Last Updated on 17 เมษายน 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์

Last Updated on 17 เมษายน 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์

อัลตราซาวนด์ตอนอายุครรภ์ 10-12 สัปดาห์ จะเห็นอะไรบ้าง

ช่วงอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ หรือ 3 เดือนแรก

  • คุณแม่หลายคนส่วนมากอาการแพ้ทองจะเบาลง หรือบางคนก็ไม่มีอาการแพ้ท้องเหลืออีกแล้ว เพราะฮอร์โมนเข้าสู่ภาวะปกติ ทำให้ความผันผวนของฮอร์โมนในร่างกายค่อยๆ กลับมาเป็นเหมือนเดิม
  • ทารกอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ จะมีพัฒนาต่างๆมากมาย อวัยวะจะสร้างครบทุกระบบ และจะพัฒนาเรื่อยๆจนสมบูรณ์ ทารกจะมีขนาดยาว 2.1 นิ้ว หนักประมาณ 13-14 กรัม ยังไม่สามารถอัลตราซาวนด์สังเกตเห็นเพศลูกได้ แต่จะสามารถตรวจ NIPT (Non-invasive prenatal testing) ซึ่งเป็นการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของลูกจากเลือดคุณแม่เพื่อทราบเพศลูกได้ (อ่านเพิ่ม : NIPT หรือ NIFTY นอกจากตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมได้ ยังตรวจโรคอะไรได้อีก)
  • หัวใจของลูกน้อยจะเต้นประมาณ 140-160 ครั้งต่อนาที ศีรษะจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อเทียบลำตัว หัวใจจะมี 4 ห้อง และทารกสามารถขยับนิ้วมือและนิ้วเท้าได้มากขึ้นด้วย และจะเริ่มมีการสะสมแคลเซียมมากขึ้นเพื่อสร้างมวลกระดูกที่แข็งแรง

อวัยวะทารกช่วงอายุครรภ์ 12 สัปดาห์

  • นิ้วมือนิ้วเท้าแยกออกจาก กันอย่างสมบูรณ์ สามารถขยับนิ้วมือและนิ้วเท้าได้ เล็บเริ่มงอก
  • อวัยวะเพศจะยังเห็นเป็นเพียงตุ่มเล็กๆ ซึ่งยังไม่สามารถบอกเพศได้ชัดเจน
  • ทารกสามารถแสดงสีหน้าได้บ้างแล้ว เช่น หรี่ตาและขมวดคิ้วได้
  • ไตเริ่มขับของเสียออกจากกระเพาะปัสสาวะได้
  • ระบบประสาทเส้นต่าง ๆ ในสมองก็จะเริ่มเชื่อมโยงหากันมากขึ้นเรื่อย ๆ
  • ดวงตาจะเริ่มเคลื่อนที่จากด้านข้างไปอยู่ด้านหน้าใกล้เคียงตำแหน่งของดวงตาที่ถูกต้อง

ร่างกายคุณแม่ช่วง 12 สัปดาห์

  • คุณแม่เริ่มมีท้องนูนออกมา คนรอบข้างสังเกตเห็นได้ จะรู้สึกอึดอัดหน้าท้องเริ่มขยาย ต้องหาเสื้อหรือกางเกงใหม่ให้พอดีตัว
  • หนังศีรษะมันขึ้น หรือผมแห้งมากขึ้น ผมร่วงมากขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน เล็บยาวขึ้น แต่ก็เปราะง่าย
  • เล็บยาวเร็วขึ้น แต่ก็เปราะง่าย หักง่าย
  • อ่อนเพลียง่าย เพราะร่างการต้องทำงานหนักรองรับการเจริญเติบโต
  • มีอาการตกขาวมากขึ้น เพราะมีการไหลเวียนเลือดไปที่ช่องคลอด และฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้คุณแม่หลายคนมีอาการตกขาวออกมามากขึ้น แต่หากว่าตกขาวมากจนรู้สึกผิดปกติ ควรตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วย เนื่องจากหากมีเชื้อโรคก็จะมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดความผิดปกติต่อทารกในครรภ์ได้ (อ่านเพิ่ม : ตกขาวระหว่างตั้งครรภ์ อาการอย่างไรถึงอันตราย?)
  • คุณแม่ควรเน้นกินอาหารที่มีประโยชน์ หลากหลาย และครบทั้ง 5 หมู่ ในแต่ละมื้อควรประกอบไปด้วยเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ รวมถึงธัญพืชต่าง ๆ ด้วย (อ่านเพิ่ม : อาหารสำหรับคนแพ้ท้อง ที่ดีต่อคุณแม่และลูกในครรภ์)
  • อาการปวดท้องน้อย อาจมีสาเหตุจากการขยายตัวของมดลูก หากอาการปวดเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ หรือมีอาการปวดติดต่อหลายวัน หรือมีเลือดออกจากช่องคลอด ควรรีบไปพบแพทย์

อาการปวดหลังของคุณแม่ท้อง 12 สัปดาห์

  • ทาครีมยาที่มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดเมื่อย แต่ไม่ควรรับประทานยาคลายกล้ามเนื้อ หรือซื้อยาแก้ปวดมารับประทานเอง
  • เปลี่ยนอริยาบถบ่อย ๆ ไม่นั่งหรือนอนในท่าเดิมนาน ๆ
  • เวลานั่งหรือนอน ควรมีเบาะรองเพื่อรองรับน้ำหนัก
  • หลีกเลี่ยงการยกของหนัก หรือควรขอความช่วยเหลือจากคนใกล้ตัว
  • พยายามคุมน้ำหนักให้ได้ตามที่แพทย์แนะนำ เพื่อลดแรงกดดันที่กระดูกช่วงหลัง

การอัลตราซาวนด์ 12 สัปดาห์ เพื่ออะไร

  • ระยะนี้แพทย์จะทำการตรวจหาความเสี่ยงของภาวะบกพร่องทางโครโมโซมและพันธุกรรม เพื่อหาความเสี่ยงของดาวน์ซินโดรม และภาวะอื่น ๆ คุณแม่จึงอาจจะได้รับการตรวจวัดความหนาของน้ำที่สะสมบริเวณต้นคอทารก (NT : Nuchal Translucency) เพื่อดูว่าทารกมีความเสี่ยงของดาวน์ซินโดรมหรือไม่ รวมถึงการตรวจเลือด และอาจตรวจวัดระดับฮอร์โมนในร่างกายด้วย
  • การตรวจหาความเสี่ยงของภาวะบกพร่องทางโครโมโซมและพันธุกรรม มีหลายวิธี คุณแม่สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บทความนี้
  • หากอัลตราซาวนด์ตอนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์แล้วไม่พบตัวอ่อน มีโอกาสเป็นไปได้สูงว่าคุณแม่จะมีการแท้งบุตรหรือมีภาวะท้องลม ให้มาตรวจครรภ์อีกครั้งในสัปดาห์ถัดไปเพื่อผลลัพธ์ที่แม่นยำมากขึ้น เพราะอาจเป็นไปได้ว่ามีการนับอายุครรภ์ไม่ตรงกับความเป็นจริง ทำให้ยังตรวจไม่พบตัวอ่อน มากไปกว่านั้น แพทย์จะไม่วินิจฉัยการแท้งหรือภาวะท้องลมจากการอัลตราซาวนด์แค่เพียงครั้งเดียวค่ะ จำเป็นจะต้องมีการติดตามดูผลในครั้งต่อไป

อัลตราซาวนด์เห็นอะไรบ้าง

  • ขนาดของทารก จะมีพัฒนาการลักษณะคล้ายมนุษย์มากขึ้น
  • อวัยวะต่างๆ ทารกเริ่มทำงานและพัฒนามีการเต้นของหัวใจ
  • ระบบประสาทส่วนต่างเริ่มทำงานทั้งสมองและไขสันหลัง
  • นิ้วมือนิ้วเท้าที่อยู่ในภาพอัลตราซาวนด์ แม้ว่ากำลังเติบโต

ท้อง 12 สัปดาห์ เลือดออกสีน้ำตาล หมายความว่าอะไร

การมีเลือดออกสีน้ำตาลในช่วงต้นอาจเกิดได้หลายสาเหตุ ไม่ได้ร้ายแรงอย่างที่คิด แต่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้แน่ใจว่าคุณแม่กับทารกในครรภ์แข็งแรงสุขภาพดี

  • เมื่ออัลตราซาวนด์แล้วพบว่าตัวอ่อนยังมีชีวิต ถุงตั้งครรภ์และถุงไข่แดงยังอยู่ครบตามปกติ เลือดสีน้ำตาลที่ไหลออกมานี้ มักไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ ค่ะ
  • หากไม่มีความผิดปกติและเลือดในครรภ์ออกไม่หยุด ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยเพิ่มว่ามดลูกมีความผิดปกติไหม บางทีอาจเป็นเลือดที่ค้างอยู่ภายในช่องคลอด ไม่ส่งผลเสียต่อการตั้งครรภ์ หรือเป็นการแท้งค้าง แล้วไม่รู้ตัวว่ามีการแท้งเกิดขึ้น

ภาวะแท้งคุกคามเป็นอย่างไร

ภาวะแท้งคุกคาม (Threatened Abortion) คือ สถานะที่มีความเสี่ยงในการเกิดการแท้ง มักเกิดจากปัจจัยหลายประการ เช่น

  • ปัจจัยทางพันธุกรรมโครโมโซมผิดปกติ
  • ทารกพิการตั้งแต่ในครรภ์
  • มดลูกและโพรงมดลูกผิดปกติ
  • การได้รับยาหรือสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย
  • มีประวัติการแท้งบุตรมาก่อน
  • ตั้งครรภ์ตอนอายุมาก
  • แม่มีโรคประจำตัว เช่าเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

แนวทางดูแลสุขภาพช่วงคุณแม่อายุครรภ์ 12 สัปดาห์

  • ควรดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน เพื่อดลความเสี่ยงของภาวะขาดน้ำ และการดื่มน้ำให้เพียงพอสามารถช่วยป้องกันปัญหาทั่วไปในการตั้งครรภ์ได้ เช่น ท้องผูก ริดสีดวงทวาร รวมถึงลดความเสี่ยงของการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะด้วย
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่อาจจะไม่ปลอดภัยต่อทารกและสุขภาพของคุณแม่ และควรกินอาหารที่ผ่านการปรุงสุกเท่านั้น ไม่กินอาหารกึ่งสุก กึ่งดิบ อาหารไม่สะอาด เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรียที่มาจากอาหาร
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง เพราะเสี่ยงจะทำให้คุณแม่มีน้ำหนักเกินค่าดัชนีมวลกาย และเสี่ยงที่น้ำหนักจะไม่สัมพันธ์กับอายุครรภ์
  • ต้องระมัดระวังเรื่องการยกของหนัก การหกล้ม คุณแม่ยังสามารถออกกำลังกายได้ แต่ไม่ต้องหนักเกินไป และไม่ควรออกกำลังกายในสถานที่ที่มีอากาศร้อนมาก หนาวมาก หรือมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตราย เช่น กีฬาเอ็กซ์ตรีม เป็นต้น
  • งดอาหารเครื่องดื่มที่ไม่มีประโยชน์เช่น งดบุหรี่ สุรา ลดปริมาณกาแฟ อาหารขยะ ทานอาหารที่มีโปรตีน ใยอาหาร แคลเซียม เลี่ยงของหวาน

สรุป

ในช่วงอายุครรภ์ 10-12 สัปดาห์ การอัลตราซาวนด์จะแสดงพัฒนาการของทารกได้ โดยระบบอวัยวะของทารกจะสร้างครบทุกระบบและเริ่มทำงานแล้ว เช่น หัวใจเต้น 140-160 ครั้งต่อนาที, นิ้วมือนิ้วเท้าแยกออกจากกัน และระบบประสาทเริ่มเชื่อมต่อ อาการแพ้ท้องของคุณแม่มักจะเบาลง และร่างกายเริ่มปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติ ความผันผวนของฮอร์โมนลดลง คุณแม่อาจเริ่มมีท้องนูน และต้องดูแลสุขภาพด้วยการกินอาหารที่มีประโยชน์ พร้อมระวังอาการปวดหลังและคุมน้ำหนักตามคำแนะนำของแพทย์ และหากต้องการทราบเรื่องของความสมบูรณ์ของโครโมโซมทารกในครรภ์ ก็สามารถเลือกตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของทารกในครรภ์ หรือที่เรียกว่าการตรวจ NIPT ได้ ณ ช่วงเวลานี้

ต้องการคำปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม หรือนัดหมายตรวจ NIPT คลิกที่นี่

call to action NIPT ท้ายบทความ สีชมพู

✅✅✅✅✅

เฮลท์สไมล์ บริการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ และตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ ครบ 23 คู่ทุกโครโมโซมที่มีในมนุษย์ รู้เพศ และโรคอื่นๆที่เกิดจากการขาด/เกินของโครโมโซมขนาดเล็กได้มากถึง 92 โรค กับ Brand NIFTY® และ NGD NIPS

✔ ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมอื่นๆ ผลแม่นยำสูง 99.9%

✔ เจาะเลือดเพียง 10 ซีซี ไม่เสี่ยงแท้ง

✔ ราคาคุ้มค่า ประหยัด ค่าบริการเริ่มต้นที่ 9,500 บาท รวมค่าบริการเจาะเลือดถึงบ้าน และแพทย์อ่านผลให้ทุกเคส

✔ สะดวก สบาย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ลดความเสี่ยงจากการเดินทางออกนอกสถานที่

✔ บริการตรวจถึงบ้านทั่วประเทศ ฟรี

✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @Healthsmile

📞 โทร : 089 874 9565

🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของทารกในครรภ์ ได้ที่นี่ https://healthsmile.co.th/prenatal-screening/

ตารางราคา NGD NIPT 5chromosome 8900 บาท NIFTY focus 10900 บาท NGD NIPS 23 chromosomes 11900 บาท NIFTY Core 12900 บาท NIFTY Pro 17400 บาท
สูตินรีแพทย์ ที่สนใจด้านโครโมโซม ยีน DNA และการตรวจสุขภาพเชิงลึก ให้การดูแลมารดาตั้งครรภ์ ตรวจความผิดปกติของทารกในครรภ์ รักษาสุขภาพทางเพศ และให้ความรู้ด้านการตรวจยีนสุขภาพ การศึกษา - สถานะความรู้ความชำนาญเฉพาะทางที่แพทยสภารับรอง : สาขา สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ( Obstetrics and Gynaecology ) - ประกาศนียบัตรฯ ที่แพทยสภารับรอง : ด้านเวชศาสตร์จีโนมเบื้องต้นสำหรับแพทย์เฉพาะทาง