Last Updated on 16 พฤษภาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์

17 อาการ ปกติ/ผิดปกติ ช่วงครรภ์อ่อนๆที่ควรรู้

เนื้อหาในบทความนี้

Last Updated on 16 พฤษภาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์

ช่วงอายุครรภ์น้อยๆ นับตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิ จนถึงสัปดาห์ที่ 20 เป็นช่วงที่ลูกในครรภ์เริ่มเติบโตและพัฒนาขึ้น การเข้าใจอาการปกติและผิดปกติในช่วงนี้ จึงมีความสำคัญอย่างมาก เพื่อที่จะสามารถดูแลตนเองและลูกในครรภ์ได้อย่างเหมาะสม

บทความนี้ รวบรวมอาการปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างการตั้งครรภ์ และอาการที่ผิดปกติที่ควรรีบไปพบแพทย์ โดยแบ่งแยกเป็นตารางเพื่อให้คุณแม่เปรียบเทียบอาการปกติและอาการผิดปกติในช่วงครรภ์แรก ได้ง่ายๆดังนี้ :

อาการอาการปกติอาการผิดปกติ
คลื่นไส้คลื่นไส้ และอาการอาเจียน มักมีอาการมากในช่วงเช้า มักจะปรากฏในช่วงแรก ๆ ของการตั้งครรภ์

สาเหตุเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนจากการตั้งครรภ์
คลื่นไส้หรืออาเจียนที่รุนแรงและบ่อยครั้ง จนทำให้คุณแม่ไม่สามารถรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำได้ อาจมีอาการเวียนศีรษะ ปากแห้ง อ่อนแรง หรือหากรุนแรงมากอาจมีอาเจียนเป็นเลือดได้จากการที่เส้นเลือดฝอยฉีกขาด
หิวบ่อย ๆเริ่มรู้สึกหิวบ่อยๆ เนื่องจากมีการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมน และเป็นการเพิ่มประโยชน์ทางโภชนาการให้ลูกในครรภ์มีอาการเบื่ออาหาร หรือน้ำหนักลดลงมากกว่า 5-10% เมื่อเทียบกับก่อนตั้งครรภ์
อารมณ์ขึ้นลงอารมณ์ขึ้นๆลงๆ เป็นปกติในช่วงตั้งครรภ์ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน แนะนำให้ปล่อยวางในเรื่องต่างๆที่ไม่สำคัญความเครียดหรือภาวะซึ่มเศร้าที่รุนแรง หรือมีอาการเป็นเวลานาน หรือมีความรู้สึกอยากทำร้ายตนเอง ทำร้ายคนรอบข้าง หรืออยากฆ่าตัวตาย
เหนื่อยง่ายการรู้สึกเหนื่อยหรือต้องการนอนเพิ่มมากขึ้น มักเกิดขึ้นในช่วงตั้งครรภ์แรกๆอาการเหนื่อยที่มากขึ้น อาจนอนราบไม่ได้ เดินขึ้นบันได 2 ชั้นแล้วเหนื่อยมาก
อาการท้องผูกอาการท้องผูกเกิดจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน และสามารถบรรเทาได้ด้วยการปรับเปลี่ยนแผนการทานอาหารให้มีไฟเบอร์ หรือกากใยอาหารเพิ่มมากขึ้น เพิ่มการรับประทานผักและผลไม้ปวดท้องอย่างรุนแรง ถ่ายไม่ออก หรือมีเลือดออกจากทางเดินอาหาร
เจ็บเต้านมอาจมีอาการเจ็บหน้าอก และบริเวณเต้านม และหัวนม เนื่องจากเต้านมขยายตัวเป็นอาการปกติที่พบได้เจ็บ/ปวดที่หน้าอกอย่างรุนแรง หรือเจ็บปวดร้าวไปไหล่-บริเวณกราม ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของภาวะโรคหัวใจขาดเลือดได้
การปวดบริเวณหัวเหน่าการปวดบริเวณหัวเหน่าเล็กน้อย เนื่องจากมดลูกขยายตัวเป็นอาการปกติการปวดที่หัวเหน่าที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง หรือปวดที่เกิดขึ้นพร้อมกับมีเลือดออกจากช่องคลอด
การเปลี่ยนแปลงของปัสสาวะปัสสาวะบ่อยครั้ง เนื่องจากมดลูกขยายตัวและกดทับกระเพาะปัสสาวะมีอาการปวดแสบระหว่างการปัสสาวะ หรือปวดท้องน้อย หรือการมีเลือดในปัสสาวะ อาจเป็นสิ่งบ่งชี้ว่ามีการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ หรือทางเดินปัสสาวะส่วนอื่น
เลือดออกจากช่องคลอดการมีเลือดออกเล็กน้อยหลังจากการตรวจปากมดลูก หรือมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องที่อาจพบได้บ้าง แต่อย่างไรก็ดี ควรพบแพทย์เสมอหากมีเลือดออกจากช่องคลอดการมีเลือดออกมากหรือเลือดออกที่ไม่หยุด หรือปวดท้องรุนแรงร่วมกับการมีเลือดออก อาจเป็นอาการแสดงของการแท้ง หรือครรภ์ไข่ปลาอุก หรือท้องนอกมดลูกได้
ความรู้สึกตึงเครียด / วิตกกังวล / ซึมเศร้ารู้สึกตึงเครียด อาจจะมีความวิตกกังวลได้บ้าง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในชีวิตและฮอร์โมนของการตั้งครรภ์ แต่ส่วนใหญ่เมื่อได้รับคำปรึกษากับครอบครัวก็จะผ่านพ้นไปได้ความรู้สึกตึงเครียดหรือภาวะซึมเศร้าที่รุนแรงมากเกินไปหรือมีความรู้สึกนี้บ่อยๆ และความรู้สึกเครียดหรือเศร้านี้คงอยู่เป็นเวลานาน นอกจากนี้ หากมีความรู้สึกอยากทำร้ายตนเอง/ฆ่าตัวตาย หรืออยากทำร้ายผู้อื่น ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน
การรู้สึกว่ามีลมในท้องรู้สึกว่ามีลมในท้อง ท้องอืด อาหารไม่ย่อย ซึ่งสามารถบรรเทาได้โดยการปรับเปลี่ยนแบบแผนการทานอาหาร เช่น ลดอาหารที่มีไขมันสูง และอาจจะแบ่งอาหารออกเป็นมื้อย่อยๆหลายๆมื้อปวดท้องรุนแรงหรือไม่สามารถขับถ่ายได้ตามปกติ
เวียนศีรษะอาจมีความรู้สึกเวียนศีรษะ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และการลดลงของความดันโลหิตในขณะเปลี่ยนท่าเร็ว เช่น จากท่านั่งเป็นท่ายืน หรือจากการหันศีรษะเร็วๆ เป็นต้นอาการเวียนศีรษะที่รุนแรงหรือบ่อยครั้ง หรือร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น มีอาการอ่อนแรง อาเจียนพุ่ง ปากเบี้ยว ชัก ไม่รู้สึกตัว ฯลฯ หรือการสูญเสียสมรรถภาพทางสมองอื่นๆ
เต้านมขยายตัวเต้านมขยายตัวและมีการเปลี่ยนแปลงสีของเต้านมเป็นสีคล้ำขึ้นปวดที่บริเวณเต้านมที่มากขึ้น อาจมีฝีหรือแผลเป็นในบริเวณเต้านม
เจ็บหลังเจ็บหลัง เนื่องจากมดลูกขยายตัวและน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ทำให้หลังแอ่น แนะนำให้หาหมอนหนุนบริเวณใต้เข่าตอนนอน จะช่วยลดการแอ่นของบั้นเอว และลดอาการปวดได้เจ็บหลังที่รุนแรง, ปวดคงที่ตลอดเวลา, ไม่สามารถบรรเทาด้วยการพักผ่อนหรือการเปลี่ยนท่าทาง หรือมีอาการปวดชาร้าวลงไปถึงขาหรือเท้า มีอาการอ่อนแรง เดินเซ
รู้สึกลูกดิ้นการรู้สึกลูกดิ้นสามารถเริ่มต้นขึ้นในระหว่างสัปดาห์ที่ 18-25ลูกดิ้นน้อยลง หรือไม่รู้สึกลูกดิ้นในเวลาที่คาดว่าจะรู้สึก
หน้าท้องลายท้องลายเนื่องจากมดลูกขยายตัว ทำให้ผิวหนังบริเวณหน้าท้องขยายตัวไม่ทัน เกิดเป็นรอยแตกลาย วิธีป้องกันคือการควบคุมน้ำหนักไม่ให้ขึ้นเร็วเกินไปขณะตั้งครรภ์ และทาครีมเพิ่มความชุ่มชื้นของผิวหนังท้องลายที่เป็นมาก อาจมีอาการร่วมกับผื่นผิดปกติ อาการคันรุนแรง หรือมีตัวเหลือง/ตาเหลือง ซึ่งเป็นอาการของภาวะน้ำดีผิดปกติ
การเปลี่ยนแปลงสีของผิวอาจมีผิวบริเวณข้อต่อ เช่น คอ รักแร้ ขาหนีบ คล้ำขึ้นสีของผิวหนังที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หรือผื่นที่ผิวหนัง

ความรู้สึกหรืออาการที่แตกต่างไปจากปกติในช่วงตั้งครรภ์แรก ๆ สามารถนำไปสู่ความวิตกกังวล แต่ทั้งนี้ ไม่ว่าคุณจะรู้สึกอย่างไร ความสำคัญคือการทราบว่าเมื่อใดที่ควรขอคำปรึกษาจากแพทย์หรือผู้ให้การดูแลสุขภาพ สำหรับการตั้งครรภ์ในช่วงแรก ทั้งนี้ การรักษาสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจในระหว่างช่วงเวลานี้นั้นสำคัญมาก

เคล็ดลับสำคัญที่สุดในการตั้งครรภ์คือการดูแลตัวเองให้ดีที่สุด ด้วยการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเบา ๆ และทำใจให้ผ่อนคลาย และนอกจากสุขภาพทางกายแล้ว อย่าลืมดูแลสุขภาพทางใจของตนเองด้วย เพราะว่าการที่คุณรู้สึกอย่างไรนั้นก็สำคัญ ดังนั้น หากคุณมีความรู้สึกไม่สบายใจหรือมีอาการใด ๆ ที่คุณไม่แน่ใจ คุณควรรีบติดต่อแพทย์หรือสถานพยาบาลที่รับฝากครรภ์ของคุณ


ต้องการคำปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม หรือนัดหมายตรวจ NIPT คลิกที่นี่

call to action NIPT ท้ายบทความ สีชมพู

✅✅✅✅✅

เฮลท์สไมล์ บริการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ และตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ ครบ 23 คู่ทุกโครโมโซมที่มีในมนุษย์ รู้เพศ และโรคอื่นๆที่เกิดจากการขาด/เกินของโครโมโซมขนาดเล็กได้มากถึง 92 โรค กับ Brand NIFTY® และ NGD NIPS

✔ ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมอื่นๆ ผลแม่นยำสูง 99.9%

✔ เจาะเลือดเพียง 10 ซีซี ไม่เสี่ยงแท้ง

✔ ราคาคุ้มค่า ประหยัด ค่าบริการเริ่มต้นที่ 9,500 บาท รวมค่าบริการเจาะเลือดถึงบ้าน และแพทย์อ่านผลให้ทุกเคส

✔ สะดวก สบาย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ลดความเสี่ยงจากการเดินทางออกนอกสถานที่

✔ บริการตรวจถึงบ้านทั่วประเทศ ฟรี

✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @Healthsmile

📞 โทร : 089 874 9565

🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของทารกในครรภ์ ได้ที่นี่ https://healthsmile.co.th/prenatal-screening/

ตารางราคา NGD NIPT 5chromosome 8900 บาท NIFTY focus 10900 บาท NGD NIPS 23 chromosomes 11900 บาท NIFTY Core 12900 บาท NIFTY Pro 17400 บาท
สูตินรีแพทย์ ที่สนใจด้านโครโมโซม ยีน DNA และการตรวจสุขภาพเชิงลึก ให้การดูแลมารดาตั้งครรภ์ ตรวจความผิดปกติของทารกในครรภ์ รักษาสุขภาพทางเพศ และให้ความรู้ด้านการตรวจยีนสุขภาพ การศึกษา - สถานะความรู้ความชำนาญเฉพาะทางที่แพทยสภารับรอง : สาขา สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ( Obstetrics and Gynaecology ) - ประกาศนียบัตรฯ ที่แพทยสภารับรอง : ด้านเวชศาสตร์จีโนมเบื้องต้นสำหรับแพทย์เฉพาะทาง