้งครรภ์ทารกกลุ่มอาการดาวน์จะมีค่าต่ำกว่ามารดาที่ตั้งครรภ์ปกติ 25% โดยมีความสามารถตรวจพบทารกกลุ่มอาการดาวน์ได้เพียง 31-41%

4. Triple marker test (ไม่นิยม)

หลังจากมีการค้นพบว่า hCG และ uE3 สามารถนำมาใช้ร่วมกับ AFP ในการตรวจคัดกรองการตั้งครรภ์ทารกกลุ่มอาการดาวน์ได้ตั้งแต่ปี 1988 มีการศึกษาวิจัยจำนวนมากศึกษาถึงประสิทธิภาพของ triple marker test นี้ จากการศึกษาของ Wald ในปี 1997 พบว่าหากกำหนดให้ false positive rate 5% triple marker test จะสามารถตรวจพบทารกกลุ่มอาการดาวน์ได้ 69-74%

5. Quadruple marker test หรือ Quad test (นิยม และตรวจได้ฟรีที่โรงพยาบาลรัฐ)

หลังจากมีการใช้ triple marker test เพื่อตรวจคัดกรองการตั้งครรภ์ทารกกลุ่มอาการดาวน์อย่างแพร่หลาย ก็มีผู้พยายามค้นหาสารชีวเคมีตัวใหม่ที่จะมาเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการตรวจคัดกรอง โดยจุดมุ่งหวังให้มี detection rate มากที่สุด ในขณะที่ false positive rate น้อยที่สุด และต้องเป็นสารชีวเคมีที่เป็นอิสระไม่ขึ้นกับอายุมารดาและสารชีวเคมีชนิดอื่นๆ สารชีวเคมีที่พบว่าสามารถนำมาใช้ได้ คือ inhibin A ซึ่งมีรายงานว่าระดับ inhibin A ในกระแสเลือดมารดาที่ตั้งครรภ์ทารกกลุ่มอาการดาวน์จะมีค่าสูงเป็น 2 เท่าของมารดาตั้งครรภ์ปกติ และเมื่อนำมาตรวจคัดกรองร่วมกับ AFP, hCG และ uE3 (quadruple marker test) จะมี detection rate ถึง 80-85% (false positive rate 6%)

การตรวจคัดกรองด้วย quadruple หรือ triple marker test นี้จะตรวจในช่วงอายุครรภ์ 15-20 สัปดาห์ (ดีที่สุดในช่วงอายุครรภ์ 16-18 สัปดาห์) เนื่องจากเป็นช่วงอายุครรภ์ที่สารชีวเคมีทั้ง 4 ชนิดมีการเปลี่ยนแปลงตามอายุครรภ์ และมีระดับที่แตกต่างกันระหว่างการตั้งครรภ์ปกติและการตั้งครรภ์ทารกกลุ่มอาการดาวน์ค่อนข้างชัดกว่าช่วงอายุครรภ์อื่น

อ่านต่อ : คัดกรองดาวน์ซินโดรมฟรี ทั่วประเทศไทย คืออะไร ใช้วิธีไหน แม่นยำเหรอ

อ่านต่อ : ผลตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม แบบ Quad test (ควอดเทส) ได้ผลว่ามีความเสี่ยงสูง (High risk) ทำอย่างไรดี !

Combined First- and Second-Trimester Screening

นอกจากวิธีข้างต้น ที่ทำในไตรมาสแรก หรือไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ ยังมีอีกหลายวิธี เพื่อเพิ่มความแม่นยำของการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมจากเลือดมารดา ซึ่งต้องเป็นการนำ % ความแม่นยำของการตรวจคัดกรองในช่วงไตรมาสแรก และไตรมาสที่สองมาทำร่วมกัน เรียกว่า Combined First- and Second-Trimester Screening เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโดยมีวิธีการต่างๆ ดังต่อไปนี้

1. Integrated screening (ไม่นิยม)

คือการนำผลการตรวจคัดกรองในไตรมาสแรกและไตรมาสสองมารวมคำนวณเพื่อหาความเสี่ยง มีประสิทธิภาพสูงในการตรวจคัดกรองที่ 90-96%

อย่างไรก็ตามข้อจำกัดของการตรวจคัดกรองด้วย integrated screening คือผลการตรวจคัดกรองจะทราบในไตรมาสที่สองเท่านั้น เนื่องจากต้องรอตรวจคัดกรองในไตรมาสสองให้แล้วเสร็จจึงจะสามารถคำนวณความเสี่ยงได้ ทำให้การวินิจฉัยล่าช้าออกไป และนอกจากนี้ ยังต้องการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการวัดความหนาของ NT

ในกรณีไม่สามารถตรวจวัดความหนาของ NT ได้ อาจตรวจเฉพาะสารชีวเคมีในไตรมาสแรกและไตรมาสสอง (quadruple marker test) แล้วนำมาคำนวณความเสี่ยงรวมกัน เรียกว่า serum integrated screening แต่ประสิทธิภาพจะไม่ดีมากเท่ากับการใช้ NT มาคำนวณความเสี่ยงร่วมด้วย

2. Sequential screening (ไม่นิยม)

คือการตรวจคัดกรองในไตรมาสแรกและไตรมาสสองอย่างเป็นลำดับขั้นตอน โดยเปิดเผยผลการตรวจคัดกรองไตรมาสแรกแก่หญิงตั้งครรภ์ที่ผลการตรวจคัดกรองอยู่ในกลุ่มความเสี่ยงสูง เพื่อให้โอกาสในการตรวจวินิจฉัยก่อนคลอดได้เร็วขึ้น ซึ่งเป็นการลดข้อจำกัดจากการตรวจคัดกรองด้วย integrated screening โดยแบ่งเป็น 2 วิธีการดังนี้

a. Stepwise sequential screening

แบ่งกลุ่มหญิงตั้งครรภ์เป็น 2 กลุ่มหลังจากตรวจคัดกรองไนไตรมาสแรกแล้วเสร็จ คือกลุ่มความเสี่ยงสูง และกลุ่มความเสี่ยงต่ำ หญิงตั้งครรภ์ที่ผลการตรวจคัดกรองอยู่ในกลุ่มความเสี่ยงสูงจะได้รับคำแนะนำและให้ทางเลือกในการตรวจวินิจฉัยก่อนคลอด ส่วนหญิงตั้งครรภ์ที่ผลการตรวจคัดกรองอยู่ในกลุ่มความเสี่ยงต่ำจะได้รับการตรวจคัดกรองในไตรมาสสองต่อ ซึ่งวิธีนี้มีความแม่นยำที่ 90-95%

b. Contingent sequential screening

แบ่งกลุ่มหญิงตั้งครรภ์เป็น 3 กลุ่มหลังจากตรวจคัดกรองไนไตรมาสแรกแล้วเสร็จ คือกลุ่มความเสี่ยงสูง กลุ่มความเสี่ยงปานกลาง และกลุ่มความเสี่ยงต่ำ หญิงตั้งครรภ์ที่ผลการตรวจคัดกรองอยู่ในกลุ่มความเสี่ยงสูงจะได้รับคำแนะนำและให้ทางเลือกในการตรวจวินิจฉัยก่อนคลอด หญิงตั้งครรภ์ที่ผลการตรวจคัดกรองอยู่ในกลุ่มความเสี่ยงต่ำจะได้รับแจ้งผลและไม่จำเป็นต้องตรวจคัดกรองในไตรมาสที่สองอีก ส่วนหญิงตั้งครรภ์ที่ผลการตรวจคัดกรองอยู่ในกลุ่มความเสี่ยงปานกลางจะได้รับการตรวจคัดกรองในไตรมาสสองต่อ

การตรวจคัดกรองด้วย contingent sequential screening นี้มีความแม่นยำประมาณ 88-94%

Strategy Analytes Detection rate* (%)
First trimester screening    
NT NT 64–70
First-trimester screen NT + PAPP-A + hCG 79–87
Second trimester screening    
Triple test MSAFP + hCG + uE3 60–69
Quadruple test MSAFP + hCG + uE3 + inhA 67–81
Combined First and Second trimester screening    
Integrated First-trimester screen + Quadruple test(results withheld until Quad test completed) 94–96
Stepwise sequential First-trimester screen + Quadruple test– 1% offered diagnostic test after first trimester screen– 99% proceed to Quad test ( results withheld until Quad test completed) 90–95
Contingent sequential First-trimester screen + Quadruple test– 1% offered diagnostic test after first trimester screen– 15% proceed to Quad test ( results withheld until Quad test completed)– 84% have no additional test after first trimester screen 88–94

* Based on a 5% positive screen rate

ตาราง แสดงประสิทธิภาพของการตรวจคัดกรองทารกกลุ่มอาการดาวน์ด้วยวิธีการต่างๆ

(ที่มา: ปรับปรุงจาก Cunningham FG, Leveno KJ, Bloom SL, Hauth JC, Rouse DJ, Spong CY. Prenatal diagnosis and fetal therapy. Williams Obstetrics. 23rd ed. New York: McGraw-Hill, 2010: 287-311)

การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมที่แม่นยำที่สุด ณ ปัจจุบัน คือการตรวจ NIPT

จากด้านบน จะเห็นได้ว่า การตรวจคัดกรองจากสารเคมีในเลือดของมารดา หรือการอัลตราซาวนด์ หรือการทำทั้งเจาะเลือดและอัลตราซาวนด์ร่วมกัน โอกาสการตรวจพบ ก็สูงสุดเพียงแค่ 65-95% เท่านั้น ซึ่งยิ่งความแม่นยำสูง ก็จะต้องเจาะเลือดหลายครั้ง และต้องอัลตราซาวนด์โดยแพทย์เฉพาะทาง แถมผลการตรวจกว่าจะได้ก็อยู่ในช่วงไตรมาสที่สอง เพิ่มเวลาการรอคอยของคุณแม่

แต่ปัจจุบันมีการตรวจคัดกรองด้วยวิธีใหม่ มีประสิทธิภาพของการตรวจคัดกรองสูงถึงที่ทางการแพทย์เรียกว่า NIPT (Non-invasive prenatal testing) ซึ่งใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า Next Generation Sequencing (NGS) โดยจะเป็นการเจาะเลือดมารดา และหาชิ้นส่วนของ DNA จากรกของทารกในครรภ์ที่ลอยปะปนอยู่ในเลือดของคุณแม่ นำมาวิเคราะห์อัตราส่วน ว่ามีโครโมโซมไหนที่มีอัตราส่วนมากผิดปกติหรือไม่ ซึ่งวิธีนี้มีประสิทธิภาพสูงมากในการคัดกรองดาวน์ซินโดรม และความผิดปกติของโครโมโซมของทารกในครรภ์

เทคโนโลยีการตรวจคัดกรอง NIPT นี้ ณ ปัจจุบันถือว่าเป็นวิธีที่แนะนำ เนื่องจากแม้ว่าราคาอาจจะสูงกว่าการตรวจ Quad test เล็กน้อย แต่

สามารถอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับการตรวจ NIPT ได้ที่นี่ : การตรวจสารพันธุกรรมทารกในครรภ์ (Cell-free fetal DNA) คัดกรองดาวน์ซินโดรม

ต้องการตรวจ NIPT คลิกที่นี่

ที่มา :

1. การตรวจคัดกรองการตั้งครรภ์ทารกกลุ่มอาการดาวน์ (Down syndrome screening) ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2. Wald NJ, Kennard A, Hackshaw A, McGuire A. Antenatal screening for Down’s syndrome. J Med Screen. 1997;4(4):181-246.

ต้องการคำปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม หรือนัดหมายตรวจ NIPT คลิกที่นี่

call to action NIPT ท้ายบทความ สีชมพู

✅✅✅✅✅

เฮลท์สไมล์ บริการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ และตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ ครบ 23 คู่ทุกโครโมโซมที่มีในมนุษย์ รู้เพศ และโรคอื่นๆที่เกิดจากการขาด/เกินของโครโมโซมขนาดเล็กได้มากถึง 92 โรค กับ Brand NIFTY® และ NGD NIPS

✔ ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมอื่นๆ ผลแม่นยำสูง 99.9%

✔ เจาะเลือดเพียง 10 ซีซี ไม่เสี่ยงแท้ง

✔ ราคาคุ้มค่า ประหยัด ค่าบริการเริ่มต้นที่ 9,500 บาท รวมค่าบริการเจาะเลือดถึงบ้าน และแพทย์อ่านผลให้ทุกเคส

✔ สะดวก สบาย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ลดความเสี่ยงจากการเดินทางออกนอกสถานที่

✔ บริการตรวจถึงบ้านทั่วประเทศ ฟรี

✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @Healthsmile

📞 โทร : 089 874 9565

🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของทารกในครรภ์ ได้ที่นี่ https://healthsmile.co.th/prenatal-screening/

ตารางราคา NGD NIPT 5chromosome 8900 บาท NIFTY focus 10900 บาท NGD NIPS 23 chromosomes 11900 บาท NIFTY Core 12900 บาท NIFTY Pro 17400 บาท
HealthSmile Medical writer team เป็นทีมเขียนบทความทางการแพทย์ของบริษัท วัฒนา เมดิคอล แอนด์ เวลล์บีอิง จำกัด ที่มีความต้องการที่จะกระจายความรู้ด้านการแพทย์เชิงลึก เกี่ยวกับการตรวจความผิดปกติของโครโมโซม ยีน และ DNA รวมไปถึงความรู้ด้านการตั้งครรภ์ การตรวจสุขภาพ และโรคภัยต่างๆ หากมีข้อเสนอแนะ สามารถแจ้งได้ที่ [email protected]