Last Updated on 16 พฤษภาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์

Last Updated on 16 พฤษภาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์

IUGR คืออะไร?

IUGR ย่อมาจาก IntraUterine Growth Retardation หรือ ภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ ซึ่งหมายความว่าลูกน้อยในครรภ์ของคุณแม่เติบโตช้าและมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐานของเด็กที่อายุครรภ์นั้นๆ โดยปกติจะถือว่าน้ำหนักของทารกที่มีภาวะนี้จะมีน้ำหนักน้อยกว่า เปอร์เซนไทล์ที่ 10

EFW at 3rd trimester

ตารางแสดงน้ำหนักทารกในครรภ์ เทียบตามอายุครรภ์
ที่มาภาพ

วิธีอ่านตารางแสดงน้ำหนักทารกในครรภ์

ตัวอย่าง หากคุณแม่อายุครรภ์ 26 สัปดาห์ ทารกในครรภ์ก็ควรจะมีน้ำหนักตัวอยู่ที่ประมาณ 570-1320 กรัม โดยหากทารกน้ำหนักตัวจากการอัลตราซาวนด์น้อยกว่า 570 กรัม ก็แสดงว่าอาจจะเสี่ยงที่จะเป็นทารกโตช้าในครรภ์

ตัวอย่าง หากคุณแม่อายุครรภ์ 37 สัปดาห์ (อายุครรภ์ครบกำหนดคลอด) ทารกในครรภ์ก็ควรจะมีน้ำหนักตัวอยู่ที่ประมาณ 2310-3470 กรัม หากคุณแม่อัลตราซาวนด์แล้วทารกน้ำหนักน้อยกว่า 2310 กรัม ก็แสดงว่าน้องในครรภ์เสี่ยงที่จะเป็นทารกโตช้าในครรภ์

ดังนั้น จึงควรปรึกษาแพทย์ที่ฝากครรภ์หากสงสัยว่าทารกในครรภ์น้ำหนักตัวน้อย

นอกจากนี้ IUGR ยังใช้เพื่ออธิบายทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่าทารกแรกคลอดที่มีน้ำหนักปกติ สำหรับทารกที่เกิดครบกำหนด น้ำหนักที่อยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ ไม่ต่ำกว่า 2,500 กรัม

แพทย์ที่รับฝากครรภ์ของคุณแม่อาจสงสัยภาวะ IUGR ได้ หากอัลตราซาวนด์แล้วพบว่าลูกในครรภ์ของคุณแม่เติบโตน้อยกว่าเกณฑ์ที่คาดไว้ โดย IUGR มักได้รับการวินิจฉัยในระหว่างการตรวจอัลตราซาวนด์ แพทย์มักพบในช่วงเดือนที่ 6, 7 หรือ 8 ของการตั้งครรภ์

สิ่งสำคัญคือต้องรู้ว่า IUGR หมายถึงการเติบโตที่ช้าเท่านั้น ทารกตัวเล็กเหล่านี้ไม่ได้เชื่องช้าหรือปัญญาอ่อน ทารกตัวเล็กส่วนใหญ่เติบโตขึ้นมาเป็นเด็กและผู้ใหญ่ที่แข็งแรง “ยกเว้น” ในกรณีที่สาเหตุของภาวะ IUGR เกิดจากโรคที่โครโมโซมผิดปกติ เช่น ดาวน์ซินโดรม ก็จะทำให้เด็กเหล่านั้นมีภาวะปัญญาอ่อนได้

ทำไมลูกในครรภ์ถึงตัวเล็ก?

ปัจจุบัน แพทย์ทราบสาเหตุเพียงประมาณครึ่งหนึ่งของทารกที่มี IUGR เท่านั้น แต่สาเหตุหลายประการของ IUGR ยังไม่สามารถสรุปได้ โดยสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดที่ทำให้ทารกตัวเล็กมีดังต่อไปนี้:

  • ทารกมีโครโมโซมผิดปกติ เป็นสาเหตุได้มากถึง 5-20%
    – ดาวน์ซินโดรม (trisomy 21), เอ็ดเวิร์ดซินโดรม (Trisomy 18), พาทัวซินโดรม (Trisomy 13), และ Trisomy 16
    – การขาดของ โครโมโซมคู่ที่ 4 (Wolf-Hirschhorn syndrome), คู่ที่ 5 (Cri du chat syndrome), คู่ที่ 13, คู่ที่ 18, และการเกิด ring chromosome structural alterations
    – ความผิดปกติของโครโมโซมอื่นๆ ได้แก่ uniparental disomy of chromosome 6, 14, and 16
    – ความผิดปกติของโครโมโซมเพศ ได้แก่ Turner’s syndrome (45XO), หรือภาวะขาด-เกินของโครโมโซมเพศอื่นๆ ก็ทำให้เป็นได้
  • ทารกในครรภ์มียีนที่ผิดปกติ เช่น Cornelia de Lange syndrome, Russell Silver syndrome, Fanconi’s anemia, Bloom syndrome และ skeletal dysplasias
  • ทารกมีโรค หรือการเจริญเติบโตของอวัยวะภายในผิดปกติ
  • ครรภ์แฝด
  • แม่สูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์
  • มารดาดื่มแอลกอฮอล์ในระหว่างตั้งครรภ์
  • มารดามีความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์
  • มารดามีการติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ (เช่น หัดเยอรมัน เอดส์ เริม เป็นต้น)
  • มารดาใช้ยาบางชนิดในระหว่างตั้งครรภ์ (เช่น ยากันชัก ยากดภูมิ ยารักษามะเร็ง เป็นต้น)
  • ภาวะขาดสารอาหารของมารดา
  • แม่เป็นคนมีรูปล่างเล็กอยู่แล้ว (สูงไม่เกิน 150 เซนติเมตร หรือน้ำหนักขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ไม่ถึงเกณฑ์)

สาเหตุอื่นๆที่พบได้ แบ่งตามต้นเหตุ

ตารางแสดงสาเหตุที่ทำให้ทารกในครรภ์ตัวเล็ก (IUGR)
ที่มาภาพ

สามารถแบ่งสาเหตุที่ทำให้ทารกตัวเล็กในครรภ์ได้หลักๆ เป็น 3 สาเหตุ คือ

  1. สาเหตุจากมารดา
  2. สาเหตุจากตัวทารก
  3. สาเหตุจากรก

ทำไมขนาดและน้ำหนักของลูกน้อยจึงสำคัญ?

ตัวทำนายที่ดีที่สุดของการอยู่รอดของทารกและสุขภาพที่ดีของทารกในช่วงแรกเกิด ก็คือน้ำหนักแรกเกิด ทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดต่ำอาจมีปัญหาในช่วงเวลาคลอดเหล่านี้ได้ เช่น ภาวะอุณหภูมิในร่างกายต่ำ (น้ำหนักน้อยทำให้การรักษาอุณหภูมิร่างกายให้เป็นปกติทำได้ยาก) หรือ ภูมิคุ้มกันต่ำ ทำให้ต่อสู้กับการติดเชื้อได้ยาก หากทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย แพทย์จะต้องทำการตรวจทดสอบ และให้การดูแลอย่างพิเศษหลายๆอย่าง เช่น ตรวจร่างกายอย่างละเอียด เอกซ์เรย์ เจาะเลือด เอาเข้าตู้อบ ให้น้ำเกลือ ให้ออกซิเจน หรือใส่สายให้นม ฯลฯ เพื่อดูว่าลูกน้อยของคุณเจริญเติบโตได้ดีหรือไม่ มีภาวะแทรกซ้อนใดๆหรือไม่ในช่วงแรกของชีวิต

เราจะตรวจพบภาวะ IUGR ได้อย่างไร?

การตรวจด้วยการอัลตราซาวนด์อย่างน้อยสองครั้งห่างกันประมาณ 2-4 สัปดาห์ เพื่อดูว่าทารกน้ำหนักขึ้นตามเกณฑ์ที่ควรจะเป็นหรือไม่ จะสามารถตรวจได้ว่าลูกน้อยของคุณมี IUGR หรือไม่ และติดตามการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ได้ โดยหากพบว่าการตรวจอัลตราซาวนด์สองครั้งในระยะเวลาที่ห่างกันอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์

หากทารกในครรภ์ไม่เจริญเติบโตตามเกณฑ์เท่าที่ควร ก็ให้สงสัยภาวะ IUGR ไว้ก่อนเสมอ

หากทารกในครรภ์ตัวเล็กแต่การเจริญเติบโตเป็นไปตามเกณฑ์ทุกสัปดาห์ ก็อาจจะเป็นภาวะที่ทารกมีน้ำหนักน้อยแบบที่เป็นปกติได้เช่นกัน (Constitutional small fetus)

นอกจากการตรวจอัลตราซาวนด์แบบทั่วไป ที่ดูการเจริญเติบโต และอวัยวะภายในของทารกในครรภ์แล้ว แพทย์ยังอาจทำอัลตราซาวนด์เพื่อตรวจดู Biophysical Profile (BPP) โดยที่แพทย์ผู้ตรวจจะคอยดูการหายใจ การเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ และการเคลื่อนไหวของทารก ปริมาณน้ำคร่ำ ด้วย

การทดสอบอื่นที่ช่วยวินิจฉัยได้ คือ Nonstress test โดยการติดสายรัดหน้าท้องของมารดา เพื่อวัดว่าหัวใจของทารกเต้นเร็วแค่ไหน ทารกที่แข็งแรงมักมีการเต้นของหัวใจที่เร็วขึ้นเมื่อทารกเคลื่อนไหวการทดสอบนี้ใช้เวลาประมาณ 20 ถึง 30 นาที อาจใช้เวลานานกว่านี้หากลูกน้อยของคุณหลับอยู่ในครรภ์

ภาพแสดงการติดเครื่อง NST (Nonstress test)
ที่มาภาพ : babylist.com

จะเกิดอะไรขึ้นหากการทดสอบไม่ปกติ

หากการทดสอบอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ปกติ แพทย์ของคุณแม่อาจต้องการทำการทดสอบอื่นเพิ่มเติม และอาจต้องปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ (Maternal fetal medicine : MFM) เพื่อทำการอัลตราซาวนด์เชิงลึก ตรวจดูการไหลเวียนของเส้นเลือดสายสะดือ (umbilical doppler) โดยหากพบความผิดปกติที่อาจจะเกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ แพทย์ของคุณอาจแนะนำให้คลอดก่อนกำหนด (ชักนำให้เกิดการคลอดบุตร) เพื่อนำทารกออกมาเลี้ยงข้างนอก และให้สารอาหารกับทารกได้อย่างเต็มที่ ดีกว่าปล่อยให้ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้าลงๆจนเกิดอันตรายได้

ตัวอย่างแผนภาพแสดงแนวทางการตรวจติดตาม กรณีสงสัยว่าทารกในครรภ์มีภาวะโตช้า หรือน้ำหนักน้อย
*สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
ที่มาภาพ

แพทย์จะทำอะไรเพื่อช่วยลูกของคุณแม่ปลอดภัย?

กรณีที่ไม่รุนแรง หลังคลอดแล้วแพทย์อาจจะไม่จำเป็นต้องช่วยเหลืออะไรทารก เพียงแต่ให้สารอาหารอย่างเพียงพอ ให้ออกซิเจนกรณีหายใจเร็ว เป็นต้น แต่หากทารกเกิดมามีขนาดเล็กมาก แพทย์สามารถให้ออกซิเจนผ่านทางจมูกหรือใส่ท่อช่วยหายใจ ให้อาหารผ่านทางสายป้อนอาหาร ให้ของเหลวผ่านทางท่อในหลอดเลือดดำ และบางครั้งอาจให้ยาปฏิชีวนะ

ฉันจะทำอย่างไรเพื่อป้องกัน หรือรักษากรณีทารกโตช้าในครรภ์?

คุณสามารถทำสิ่งสำคัญ 5 ประการเพื่อช่วยให้ลูกน้อยของคุณโตเพียงพอก่อนคลอด:

  1. ถ้าคุณสูบบุหรี่—เลิกเดี๋ยวนี้ บุหรี่ทำร้ายรก ซึ่งเป็นทางเดียวของลูกน้อยที่จะได้ “อาหาร” ยังไม่เคยสายเกินไปที่จะเลิกสูบบุหรี่ตอนนี้เนื่องจากทารกมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นครึ่งหนึ่งในช่วงสามเดือนสุดท้ายก่อนคลอด
  2. ถ้าคุณดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์—เลิกเดี๋ยวนี้ เพียงดื่มแอลกอฮอล์วันละแก้วก็มีโอกาสมีลูกตัวเล็กได้ นอกจากนี้คุณสามารถมีลูกที่มีสมองผิดปกติจากการโดนแอลกอฮอล์ทำลายก็ได้ สิ่งนี้สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดการตั้งครรภ์
  3. หากคุณใช้ยาเสพติด หรือซื้อยาต่างๆมารับประทานเอง—เลิกเดี๋ยวนี้ ยาเสพติดที่ผิดกฎหมายเกือบทั้งหมดทำให้ทารกตัวเล็กเกินไป และสุขภาพไม่แข็งแรง นอกจากนี้ ยาบางตัวที่ซื้อมารับประทานเองก็อาจส่งผลเสียกับทารกในครรภ์ได้โดยคุณไม่รู้ตัว คุณอาจต้องการความช่วยเหลือจากแพทย์ในการยาเสพติด หรือสอบถามแพทย์ทุกครั้งก่อนการใช้ยาใดๆ
  4. กินอาหารที่ดี ครบ 5 หมู่ และรับประทานยาบำรุงที่แพทย์ให้อย่างสม่ำเสมอ
  5. ไปพบแพทย์ตรวจตามนัดทุกครั้ง

ที่มา

ตรวจทานข้อมูลโดย นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 14 พย 2566


ต้องการคำปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม หรือนัดหมายตรวจ NIPT คลิกที่นี่

call to action NIPT ท้ายบทความ สีชมพู

✅✅✅✅✅

เฮลท์สไมล์ บริการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ และตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ ครบ 23 คู่ทุกโครโมโซมที่มีในมนุษย์ รู้เพศ และโรคอื่นๆที่เกิดจากการขาด/เกินของโครโมโซมขนาดเล็กได้มากถึง 92 โรค กับ Brand NIFTY® และ NGD NIPS

✔ ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมอื่นๆ ผลแม่นยำสูง 99.9%

✔ เจาะเลือดเพียง 10 ซีซี ไม่เสี่ยงแท้ง

✔ ราคาคุ้มค่า ประหยัด ค่าบริการเริ่มต้นที่ 9,500 บาท รวมค่าบริการเจาะเลือดถึงบ้าน และแพทย์อ่านผลให้ทุกเคส

✔ สะดวก สบาย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ลดความเสี่ยงจากการเดินทางออกนอกสถานที่

✔ บริการตรวจถึงบ้านทั่วประเทศ ฟรี

✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @Healthsmile

📞 โทร : 089 874 9565

🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของทารกในครรภ์ ได้ที่นี่ https://healthsmile.co.th/prenatal-screening/

ตารางราคา NGD NIPT 5chromosome 8900 บาท NIFTY focus 10900 บาท NGD NIPS 23 chromosomes 11900 บาท NIFTY Core 12900 บาท NIFTY Pro 17400 บาท
สูตินรีแพทย์ ที่สนใจด้านโครโมโซม ยีน DNA และการตรวจสุขภาพเชิงลึก ให้การดูแลมารดาตั้งครรภ์ ตรวจความผิดปกติของทารกในครรภ์ รักษาสุขภาพทางเพศ และให้ความรู้ด้านการตรวจยีนสุขภาพ การศึกษา - สถานะความรู้ความชำนาญเฉพาะทางที่แพทยสภารับรอง : สาขา สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ( Obstetrics and Gynaecology ) - ประกาศนียบัตรฯ ที่แพทยสภารับรอง : ด้านเวชศาสตร์จีโนมเบื้องต้นสำหรับแพทย์เฉพาะทาง