ปัจจุบัน การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมแบบ NIPT (Non-Invasive Prenatal Testing) กำลังเป็นที่นิยมและแพร่หลายมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพความแม่นยำในการคัดกรองดาวน์ซินโดรมได้สูงถึง 99.9% เมื่อเทียบกับการเจาะน้ำคร่ำ แต่ว่ามีความปลอดภัยกว่าการเจาะน้ำคร่ำ เนื่องจากเป็นการเจาะเลือดมารดาเพียงอย่างเดียว ไม่ต้องแทงเข็มเข้าไปในโพรงมดลูกเพื่อเจาะเอาน้ำคร่ำออกมาตรวจ ซึ่งการเจาะน้ำคร่ำจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะน้ำคร่ำรั่ว การติดเชื้อในน้ำคร่ำและโพรงมดลูก จนถึงทำให้เกิดการแท้งตามมาได้

NIFTY หนึ่งในแบรนด์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในประเทศไทย (รวมถึงทั่วโลกด้วย) โดย ณ ปัจจุบันที่ผู้เขียนได้เขียนบทความนี้ มีผู้เข้ารับการตรวจกับแบรนด์นี้สูงถึง 10 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งการตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมด้วยวิธีนี้นั้น จะมีข้อจำกัดบางอย่าง ซึ่งอาจจะไม่สามารถตรวจได้ทุกคน

บทความนี้ จึงอยากจะมาชวนรู้ เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการรับหรือปฏิเสธสิ่งส่งตรวจ NIFTY® test เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับคุณแม่ในการเลือกเข้ารับบริการกับสูตินรีแพทย์ หรือศูนย์ตรวจต่างๆของ HealthSmile ของเรา

สิ่งส่งตรวจที่สามารถตรวจ NIFTY Test ได้

    • หญิงตั้งครรภ์ ต้องไม่ได้รับยาที่มีการปนเปื้อนของ Exogenous DNA หรือยาที่มีสาเหตุทำให้ DNA mutation

    • ผู้รับบริการที่ได้รับการรักษาด้วย Albumin serum ต้องทำการรักษา มาแล้วเป็นเวลามากกว่า 4 สัปดาห์ ก่อนตรวจ NIFTY Test

    • ผู้รับบริการที่ได้รับการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด ต้องทำการรักษามากกว่า 4 สัปดาห์ก่อนตรวจ NIFTY Test

    • ผู้รับบริการที่ได้รับการรักษาด้วย Immunoglobulin สามารถตรวจได้ทันที

    • กรณีเป็น Vanishing Twin Syndrome หนึ่งตัวอ่อนที่ฝ่อจะต้องฝ่อก่อนอายุครรภ์ครบ 8 สัปดาห์ และเจาะเลือดส่งตรวจเมื่อนับต่อจากวันที่ตัวอ่อนฝ่อไปอีก 8 สัปดาห์

    • ผู้รับบริการที่ สามี มีประวัติการรักษาด้วย stem cell หรือปลูกถ่ายอวัยวะ สามารถตรวจได้

    • ผู้รับบริการที่มีผลอัลตร้าซาวด์ของทารกในครรภ์ผิดปกติ สามารถตรวจได้

    • ผู้รับบริการที่ได้รับการรักษาด้วย Interferon สามารถตรวจได้

สิ่งส่งตรวจที่ต้องเซ็นต์ Additional consent form เพิ่มเติม

ในบางกรณี หากคุณแม่ต้องการตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมและดาวน์ซินโดรมด้วยวิธี NIPT หรือ NIFTY นั้น เนื่องจากการตรวจ จะเป็นการตรวจเศษของ DNA ของลูกที่ลอยอยู่ในเลือดมารดาที่เรียกว่า cell-free fetal DNA (cffDNA) (อ่านต่อที่นี่) ดังนั้น จึงมีบางกรณีที่แม้ว่าจะสามารถตรวจ NIFTY ได้ แต่ก็อาจทำให้การตรวจมีความผิดพลาด หรือไม่สามารถออกผลได้ และมารดาจะต้องทราบถึงข้อจำกัดของการตรวจ และเซ็นต์รับทราบข้อจำกัดใน Additional consent form ดังรายการต่อไปนี้

    • ผู้รับบริการที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 10 สัปดาห์

    • ผู้รับบริการที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ

    • ผู้รับบริการที่ได้รับการรักษาด้วย stem cell

    • ผู้รับบริการที่ได้รับการเปลี่ยนถ่าย Allogenic blood ภายใน 1 ปีก่อนเจาะเลือดตรวจ NIFTY

    • ผู้รับบริการที่ได้รับการรักษาโดยเซลล์ภูมิคุ้มกันบำบัด ที่ได้รับ DNA จากภายนอกภายใน 4 สัปดาห์

    • ผู้รับบริการที่ได้รับการรักษาด้วย Heparin

    • ผู้รับบริการที่พบความผิดปกติของ Karyotype qh+/- , ps+/- , pstk+/- , pss

    • ผู้รับบริการที่มี BMI มากกว่า 40

    • ผู้รับบริการที่เป็นเนื้องอกชนิดร้ายแรง หรือมีประวัติเคยเป็นเนื้องอกทั้งชนิดร้ายแรงและไม่ร้ายแรง

    • ผู้รับบริการที่ สามี มีประวัติโครโมโซมผิดปกติ

    • ผู้รับบริการที่มีอายุครรภ์มากกว่า 24 สัปดาห์

สิ่งส่งตรวจที่ไม่สามารถตรวจ NIFTY Test ได้

สำหรับสิ่งส่งตรวจ ที่ไม่สามารถตรวจได้เลย และทางบริษัทจะปฏิเสธสิ่งส่งตรวจดังกล่าว จะมีรายการดังนี้

    • การตั้งครรภ์แฝดสาม

    • ผู้รับบริการที่มีความผิดปกติของ Karyotyp ได้แก่ Dup, Del, t, rob, inv, p-/+, q-/+, mar และ Chromosome aneuploidy

    • ทารกในครรภ์อย่างน้อย 1 คน มีพัฒนาการการเจริญเติบโตที่บกพร่อง

    • สิ่งส่งตรวจที่ข้อมูลไม่ชัดเจน ไม่มีชื่อหรือใบขอตรวจ หรือข้อมูลบนหลอดเลือดและใบขอตรวจไม่ตรงกัน

    • สิ่งส่งตรวจที่ขนส่งมาในอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม หรือใช้ภาชนะบรรจุที่ไม่ได้รับการรับรอง

    • สิ่งส่งตรวจที่พบภาวะเม็ดเลือดแดงแตก มีไขมันในเลือดสูงมาก หรือ เลือดแข็งตัว

    • สิ่งส่งตรวจที่มีปริมาตรไม่เพียงพอ

    • สิ่งส่งตรวจที่พบภาวะการรั่วซึม หรือหกออกมานอกภาชนะเก็บสิ่งส่งตรวจ

    • สิ่งส่งตรวจส่งถึงห้องปฏิบัติการเกิน 96 ชั่วโมงหลังเจาะเลือด

จะเห็นได้ว่า ถึงแม้การตรวจ NIPT หรือ NIFTY จะเป็นวิธีการตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมที่มีความแม่นยำสูง แต่ก็มีข้อจำกัดบางประการในคุณแม่ หรือคุณพ่อที่มีความผิดปกติบางอย่าง ดังนั้น หากต้องการตรวจ NIFTY จึงแนะนำว่าควรเลือกตรวจกับศูนย์ตรวจที่เชื่อถือ และไว้ใจได้ รวมถึงมีเจ้าหน้าที่ที่คอยตอบข้อสงสัยได้อย่างรวดเร็ว

ต้องการคำปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม หรือนัดหมายตรวจ NIPT คลิกที่นี่

call to action NIPT ท้ายบทความ สีชมพู

✅✅✅✅✅

เฮลท์สไมล์ บริการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ และตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ ครบ 23 คู่ทุกโครโมโซมที่มีในมนุษย์ รู้เพศ และโรคอื่นๆที่เกิดจากการขาด/เกินของโครโมโซมขนาดเล็กได้มากถึง 92 โรค กับ Brand NIFTY® และ NGD NIPS

✔ ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมอื่นๆ ผลแม่นยำสูง 99.9%

✔ เจาะเลือดเพียง 10 ซีซี ไม่เสี่ยงแท้ง

✔ ราคาคุ้มค่า ประหยัด ค่าบริการเริ่มต้นที่ 9,500 บาท รวมค่าบริการเจาะเลือดถึงบ้าน และแพทย์อ่านผลให้ทุกเคส

✔ สะดวก สบาย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ลดความเสี่ยงจากการเดินทางออกนอกสถานที่

✔ บริการตรวจถึงบ้านทั่วประเทศ ฟรี

✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @Healthsmile

📞 โทร : 089 874 9565

🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของทารกในครรภ์ ได้ที่นี่ https://healthsmile.co.th/prenatal-screening/

ตารางราคา NGD NIPT 5chromosome 8900 บาท NIFTY focus 10900 บาท NGD NIPS 23 chromosomes 11900 บาท NIFTY Core 12900 บาท NIFTY Pro 17400 บาท
HealthSmile Medical writer team เป็นทีมเขียนบทความทางการแพทย์ของบริษัท วัฒนา เมดิคอล แอนด์ เวลล์บีอิง จำกัด ที่มีความต้องการที่จะกระจายความรู้ด้านการแพทย์เชิงลึก เกี่ยวกับการตรวจความผิดปกติของโครโมโซม ยีน และ DNA รวมไปถึงความรู้ด้านการตั้งครรภ์ การตรวจสุขภาพ และโรคภัยต่างๆ หากมีข้อเสนอแนะ สามารถแจ้งได้ที่ [email protected]