Last Updated on 17 กรกฎาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์

Last Updated on 17 กรกฎาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์

เอกสารฉบับเต็ม : คลิกที่นี่

เรื่องการฝากครรภ์ เป็นหน้าที่ของสูตินรีแพทย์ร่วมกับครอบครัวของมารดา ที่จะส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสุขภาพของมารดาตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ ระหว่างตั้งครรภ์ ไปจนถึงหลังคลอด เพื่อให้ทารกที่เกิดมาแข็งแรง และคุณแม่ปลอดภัย

หน้าที่หลักๆของสูตินรีแพทย์ด้านการดูแลครรภ์ มีดังนี้

     

      1. ส่งเสริมสุขภาพ : ด้วยการส่งเสริมโภชนาการ การดูแลสุขภาพก่อนตั้งครรภ์ รวมถึงกำจัดปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่จะทำให้การตั้งครรภ์มีปัญหา เช่น เรื่องการสูบบุหรี่ของคนในครอบครัว โรคประจำตัวต่างๆของมารดา เป็นต้น

      1. ป้องกัน : ช่วยหาความเสี่ยงด้านสุขภาพของคุณแม่ และป้องกันความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น ป้องกันเกี่ยวกับเรื่องเบาหวาน ดาวน์ซินโดรมของทารกในครรภ์ หรือครรภ์เป็นพิษ เป็นต้น

      1. รักษา : กรณีพบความผิดปกติของการตั้งครรภ์ ก็ต้องให้การรักษาอย่างเต็มที่เพื่อให้หายจากโรค หรือลดความรุนแรงจากโรคที่เป็นอยู่ให้ได้มากที่สุด

      1. ฟื้นฟู : ฟื้นฟูสุขภาพมารดาจากโรคต่างๆ ไปจนถึงการฟื้นฟูหลังคลอด

    โดยหลักๆแล้ว ในเรื่องของการตั้งครรภ์ จะเน้นไปในเรื่องของการส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคเป็นส่วนใหญ่ โดยผ่านการฝากครรภ์ที่มีคุณภาพ มีการตรวจหาความเสี่ยงของโรค และการป้องกันโรคด้วยวัคซีน และยาต่างๆในคนที่มีความเสี่ยง

    ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย (Royal Thai College of Obstetricians and Gynecologists : RTCOG) จึงได้จัดทำแนวทางการดูแลขึ้น เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงมาตรฐาน ให้แพทย์ที่ฝากครรภ์ทุกคนทำตาม

    ในบทความนี้ ผู้เขียนของ HealthSmile ร่วมกับ นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์ ได้สรุปเนื้อหาในเอกสารของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย และนำมาย่อยให้กับคุณแม่แต่ละท่าน เพื่อเป็น check list ว่าได้รับบริการการฝากครรภ์ที่ดี และถูกต้องตามมาตรฐานขั้นต่ำของประเทศไทยแล้วหรือยัง

    ทั้งนี้ การที่แพทย์ที่ฝากครรภ์ของคุณแม่ ทำ/ไม่ทำ ตามเกณฑ์มาตรฐานดังกล่าว ก็อาจจะเพราะมีเหตุผลบางประการ คุณแม่ควรที่จะปรึกษากับแพทย์ที่ฝากครรภ์โดยตรง เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันนะคะ และแนวทางเวชปฏิบัติฉบับนี้มิได้มีวัตถุประสงค์ในการใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินการทางกฎหมายแต่อย่างใดค่ะ

    อ่านเอกสารฉบับเต็ม
    แนวทางเวชปฏิบตัิของราชวิทยาลยัสตูินรีแพทย์แห่งประเทศไทย
    เรื่อง การดูแลสตรีตั้งครรภ์
    RTCOG Clinical Practice Guideline : Prenatal Care

    คลิกที่นี่

    เริ่มต้นที่การหาความเสี่ยงของการตั้งครรภ์

       

        1. ซักประวัติของคุณแม่ ทั้งประวัติส่วนตัว และประวัติของครอบครัว

        1. ตรวจร่างกาย และตรวจภายใน

        1. ตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยมีรายการตรวจ ดังนี้

             

              • DCIP ดูพาหะทาลัสซีเมีย (ในบางโรงพยาบาลเอกชน อาจเลือกตรวจ Hemoglobin typing เลย แต่จะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่า)

              • Blood group (ABO และ Rh) ดูกรุ๊ปเลือด

              • ตรวจมะเร็งปากมดลูก กรณีไม่เคยตรวจมาในช่วง 3-5 ปี (การตรวจนี้หลายๆโรงพยาบาลอาจไม่ได้ตรวจให้ โดยสาเหตุมีหลากหลาย เช่น ข้อจำกัดของจำนวนแพทย์ที่มีในโรงพยาบาลไม่เพียงพอ, แพทย์กังวลว่าหากมีเลือดออกหรือเกิดการแท้งแล้วจะโทษว่าเกิดจากการตรวจภายใน เป็นต้น : ผู้เขียน)

              • ตรวจปัสสาวะ หาการติดเชื้อ

              • ตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ได้แก่ ซิฟิลิส, เอชไอวี (HIV), ตับอักเสบบี (HBsAg)

              • ตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมของทารกในครรภ์ เช่น ดาวน์ซินโดรม ซึ่งโดยทั่วไปมีวิธีตรวจที่เลือกได้ ดังนี้

                   

                    • ตรวจ NIPT ความแม่นยำ 99.9% ราคาขึ้นอยู่กับจำนวนโครโมโซมที่เลือกตรวจ เริ่มต้นที่ 5 โครโมโซม รู้เพศได้

                • อัลตราซาวนด์

            1. ประเมินความเสี่ยงในการฝากครรภ์

                 

                  • เบาหวานขณะตั้งครรภ์

                  • ภาวะครรภ์เป็นพิษ

                  • การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด โดยการอัลตราซาวนด์วัดความยาวปากมดลูก

              1. บันทึกประวัติการฝากครรภ์

            ต้องฝากครรภ์ทั้งหมดกี่ครั้ง

            คำตอบคือ ไม่มีตัวเลขที่แน่นอน

            ขึ้นอยู่กับความเสี่ยง และความผิดปกติที่พบระหว่างตั้งครรภ์ อาจจะฝากครรภ์ถี่มากขึ้น หากมีความเสี่ยง หรือมีโรค/ภาวะแทรกซ้อน

            โดยปกติ หากไม่มีความเสี่ยง/ภาวะแทรกซ้อนใดๆ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะนำให้ฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ และฝากต่อเนื่องตลอดการตั้งครรภ์ ตามตารางนี้ เพื่อรับบริการตามกิจกรรมที่กำหนดไว้ในแต่ละครั้งอย่างครบถ้วน

            ในรายที่เป็นครรภ์เสี่ยงสูงจากโรคทางอายุรกรรม ศัลยกรรม มีภาวะแทรกซ้อนในครรภ์ก่อน หรือครรภ์ปัจจุบัน มีปัจจัยเสี่ยงทางสังคม จะต้องปรับ วิธีและความถี่ของการฝากครรภ์ให้เหมาะสมกับปัญหาของแต่ละคนด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์แต่ละท่าน

            ตารางกิจกรรมบริการ การตรวจคดักรองที่จำเป็น และการประเมินความเสี่ยงตามอายุครรภ์

            ตารางกิจกรรมบริการ การตรวจคดักรองที่จำเป็น และการประเมินความเสี่ยงตามอายุครรภ์

             

            โดยหลักๆการตรวจติดตาม จะประกอบไปด้วยการซักประวัติความเสี่ยงทั้งทางกาย และทางใจ มีการตรวจร่างกาย ตรวจครรภ์ แนะนำการตรวจคัดกรองโรคต่างๆที่อาจเกิดในเด็ก เช่น คัดกรองอาการดาวน์ซินโดรม , ธาลัสซีเมีย คัดกรองโรคต่างๆที่อาจเกิดในมารดา เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ครรภ์เป็นพิษ การตรวจสุขภาพช่องปาก รวมไปถึงการป้องกันโรคที่จะเกิดขึ้นในมารดาและทารกในครรภ์ ได้แก่ การให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนคอตีบ/ไอกรน/บาดทะยัก เป็นต้น

            จากตารางด้านบน จะเป็นตารางมาตรฐานสำหรับการฝากครรภ์ในโรงพยาบาลเท่านั้น ในโรงพยาบาลเอกชนระดับสูงหลายๆแห่ง อาจมีการตรวจต่างๆที่มากขึ้นกว่ามาตรฐานขั้นต่ำ เช่น การตรวจ NIPT คัดกรองดาวน์ซินโดรมของทารกในครรภ์ , การตรวจคัดกรองเชื้อ GBS ในช่องคลอด , การตรวจ Torch titer , การตรวจตับอักเสบซี ฯลฯ

            แต่อย่างไรก็ดี หากคุณแม่เลือกฝากครรภ์ในคลินิก หรือโรงพยาบาลขนาดเล็ก คุณแม่ควรจะตรวจสอบให้ดี ว่าการฝากครรภ์ของคุณแม่ได้ครบตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำนี้หรือไม่ หากไม่ครบ คุณแม่ก็ควรจะเปลี่ยนสถานที่ฝากครรภ์เพื่อให้ทารกในครรภ์ของเราได้การบริการที่ดีที่สุด

            ต้องการคำปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม หรือนัดหมายตรวจ NIPT คลิกที่นี่

            call to action NIPT ท้ายบทความ สีชมพู

            ✅✅✅✅✅

            เฮลท์สไมล์ บริการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ และตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ ครบ 23 คู่ทุกโครโมโซมที่มีในมนุษย์ รู้เพศ และโรคอื่นๆที่เกิดจากการขาด/เกินของโครโมโซมขนาดเล็กได้มากถึง 92 โรค กับ Brand NIFTY® และ NGD NIPS

            ✔ ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมอื่นๆ ผลแม่นยำสูง 99.9%

            ✔ เจาะเลือดเพียง 10 ซีซี ไม่เสี่ยงแท้ง

            ✔ ราคาคุ้มค่า ประหยัด ค่าบริการเริ่มต้นที่ 9,500 บาท รวมค่าบริการเจาะเลือดถึงบ้าน และแพทย์อ่านผลให้ทุกเคส

            ✔ สะดวก สบาย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ลดความเสี่ยงจากการเดินทางออกนอกสถานที่

            ✔ บริการตรวจถึงบ้านทั่วประเทศ ฟรี

            ✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @Healthsmile

            📞 โทร : 089 874 9565

            🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของทารกในครรภ์ ได้ที่นี่ https://healthsmile.co.th/prenatal-screening/

            ตารางราคา NGD NIPT 5chromosome 8900 บาท NIFTY focus 10900 บาท NGD NIPS 23 chromosomes 11900 บาท NIFTY Core 12900 บาท NIFTY Pro 17400 บาท
            HealthSmile Medical writer team เป็นทีมเขียนบทความทางการแพทย์ของบริษัท วัฒนา เมดิคอล แอนด์ เวลล์บีอิง จำกัด ที่มีความต้องการที่จะกระจายความรู้ด้านการแพทย์เชิงลึก เกี่ยวกับการตรวจความผิดปกติของโครโมโซม ยีน และ DNA รวมไปถึงความรู้ด้านการตั้งครรภ์ การตรวจสุขภาพ และโรคภัยต่างๆ หากมีข้อเสนอแนะ สามารถแจ้งได้ที่ [email protected]