Last Updated on 17 กรกฎาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์
เนื้อหาในบทความนี้
Last Updated on 17 กรกฎาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์
เชื่อว่าเหล่าคุณแม่ทุกคน เมื่อได้ตั้งครรภ์ นอกจากมีความยินดีแล้ว คงมีความกังวลในเรื่องสุขภาพทารกในครรภ์ตามมาด้วยติดๆ โดยเฉพาะกับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุมาก ยิ่งเกิดความกังวลว่าทารกในครรภ์จะไม่สมบูรณ์ และมีความเสี่ยงเป็นโรคดาวน์ซินโดรมหรือไม่
“ นพ. ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์ สูตินรีแพทย์ ได้กล่าวว่า คุณแม่ตั้งครรภ์ทุกวัย มีความเสี่ยงที่บุตรจะเป็นดาวน์ซินโดรมได้ ความเสี่ยงจะมากขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุของคุณแม่ที่มากขึ้น โดยทางการแพทย์จะถือว่าอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงสูงที่ทารกในครรภ์เป็นดาวน์ซินโดรม”
สาเหตุที่แม่ตั้งครรภ์อายุมาก มีภาวะเสี่ยงทารกเป็นดาวน์ซินโดรม
คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุมาก จะมีโอกาสเกิดความผิดปกติของโครโมโซมสูง โดยเกิดจากการแบ่งตัวของโครโมโซมในเซลล์ไข่ของแม่ช่วงที่มีการปฏิสนธิมีความผิดปกติ ความผิดปกตินี้จะมีความเกี่ยวเนื่องกับอายุคุณแม่ด้วย ซึ่งพบได้ในแม่อายุ 35 ปี 1:350 คน และสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุที่มากขึ้น
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม คุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วงอายุน้อย ก็ไม่ควรชะล่าใจนะคะ เพราะมีโอกาสที่ทารกในครรภ์เป็นโรคดาวน์ซินโดรมได้เช่นกัน เพราะยังมีปัจจัยหลายอย่างที่ทารกในครรภ์ มีโอกาสเป็นดาวน์ซินโดรมค่ะ ดังนั้น แม่ทุกวัยควรมีการตรวจดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์นะคะ
อ่านเพิ่ม ตารางรวมความเสี่ยงทารกในครรภ์เป็นดาวน์ซินโดรม ตามอายุของคุณแม่ หน้าเดียวจบ ครบทุกอายุ
ก่อนที่จะไปทราบถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดดาวน์ซินโดรม คุณแม่มาทำความรู้จักกับกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมคืออะไรกันก่อนเลยค่ะ
รู้จักกับ กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมคืออะไร?
โดยปกติแล้วมนุษย์จะมีโครโมโซมจำนวน 23 คู่ หรือ 46 แท่ง แบ่งเป็นโครโมโซมร่างกาย 22 คู่ โครโมโซมเพศ 1 คู่ XX หรือ XY ซึ่งเป็นโครโมโซมจากพันธุกรรมพ่อ และแม่ ที่ควบคุมลักษณะของแต่ละบุคคล ไม่ว่าจะเป็น สีตา เพศ และอื่นๆ ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากพ่อ 23 โครโมโซม และแม่ 23 โครโมโซม
แต่ในกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมคือ Down Syndrome จะมีโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง ซึ่งโครโมโซมปกติ จะมี 2 แท่ง เมื่อเกินมาจะมีโครโมโซมทั้งหมด 47 แท่ง ทางการแพทย์จะแบ่งการเกิดกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมได้ 3 ชนิด ดังนี้
- Trisomy 21 เกิดจากโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง (รวมเป็น 3 แท่ง) พบได้มากสุดถึง 95%
- Mosaic trisomy 21 มีบางเซลล์ที่มีโครโมโซม 46 แท่ง และบางเซลล์ 47 แท่ง พบได้ประมาณ 1%
- Translocation trisomy 21 เกิดการย้ายโครโมโซม ไปยังอีกเซลล์ ทำให้เซลล์ใหม่มีโครโมโซม 47 แท่ง ซึ่งพบได้น้อยที่สุด
จากความผิดปกติของโครโมโซมดังที่กล่าวมา จะทำให้เด็กที่เกิดมามีความผิดปกติทางด้านร่างกาย และสติปัญญา ซึ่งคุณแม่รู้แล้วว่าดาวน์ซินโดรมคืออะไร ต่อไปเราจะพาคุณแม่ไปเช็กลิสต์กันต่อค่ะว่า กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม หรือโรคดาวน์ซินโดรมจะมีลักษณะอย่างไรบ้าง
เช็กลิสต์ ลักษณะของเด็กที่เป็นโรคดาวน์ซินโดรม
อาการดาวน์ซินโดรมคือ กลุ่มที่ค่อนข้างเห็นอาการได้ชัดเจน ทั้งทางด้านร่างกาย และสติปัญญา ซึ่งเราจะแบ่งอาการให้เห็นชัดๆ ทั้ง 2 ด้าน ดังนี้
ความผิดปกติทางด้านร่างกาย ของอาการดาวน์ซินโดรม
- ศีรษะ ใบหูเล็กกว่าปกติ และตำแหน่งของหูจะต่ำกว่าปกติด้วย
- คอ และจมูกสั้น ใบหน้าแบน
- ริมฝีปากเล็ก และมีอาการลิ้นจุกปาก
- หางตาเฉียงขึ้น และมีจุดสีขาวที่ตาดำ
- มือ-เท้าสั้น และแบน มีพังผืดขึ้นที่มือ ทำให้เห็นเส้นลายมือไม่ชัดเจน
- นิ้วสั้น และกระดูกนิ้วก้อยผิดปกติ
- ควบคุมกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ได้ไม่ค่อยดี
- ข้อต่อยืดได้มากกว่าปกติ อาจเห็นในรูปแบบของมืออ่อนดัดได้มากกว่าคนทั่วไป เป็นต้น
- กระดูกสันหลังบริเวณต้นคอผิดปกติ
- มีพัฒนาการทางร่างกายช้ากว่าปกติ
ความผิดปกติทางด้านสติปัญญา ของกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม
- สมาธิสั้น และไม่สามาถตัดสินใจอะไรเองได้
- อารมณ์รุนแรง ฉุนเฉียวง่าย
- มีการเรียนรู้ช้า โดยเฉพาะเรื่องภาษาจึงอาจทำให้เริ่มพูดช้ากว่าเด็กทั่วไป
- มักมีอาการวิตกกังวล นอนหลับยาก
หมายเหตุ : เด็กที่เป็นโรคดาวน์ซินโดรม ไม่จำเป็นต้องมีอาการทั้งหมดที่กล่าวมา ซึ่งอาจจะมีเพียงอาการใดอาการหนึ่ง ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล
การเกิดดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ ใครเสี่ยงบ้าง?
กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมคือ กลุ่มที่มีความเสี่ยงมาจากปัจจัยที่ทำให้เกิดสาเหตุโครโมโซมผิดปกติ ดังนี้
● หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุมากขึ้น (อายุ 35 ปีขึ้นไป)
คุณแม่อายุมาก จะมีโอกาสทารกในครรภ์เสี่ยงเป็นโรคดาวน์ซินโดรมคือ เกิดจากการแบ่งตัวของโครโมโซมในเซลล์ไข่ของแม่ที่ผิดปกติ โดยเฉลี่ยแล้วคุณแม่ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป จะมีความเสี่ยงสูง ซึ่งอัตราความเสี่ยงจะมากขึ้นตามอายุ ดังนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุมาก ควรทำการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ตั้งแต่เนิ่นๆ นะคะ
● มีประวัติให้กำเนิดบุตรที่เป็นดาวน์ซินโดรม
หากเคยมีประวัติจากการตั้งครรภ์ลูกคนแรกเป็นดาวน์ซินโดรม ความเสี่ยงที่ลูกคนถัดไปจะเป็นโรคดาวน์ซินโดรมก็มีได้เช่นกัน แต่คุณแม่อย่าเพิ่งกังวลใจไปนะคะ เพราะโอกาสที่ลูกจะไม่เป็นดาวน์ซินโดรมก็มีเช่นกัน ดังนั้น คุณแม่ควรทำการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินความเสี่ยงตั้งแต่เนิ่นๆ และทำการตรวจดาวน์ซินโดรมและโครโมโซมจะดีที่สุดค่ะ
● คุณพ่อ คุณแม่ เป็นดาวน์ซินโดรม หรือคนในครอบครัวมีประวัติเป็นดาวน์ซินโดรม
คุณพ่อ คุณแม่ ที่มีโครโมโซมผิดปกติ หรือเป็นดาวน์ซินโดรม จะมีพาหะความผิดปกติของโครโมโซมกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม ซึ่งสามารถถ่ายทอดไปยังลูก และบุตรหลานได้ ควรทำการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อประเมินความเสี่ยงโรคดาวน์ซินโดรม และทำการตรวจดาวน์ซินโดรม และโครโมโซม จะดีที่สุดเช่นกันค่ะ
หมายเหตุ : แม้ผู้ที่ไม่ได้เข้าข่ายกลุ่มเสี่ยงสูง ทารกในครรภ์ก็มีโอกาสเป็นโรคดาวน์ซินโดรมได้เช่นกัน ดังนั้น การตรวจดาวน์ซินโดรม และตรวจโครโมโซมจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับหญิงตั้งครรภ์ทุกคน
อ่านเพิ่ม ตารางรวมความเสี่ยงทารกในครรภ์เป็นดาวน์ซินโดรม ตามอายุของคุณแม่ หน้าเดียวจบ ครบทุกอายุ
ป้องกัน และแก้ไขได้หรือไม่? เมื่อพบว่าทารกในครรภ์เป็นดาวน์ซินโดรม
ปัจจุบันยังไม่มีการรักษา หรือสามารถป้องกันได้ เพราะกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมคือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม มีเพียงการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และตรวจโครโมโซมที่ผิดปกติ ซึ่งเด็กกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม ทางการแพทย์จะรักษาตามอาการ และคุณแม่เองสามารถเตรียมพร้อมรับมือได้ ด้วยการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และตรวจโครโมโซม ได้ตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์ ซึ่งจะทำให้คุณแม่สามารถวางแผนในการเลี้ยงดูทารกได้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อให้ทารกที่เกิดมาได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง
มาดูกันค่ะว่า วิธีการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และตรวจโครโมโซม ตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์ หลักๆ จะมีวิธีไหนบ้างที่เหมาะกับคุณแม่ โดยเฉพาะแม่สูงวัยอายุ 35 ปีขึ้นไป
วิธีตรวจวินิจฉัย และตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และตรวจโครโมโซม ที่แม่มือใหม่ควรรู้ (เรียงลำดับจากแม่นยำมากที่สุดไปน้อยที่สุด)
● เจาะน้ำคร่ำ ขณะอายุครรภ์ 17-20 สัปดาห์ ระดับความแม่นยำ 100%
เป็นวิธีตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม ที่นิยมตั้งแต่ในอดีตถึงปัจจุบัน ทำโดยการเจาะน้ำคร่ำ เพื่อนำไปตรวจโครโมโซมที่ผิดปกติ แต่วิธีนี้เสี่ยงต่อภาวะการแท้งบุตรได้ในคุณแม่บางท่าน สูติแพทย์จึงแนะนำตรวจเฉพาะคุณแม่ที่มีความเสี่ยงสูง อาทิ คุณแม่ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป มีประวิติตั้งครรภ์บุตรเป็นโรคดาวน์ซินโดรม เป็นต้น
● ตรวจ NIPT (Non-Invasive Prenatal Testing) หรือตรวจนิฟตี้ ขณะอายุครรภ์ 10-18 สัปดาห์ ระดับความแม่นยำ 99.9 %
การตรวจ nifty หรือนิฟตี้ เป็นการตรวจดาวน์ซินโดรม ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน เพราะไม่ต้องเจาะน้ำคร่ำ ไม่เสี่ยงแท้ง สะดวก รวดเร็ว ผลแม่นยำสูง ซึ่งจะทำโดยการเจาะเลือดตรวจดาวน์ซินโดรม ของคุณแม่เพียง 10 มิลลิลิตร เพื่อนำ DNA ของทารกที่ปนอยู่ในเลือดแม่ ไปตรวจโครโมโซมที่มีความผิดปกติ โดยเฉพาะกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม ซึ่งทางการแพทย์แนะนำกลุ่มคุณแม่ที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไป และมีภาวะเสี่ยงแท้งบุตรต่อการเจาะน้ำคร่ำ ให้ตรวจนิฟตี้ เพื่อลดภาวะเสี่ยงแท้ง เป็นต้น
ข้อดี ของการตรวจนิฟตี้ (nifty test) คือ รู้ดาวน์ซินโดรม และโรคทางพันธุกรรมอื่นๆ ได้เร็ว
1. การตรวจ nifty หรือนิฟตี้ สามารถตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม ได้แม่นยำสูง
2. การตรวจ nifty หรือนิฟตี้ สามารถหาความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 18 กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด (Edwards Syndrome) โครโมโซมคู่ที่ 13 กลุ่มอาการดาวน์พาทัวซินโดรม (Patau syndrome) ซึ่งเป็นกลุ่มที่พบบ่อยในแม่ตั้งครรภ์ และตรวจภาวะขาด – เกินของโครโมโซมคู่อื่นๆ ได้
3. การตรวจ nifty หรือนิฟตี้ ทำให้สามารถรู้เพศทารกในครรภ์ ทราบผลเร็ว ไม่ต้องลุ้น
4.การตรวจ nifty หรือนิฟตี้ สามารถเข้ารับการตรวจได้เมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 10 สัปดาห์ขึ้นไป จึงทำให้ทราบผลตั้งแต่ครรภ์ไตรมาสแรก
5.การตรวจ nifty หรือนิฟตี้ ทำโดยการเจาะเลือดตรวจดาวน์ ตรวจเลือดดาวน์ โดยไม่ต้องเจาะน้ำคร่ำ จึงไม่เสี่ยงแท้ง ไม่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์
*การตรวจ nifty หรือนิฟตี้ อายุครรภ์ที่แนะนำ 10-12 สัปดาห์ เป็นอายุครรภ์ที่เหมาะกับการตรวจที่สุด และสามารถตรวจได้ตลอดจนกว่าทารกจะคลอด (แต่หากเกิน 24 สัปดาห์ อาจจะไม่ค่อยมีประโยชน์ในการป้องกัน เนื่องจากหากพบความผิดปกติอาจจะไม่สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้)
อ่านเพิ่ม อายุครรภ์ที่เหมาะจะเจาะตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม (NIPT, NIPS, NIFTY) คือช่วงไหน
● การเจาะเลือด + อัลตราซาวด์ ขณะอายุครรภ์ 10 -14 สัปดาห์ ระดับความแม่นยำ 85-90 %
วิธีนี้เป็นการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม โดยการตรวจสารชีวเคมีในเลือดของแม่ที่ตั้งครรภ์ โดยการหาความผิดปกติของ PAPP-A และ hCG ร่วมกับการตรวจอัลตร้าซาวด์ วัดความหนาของผิวหนังบริเวณต้นคอของทารกในครรภ์ ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ได้จำกัดเฉพาะแม่ที่มีอายุมาก แม่อายุน้อยก็ตรวจได้ และไม่เสี่ยงแท้งบุตร แต่ระดับความแม่นยำยังไม่สูง มีโอกาสผลลวงได้
* PAPP-A (Pregnancy-associated plasma protein A) คือ โปรตีนชนิดหนึ่งที่สร้างเป็นพิเศษขณะคุณแม่ตั้งครรภ์ จะลดลงในหญิงตั้งครรภ์ที่ทารกในครรภ์เป็นกลุ่ม อาการดาวน์ และ hCG ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างในขณะตั้งครรภ์เช่นกัน
● เจาะตรวจ Quadruple test ขณะอายุครรภ์ 16 -18 สัปดาห์ ระดับความแม่นยำ 80 %
วิธีนี้เป็นการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม โดยการตรวจสารชีวเคมีในเลือดของแม่ที่ตั้งครรภ์ 4 ชนิด ข้อดีของวิธีนี้ คือ เป็นวิธีที่ราคาถูก เหมาะสำหรับคุณแม่ที่มีข้อจำกัดทางการเงิน เนื่องจากหากคุณแม่เป็นคนไทย สามารถเข้าตรวจได้ฟรีที่ รพ.ของรัฐ ได้ทั่วประเทศ แต่ความแม่นยำของวิธีนี้ ก็จะไม่ได้สูงเท่ากับวิธีอื่นๆ
อ่านเพิ่ม คัดกรองดาวน์ซินโดรมฟรี ทั่วประเทศไทย คืออะไร ใช้วิธีไหน แม่นยำเหรอ
📌📌 ตรวจนิฟตี้ (nifty test) ทางเลือกใหม่คุณแม่ทุกวัย โดยเฉพาะคุณแม่อายุ 35 ปีขึ้นไป รู้ผลเร็วทันใจ ไม่เสี่ยงแท้ง
อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจทั้งหมดที่นี่ https://healthsmile.co.th/package/
การตรวจนิฟตี้ (nifty test) โดยการเจาะเลือดตรวจดาวน์ วิธีนี้เป็นการตรวจดาวน์ซินโดรมของทารกในครรภ์ได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยไม่เสี่ยงแท้ง และนอกจากนี้ยังสะดวก รู้ผลเร็ว ทำให้ตั้งครรภ์โดยไม่ต้องเครียด ไม่ต้องกังวลถึงเรื่องนี้เลย ดังนั้น ให้เฮลท์สไมล์ดูแลนะคะ
📝บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์ https://healthsmile.co.th/blog/down-syndrome-screening-test-as-early-as-10-weeks-of-pregnancy/
คัดกรองตรวจดาวน์ซินโดรมมีกี่แบบ แม่นยำกี่เปอร์เซนต์? Quad test, NIPT, NIFTY, อัลตราซาวนด์ https://healthsmile.co.th/blog/how-many-types-of-down-syndrome-screening-test-in-pregnancy-how-accurate-of-them/
กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม (Down’s syndrome) https://healthsmile.co.th/blog/downs-syndrome/
แม่อายุเท่าไหร่ถึงเสี่ยงดาวน์ซินโดรม? อายุน้อยกว่า 35 ปี ต้องตรวจดาวน์ซินโดรมไหม? อายุเท่าไหร่ควรตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม https://healthsmile.co.th/blog/all-about-fetal-down-syndrome-risk-in-pregnancy/
References
Nawaphorn, H. (2021, January 4). แม่ท้องต้องรู้ nifty test การตรวจหาความผิดปกติของเบบี๋ในครรภ์. CottonBaby. https://cottonbaby.co/mom-dad/nifty-test/
NIFTY Test มิติใหม่ของการตรวจโรคพันธุกรรมทารกในครรภ์. (n.d.). Mahidol.Ac.Th. Retrieved April 11, 2024, from https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/251/NIFTYTest-%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A0%E0%B9%8C/
NIPT ตรวจคัดกรองโครโมโซมทารกในครรภ์ เพื่ออนาคตที่สมบูรณ์ของลูกน้อย. (n.d.). Bumrungrad.com. Retrieved April 11, 2024, from https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/november-2018/women-center-health-nipt
ดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome). (2016, December 14). Pobpad. https://www.pobpad.com/%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%A1
ดาวน์ไม่ดาวน์ รู้ได้ตั้งแต่ 3 เดือนแรก. (n.d.). Samitivejhospitals.com. Retrieved April 11, 2024, from https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%A1
เด็กในกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม เกิดได้กับคุณแม่ช่วงทุกอายุ. (n.d.). Ram Hospital. Retrieved April 11, 2024, from https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/1489
✅✅✅✅✅
เฮลท์สไมล์ บริการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ และตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ ครบ 23 คู่ทุกโครโมโซมที่มีในมนุษย์ รู้เพศ และโรคอื่นๆที่เกิดจากการขาด/เกินของโครโมโซมขนาดเล็กได้มากถึง 92 โรค กับ Brand NIFTY® และ NGD NIPS
✔ ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมอื่นๆ ผลแม่นยำสูง 99.9%
✔ เจาะเลือดเพียง 10 ซีซี ไม่เสี่ยงแท้ง
✔ ราคาคุ้มค่า ประหยัด ค่าบริการเริ่มต้นที่ 9,500 บาท รวมค่าบริการเจาะเลือดถึงบ้าน และแพทย์อ่านผลให้ทุกเคส
✔ สะดวก สบาย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ลดความเสี่ยงจากการเดินทางออกนอกสถานที่
✔ บริการตรวจถึงบ้านทั่วประเทศ ฟรี
✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @Healthsmile
📞 โทร : 089 874 9565
🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของทารกในครรภ์ ได้ที่นี่ https://healthsmile.co.th/prenatal-screening/