Last Updated on 30 กรกฎาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์
เนื้อหาในบทความนี้
Last Updated on 30 กรกฎาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์
อายุของพ่อ ส่งผลต่อสุขภาพและพัฒนาการของทารกในครรภ์
ปัจจุบันคนไทยแต่งงานช้าลง ทำให้อายุของพ่อและคุณแม่ที่เริ่มตั้งครรภ์นั้นช้าลงด้วย ซึ่งงานวิจัยมีการชี้ชัดแล้วว่า คุณแม่ที่ตั้งครรภ์เมื่ออายุมาก (โดยเฉพาะตั้งครรภ์เมื่ออายุมากกว่า 35 ปี) จะมีความเสี่ยงที่ทารกในครรภ์จะมีความผิดปกติของโครโมโซม เช่น ดาวน์ซินโดรมได้สูงขึ้น แต่สำหรับอายุคุณพ่อนั้น เมืออายุมากขึ้นก็จะมีคุณภาพของน้ำอสุจิลดลง ซึ่งส่งผลให้ปริมาณน้ำอสุจิลดลง ความคล่องตัวลดลง และรูปร่างปกติของน้ำอสุจิก็ลดลงด้วย แต่ผลกระทบของพ่อที่อายุมาก ต่อสุขภาพและพัฒนาการของทารกในครรภ์นั้น ณ ปัจจุบันยังไม่ค่อยรู้จักกันอย่างแพร่หลาย บทความนี้จึงขอพูดถึงผลกระทบของพ่อที่อายุมาก ต่อสุขภาพและพัฒนาการของทารกในครรภ์ ให้ทราบครับ
ตารางสรุปผลกระทบของอายุพ่อที่มีต่อลูกในครรภ์อายุของพ่อ สัมพันธ์กับโรคอะไรในเด็กทารกบ้าง
ผลกระทบ | รายละเอียด |
---|---|
การกลายพันธุ์ของยีนเดี่ยว | กลุ่มอาการ Apert, Crouzon, Pfeiffer, อะคอนโดรพลาเซีย, Noonan syndrome, Costello syndrome, เนื้องอกต่อมไร้ท่อหลายชนิด |
ความผิดปกติของโครโมโซม | ดาวน์ซินโดรม (บิดาอายุ 40-44 ปี เพิ่มความเสี่ยง 1.37 เท่า) |
ความเสี่ยงระหว่างตั้งครรภ์และการคลอด | ความผิดปกติของโครงสร้างทารก, ทารกเสียชีวิตในครรภ์, น้ำหนักแรกคลอดน้อย |
ความผิดปกติของโครงสร้าง | ความผิดปกติของหัวใจ, ปากแหว่ง, ต้อกระจกในเด็ก, ภาวะหลอดอาหารอุดตัน, กระบังลมไม่ปิด, กระโหลกศีรษะไม่ปิด, เส้นเลือดแดงหัวใจผิดปกติ, ผนังหน้าท้องไม่ปิด, กระดูกสันหลังและไขสันหลังผิดปกติ |
ความผิดปกติทางจิต | ออทิสติก, โรคจิตเภท, โรคอารมณ์สองขั้ว, ระดับไอคิวต่ำ, สมาธิสั้น |
โรคมะเร็ง | มะเร็งต่อมน้ำเหลืองในเด็ก, เนื้องอกของระบบประสาทส่วนกลาง |
อายุที่มีความเสี่ยงสูง | ยังไม่มีกำหนดแน่ชัด แต่ในหลายๆงานวิจัย กำหนดที่อายุบิดามากกว่า 40 ปี |
อายุของพ่อ สัมพันธ์กับเกิดการกลายพันธ์ุของยีนเดี่ยวของทารก
จากงานวิจัยพบว่าอายุของพ่อมีผลกระทบต่อการเกิดโรคพันธุกรรมที่เกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนเดี่ยว (Single gene mutation) สูงสุดถึง 9.5 เท่า เช่น
- กลุ่มอาการ Apert, Crouzon, Pfeiffer บิดาที่อายุมากกว่า 50 ปี เพิ่มความเสี่ยง 9.5 , 8 และ 6 เท่าตามลำดับ เกิดจากการกลายพันธุ๋ของยีน fibroblast growth factor receptor 2 (FGFR2)
- โรคอะคอนโดรพลาเซีย หรือ คนแคระ (Dwarfism) บิดาที่อายุมากกว่า 50 ปี เพิ่มความเสี่ยง 7.8 เท่า เกิดจากการกลายพันธ์ของยีน fibroblast growth factor receptor 3 (FGFR3)
- Noonan syndrome เกิดจากการกลายพันธุ๋ของยีน PTPN11
- Costello syndrome เกิดจากการกลายพันธุ๋ของยีน HRAS
- เนื้องอกต่อมไร้ท่อหลายชนิด (ชนิด 2A และ 2B) Multiple endocrine ceoplasia เกิดจากการกลายพันธุ๋ของยีน RET
อายุของพ่อ สัมพันธ์กับการเกิดดาวน์ซินโดรมของทารกในครรภ์
ณ ปัจจุบัน มีการศึกษาพบความสัมพันธ์ระหว่างคุณพ่อที่มีอายุมากกว่า 45 ปี มักจะมีทารกที่เป็นดาวน์ซินโดรมมากกว่าคุณพ่อที่อายุน้อยกว่า 30 ปี โดยการศึกษาพบว่า บิดาที่อายุ 40-44 ปี แต่มารดาอายุ 20-29 ปี จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 1.37 เท่า (ความเสี่ยงการเกิดดาวน์ซินโดรมในประชากรปกติ เท่ากับ 1/1200 แค่ในคุณพ่ออายุมากจะเพิ่มเป็น 1/876)
อายุของพ่อ สัมพันธ์กับความผิดปกติระหว่่างตั้งครรภ์ และการคลอด
คุณพ่อที่มีอายุมากนั้น มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดความผิดปกติของโครงสร้างทารกในครรภ์ เกิดทารกเสียชีวิตในครรภ์ และการคลอดทารกที่มีน้ำหนักน้อย
แต่มีงานวิจัยไม่มากนัก ที่พูดถึงอายุของพ่อที่มากต่อการคลอดก่อนกำหนด และการต้องนอน ICU ของทารกแรกคลอด
อายุของพ่อ ทำให้เกิดความผิดปกติของโครงสร้าง และความผิดปกติทางจิตของทารกในครรภ์
- ความผิดปกติของหัวใจ งานวิจัยยังก้ำกึ่ง
- ปากแหว่ง จะมีโอกาสเกิดขึ้นได้มากขึ้น หากคุณพ่อ หรือคุณแม่มีอายุมาก แต่เพดานโหว่ นั้นจะพบมากขึ้นเฉพาะในคุณพ่อที่อายุมาก
- ต้อกระจกในเด็ก ภาวะหลอดอาหารอุดตัน กระบังลมไม่ปิด กระโหลกศีรษะไม่ปิด และเส้นเลือดแดงหัวใจผิดปกติ (Coarctation of aorta) เพิ่มมากขึ้นในคุณพ่อที่อายุมาก
- ผนังหน้าท้องไม่ปิด (omphalocele) กระดูกสันหลังและไขสันหลังผิดปกติ (Spina bifida) ก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน
อายุของพ่อ ทำให้เกิดความผิดปกติทางจิตของทารกในครรภ์
- ออทิสติก หรือ ออทิซึม (Autism) นั้นมีความสัมพันธ์ชัดเจนกับอายุของพ่อที่มากขึ้น โดยมีงานวิจัยพบว่าพ่อที่อายุมากกว่า 50 ปี จะมีโอกาสที่ลูกเป็น ออทิซึม (ออทิสติก) มากกว่าคุณพ่ออายุน้อยกว่า 30 ปี ถึง 2 เท่า
- โรคจิตเภท (Schizophrenia) โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar) ระดับไอคิวต่ำ และสมาธิสั้น (ADHD) นั้นก็พบความสัมพันธ์เช่นกัน แต่ไม่เด่นชัดนัก
- อาจเพิ่มโอกาสเป็นมะเร็ง เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลืองในเด็ก (Childhood leukemia) เนื้องอกของระบบประสาทส่วนกลาง (CNS tumors)
อายุของพ่อเท่าไหร่ ถึงจะถือว่ามีอายุมาก
อายุที่มากของพ่อถูกกำหนดไว้ต่างกันในหลายๆงานวิจัย ขึ้นอยู่กับความผิดปกติในทารกที่ต้องการทำวิจัย (ตั้งแต่ มากกว่า 30 ปี ถึง มากกว่า 50 ปี) แต่โดยส่วนมากจะถือว่าอายุมากกว่า 40 เป็นเป็นจุดตัด
ตารางแสดงโรคที่อาจจะมีความสัมพันธ์กับอายุของพ่อที่มากขึ้น
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จาก link นี้ https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4955707/
Reference
1. | Janeczko D, Hołowczuk M, Orzeł A, Klatka B, Semczuk A. Paternal age is affected by genetic abnormalities, perinatal complications and mental health of the offspring (Review). Biomed Rep [Internet]. 2019 [cited 2024 Jul 28];12(3):83. Available from: http://dx.doi.org/10.3892/br.2019.1266 |
2. | Ramasamy R, Chiba K, Butler P, Lamb DJ. Male biological clock: a critical analysis of advanced paternal age. Fertil Steril [Internet]. 2015 [cited 2024 Jul 28];103(6):1402–6. Available from: http://dx.doi.org/10.1016/j.fertnstert.2015.03.011 |
✅✅✅✅✅
เฮลท์สไมล์ บริการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ และตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ ครบ 23 คู่ทุกโครโมโซมที่มีในมนุษย์ รู้เพศ และโรคอื่นๆที่เกิดจากการขาด/เกินของโครโมโซมขนาดเล็กได้มากถึง 92 โรค กับ Brand NIFTY® และ NGD NIPS
✔ ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมอื่นๆ ผลแม่นยำสูง 99.9%
✔ เจาะเลือดเพียง 10 ซีซี ไม่เสี่ยงแท้ง
✔ ราคาคุ้มค่า ประหยัด ค่าบริการเริ่มต้นที่ 9,500 บาท รวมค่าบริการเจาะเลือดถึงบ้าน และแพทย์อ่านผลให้ทุกเคส
✔ สะดวก สบาย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ลดความเสี่ยงจากการเดินทางออกนอกสถานที่
✔ บริการตรวจถึงบ้านทั่วประเทศ ฟรี
✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @Healthsmile
📞 โทร : 089 874 9565
🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของทารกในครรภ์ ได้ที่นี่ https://healthsmile.co.th/prenatal-screening/