Last Updated on 16 พฤษภาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์

เนื้อหาในบทความ

Last Updated on 16 พฤษภาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์

คนท้อง คันที่อวัยวะเพศ ต้องทำอย่างไร รักษาตัวเองอย่างไร เมื่อไหร่ต้องไปพบแพทย์

ตั้งครรภ์ และมีคันที่อวัยวะเพศ สาเหตุจากอะไร รักษาอย่างไร

สตรีมีครรภ์มักมีอาการคันในช่องคลอดในบางช่วงระหว่างตั้งครรภ์นี่เป็นเหตุการณ์ที่พบได้บ่อย เกิดได้จากหลายสาเหตุ บางอย่างอาจเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงที่ร่างกายของคุณแม่ในระหว่างตั้งครรภ์ หรือบางสาเหตุ อาจไม่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ของคุณเลยก็เป็นได้

สำหรับบทความนี้ ผมเขียนขึ้นเพื่อจะช่วยให้คุณแม่ทุกท่าน ลองสังเกตดูว่าอาการคันที่ตนเองเป็นนั้นเกิดจากอะไร และมีวิธีการรักษาเบื้องต้นอย่างไร และที่สำคัญคือ อาการคันอย่างไร ที่ควรไปพบแพทย์โดยไม่ควรรอช้าครับ

สาเหตุของอาการคันที่อวัยวะเพศของหญิงตั้งครรภ์

  • ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial Vaginosis)
  • การติดเชื้อรา
  • ฮอร์โมนการตั้งครรภ์ทำให้ตกขาวเพิ่มขึ้น
  • ช่องคลอดแห้ง
  • อาการแพ้ต่อผลิตภัณฑ์ต่างๆ
  • การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (UTI)
  • ภาวะน้ำดีคั่งในระหว่างตั้งครรภ์ (Cholestasis of pregnancy)
  • การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (STIs)

ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial Vaginosis)

แบคทีเรียในช่องคลอดอาจเติบโตขึ้นอย่างผิดปกติได้หากความสมดุลระหว่างแบคทีเรียที่ดีและไม่ดีในช่องคลอดเปลี่ยนแปลงไปซึ่งมักจะมีอาการดังนี้:

  • ตกขาวสีขาวขุ่นทึบแสง หรือสีเทา
  • มีอาการคัน
  • รู้สึกแสบร้อนที่อวัยวะเพศ
  • ผิวหนังที่อวัยวะเพศอักเสบ แดง
  • มีกลิ่นเค็มๆคล้ายปลา โดยเฉพาะหลังจากมีเพศสัมพันธ์

การติดเชื้อราในอวัยวะเพศ

นอกจากแบคทีเรียแล้ว การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์สามารถทำลายสมดุลค่า pH ของช่องคลอด ช่องคลอดมีความชุ่มชื้นมากขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้จำนวนเชื้อราเพิ่มจำนวนขึ้นด้วยเหตุนี้ การติดเชื้อราจึงอาจเกิดได้บ่อยมากขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งมักจะมีอาการดังนี้:

  • อาการคัน (เป็นอาการหลัก)
  • แสบร้อนที่อวัยวะเพศ
  • ตกขาวข้นๆ อาจเป็นก้อนๆ สีขาว คล้ายนมบูด

ตกขาวเพิ่มขึ้นทำให้มีการระคายเคือง

ปริมาณของตกขาว และมูกบริเวณปากมดลูกจะมีการเพิ่มขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ซึ่งการที่มีตกขาวเพิ่มขึ้นนี้ มีประโยชน์เพื่อปกป้องช่องคลอดของคุณจากการติดเชื้อ แต่หากตกขาวมีปริมาณมากและสะสม ในคนที่ไม่ได้เปลี่ยนแผ่นอนามัยบ่อยๆ หรือจำเป็นต้องนั่ง หรือทำงานในท่าเดิมนานๆ ก็สามารถทำให้เกิดการระคายเคืองผิวของช่องคลอด ทำให้เกิดผิวหนังอักเสบและคันได้

ช่องคลอดแห้ง

ในบางกรณีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในระหว่างตั้งครรภ์ก็อาจทำให้ช่องคลอดแห้งได้ในบางคน มีงานวิจัยบางงานวิจัย พบว่าว่าผู้ที่ให้นมบุตรขณะตั้งครรภ์ มีแนวโน้มที่จะมีอาการช่องคลอดแห้งนี้มากกว่า ซึ่งช่องคลอดแห้งอาจเกิดอาการแดง ระคายเคือง และปวดระหว่างมีเพศสัมพันธ์ได้

ภาวะพร่องฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ก็อาจทำให้ช่องคลอดแห้งในสตรีมีครรภ์บางรายเนื่องจากฮอร์โมนนี้จำเป็นสำหรับการตั้งครรภ์ที่ปกติ ดังนี้นหากคุณมีภาวะช่องคลอดแห้งและสงสัยว่าจะมีภาวะฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนต่ำ ควรปรึกษาแพทย์เสมอ

การระคายเคืองจากผลิตภัณฑ์ต่างๆ

ในระหว่างตั้งครรภ์ ช่องคลอดจะมีเลือดมาหล่อเลี้ยงเป็นจำนวนมาก และผิวหนังภายในช่องคลอด รวมถึงผิวของอวัยวะเพศของคุณแม่อาจรู้สึกตึงและบอบบาง-แพ้ง่ายกว่าปกติ ดังนั้น ผลิตภัณฑ์ที่คุณแม่ใช้อย่างสบายก่อนตั้งครรภ์อาจทำให้การระคายเคืองต่อผิวหนัง ส่งผลให้เกิดอาการคันและแดงได้ผลิตภัณฑ์ที่อาจทำให้เกิดสิ่งนี้ ได้แก่:

  • ผงซักฟอก
  • สบู่
  • น้ำหอม น้ำยาปรับผ้านุ่ม

การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (UTI)

มดลูกตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกับกระเพาะปัสสาวะเมื่อมันขยายตัวในระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้กระเพาะปัสสาวะถูกเบียด ถูกกดทับมากขึ้นสิ่งนี้สามารถขัดขวางการขับปัสสาวะ เกิดปัสสาวะเล็ด ปัสสาวะไม่สุด และทำให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้ ด้วยเหตุนี้ สตรีมีครรภ์จึงมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะมากขึ้น

การติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิดในทางเดินปัสสาวะ ยังสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อของทารกในครรภ์ และการคลอดก่อนกำหนดได้ เช่น เชื้อแบคทีเรียชนิดสเตรปโตคอคคัสกลุ่ม B อักเสบ(Group B Streptococcus) จากงานวิจัยในต่างประเทศ พบว่าในผู้ใหญ่ที่ไม่มีอาการใดๆ อาจตรวจพบ Group B Streptococcus ได้มากถึง 1 ใน 4 รายเลยทีเดียว และเนื่องจากการติดเชื้อนี้ในผู้ใหญ่มักไม่แสดงอาการแต่ว่าอาจเป็นอันตรายต่อทารกแรกเกิดได้ ดังนั้นแพทย์อาจจะทดสอบการติดเชื้อดังกล่าวนี้กับคุณแม่ในระหว่างตั้งครรภ์

อาการของทางเดินปัสสาวะอักเสบ ได้แก่ :

  • ปัสสาวะบ่อยและอาจจะกลั้นไม่ได้ ต้องรีบเข้าห้องน้ำ
  • อาการปวดท้องน้อย
  • อาการคันและแสบร้อนในช่องคลอด
  • มีเลือดปนในปัสสาวะ
  • ปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ หรือขณะปัสสาวะ

ภาวะน้ำดีไม่ไหลเวียนในระหว่างตั้งครรภ์ (Cholestasis of pregnancy)

ภาวะความผิดปกติเกี่ยวกับตับและทางเดินน้ำดีนี้ อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงท้ายๆของการตั้งครรภ์โดยยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัดที่ทำให้เกิดภาวะนี้แต่ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ ลงความเห็นว่าอาจจะเกิดจากพันธุกรรมและฮอร์โมนในระหว่างการตั้งครรภ์

อาการของภาวะน้ำดีไม่ไหลเวียนในระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้เกิดอาการคันอย่างรุนแรงบนฝ่ามือและฝ่าเท้าอาการคันอาจเริ่มส่งผลกระทบต่อร่างกายทั้งหมด รวมทั้งบริเวณช่องคลอดซึ่งอาการจากภาวะดังกล่าวนี้จะไม่เกิดผื่นแดงและรอยแดงที่บริเวณผิวหนังแต่อย่างใด

การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (STIs)

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น การติดเชื้อเริมที่อวัยวะเพศ , หูดหงอนไก่ , พยาธิในช่องคลอด (Trichomoniasis) ทั้งหมดอาจมีอาการคันในช่องคลอดเป็นอาการเริ่มต้นได้

คุณแม่สามารถติดโรคทางเพศสัมพันธ์ได้ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ หรือได้รับเชื้อในระหว่างตั้งครรภ์ ก็ได้เนื่องจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อาจไม่แสดงอาการ สิ่งสำคัญคือต้องแจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณคิดว่าคุณอาจมีอาการติดเชื้อ เพื่อตรวจภายใน และเอาตกขาวหรือสารคัดหลั่งจากช่องคลอดที่ผิดปกติไปตรวจ

หากคุณแม่มีอาการโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อาจทำให้มีอาการดังนี้ :

  • ผื่นแดง
  • รู้สึกแสบร้อนที่ผิวหนังบริเวณช่องคลอด
  • หูด หรือก้อน หรือติ่งเนื้อผิดปกติที่ปากช่องคลอด
  • ไข้
  • ตกขาวผิดปกติ (สี กลิ่น)

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อาจส่งผลเสียต่อคุณและลูกน้อยของคุณ แต่ปัจจุบันแพทย์สามารถให้การรักษาได้ในขณะตั้งครรภ์ เนื่องจากยามีความปลอดภัยต่อทารกในครรภ์

การรักษาอาการคันในช่องคลอด ระหว่างตั้งครรภ์

อาการคันในช่องคลอดระหว่างตั้งครรภ์ โดยส่วนใหญ่มักจะไม่มีอะไรที่รุนแรงหรือต้องกังวล และมักจะแก้ไขเบื้องต้นได้ด้วยการรักษาที่บ้าน

อย่างไรก็ตาม หากมีความกังวล หรือไม่แน่ใจในอาการที่เป็น คุณแม่ควรปรึกษากับแพทย์ที่ฝากครรภ์ เกี่ยวกับอาการผิดปกติที่คุณแม่พบในระหว่างการตั้งครรภ์

การรักษาอาการคันในช่องคลอดจะแตกต่างกันไปตามสาเหตุเช่น :

  • การซื้อยารักษาเชื้อราในช่องคลอด ที่จำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไปหากแพทย์ของคุณยืนยันว่าคุณมีเชื้อราในช่องคลอด คุณสามารถใช้ครีมหรือยาเหน็บฆ่าเชื้อราที่ซื้อเองได้โดยการใช้ยา โคลไตรมาโซล ค่อนข้างปลอดภัย แต่อย่าใช้ฟลูโคนาโซล (ไดฟลูแคน)เนื่องจากพบความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการแท้งบุตร และไม่ควรรับประทานในระหว่างตั้งครรภ์
  • น้ำเย็น.การอาบน้ำเย็นและการประคบเย็นอาจช่วยลดอาการคันได้เช่นกัน
  • การเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดหากคุณคิดว่าผลิตภัณฑ์ที่คุณใช้เป็นสาเหตุของอาการคัน ให้ลองเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ที่สงสัยทั้งหมด และลองใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่อ่อนโยนซึ่งออกแบบมาเพื่อใช้ในระหว่างตั้งครรภ์หรือสำหรับเด็กทารก
  • ยาปฏิชีวนะ(ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย) **ไม่แนะนำให้ซื้อมารับประทานเองโดยเด็ดขาด** คุณแม่ต้องได้รับการตรวจอย่างละเอียดจากแพทย์ ถึงโรคที่อาจจะเป็นสาเหตุ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด หรือ ทางเดินปัสสาวะ หรือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ก่อนที่แพทย์จะเป็นผู้ที่สั่งยาฆ่าเชื้อมาให้รบประทาน เนื่องจากหากรับประทานยาไม่ถูกต้องตามเชื้อแล้ว นอกจากอาการจะไม่หาย แต่อาจส่งผลให้เกิดเชื้อดื้อยา และยาบางตัวอาจส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์ได้ด้วย
  • คอร์ติโคสเตียรอยด์ครีมป้องกันอาการคันเฉพาะที่ เช่น ยาทากลุ่มเสตียรอยด์อาจช่วยลดอาการคันได้แต่ไม่ควรใช้เป็นระยะเวลานาน และควรพบแพทย์ หากใช้ยาทาแล้วอาการคันไม่ดีขึ้น
  • ยาอื่นๆ.ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยโรคจากแพทย์ที่ให้การรักษา ดังนั้น หากรักษาด้วยตนเองแล้วไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยให้แม่นยำ

การป้องกัน

อาจเป็นเรื่องยากที่จะหลีกเลี่ยงอาการคันในช่องคลอดในระหว่างตั้งครรภ์ แต่พฤติกรรมบางอย่างอาจช่วยลดอาการคันลงได้ได้เช่น :

  • พยายามรักษาค่า pH ของช่องคลอดให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพ ด้วยการไม่สวนล้างช่องคลอดด้วยยา หรือสารเคมีต่างๆด้วยตนเอง
  • สวมชุดชั้นในที่ทำจากผ้าฝ้ายหรือผ้าอื่นๆ ที่ระบายอากาศได้
  • หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้าที่คับเกินไป
  • เปลี่ยนเสื้อผ้าที่เปียกชื้นทันที เช่น ชุดว่ายน้ำหรืออุปกรณ์ออกกำลังกาย
  • หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีกลิ่น สารเคมี หรือสารระคายเคือง
  • ฝึกสุขอนามัยที่ดี โดยเฉพาะหลังจากเข้าห้องน้ำเช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลังเสมอ
  • คำแนะนำเพื่อทำความสะอาดอวัยวะเพศ ควรล้างทำความสะอาดเฉพาะภายนอกเท่านั้น โดยใช้น้ำอุ่นหรือน้ำปกติในการล้าง อาจใช้ร่วมกับสบู่อ่อนๆล้างภายนอกได้ แต่ไม่ควรใส่น้ำหอม แป้ง หรือสารเคมีใดๆเข้าไปในช่องคลอด
  • พยายามลดระดับความเครียดด้วยโยคะก่อนคลอด การทำสมาธิ หรือการหายใจลึกๆ

เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์

แนะนำว่าควรพูดถึงอาการไม่คันที่เกิดขึ้นกับแพทย์ที่รับฝากครรภ์ของคุณหากคุณแม่มีอาการคันช่องคลอดที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาที่บ้านภายใน 2-3 วันและหากมีอาการคันในช่องคลอดร่วมด้วยอาการอื่นๆ เช่น ปวดท้อง หรือตกขาวมีกลิ่นรุนแรง หรือมีเลือดออกจากช่องคลอด ให้ไปพบแพทย์เสมอ

ที่มา : นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์

✅✅✅✅✅

หากคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอาการผิดปกติ เช่น ปัสสาวะแสบขัด ตกขาว มีแผล หรือมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคติดต่อทางเพศ

เชื้อเหล่านี้อาจส่งผลเสียต่อการตั้งครรภ์ และทารกในครรภ์ เช่น คลอดก่อนกำหนด น้ำคร่ำติดเชื้อ ปอดทารกติดเชื้อหลังคลอด เป็นต้น

แนะนำให้ตรวจหาสาเหตุของการติดเชื้อ และเข้ารับการรักษา ด้วยชุดตรวจของ HealthSmile

รูปชุดตรวจ STD

 

ด้วยเทคโนโลยีที่มีความแม่นยำสูง สามารถรักษาให้หายขาดได้ เฮลท์สไมล์ มีให้บริการชุดตรวจด้วยตนเองที่บ้าน ครอบคลุมเชื้อที่ทำให้เกิดแผลที่อวัยวะเพศสูงสุดถึง 15 โรค มีความแม่นยำมากกว่า 95%

เรามีแพคเกจตรวจโรคและความผิดปกติเกี่ยวกับอวัยวะเพศ ให้เลือกอยู่ 4 แพคเกจ

* ทุกแพคเกจ มีแพทย์เฉพาะทางที่ปรึกษาด้านสูตินรีเวช เพื่อแนะนำการรักษา
* ทุกแพคเกจ รวมค่ายารักษาตามโรคที่พบส่งฟรีถึงบ้านโดยเภสัชกร

    1. แพคเกจปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อการรักษา : 900 บาท
      เหมาะกับคนที่ยังไม่เคยรักษา ต้องการรักษาด้วยตนเอง แพทย์แนะนำยา แนะนำการรักษา การดูแลตนเองหลังรักษาป้องกันการเป็นซ้ำ
    2. แพคเกจตกขาวผิดปกติ 7 โรค : 2,490 บาท
      สำหรับคนที่มีอาการปัสสาวะผิดปกติ หรือตกขาวผิดปกติ
      ตรวจได้ 7 เชื้อ ได้แก่
      – หนองในแท้
      – หนองในเทียม (5 ชนิด)
      – พยาธิในช่องคลอด
    3. แพคเกจแผลที่อวัยวะเพศ 11 โรค : 2,990 บาท
      สำหรับคนที่มีแผล หรือก้อนที่อวัยวะเพศ
      ตรวจได้ 11 เชื้อ ได้แก่
      แพคเกจที่ 2. + เพิ่ม
      – เริม (2 ชนิด)
      – ซิฟิลิส
      – แบคทีเรียในช่องคลอด
    4. แพคเกจตรวจครบ 15 โรค : 3,290 บาท *** แนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ***
      สำหรับมารดาที่มีตกขาวผิดปกติ แนะนำให้ตรวจโรคแบบครบรอบด้าน
      ตรวจได้ 15 เชื้อ ได้แก่
      แพคเกจที่ 3. +เพิ่ม
      – แผลริมอ่อน
      – เชื้อรา
      – เชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด (2 ชนิด) รวมไปถึงเชื้อ GBS (Group B Streptococcus) ซึ่งส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์ได้รุนแรง

📞 สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และนัดหมายการตรวจได้ที่
– Line ID : @Sex.Disease
หรือคลิกได้ที่ลิงค์นี้
https://link.healthsmile.co.th/add-line/STD-content

🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจโรคทางเพศ และการรักษา ได้ที่นี่
สำหรับเพศชาย : https://healthsmile.co.th/mens-sti-clinic/
สำหรับเพศหญิง : https://healthsmile.co.th/womens-sti-clinic/

✅✅✅✅✅

package STD price
สูตินรีแพทย์ ที่สนใจด้านโครโมโซม ยีน DNA และการตรวจสุขภาพเชิงลึก ให้การดูแลมารดาตั้งครรภ์ ตรวจความผิดปกติของทารกในครรภ์ รักษาสุขภาพทางเพศ และให้ความรู้ด้านการตรวจยีนสุขภาพ การศึกษา - สถานะความรู้ความชำนาญเฉพาะทางที่แพทยสภารับรอง : สาขา สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ( Obstetrics and Gynaecology ) - ประกาศนียบัตรฯ ที่แพทยสภารับรอง : ด้านเวชศาสตร์จีโนมเบื้องต้นสำหรับแพทย์เฉพาะทาง