Last Updated on 17 กรกฎาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์

Last Updated on 17 กรกฎาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์

บทความนี้จะรวมถึงความเข้าใจผิด ๆ ที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21 ที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย แต่ก็ยังมีความเข้าใจผิดพลาดในหลาย ๆ ประเด็นที่สำคัญ

ความเข้าใจผิดที่ 1: การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมคือการวินิจฉัยโรค

การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมไม่ใช่การวินิจฉัยแน่นอน แต่เป็นการประเมินความเสี่ยงที่จะมีลูกที่เกิดมาพร้อมกับดาวน์ซินโดรม การทดสอบเหล่านี้สามารถให้ผลลัพธ์ที่เป็นไปได้หรือไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่ไม่สามารถยืนยันว่าลูกในครรภ์มีดาวน์ซินโดรมหรือไม่

สำหรับการวินิจฉัยภาวะดาวน์ซินโดรมของทารกในครรภ์ จะต้องเป็นการตรวจเซลล์ของทารกโดยตรง ซึ่งเก็บได้จากการเจาะน้ำคร่ำ (Amniocentesis) เจาะเลือดสายสะดือ (Cordocentesis) หรือการตัดชิ้นเนื้อรกไปตรวจ (Chorionic villus sampling) เท่านั้น

ความเข้าใจผิดที่ 2: การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมมีความจำเป็น ต้องตรวจทุกคน

แม้ว่าอาจจะไม่จำเป็นสำหรับทุกคน แต่สูตินรีแพทย์ที่ให้การดูแล ควรต้องแจ้งความเสี่ยงที่ทารกในครรภ์จะมีภาวะดาวน์ซินโดรมให้กับคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคนทราบ เพื่อให้คุณแม่มีข้อมูลในการตัดสินใจว่าจะเลือกตรวจหรือไม่ และหากเลือกตรวจจะเลือกเป็นวิธีไหนที่จะเหมาะสม แม่นยำ และคุ้มค่าใช้จ่ายที่สุด

อ่านเพิ่ม : ตารางรวมความเสี่ยงทารกในครรภ์เป็นดาวน์ซินโดรม ตามอายุของคุณแม่ หน้าเดียวจบ ครบทุกอายุ

การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมเป็นเรื่องที่คุณแม่และครอบครัวสามารถเลือกวิธีที่เหมาะกับตนเองได้ ไม่ใช่เรื่องที่จำเป็นจะต้องเลือกวิธ๊ที่แม่นยำที่สุด หรือเลือกวิธีที่ราคาถูกที่สุด คนที่มีความเสี่ยงสูงที่จะมีลูกที่มีดาวน์ซินโดรม อาจจะเลือกที่จะทำการตรวจคัดกรองด้วยวิธีที่มีความแม่นยำ 99.9% ได้แก่ การตรวจ NIPT (NIFTY, NGD NIPS) แต่คนที่อยู่ในกลุ่มความเสี่ยงทั่วไป(หรือแม้แต่ความเสี่ยงสูง) หากมีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย ก็อาจเลือกวิธีที่สามารถคัดกรองที่ราคาประหยัดลงมา แต่ความแม่นยำ 80% ก็ได้ ได้แก่ การตรวจ Quadruple test (คนไทยตรวจฟรีที่ รพ.รัฐทุกแห่ง) หรือแม้แต่เลือกที่จะไม่ทำการตรวจคัดกรองก็ได้เช่นกัน

ความเข้าใจผิดที่ 3: หากการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมเป็นบวกแสดงว่าลูกในครรภ์มีดาวน์ซินโดรมแน่นอน

หากผลการตรวจคัดกรองเป็นบวก ไม่ได้หมายความว่าลูกในครรภ์มีดาวน์ซินโดรมแน่นอน แต่แสดงว่ามีความเสี่ยงที่จะมีดาวน์ซินโดรมสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การตรวจ Quadruple test ที่มีความแม่นยำประมาณ 80% จะมีโอกาสเกิด False positive หรือ ผลบวกปลอมได้ ดั้งนั้น จึงจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ ได้แก่ การเจาะตรวจโครโมโซมจากน้ำคร่ำ เพื่อยืนยันการวินิจฉัย

อ่านต่อ : ผลตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม แบบ Quad test (ควอดเทส) ได้ผลว่ามีความเสี่ยงสูง (High risk) ทำอย่างไรดี !

อ่านต่อ : ผลตรวจ NIFTY หรือ ผลตรวจ NIPT ผิดปกติ ต้องทำอย่างไรต่อ?

ความเข้าใจผิดที่ 4: การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมสามารถตรวจพบทุกกรณีของดาวน์ซินโดรม

การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมไม่สามารถตรวจพบทุกกรณีของดาวน์ซินโดรมได้ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจคัดกรองแบบ Quadruple test (ความแม่นยำ 80%) หรือแม้แต่แบบ NIPT (ความแม่นยำ 99.9%) ก็ยังมีโอกาสที่จะพลาดในการตรวจพบดาวน์ซินโดรมได้

อ่านต่อ : 7 สาเหตุ ที่อาจทำให้ผลตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม (NIPS, NIPT, NIFTY) ผิดพลาด

ความเข้าใจผิดที่ 5: ผลการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมมีความสำคัญที่สุดในการฝากครรภ์

ผลการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมเป็นส่วนหนึ่งของภาพรวมการตั้งครรภ์ แต่ไม่ได้เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ความสุขและสุขภาพของแม่และลูกในครรภ์เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

เพราะโครโมโซมของมนุษย์ ก็เหมือนกับแม่พิมพ์ของชีวิต ถึงแม้ว่าโครโมโซมจะปกติ แต่หากระหว่างการตั้งครรภ์คุณแม่ หรือทารกในครรภ์ มีปัญหาด้านสุขภาพกายและใจอื่นๆแทรกซ้อน มีปัญหาด้านโภชนาการ มีปัญหาระหว่างคลอดและหลังคลอด ก็อาจจะทำให้ทารกในครรภ์มีความผิดปกติได้เช่นเดียวกัน เปรียบเหมือนกับแม่พิมพ์ ที่หากผสมแป้งไม่ดี เทแป้งลงไปในแม่พิมพ์ไม่ดี หรือเอาเข้าอบที่อุณหภูมิไม่เหมาะสม ขนมที่ได้ก็อาจจะไม่สมบูรณ์

บทสรุป

การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการคาดการณ์ความเสี่ยงที่ลูกในครรภ์จะมีดาวน์ซินโดรม แต่มันไม่ใช่เครื่องมือที่แม่นยำ 100% และไม่ควรถูกมองเป็นเครื่องมือสำคัญที่สุดในการตัดสินใจเกี่ยวกับสุขภาพของลูกในครรภ์

ข้อมูลที่ถูกต้องและความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมจะช่วยให้คุณแม่และครอบครัวสามารถตัดสินใจได้ดีขึ้น และจะช่วยให้สามารถปรับตัวกับผลที่เกิดขึ้นได้ดีขึ้น

คุณแม่สามารถตรวจสอบข้อมูล สอบถามคำถาม เพื่อให้ทราบข้อมูลที่ถูกต้อง จะช่วยให้คุณแม่สามารถตัดสินใจที่เข้ากับความต้องการและสภาพของคุณแม่ได้ดีขึ้น

ต้องการคำปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม หรือนัดหมายตรวจ NIPT คลิกที่นี่

call to action NIPT ท้ายบทความ สีชมพู

✅✅✅✅✅

เฮลท์สไมล์ บริการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ และตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ ครบ 23 คู่ทุกโครโมโซมที่มีในมนุษย์ รู้เพศ และโรคอื่นๆที่เกิดจากการขาด/เกินของโครโมโซมขนาดเล็กได้มากถึง 92 โรค กับ Brand NIFTY® และ NGD NIPS

✔ ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมอื่นๆ ผลแม่นยำสูง 99.9%

✔ เจาะเลือดเพียง 10 ซีซี ไม่เสี่ยงแท้ง

✔ ราคาคุ้มค่า ประหยัด ค่าบริการเริ่มต้นที่ 9,500 บาท รวมค่าบริการเจาะเลือดถึงบ้าน และแพทย์อ่านผลให้ทุกเคส

✔ สะดวก สบาย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ลดความเสี่ยงจากการเดินทางออกนอกสถานที่

✔ บริการตรวจถึงบ้านทั่วประเทศ ฟรี

✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @Healthsmile

📞 โทร : 089 874 9565

🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของทารกในครรภ์ ได้ที่นี่ https://healthsmile.co.th/prenatal-screening/

ตารางราคา NGD NIPT 5chromosome 8900 บาท NIFTY focus 10900 บาท NGD NIPS 23 chromosomes 11900 บาท NIFTY Core 12900 บาท NIFTY Pro 17400 บาท
HealthSmile Medical writer team เป็นทีมเขียนบทความทางการแพทย์ของบริษัท วัฒนา เมดิคอล แอนด์ เวลล์บีอิง จำกัด ที่มีความต้องการที่จะกระจายความรู้ด้านการแพทย์เชิงลึก เกี่ยวกับการตรวจความผิดปกติของโครโมโซม ยีน และ DNA รวมไปถึงความรู้ด้านการตั้งครรภ์ การตรวจสุขภาพ และโรคภัยต่างๆ หากมีข้อเสนอแนะ สามารถแจ้งได้ที่ [email protected]