Last Updated on 9 สิงหาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์

Last Updated on 9 สิงหาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์

เวลาตั้งครรภ์ คุณหมอสูตินรีแพทย์หลายๆท่าน อาจจะทำการอัลตราซาวนด์ดูผนังต้นคอของทารกในครรภ์ (Nuchal translucency : NT) เพื่อดูความเสี่ยงที่น้องจะเป็นดาวน์ซินโดรม การตรวจพบ “ผนังต้นคอหนา” ก็มีความเสี่ยงที่น้องจะเป็นดาวน์ซินโดรมเพิ่มมากขึ้น โดยค่าความแม่นยำของการอัลตราซาวนด์ผนังต้นคอของทารกในครรภ์ในการตรวจพบดาวน์ซินโดรม จะอยู่ที่ประมาณ 70-80% (อ่านเพิ่ม  : วิธีการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม ที่แม่นยำที่สุดคือวิธีไหน)

หากอัลตราซาวนด์พบว่าผนังต้นคอหนา ก็จะแนะนำให้ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม หรือตรวจโครโมโซมด้วยวิธีที่มีความแม่นยำสูงขึ้นเพิ่มเติม ได้แก่ การตรวจ NIPT หรือตรวจวินิจฉัยดาวน์ซินโดรมด้วยการเจาะน้ำคร่ำหรือการตัดชิ้นเนื้อรก

แต่ว่านอกจากโครโมโซมผิดปกติแล้ว ผนังต้นคอหนา เกิดจากสาเหตุอื่นๆก็ได้เช่นกัน ในบทความนี้จะรวบรวมความผิดปกติที่อาจเป็นสาเหตุทำให้ผนังต้นคอหนาผิดปกติได้

ผนังต้นคอหนา

รูปแสดงผนังต้นคอหนา

ที่มาภาพ : คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
จากภาพ ศีรษะเด็กอยู่ทางซ้าย(มองจากด้านข้างของตัวเด็ก)
เส้นสีฟ้าเป็นขนาดความยาวของตัวเด็ก
ในวงกลมสีเขียวคือผนังต้นคอ
ระหว่าง สัญลักษณ์ + สีเหลือง คือความหน้าของผนังต้นคอ (NT)

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับผนังต้นคอของทารกในครรภ์ (NT)

การวัดค่า Nuchal traslucency (NT) จะเป็นการอัลตราซาวนด์ระหว่างอายุครรภ์ 11 ถึง 14 สัปดาห์ ซึ่งวิธีนี้เป็นหนึ่งในการคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมของทารกในครรภ์ ซึ่งรวมถึงดาวน์ซินโดรมด้วย

โดยปกติค่านี้จะเพิ่มขึ้นตามความยาวของตัวเด็ก (fetal crown-rump length (CRL))

  • CRL of 45 mm : NT 1.2 – 2.1 mm
  • CRL of 84 mm : NT 1.9 – 2.7 mm
  • โดยมี 99th centile ที่ไม่เกิน 3.5 mm หรือก็คือ เด็กที่ปกติ 99 เปอร์เซนต์ จะมีขนาดของ NT น้อยกว่า 3.5 มิลลิเมตร

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการตรวจโครโมโซมออกมาจะได้ผลเป็นปกติ แต่ NT ที่เพิ่มขึ้นก็จะทำให้การตั้งครรภ์นั้นๆมีปัญหาได้ เนื่องจาก NT ที่หนามีความเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของทารกในครรภ์หลายประการ เช่น หัวใจพิการแต่กำเนิด, การเสียชีวิตของทารกในครรภ์, การแท้งบุตร

ความผิดปกติของโครงสร้างส่วนใหญ่เหล่านี้ ส่วนใหญ่จะเพิ่มขึ้นตามค่า NT ที่วัดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากค่า NT ที่วัดมากกว่าหรือเท่ากับ 3.5 มม.

การศึกษาหลายชิ้นรายงานว่าการเพิ่มขึ้นของ NT ของทารกในครรภ์ เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของทารกในครรภ์ ซึ่งหมายถึงต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์และ/หรือการผ่าตัด หรือสภาวะที่เกี่ยวข้องกับความพิการทางจิต

  • NT ต่ำกว่าเปอร์เซนไทล์ที่ 95 จะผิดปกติ 1.6%
  • NT ระหว่างเปอร์เซนไทล์ที่ 95 และ 99 จะผิดปกติ 2.5%
  • สำหรับ NT 6.5 มม. ขึ้นไป จะผิดปกติประมาณ 45%

เด็กที่มีผนังต้นคอหนา ต้องผิดปกติทุกคนหรือไม่

ไม่จำเป็นต้องผิดปกติทุกคน โดยจากสถิติที่มีการรวบรวมมา พบว่าโอกาสในการคลอดบุตรโดยไม่มีความผิดปกติที่สำคัญมีดังนี้

  • 3.5-4.4 มม. โอกาสที่ทารกจะปกติประมาณ 70%
  • NT 4.5-5.4 มม. โอกาสที่ทารกจะปกติประมาณ 50%
  • NT 5.5-6.4 มม. โอกาสที่ทารกจะปกติประมาณ 30%
  • NT 6.5 ขึ้นไป โอกาสที่ทารกจะปกติประมาณ 15%

สาเหตุที่ทำให้ NT ผิดปกติ มีอะไรบ้าง

เราพบความผิดปกติหลายอย่างที่สัมพันธ์กับผนังต้นคอหนา ได้แก่ ความผิดปกติของหัวใจ, กระบังลมผิดปกติ, ผนังหน้าท้องไม่ปิด, แกนกลางลำตัวผิดปกติ, กระดูกผิดปกติ และโรคความผิดปกติที่ถ่ายทอดทางยีน เช่น congenital adrenal hyperplasia, fetal akinesia, deformation sequence, Noonan syndrome, Smith-lemli-Opitz syndrome, spinal muscular atrophy เป็นต้น

1. ความผิดปกติของหัวใจ

เพิ่มขึ้น 6 เท่า หาก NT มากกว่าหรือเท่ากับเปอร์เซนไทล์ที่ 99

ดังนั้นหากตรวจพบผนังต้นคอหนา แม้ว่าผลตรวจโครโมโซมจะปกติ คุณแม่ก็ควรต้องตรวจอัลตราซาวนด์หัวใจอย่างละเอียดด้วย

2. ความผิดปกติอื่นๆ

เช่น Body stalk anomaly (BSA) ซึ่งจะมีความผิดปกติของอวัยวะหลายส่วน และไม่สามารถอยู่รอดได้ โดยจะมีผลตรวจโครโมโซมที่ปกติได้ ซึ่งภาวะนี้ สูตินรีแพทย์ส่วนใหญ่มักจะสามารถวินิจฉัยได้โดยไม่ผิดพลาด

ผนังต้นคอหนา จะพบภาวะความผิดปกติของกระบังลมได้ประมาณ 40%

ทารกที่มีผนังหน้าท้องไม่ปิด (exomphalos) ก็จะมี NT หนาได้เช่นกัน โดยส่วนใหญ่จะมีโครโมโซมผิดปกติร่วมด้วย

กระเพาะปัสสาวะใหญ่ผิดปกติ (Megacystis) พบได้ 75% ใน chromosomal ผิดปกติ และ 30% ในกลุ่มโครโมโซมปกติ

นอกจากนี้ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของยีนก็มีความเกี่ยวข้องกับผนังต้นคอหนาได้เช่นกัน แต่ เนื่องจากสาเหตุเหล่านี้พบได้น้อย ดังนั้นจึงยังไม่สามารถพิสูจน์ถึงความสัมพันธ์ได้แม่นยำนัก

หากตรวจพบผนังต้นคอหนา ต้องทำอย่างไร

จากความรู้ที่ว่า เด็กทารกที่มีโครโมโซมผิดปกติ มีความสัมพันธ์กับผนังต้นคอที่หนามากขึ้น ดังนั้น ขั้นแรกที่ควรทำ ก็คือ การตรวจคัดกรองหรือตรวจวินิจฉัยโครโมโซมของทารกในครรภ์ เพื่อหาภาวะดาวน์ซินโดรม หรือความผิดปกติของโครโมโซมอื่นๆ

Step 1 ตรวจคัดกรอง หรือตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของโครโมโซม

กรณี NT หนามมากกว่า 3.5 mm แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจโครโมโซมเพิ่มเติม โดยตรวจคัดกรองหรือตรวจวินิจฉัยก็ได้

การตรวจคัดกรองโครโมโซม

เลือกการตรวจคัดกรองด้วยวิธี โดยวิธีตรวจคัดกรองที่เหนือกว่าการตรวจอัลตราซาวนด์วัดขนาด NT ก็คือ การเจาะตรวจ NIPT ซึ่งมีความแม่นยำในการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมอยู่ที่ 99.9%  โดยจะเป็นการเจาะเลือดของคุณแม่ เพื่อหาเศษของ DNA ลูกที่ลอยอยู่ในเลือดของคุณแม่ วิธีนี้ไม่มีความเสี่ยงที่จะเกิดการแท้ง

การตรวจวินิจฉัย

ได้แก่ การตรวจชิ้นเนื้อรก หรือการเจาะน้ำคร่ำ ข้อดีคือ สามารถได้ผลการตรวจที่แน่ชัด แต่เนื่องจากต้องมีการแทงเข็มเพื่อเข้าไปเอาชิ้นเนื้อรก หรือเอาน้ำคร่ำของทารกในครรภ์มาตรวจ ทำให้มีโอกาสแท้งบุตร หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆเพิ่มได้เล็กน้อย

Step 2 ตรวจอัลตราซาวนด์หาความผิดปกติอื่นๆ

โดยเมื่อทารกในครรภ์ที่มีโครโมโซมปกติ แต่มีผนังต้นคอหนา (increased NT) มากกว่า 3.5 mm ควรจะได้รับการตรวจอัลตราซาวนด์อย่างละเอียด โดยแพทย์เฉพาะทางด้านมารดาและทารกในครรภ์ (MFM) ที่อายุครรภ์ประมาณ 14-16 สัปดาห์อีกครั้ง เพื่อหาความผิดปกติของหัวใจ และอัลตราซาวนด์ดูความผิดปกติของอวัยวะอื่นๆตอนอายุครรภ์ 20-22 สัปดาห์ซ้ำอีกครั้ง รวมถึงการตรวจทารกหลังคลอดด้วย

หากผนังต้นคอหนา แต่ผลตรวจอื่นๆทุกอย่างปกติ แปลว่าอะไร

โอกาสในการมีลูกโดยไม่มีความผิดปกติที่สำคัญคือประมาณ 97% สำหรับ NT ต่ำกว่าเปอร์เซนไทล์ที่ 95 และ 93% สำหรับ NT ระหว่างเปอร์เซนไทล์ที่ 95 ถึง 99

หากตรวจแล้วไม่พบความผิดปกติอื่นๆ ก็แสดงว่าคุณพ่อ/คุณแม่สามารถมั่นใจได้ว่าโอกาสที่จะเกิดความผิดปกติของโครงสร้างและพัฒนาการทางระบบประสาทที่ผิดปกติก็จะไม่สูงกว่าในประชากรทั่วไปที่ผนังต้นคอปกติ

สรุป

หากคุณแม่ตรวจพบผนังต้นคอของทารกในครรภ์หนาผิดปกติ ควรได้รับการตรวจคัดกรองโครโมโซมก่อน เช่น การตรวจ NIPT หรือการตรวจวินิจฉัยด้วยการเจาะน้ำคร่ำหรือการตัดชิ้นเนื้อรก และหากผลโครโมโซมปกติ ก็แนะนำให้อัลตราซาวนด์อย่างละเอียด เพื่อหาความผิดปกติของหัวใจ หรือความผิดปกติของอวัยวะอื่นๆในร่างกายทารกในครรภ์ด้วย

อ้างอิง

De Domenico, R., Faraci, M., Hyseni, E., Di Prima, F. A. F., Valenti, O., Monte, S., Giorgio, E., & Renda, E. (2011). Increased nuchal traslucency in normal karyotype fetuses. Journal of Prenatal Medicine5(2), 23

Nuchal Translucency (NT). (n.d.). Cmu.ac.th. Retrieved March 5, 2024, from https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lessons/nuchal-translucency-nt/

ต้องการคำปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม หรือนัดหมายตรวจ NIPT คลิกที่นี่

call to action NIPT ท้ายบทความ สีชมพู

✅✅✅✅✅

เฮลท์สไมล์ บริการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ และตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ ครบ 23 คู่ทุกโครโมโซมที่มีในมนุษย์ รู้เพศ และโรคอื่นๆที่เกิดจากการขาด/เกินของโครโมโซมขนาดเล็กได้มากถึง 92 โรค กับ Brand NIFTY® และ NGD NIPS

✔ ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมอื่นๆ ผลแม่นยำสูง 99.9%

✔ เจาะเลือดเพียง 10 ซีซี ไม่เสี่ยงแท้ง

✔ ราคาคุ้มค่า ประหยัด ค่าบริการเริ่มต้นที่ 9,500 บาท รวมค่าบริการเจาะเลือดถึงบ้าน และแพทย์อ่านผลให้ทุกเคส

✔ สะดวก สบาย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ลดความเสี่ยงจากการเดินทางออกนอกสถานที่

✔ บริการตรวจถึงบ้านทั่วประเทศ ฟรี

✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @Healthsmile

📞 โทร : 089 874 9565

🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของทารกในครรภ์ ได้ที่นี่ https://healthsmile.co.th/prenatal-screening/

ตารางราคา NGD NIPT 5chromosome 8900 บาท NIFTY focus 10900 บาท NGD NIPS 23 chromosomes 11900 บาท NIFTY Core 12900 บาท NIFTY Pro 17400 บาท
สูตินรีแพทย์ ที่สนใจด้านโครโมโซม ยีน DNA และการตรวจสุขภาพเชิงลึก ให้การดูแลมารดาตั้งครรภ์ ตรวจความผิดปกติของทารกในครรภ์ รักษาสุขภาพทางเพศ และให้ความรู้ด้านการตรวจยีนสุขภาพ การศึกษา - สถานะความรู้ความชำนาญเฉพาะทางที่แพทยสภารับรอง : สาขา สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ( Obstetrics and Gynaecology ) - ประกาศนียบัตรฯ ที่แพทยสภารับรอง : ด้านเวชศาสตร์จีโนมเบื้องต้นสำหรับแพทย์เฉพาะทาง