Last Updated on 27 มิถุนายน 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์

ความสัมพันธ์ระหว่าง ประจำเดือน และ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

เนื้อหาในบทความ

Last Updated on 27 มิถุนายน 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์

อาการผิดปกติเกี่ยวกับอวัยวะเพศของผู้หญิง เช่น ตกขาวผิดปกติ กลิ่นเหม็น มีแผลที่ช่องคลอด ฯลฯ สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงของชีวิต โดยสาเหตุของอาการผิดปกติดังกล่าวส่วนหนึ่งคือการติดโรคทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งการตรวจโรคติดต่อทางเพศนั้นมีวิธีการตรวจได้หลายรูปแบบ ได้แก่ การเจาะเลือด การเก็บสิ่งส่งตรวจจากช่องคลอด หรือว่าการเก็บปัสสาวะตรวจ แต่ไม่ว่าจะเป็นการตรวจวิธีใดก็สามารถตรวจหาโรคติดต่อทางเพศได้ตลอดแม้ว่าคุณผู้หญิงจะกำลังมีประจำเดือนอยู่ก็ตาม

คุณผู้หญิงไม่จำเป็นต้องรอให้ประจำเดือนหมด ถึงจะตรวจโรคติดต่อทางเพศได้ เนื่องจาก ระหว่างมีประจำเดือนนั้น หากมีการติดเชื้ออยู่ เชื้อนั้นก็สามารถแพร่ไปให้กับผู้อื่นได้ ดังนั้น การตรวจให้เร็วที่สุด ก็จะช่วยสามารถป้องกัน ไม่ให้โรคติดต่อไปสู่ผู้อื่น และนอกจากนั้น ระหว่างมีประจำเดือน คุณผู้หญิงก็มีโอกาสติดเชื้อขึ้นไปในโพรงมดลูก ได้มากกว่าปกติด้วย ดังนั้นหากมีอาการผิดปกติแนะนำให้รีบตรวจโดยเร็วที่สุดจะดีกว่า

วิธีการตรวจโรคติดต่อทางเพศ

การตรวจโรคติดต่อทางเพศ โดยการเจาะเลือด

โรคที่สามารถตรวจได้ ได้แก่ เริม เอชไอวี ซิฟิลิส ตับอักเสบบี และตับอักเสบซี

การตรวจเลือดสามารถตรวจได้ตลอดโดยไม่มีผลกระทบจากการเป็นประจำเดือน

การตรวจโรคติดต่อทางเพศ โดยการเก็บปัสสาวะ

การเก็บปัสสาวะเป็นอีกวิธี หนึ่ง ที่ง่าย และไม่เจ็บ สามารถตรวจได้หลายโรค เช่น หนองในเทียม หนองในแท้ ปรสิตในช่องคลอด หรือการติดเชื้อแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะอื่นๆ ทั้งนี้ ในขณะมีประจำเดือน หากต้องการตรวจโรคติดต่อทางเพศด้วยการเก็บปัสสาวะ จะแนะนำ ให้ตรวจด้วยวิธี PCR ซึ่งมีความแม่นยำสูง เนื่องจากหากตรวจ ด้วยการย้อมสีส่องกล้องจุลทรรศน์ตามวิธีปกติ ซึ่งมีความแม่นยำต่ำกว่า เชื้อต่างๆอาจจะถูกบดบังจากเลือดประจำเดือน ทำให้การวินิจฉัยผิดพลาดได้

การตรวจโรคติดต่อทางเพศ โดยการใช้ไม้ป้ายในช่องคลอด (Swab)

วิธีนี้เป็นวิธีการตรวจโรคติดต่อทางเพศที่มีประสิทธิภาพดี เนื่องจาก ได้เก็บสิ่งส่งตรวจจากช่องคลอดโดยตรง ซึ่งสามารถตรวจได้หลายโรค ได้แก่ หนองในแท้ หนองในเทียม การติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆ โรคเริม เชื้อเอชพีวีที่ก่อมะเร็งปากมดลูก เชื้อรา เชื้อปรสิตในช่องคลอด ฯลฯ ซึ่งการใช้ไม้ป้ายในช่องคลอดจะเป็นการเก็บเอาเชื้อมาตรวจจโดยตรง กรณีที่คุณผู้หญิงยังมีประจำเดือนอยู่ ก็สามารถตรวจได้ แต่จะแนะนำให้ตรวจเป็นวิธี PCR เช่นเดียวกับการตรวจปัสสาวะ เนื่องจากว่ามีประสิทธิภาพความแม่นยำสูงกว่าการย้อมสี ซึ่งการย้อมสีอาจจะทำให้มีเม็ดเลือดแดงบดบังเชื่อโรค ทำให้วินิจฉัยผิดพลาดได้

ผลของประจำเดือน ต่อโรคติดต่อทางเพศ

ช่วงระหว่างมีประจำเดือน จะทำให้ติดโรคติดต่อทางเพศได้ง่ายขึ้น และรุนแรงขึ้น

แน่นอนว่าโรคติดต่อทางเพศสามารถติดต่อได้ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน ยิ่งเมื่อมีประจำเดือน จะทำให้ค่าความเป็นกรดด่างในช่องคลอดเปลี่ยนแปลงไป ช่องคลอดจะมีความเป็นกรดน้อยลง ทำให้ติดเชื้อโรคได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้การติดเชื้ออาจจะรุนแรงได้มากขึ้น เนื่องจากปากมดลูกจะเปิดให้เลือดประจำเดือนไหลออกมา ทำให้เชื้อโรคสามารถย้อนสวนขึ้นไปที่ในปากมดลูก และโพรงมดลูก ทำให้มดลูกอักเสบ อาจจะรุนแรงจนถึงขั้นต้องผ่าตัดเมื่อเป็นฝี และมีบุตรยากได้

อ่านเพิ่ม : ผลแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น หากไม่ได้รักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

เลือดประจำเดือนของคนที่เป็นโรค สามารถติดต่อให้คนอื่นได้

แน่นอน หากคุณติดโรคทางเพศ และมีเชื้อโรคเหล่านั้นในช่องคลอด การที่มีประจำเดือนก็จะนำพาให้เชื้อโรคหรือไวรัสต่างๆ ติดตามออกมากับเลือดประจำเดือนได้ และติดต่อให้กับผู้อื่นได้

ผลของการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศ ต่อประจำเดือน

เชื้อชนิดใดบ้างที่ทำให้ประจำเดือนผิดปกติ หรือมีเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด

อาการผิดปกติเกี่ยวกับประจำเดือนที่เกิดจากโรคติดต่อทางเพศ

การติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์นั้น อาจจะทำให้มีอาการปวดประจำเดือนมากขึ้นได้ เนื่องจากมีการอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อ นอกจากนี้ การติดโรคติดต่อทางเพศบางชนิด เช่น หนองในแท้ ก็สามารถทำให้เลือดประจำเดือนออกมามากกว่าปกติ หรือมีประจำเดือนออกกระปริบกระปรอย ได้

มีงานวิจัยพบว่า ในคนที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อาจจะทำให้กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (PMS : Pre-menstrual syndrome) รุนแรงมากขึ้น เช่นปวดหัว ปวดเกร็งหน้าท้อง อารมณ์หงุดหงิดง่าย เทียบกับคนที่ไม่มีโรคติดต่อทางเพศ

การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างมีประจำเดือน

การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างมีประจำเดือนสามารถทำได้อย่างปลอดภัย แต่มีบางสิ่งที่ควรคำนึง ได้แก่ การป้องกันโรคติดต่อทางเพศ และการรักษาความสะอาดทั้งก่อนมีเพศสัมพันธ์ – ระหว่างมีเพศสัมพันธ์ และ หลังมีเพศสัมพันธ์ โดยมีข้อแนะนำดังนี้

1. ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง : ช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ และช่วยให้ทำความสะอาดได้ง่ายขึ้น

2. รักษาความสะอาดทุกขั้นตอน : ควรชำระล้างร่างกายให้สะอาดก่อนมีเพศสัมพันธ์ ขณะมีเพศสัมพันธ์ก็ควรใช้ผ้าขนหนูหรือแผ่นรองที่นอนเพื่อป้องกันการเลอะเทอะ และทำความสะอาดร่างกาย และเครื่องนอนทันทีหลังจากมีเพศสัมพันธ์เสร็จแล้ว เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และการหมักหมมของเชื้อในคราบเลือด

3. การสื่อสารกับคู่ครอง : การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างมีประจำเดือน ต้องอาศัยการสื่อสารเปิดใจเกี่ยวกับความรู้สึก ความยินยอม และความต้องการของทั้งสองฝ่ายเป็นสำคัญ การบอกถึงสิ่งที่ทำให้รู้สึกสบายหรือไม่สบายระหว่างมีเพศสัมพันธ์จะช่วยให้การมีเพศสัมพันธ์เป็นไปด้วยดี

4. เลือกท่าของเพศสัมพันธ์ที่เหมาะสม : บางท่าอาจจะไม่ค่อยเหมาะสมกว่าในช่วงมีประจำเดือน เช่น ท่าที่ให้ผู้หญิงอยู่ข้างบน (woman on top) เพราะจะทำให้เลือดไหลออกมาได้มากขึ้น อาจเกิดความรู้สึกไม่สบายได้

5. มีเพศสัมพันธ์อย่างอ่อนโยน : ควรมีการกระทำที่อ่อนโยนและระมัดระวัง เนื่องจากช่วงมีประจำเดือนอวัยวะเพศหญิงอาจจะมีความไวต่อการสัมผัสมากขึ้น

สรุป

การตรวจโรคติดต่อทางเพศนั้นสามารถตรวจได้ขณะมีประจำเดือน ไม่ว่าจะเป็นการตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ หรือการใช้ไม้ป้ายบริเวณช่องคลอดมาตรวจ แต่แนะนำว่าควรจะใช้วิธีตรวจที่มีประสิทธิภาพสูง ได้แก่ วิธี PCR เนื่องจากวิธีนี้เป็นการตรวจหาก DNA ของเชื้อ จะไม่ถูกบดบังโดยเม็ดเลือดแดงจากประจำเดือน

ประจำเดือน และการติดโรคทางเพศนั้น ส่งผลต่อกันและกัน โดยระหว่างมีประจำเดือนจะทำให้ติดเชื้อง่ายขึ้น รุนแรงขึ้น และ การติดเชื้อโรค ก็จะทำให้ประจำเดือนมาผิดปกติ มีอาการปวดท้องประจำเดือนได้

References

Alvergne, A., Vlajic Wheeler, M., & Högqvist Tabor, V. (2018). Do sexually transmitted infections exacerbate negative premenstrual symptoms? Insights from digital health. Evolution, Medicine, and Public Health2018(1), 138–150. https://doi.org/10.1093/emph/eoy018

Franklin, A. (2018, May 3). Can you get STD (STI) tested on your period? Health. https://www.health.com/condition/sexual-health/std-risk-during-your-period

STDs that affect your period. (n.d.). Everlywell.com. Retrieved June 27, 2024, from https://www.everlywell.com/blog/sti-testing/stds-that-affect-your-period/

✅✅✅✅✅

หากมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับอวัยวะเพศ ปัสสาวะแสบขัด ตกขาว มีแผล หรือมีความเสี่ยงที่มีคู่นอนหลายคน หรือ คู่นอนของเรามีคนอื่นด้วย

แนะนำตรวจและรักษาให้ตรงจุด

ด้วยชุดตรวจโรคทางเพศด้วยตนเอง

 

รูปชุดตรวจ STD

หากต้องการตรวจเพื่อยืนยันการติดเชื้อ หรือรักษาอาการผิดปกติเกี่ยวกับอวัยวะเพศ ด้วยเทคโนโลยีที่มีความแม่นยำสูง สามารถรักษาให้หายขาดได้ เฮลท์สไมล์ มีให้บริการชุดตรวจด้วยตนเองที่บ้าน ครอบคลุมเชื้อที่ทำให้เกิดแผลที่อวัยวะเพศสูงสุดถึง 14 โรค มีความแม่นยำมากกว่า 95%

เรามีแพคเกจตรวจโรคและความผิดปกติเกี่ยวกับอวัยวะเพศ ให้เลือกอยู่ 4 แพคเกจ

* ทุกแพคเกจ มีแพทย์เฉพาะทางที่ปรึกษาด้านสูตินรีเวช เพื่อแนะนำการรักษา
* ทุกแพคเกจ รวมค่ายารักษาตามโรคที่พบส่งฟรีถึงบ้านโดยเภสัชกร

    1. แพคเกจปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อการรักษา : 900 บาท
      เหมาะกับคนที่ยังไม่เคยรักษา ต้องการรักษาด้วยตนเอง แพทย์แนะนำยา แนะนำการรักษา การดูแลตนเองหลังรักษาป้องกันการเป็นซ้ำ
    2. แพคเกจตกขาวผิดปกติ 7 โรค : 2,490 บาท
      สำหรับคนที่มีอาการปัสสาวะผิดปกติ หรือตกขาวผิดปกติ
      ตรวจได้ 7 เชื้อ ได้แก่
      – หนองในแท้
      – หนองในเทียม (5 ชนิด)
      – พยาธิในช่องคลอด
    3. แพคเกจแผลที่อวัยวะเพศ 11 โรค : 2,990 บาท
      สำหรับคนที่มีแผล หรือก้อนที่อวัยวะเพศ
      ตรวจได้ 11 เชื้อ ได้แก่
      แพคเกจที่ 2. + เพิ่ม
      – เริม (2 ชนิด)
      – ซิฟิลิส
      – แบคทีเรียในช่องคลอด
    4. แพคเกจตรวจครบ 15 โรค : 3,290 บาท *** แนะนำ ***
      สำหรับมารดาที่มีตกขาวผิดปกติ แนะนำให้ตรวจโรคแบบครบรอบด้าน
      ตรวจได้ 14 เชื้อ ได้แก่
      แพคเกจที่ 3. +เพิ่ม
      – แผลริมอ่อน
      – เชื้อรา (2 ชนิด)
      – เชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด (2 ชนิด) รวมไปถึงเชื้อ GBS (Group B Streptococcus) ซึ่งส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์ได้รุนแรง

📞 สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และนัดหมายการตรวจได้ที่
– Line ID : @Sex.Disease
หรือคลิกได้ที่ลิงค์นี้
https://link.healthsmile.co.th/add-line/STD-content

🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจโรคทางเพศ และการรักษา ได้ที่นี่
https://healthsmile.co.th/mens-sti-clinic/
https://healthsmile.co.th/womens-sti-clinic/

✅✅✅✅✅

package STD price
สูตินรีแพทย์ ที่สนใจด้านโครโมโซม ยีน DNA และการตรวจสุขภาพเชิงลึก ให้การดูแลมารดาตั้งครรภ์ ตรวจความผิดปกติของทารกในครรภ์ รักษาสุขภาพทางเพศ และให้ความรู้ด้านการตรวจยีนสุขภาพ การศึกษา - สถานะความรู้ความชำนาญเฉพาะทางที่แพทยสภารับรอง : สาขา สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ( Obstetrics and Gynaecology ) - ประกาศนียบัตรฯ ที่แพทยสภารับรอง : ด้านเวชศาสตร์จีโนมเบื้องต้นสำหรับแพทย์เฉพาะทาง