Last Updated on 31 กรกฎาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์
เนื้อหาในบทความนี้
Last Updated on 31 กรกฎาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์
ปลายปี 2566 ขึ้นปี 2567 ที่จะถึงนี้ สิ่งหนึ่งที่เราจะลืมไปไม่ได้เลยคือ การเตรียมยื่นภาษีของปี 2566 เพราะทุกคนที่มีรายได้ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากับทางกรมสรรพากร แต่ก่อนจะยื่นภาษีเราควรทำการตรวจสอบด้วยว่า รายการใดบ้างที่เราจ่ายไปตลอดปี 2566 สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ป้ายแดงที่เพิ่งตั้งครรภ์และคลอดบุตร สามารถนำค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรมาใช้ลดหย่อนภาษี 2566 ได้สูงสุดถึง 60,000 บาท
ใครที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ได้แก่ ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมาโดยมีสถานะอย่างใดหนึ่งอย่างใด ดังนี้
1. บุคคลธรรมดา
2.ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
3. ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
4. กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
5.วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
ค่าลดหย่อนภาษีคืออะไร
ค่าลดหย่อนภาษี หรือที่เรียกกันว่า ค่าลดหย่อน เป็นรายการตามกฎหมายที่กำหนดไว้ว่า สามารถนำไปหักออกจากเงินได้ หลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว ซึ่งสิทธิประโยชน์ในส่วนนี้ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และคลอดบุตรในปี 2566 ที่เป็นผู้มีเงินได้ สามารถนำค่าใช้จ่ายต่างๆ เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ มาลดภาษีเงินได้บุคคคลธรรมดาได้ ดังนี้
รายการอะไรบ้าง ลดหย่อนภาษีได้สำหรับการตั้งครรภ์
- ค่าตรวจครรภ์
- ค่าฝากครรภ์
- คำบำบัดทางการแพทย์
- ค่ายาและค่าเวชภัณฑ์
- ค่าทำคลอด
- ค่าพักฟื้นในโรงพยาบาล
- ค่าขูดมดลูก (กรณีแท้งบุตร)
รายการดังที่กล่าวมา ไม่ว่าจะใช้บริการในสถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชน ก็สามารถนำมาลดภาษีได้สูงสุดไม่เกินท้องละ 60,000 บาท โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
เงื่อนไขการลดหย่อนค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร
เงื่อนไขทั่วไป
- กรณีสามีและภรรยาต่างฝ่ายต่างเป็นผู้มีเงินได้ ให้ภรรยาใช้สิทธิ์ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 60,000 บาท
- กรณีสามีหรือภรรยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้สามีหรือภรรยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ ใช้สิทธิ์ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 60,000 บาท
- ต้องรวมกับสิทธิเบิกค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร ที่เป็นสวัสดิการของรัฐหรือเอกชนสำหรับการตั้งครรภ์แต่ละครั้งไม่เกิน 60,000 บาท
หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ที่นำมาลดภาษีปี 66 ได้ ต้องเป็นค่าใช้จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566-31 ธันวาคม 2566
เงื่อนไขการใช้สิทธิ์ท้องแฝด
สามารถลดหย่อนค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรท้องแฝดได้สูงสุด 60,000 บาท เพราะถือเป็นท้องเดียว
เช่น ต้นปี 2566 ตั้งครรภฺแฝด ฝากครรภ์ 50,000 จะถือเป็นท้อง 1 ครั้ง ไม่ได้นับจำนวนทารก ซึ่งสามารถลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง 50,000 เพราะกฎหมายกำหนดให้ใช้สิทธิ์ท้องละไม่เกิน 60,000 บาท
เงื่อนไขการใช้สิทธิ์จ่ายค่าคลอดบุตรและฝากครรภ์ในปีเดียวกัน
สามารถใช้สิทธิลดหย่อนค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร ท้องละไม่เกิน 60,000
เช่น ต้นปี 2566 จ่ายค่าคลอดบุตรคนที่แรก จำนวน 70,000 บาท และปลายปีตั้งครรภ์บุตรคนที่ 2 มีการจ่ายค่าฝากครรภ์ 50,000 บาท จะถือเป็นท้อง 2 ครั้ง ในปีเดียวกัน ซึ่งสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ทั้ง 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 60,000 บาท แสดงว่าคุณจะได้รับสิทธิ์ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 110,000 บาท เพราะกฎหมายกำหนดให้ใช้สิทธิ์ตามที่จ่ายจริงท้องละไม่เกิน 60,000 บาท
กรณีที่ต้นปี 2566 จ่ายค่าคลอดบุตรคนแรก จำนวน 70,000 บาท และปลายปี 2566 ตั้งครรภ์บุตรคนที่ 2 มีการจ่ายค่าฝากครรภ์ 60,000 บาท รวมเป็น 130,000 บาท แต่คุณจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 120,000 บาท เพราะกฎหมายกำหนดให้สิทธิ์ตามที่จ่ายจริงท้องละไม่เกิน 60,000 บาท
เงื่อนไขใช้สิทธิ์นอกเหนือจากค่าฝากครรภ์ ค่าคลอดบุตร
กรณีที่มีค่าใช้จ่ายนอกเหนือจากค่าฝากครรภ์ ค่าคลอดบุตร ไม่ว่าจะเป็น การรักษาพยาบาลอันเนื่องมาจากการตั้งครรภ์และคลอดบุตร เช่น ค่าตรวจครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นตรวจดาวน์ซินโดรม ค่าบำบัดทางการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็น ค่าขูดมดลูกในกรณีแท้งบุตร รวมถึงค่ายาและค่าเวชภัณฑ์ และค่ากินอยู่ในสถานพยาบาล เป็นต้น รายการเหล่านี้สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงท้องละไม่เกิน 60,000 บาท ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการยุติการตั้งครรภ์หรือไม่ก็ตาม แต่ไม่รวมค่าของใช้ต่างๆ ในการตั้งครรภ์ คลอดบุตร
เงื่อนไขสำหรับผู้มีสวัสดิการเบิกค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร
กรณีที่มีสวัสดิการเบิกค่าฝากครรภ์และคลอดบุตรของหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน เช่น บัตรทอง ประกันสังคม สวัสดิการของหน่วยงานราชการหรือเอกชน ค่าลดหย่อนภาษีจะต้องนำมาหักออกจากค่าใช้จ่ายจากสวัสดิการที่เบิกได้ตามกำหนดของหน่วยงานต่างๆ ที่คุณสามารถใช้สิทธิ์ได้
เช่น กรณีคลอดบุตร มีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 60,000 บาท แต่คุณแม่สามารถเบิกค่าคลอดบุตรจากประกันสังคมได้ 13,000 บาท คุณแม่จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้เพียง 47,000 บาท (เท่าที่จ่ายจริง) เนื่องจากนำสิทธิลดหย่อนภาษีสำหรับค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรที่กำหนดท้องละไม่เกิน 60,000 บาท มาหักลบจากสวัสดิการที่คุณเบิกได้
เอกสารใช้ลดหย่อนภาษีสำหรับค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร
1.ใบรับรองแพทย์
ใบรับรองแพทย์ ที่ได้จากแพทย์ที่ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ที่แสดงความเห็นว่ามีภาวะตั้งครรภ์จริง
2.ใบเสร็จรับเงิน
ใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานอื่นใดที่แสดงให้เห็นว่า ได้จ่ายค่าฝากครรภ์และคลอดบุตรให้แก่สถานพยาบาลจริง
ยื่นแบบแสดงรายการภาษีได้ที่ไหนบ้าง
● สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (เดิมเรียกว่า สรรพากรเขต/อำเภอเดิม) สำหรับการยื่นแบบฯ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 ผู้ที่มีเงินได้ สามารถยื่นแบบฯ ได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาทุกแห่ง
●ไปรษณีย์ มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
1.ผู้มีเงินได้มีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดกรุงเทพฯ
2.ยื่นแบบฯ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน พร้อมแนบเช็ค (ประเภท ข. ค.หรือ ง.) หรือ ธนาณัติ (ตามจํานวนเงินภาษีที่ต้องชําระทั้งจํานวน) โดยส่งไปยัง กองบริหารการคลังและรายได้ กรมสรรพากร อาคารกรมสรรพากร เลขที่ 90 ซอยพหลโยธิน 7 ถนนพหลโยธิน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
3.กรมสรรพากรจะถือเอาวันที่ลงทะเบียนไปรษณีย์ เป็นวันรับแบบและชําระภาษีและจะส่งใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้ยื่นแบบฯ ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
4.กรณีผู้มีเงินได้ที่มีภูมิลําเนาอยู่ในต่างจังหวัด หรือประสงค์จะขอชําระภาษีเป็นงวด จะยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 โดยส่งทาง ไปรษณีย์ลงทะเบียนไม่ได้
● ยื่นภาษีออนไลน์ด้วยตัวเอง ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th อ่านขั้นตอนการยื่นแบบออนไลน์
ระยะเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษี
ยื่นภาษีของปี 2566 จะต้องทำการยื่นภายในวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 มีนาคม 2567 แต่หากทำการยื่นภาษีออนไลน์สามารถยื่นได้ตั้งแต่ 1 มกราคม -10 เมษายน 2567
ช่องทางติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
●โทร 1161 ศูนย์บริการข้อมูลสรรพากร (สรรพากร Call Center) ให้บริการข้อมูลสรรพากรทางโทรศัพท์แก่ผู้เสียภาษีและประชาชนทั่วไป ในเวลาทำการจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-18.00 น. (ไม่พักกลางวัน)
●ติดตามข่าวสารได้ทาง Facebook page กรมสรรพากร : The Revenue Department และเว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th
คัดกรองดาวน์ซินโดรมกับ HealthSmile ลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
คุณแม่ท่านใดที่ได้ใช้บริการคัดกรองดาวน์ซินโดรม ตรวจ NIPT, NIFTY (นิฟตี้) กับทาง HealthSmile ในปี 2566 สามารถนำไปใช้เป็นค่าลดหย่อนภาษี 2566 สำหรับการตั้งครรภ์ได้นะคะ
สำหรับคุณแม่ท่านใดลังเลว่าจะตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ดีหรือไม่ ไม่ต้องลังเลเลยค่ะ นอกจากจะได้ทราบความผิดปกติของทารกในครรภ์ตั้งแต่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์แล้ว คุณแม่ยังสามารถนำค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไปใช้ลดหย่อนภาษี 2566 ได้อีกด้วยค่ะ สนใจพูดคุย ปรึกษาเกี่ยวกับการคัดกรองดาวน์ซินโดรม กับทีมแพทย์ พยาบาลของ HealthSmile ติดต่อเราได้ที่นี่เลยค่ะ Line ID : @Healthsmile หรือคลิก https://link.healthsmile.co.th/add-line/4 หรือโทร 0898749565
——————————————————
คำถามที่พบบ่อย อ้างอิงจากกรมสรรพากร
1.Q : หากจ่ายค่าฝากครรภ์ต้นปี 2561 เป็นเงิน 30,000 บาท ต่อมาแท้งบุตรต้องขูดมดลูกจำนวน 40,000 บาท สามารถใช้สิทธิ์ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเท่าใด
A: ได้รับสิทธิ์ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั้งค่าฝากครรภ์และค่าขูดมดลูก แต่ต้องไม่เกิน 60,000 บาท
2. Q: กรณีตั้งครรภ์และแท้งเอง และตั้งครรภ์ใหม่ในปีภาษีเดียวกัน ลดหย่อนได้เท่าใด
A : ใช้สิทธิลดหย่อนได้ทั้ง 2 ครั้งๆ ละ ไม่เกิน 60,000 บาท ตามข้อ2(4) ของประกาศอธิบดีฯ ภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 331)
3. Q : กรณีต่างฝ่ายต่างมีเงินได้แยกยื่นแบบ ใบเสร็จรับเงินค่าฝากครรภ์และคลอดบุตรออกมาในชื่อสามี ภริยาใช้สิทธิลดหย่อนได้หรือไม่
A : ได้ ใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานอื่นใดที่แสดงว่าผู้มีเงินได้หรือคู่สมรสได้จ่ายค่าฝากครรภ์ ตามข้อ 3(2) ของประกาศอธิบดีฯ ภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 331)
4. Q: ค่าตรวจครรภ์ที่คลินิกสามารถนำมาลดหย่อนค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร ได้หรือไม่
A : หากคลินิกดังกล่าวเป็นสถานพยาบาลแบบไม่มีเตียงตาม พ.ร.บ. สถานพยาบาล พ.ศ.2541 สามารถนำมาใช้สิทธิ์ได้
5. Q : กรณีการยกเว้นค่าคลอดบุตร ชาวต่างชาติได้รับสิทธิ์ด้วยหรือไม่
A: หากชาวต่างชาติ (มารดา) ยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในไทย และบุตรมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย สามารถนำมาใช้สิทธิได้
6. Q : กรณีที่บิดาและมารดา ไม่ได้จดทะเบียนสมรส มารดาสามารถใช้สิทธิ์ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรได้หรือไม่
A : สามารถใช้สิทธิ์ได้ เนื่องจากมารดาเป็นมารดาที่ชอบด้วยกฎหมายของบุตรเสมอ โดยไม่ต้องจดทะเบียนสมรส
7. Q : กรณีที่บิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสและมารดาไม่มีเงินได้ บิดาสามารถใช้สิทธิ์ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรได้หรือไม่
A : กรณีบิดาไม่ได้จดทะเบียนสมรส บิดาไม่สามารถใช้สิทธิ์ได้ ทั้งนี้ หากบิดามีการจดทะเบียนรับรองบุตรในปีภาษีที่บุตรคลอด บิดาสามารถใช้สิทธิ์หักลดหย่อนค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรได้
8. Q : กรณีได้รับสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลจากนายจ้างภาคเอกชนในการคลอดบุตร จำนวน 30,000 บาท แต่ได้จ่ายค่าคลอดบุตรไปจำนวน 100,000 บาท จะใช้สิทธิ์ลดค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร อย่างไร
A : ได้รับสิทธิ์ จำนวน 30,000 บาท เนื่องจากเมื่อนำไปรวมกับสวัสดิการที่เบิกได้ต้องไม่เกิน 60,000 บาท
อ้างอิงข้อมูลจาก กรมสรรพากร
อ้างอิงข้อมูลจาก กรมสรรพากร
10. Q : มีบุตรมาแล้ว 3 คน คนที่ 1 อายุ 21 ปี คนที่ 2 อายุ 18 ปี และคนที่ 3 อายุ 6 เดือน แต่ภริยาคนแรกเสียชีวิตในปี 2560 ได้สมรสใหม่กับภริยาคนปัจจุบันในปี 2561 ภริยาไม่มีเงินได้ เมื่อเดือนมีนาคม 2561 ภริยาตั้งครรภ์และมีการฝากครรภ์แต่ในเดือนสิงหาคม 2561 มีภาวะต้องยุติการตั้งครรภ์ เนื่องจากเด็กไม่สมบูรณ์ ตั้งครรภ์ใหม่และฝากครรภ์ในเดือนพฤศจิกายน 2561 ใช้สิทธิลดหย่อนค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรได้เท่าไหร่
A : ได้รับสิทธิหักลดหย่อนค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร จำนวน 120,000 บาท เนื่องจากมีการตั้งครรภ์ 2 คราวในปีภาษีเดียวกัน
11. Q : มีบุตรกับภริยาคนแรก ไม่ได้จดทะเบียนสมรส แต่มีการจ่ายค่าเลี้ยงดู 1 คน เกิดเมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2561 ขณะนี้บุตรคนแรกมีอายุ 10 เดือนกว่าๆ และได้แต่งงานจดทะเบียนสมรสกับภริยาคนปัจจุบันมีบุตรด้วยกันอีก 1 คน เกิดเมื่อวันที 1 พ.ย. 2561 ภริยาทั้ง 2 คน ไม่มีเงินได้ จะใช้สิทธิลดหย่อนค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร รวมถึงการใช้สิทธิลดหย่อนบุตรเพิ่ม 30,000 บาท ได้หรือไม่
A : ใช้สิทธิลดหย่อนค่าฝากครรภ์และคลอดบุตรจากภริยาที่จดทะเบียนสมรส แต่ไม่ได้รับสิทธิลดหย่อนบุตรเพิ่ม 30,000 บาท เนื่องจากมีบุตรชอบด้วยกฎหมายเพียงคนเดียว
อ้างอิงข้อมูลจาก กรมสรรพากร
9. Q : กรณีจดทะเบียนสมรสและหย่าภริยาคนแรก มีบุตร 2 คน และต่อมาได้จดทะเบียนสมรสกับภริยาคนที่ 2 มีบุตรด้วยกันอีก 2 คน และบุตรคนที่ 3 ตั้งครรภ์และคลอดในปี 2561 จะสามารถลดหย่อนบุตรได้ 5 คนหรือไม่ และจะได้รับสิทธิ์ค่าฝากครรภ์ ค่าคลอดบุตร และสิทธิลดหย่อนบุตรเพิ่ม 30,000 บาท หรือไม่ และต้องใช้เอกสารหลักฐานอะไรบ้าง
A : ได้รับสิทธิลดหย่อนบุตร ทั้ง 5 คน และบุตรคนที่ 5 ได้รับสิทธิ์ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร และสิทธิลดหย่อนบุตรเพิ่ม โดยใช้หลักฐาน ดังนี้
1. บันทึกท้ายหย่าในการแสดงรายละเอียดว่าเป็นผู้เลี้ยงดูบุตรจากภริยาคนแรก
2. เอกสารใบทะเบียนสมรสกับภริยาคนที่ 2
3. ใบรับรองแพทย์ฯ และใบเสร็จรับเงิน หรือหลักฐานอื่นใดที่แสดงว่าได้จ่ายค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร
10. Q : มีบุตรมาแล้ว 3 คน คนที่ 1 อายุ 21 ปี คนที่ 2 อายุ 18 ปี และคนที่ 3 อายุ 6 เดือน แต่ภริยาคนแรกเสียชีวิตในปี 2560 ได้สมรสใหม่กับภริยาคนปัจจุบันในปี 2561 ภริยาไม่มีเงินได้ เมื่อเดือนมีนาคม 2561 ภริยาตั้งครรภ์และมีการฝากครรภ์แต่ในเดือนสิงหาคม 2561 มีภาวะต้องยุติการตั้งครรภ์ เนื่องจากเด็กไม่สมบูรณ์ ตั้งครรภ์ใหม่และฝากครรภ์ในเดือนพฤศจิกายน 2561 ใช้สิทธิลดหย่อนค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรได้เท่าไหร่
A : ได้รับสิทธิหักลดหย่อนค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร จำนวน 120,000 บาท เนื่องจากมีการตั้งครรภ์ 2 คราวในปีภาษีเดียวกัน
11. Q : มีบุตรกับภริยาคนแรก ไม่ได้จดทะเบียนสมรส แต่มีการจ่ายค่าเลี้ยงดู 1 คน เกิดเมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2561 ขณะนี้บุตรคนแรกมีอายุ 10 เดือนกว่าๆ และได้แต่งงานจดทะเบียนสมรสกับภริยาคนปัจจุบันมีบุตรด้วยกันอีก 1 คน เกิดเมื่อวันที 1 พ.ย. 2561 ภริยาทั้ง 2 คน ไม่มีเงินได้ จะใช้สิทธิลดหย่อนค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร รวมถึงการใช้สิทธิลดหย่อนบุตรเพิ่ม 30,000 บาท ได้หรือไม่
A : ใช้สิทธิลดหย่อนค่าฝากครรภ์และคลอดบุตรจากภริยาที่จดทะเบียนสมรส แต่ไม่ได้รับสิทธิลดหย่อนบุตรเพิ่ม 30,000 บาท เนื่องจากมีบุตรชอบด้วยกฎหมายเพียงคนเดียว
อ้างอิงข้อมูลจาก กรมสรรพากร
✅✅✅✅✅
เฮลท์สไมล์ บริการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ และตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ ครบ 23 คู่ทุกโครโมโซมที่มีในมนุษย์ รู้เพศ และโรคอื่นๆที่เกิดจากการขาด/เกินของโครโมโซมขนาดเล็กได้มากถึง 92 โรค กับ Brand NIFTY® และ NGD NIPS
✔ ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมอื่นๆ ผลแม่นยำสูง 99.9%
✔ เจาะเลือดเพียง 10 ซีซี ไม่เสี่ยงแท้ง
✔ ราคาคุ้มค่า ประหยัด ค่าบริการเริ่มต้นที่ 9,500 บาท รวมค่าบริการเจาะเลือดถึงบ้าน และแพทย์อ่านผลให้ทุกเคส
✔ สะดวก สบาย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ลดความเสี่ยงจากการเดินทางออกนอกสถานที่
✔ บริการตรวจถึงบ้านทั่วประเทศ ฟรี
✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @Healthsmile
📞 โทร : 089 874 9565
🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของทารกในครรภ์ ได้ที่นี่ https://healthsmile.co.th/prenatal-screening/