Last Updated on 13 มิถุนายน 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์
เนื้อหาในบทความนี้
Last Updated on 13 มิถุนายน 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์
อัลตราซาวนด์ พบจุดที่หัวใจ (EIF)
Echogenic intracardiac focus (EIF) หมายถึงการอัลตราซาวนด์แล้วพบจุดสว่างเล็กๆในหัวใจ ซึ่งจุดสว่างนี้จะอยู่ในกล้ามเนื้อ papillary ของหัวใจ
EIF พบได้ในประมาณ 3-5% ของการตั้งครรภ์ และมักไม่เป็นอันตราย แต่ว่าก็มีความเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของโครโมโซมของทารกในครรภ์รวมถึงภาวะดาวน์ซินโดรมได้
EIF ถือเป็น “สิ่งบ่งขี้อย่างอ่อน (Soft marker)” สำหรับดาวน์ซินโดรม หากตรวจพบความผิดปกตินี้เพียงอย่างเดียว จะสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นสำหรับดาวน์ซินโดรม 1.4-1.8 เท่า และความเสี่ยงนี้จะเพิ่มขึ้นเมื่อมีการอัลตราซาวนด์พบความผิดปกติอย่างอื่นเพิ่มเติม และปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น มารดามีอายุมาก
การอัลตราซาวนด์พบว่ามี EIF ไม่ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจทารกใดๆทั้งสิ้น และทารกทั่วๆไปก็อาจจะอัลตราซาวนด์พบ EIF ได้ในบางครั้ง ดังนั้นหากตรวจไม่พบความผิดปกติอื่นๆ รวมถึงไม่พบความผิดปกติของโครโมโซม คุณแม่ก็ไม่ต้องกังวลว่าทารกในครรภ์จะผิดปกติ
จะเกิดอะไรขึ้นหลังจากอัลตราซาวนด์พบ EIF แล้ว?
เมื่ออัลตราซาวนด์ทารกในครรภ์แล้วพบ EIF ในอัลตราซาวนด์ คุณพ่อ-คุณแม่จะมีตัวเลือกสำหรับการทดสอบเพิ่มเติม ดังนี้
แนะนำให้ใช้อัลตราซาวนด์ที่มีรายละเอียดมากขึ้น
เช่น การอัลตราซาวนด์กับแพทย์เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ (MFM) เพิ่มเติม เพื่อค้นหาข้อมูลทางโครงสร้างของทารกในครรภ์เพิ่มเติมว่ามีความผิดปกติอื่นๆด้วยหรือไม่
แนะนำให้ตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์ (NIPT)
เนื่องจาก EIF จะเพิ่มความเสี่ยงที่ทารกในครรภ์จะเป็นดาวน์ซินโดรมขึ้นเล็กน้อย ดังนั้น การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมที่มีความแม่นยำสูงด้วยการตรวจ NIPT (Non-Invasive Prenatal Testing) จึงเป็นวิธีที่แนะนำให้ตรวจดู หากผลการตรวจคัดกรอง เป็นลบ (ความเสี่ยงต่ำที่ลูกจะเป็นดาวน์ซินโดรม) ก็ไม่จำเป็นต้องทำการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม
อย่างไรก็ตาม หากแพทย์สงสัยว่าทารกในครรภ์จะมีความผิดปกติของโครโมโซม ก็อาจจะแนะนำให้ตรวจวินิจฉัยก่อนคลอดโดยการเจาะน้ำคร่ำ เพื่อทดสอบความผิดปกติของโครโมโซมในระหว่างตั้งครรภ์ (อ่านเพิ่ม : ผลตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารก มีความเสี่ยงต่ำ เราต้องเจาะน้ำคร่ำอีกหรือไม่)
มีการให้คำปรึกษาทางพันธุกรรม
สิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่า EIF มักเป็นตัวแปรปกติที่ไม่มีผลเสียต่อทารก ดังนั้น หากอัลตราซาวนด์อย่างละเอียดแล้วไม่พบความผิดปกติของโครงสร้างทารกในครรภ์ ไม่มีความผิดปกติของโครโมโซมทารก คุณพ่อ-คุณแม่ก็ไม่ต้องกังวลว่าทารกในครรภ์จะผิดปกติใดๆ
ตัวอย่างภาพอัลตราซาวนด์ของ EIF
References
Caughey, A. B., Lyell, D. J., Filly, R. A., Washington, A. E., & Norton, M. E. (2001). The impact of the use of the isolated echogenic intracardiac focus as a screen for Down syndrome in women under the age of 35 years. American Journal of Obstetrics and Gynecology, 185(5), 1021–1027. https://doi.org/10.1067/mob.2001.117674
Jones, J., & Weerakkody, Y. (2010). Echogenic intracardiac focus. In Radiopaedia.org. Radiopaedia.org.
Ultrasound of Echogenic Intracardiac Foci. (n.d.). Fetalultrasound.com. Retrieved May 23, 2024, from https://www.fetalultrasound.com/online/text/7-112.HTM
✅✅✅✅✅
เฮลท์สไมล์ บริการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ และตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ ครบ 23 คู่ทุกโครโมโซมที่มีในมนุษย์ รู้เพศ และโรคอื่นๆที่เกิดจากการขาด/เกินของโครโมโซมขนาดเล็กได้มากถึง 92 โรค กับ Brand NIFTY® และ NGD NIPS
✔ ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมอื่นๆ ผลแม่นยำสูง 99.9%
✔ เจาะเลือดเพียง 10 ซีซี ไม่เสี่ยงแท้ง
✔ ราคาคุ้มค่า ประหยัด ค่าบริการเริ่มต้นที่ 9,500 บาท รวมค่าบริการเจาะเลือดถึงบ้าน และแพทย์อ่านผลให้ทุกเคส
✔ สะดวก สบาย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ลดความเสี่ยงจากการเดินทางออกนอกสถานที่
✔ บริการตรวจถึงบ้านทั่วประเทศ ฟรี
✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @Healthsmile
📞 โทร : 089 874 9565
🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของทารกในครรภ์ ได้ที่นี่ https://healthsmile.co.th/prenatal-screening/