Last Updated on 15 พฤษภาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์

Last Updated on 15 พฤษภาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์

  • คุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ ต้องใส่ใจในเรื่องอาหารมากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะ อาหารสำหรับคนแพ้ท้อง ไม่ว่าคุณแม่จะทานอาหารแบบไหนเข้าไปในร่างกาย ทารกในครรภ์ก็จะได้รับอาหารที่คุณแม่ทานด้วย คุณแม่จึงต้องเลือกอาหารที่ครบ 5 หมู่เพื่อประโยชน์ของลูกน้อยในครรภ์ให้แข็งแรง
  • ช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์จำเป็นต้องทานอาหารที่มีประโยชน์และหลากหลาย ในปริมาณที่เพียงพอ ต้องการพลังงานที่มากกว่าเดิม 300 kal ต่อวัน คุณแม่จึงควรกินอาหารให้ครบหมู่และพอดี อาทิเช่น คือ กรดโฟลิก โปรตีน ธาตุเหล็ก วิตามินซี วิตามินดี ไอโอดีน แคลเซียม โคลีน และดีเอชเอ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดความบกพร่องพิการของทารก

การดูแลอาหารช่วงตั้งครรภ์ 1-3 เดือน สำคัญอย่างไร

  • คนท้องช่วงไตรมาสสำคัญมากๆ เพราะระยะนี้ทารกอยู่ในช่วงกระบวนการสร้างเซลล์และอวัยวะต่างๆ หากได้รับสารอาหารบางชนิดไม่เพียงพอช่วงไตรมาสแรก เช่น กรดโฟลิก ธาตุเหล็ก อาจเสี่ยงให้ทารกพิการหรือมีปัญหาเกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆในอนาคตได้
  • เรื่องโภชนาการที่ดีจึงสำคัญมากที่คุณแม่ต้องให้ความสำคัญเอาใจใส่ตั้งแต่ท้องจนทารกจะคลอดและหย่านม

สารอาหารเพื่อสุขภาพของคุณแม่ช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสแรก

  • โปรตีน มีส่วนช่วยสร้างกล้ามเนื้อให้ทารก และช่วยเพิ่มความแข็งแรงเพิ่มพลังงานให้คุณแม่ ควรเป็นโปรตีนที่ไขมันต่ำ เช่น เนื้อปลา เนื้อไก่ เต้าหู้ หรือ โปรตีนจากพืช ช่วงระหว่างตั้งครรภ์มากกว่าปกติ แนะนำว่า ผู้หญิงตั้งครรภ์ควรได้รับโปรตีน 1 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม และเพิ่มไปอีก 25 กรัมต่อวัน
  • คาร์โบไฮเดรต ควรเป็นคาร์โบไฮเดรต(เชิงซ้อน) ที่ให้ดัชนีน้ำตาลต่ำ แต่ให้พลังงานสูง เช่น ข้าวกล้อง หรือ ขนมปังโฮลวีท
  • ควรกินผักผลไม้ ที่หวานน้อย(มีน้ำตาลต่ำ) แต่ให้ใยอาหารสูง เพื่อทำให้ระบบขับถ่ายเป็นปกติ เนื่องจากผู้หญิงที่มีครรภ์มักจะมีปัญหาท้องผูกบ่อยๆ
  • ธาตุเหล็ก ร่างกายของคุณแม่จำเป็นที่จะต้องใช้ธาตุเหล็กในการสร้างฮีโมโกลบิน เพื่อลำเลียงออกซิเจนจากปอดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ดังนั้น เมื่อตั้งครรภ์ร่างกายของคุณแม่จึงต้องการธาตุเหล็กมากขึ้นเป็นสองเท่า เพื่อให้มีปริมาณธาตุเหล็กที่เพียงพอต่อการสร้างงฮีโมลโกลบินในร่างกายตนเอง และเพียงพอที่จะใช้ลำเลียงส่งออกซิเจนไปยังทารกในครรภ์ เพราะทารกเองก็ต้องใช้ธาตุเหล็กในการสร้างเซลล์เลือดของตัวเองด้วย มากไปกว่านั้น การขาดธาตุเหล็กในขณะตั้งครรภ์อาจนำไปสู่ความเสี่ยงของโรคโลหิตจางได้
  • น้ำมันปลาโอเมก้า 3 มี ดีเอชเอ (DHA) ส่วนช่วยให้ทารกได้พัฒนาด้านสมองและระบบประสาท ควรกินในปริมาณที่เหมาะสมซึ่งเป็นไขมันจากปลาทะเล อุดมไปด้วยกรมไขมันโอเมก้า 3
  • กรดโฟลิกหรือโฟเลต หรือ วิตามินบี9 ถือเป็นสารอาหารที่สำคัญมากสำหรับคนท้อง มีบทบาทในการส่งเสริมสุขภาพคุณแม่และการพัฒนาการของทารก ลดความเสี่ยงการบกพร่องของท่อประสาท หรือป้องกันความบกพร่องของการสร้างเซลล์สมอง ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของทารก ลดความเสี่ยงความบกพร่องทางหัวใจในทารก
    **คุณแม่ควรได้รับกรดโฟลิคจากอาหารหลายๆแหล่ง เช่น ผักใบเขียว ,ถั่ว ,ธัญพืช, ไข่ และผลไม้
  • ไอโอดีน ไอโอดีนเป็นแร่ธาตุที่สำคัญ ในการพัฒนาสมองและระบบประสาทของทารกในระหว่างตั้งครรภ์ มีส่วนสำคัญในการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งมีบทบาทควบคุมการทำงานของร่างกาย และป้องกันอาการไทรอยด์โตได้ สามารถพบได้ในอาหารจำพวกปลา นม ชีส โยเกิร์ต อาหารเสริมไอโอดีน
  • แคลเซียม มีส่วนในการพัฒนากระดูก ฟัน หัวใจ กล้ามเนื้อ เส้นประสาทของทารก หากคุณแม่รับสารอาหารที่เป็นแคลเซียมไม่เพียงพอจะทำให้ผมร่วงง่าย กล้ามเนื้ออ่อนแรง อ่อนเพลีย จึงไม่ควรละเลย สามารถพบได้ในอาหารจำพวกนม ชีส โยเกิร์ต บรอกโคลี

เพื่อสุขภาพของคุณแม่และลูกในครรภ์ คุณแม่ควรได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและมีประโยชน์ต่อร่างกาย ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาการของทารกในครรภ์ให้เติบโตได้อย่างสมบูรณ์และสมวัย เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเป็นปัญหาสุขภาพของทารกในครรภ์ได้

อาหารที่คนท้องอ่อนต้องเลี่ยง

สิ่งสำคัญในการดูแลสุขภาพคุณแม่ที่ท้องอ่อนๆ ควรเลี่ยงเพราะมีความไวต่ออาหารและมีอาการคลื่นไส้เพิ่มขึ้นหากกินหรือดื่มเข้าไปอาจส่งผลเสียต่อร่างกายคุณแม่ กับลูกในครรภ์ได้ และอาจส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของทารกในครรภ์ เป็นอาหารจำพวก

  1. อาหารที่มีกลิ่นฉุน กลิ่นแรงๆ : อาหารที่มีกลิ่นหอม หรือกลิ่นของอาหารแรงๆ อาจกระตุ้นอาการคลื่นไส้ได้ เช่น ปลาร้า, หัวหอม, กระเทียม, ข่า ตะไคร้ เครื่องแกงกะหรี่ พริกไทย หรือผลไม้ที่มีสารกำมะถันอย่าง ทุเรียน สะตอ ชะอม
  2. อาหารที่มีรสเผ็ด : อาหารที่มีรสเผ็ดหรือเครื่องเทศที่แรงมากอาจทำให้คนท้องรู้สึกไม่สบาย เช่น อาหารไทยที่มีพริกมาก, อาหารเม็กซิกัน.
  3. อาหารที่มีการปรุงรสหลายชนิด : บางสารเสริมอาหารอาจทำให้ไม่สบายในกรณีคนท้องอ่อน เช่น กลูตามีนในผงชูรส เป็นต้น
  4. อาหารที่มีปริมาณไขมันสูง : อาหารที่มีปริมาณไขมันสูงจะทำให้การย่อยอาหารลำบาก เช่น ของทอด, อาหารที่ผัดในน้ำมันมาก
  5. อาหารที่มีแป้งมากๆ : อาจทำให้คนท้องอ่อนรู้สึกท้องอืด อิ่มเร็ว เช่น ขนมปังขาว, ขนมปังทั้งหลาย.
  6. อาหารที่มีคาเฟอีน : อาหารที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ, ช็อกโกแลต.
  7. อาหารที่ไม่สะอาดหรือไม่สด : การบริโภคอาหารที่ไม่สะอาดหรือไม่สดอาจทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ

แต่สำหรับบางท่านที่มีอาการคลื่นไส้รุนแรง ควรได้รับคำแนะนำเพิ่มเติมจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ได้รับเลือกการทานอาหารให้เหมาะสมต่อคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์อีกครั้ง

หากคุณแม่แพ้ท้อง จนแทบกินอะไรไม่ได้

อาการแพ้ท้องเป็นเรื่องปกติของคนท้อง แต่ความรุนแรงจะแตกต่างกันไป บางคนแพ้ท้องรุนแรง บางคนแพ้ท้องนิดเดียว อาการจะลดลงมาเข้าสู่ไตรมาสที่สอง ทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนจนอาจเครียดและเหนื่อย จากที่เคยทานอาหารที่ชอบได้ก็ทำให้แพ้จนไม่สามารถทานได้ระยะหนึ่ง

แต่อย่างไรเพื่อบรรเทาอาการแพ้ท้อง ยังต้องทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลูกน้อยในครรภ์ด้วย

อาหารเพื่อสุขภาพ เพื่อคุณแม่แพ้ท้อง

เมื่อคุณแม่มีอาการแพ้ท้องช่วงไตรมาสแรกที่ท้องอ่อนๆ การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมอาจช่วยลดอาการแพ้ท้องที่รุนแรงได้ โดยควรเลือกอาหารที่ให้พลังงานสูง เน้นอาหารกลุ่มโปรตีนอิ่มท้องนอนขึ้น และอาการแพ้ท้องดียิ่งขึ้นด้วย

  1. ขนมปัง : ขนมปังที่ทำจากธัญพืชอาจช่วยลดคลื่นไส้ได้ และควรเลือกขนมปังที่มีใยอาหารสูง
  2. ไข่ : ไข่เป็นอาหารที่สะดวกและง่าย มีโปรตีนที่ดี สามารถเป็นตัวช่วยในการลดคลื่นไส้
  3. กล้วย : กล้วยเป็นผลไม้ที่มีวิตามินบี 6 ช่วยเพิ่มพลังานแก่ร่างกาย เป็นผลไม้ที่ยอมรับของคนท้องแพ้.
  4. นมเปรี้ยว: นมเปรี้ยว เช่น โยเกิร์ต อุดมไปด้วยโพรไบโอติกและมีประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหาร.
  5. ข้าวกล้อง: ข้าวกล้องเป็นแหล่งพลังงานที่ดีและอาหารที่ทำให้รู้สึกอิ่ม.
  6. น้ำมะนาวหรือน้ำมะเขือเทศ: น้ำมะนาวหรือน้ำมะเขือเทศสามารถช่วยลดคลื่นไส้ และมีประโยชน์จากวิตามิน C
  7. น้ำมะพร้าว: น้ำมะพร้าว เป็นทางเลือกที่ดีเพราะมีคุณสมบัติในการบรรเทาความร้อนในท้อง.
  8. ผักใบเขียว: ผักใบเขียวมีใยอาหารสูงและสามารถช่วยในการทำลายรสชาติที่เบา
  9. แอปเปิ้ลหรือบลูเบอร์รี: ผลไม้เหล่านี้มีรสชาติหวานและสามารถเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนท้อง
  10. น้ำ: การดื่มน้ำเป็นสิ่งสำคัญ มีบทบาทช่วยลดคลื่นไส้ และทำให้ร่างกายไม่เพลียได้

คุณแม่ควรทดลองรับประทานแต่ละอย่างในปริมาณที่เล็กน้อยดูก่อนว่ามีผลต่อการแพ้ท้องหรือไม่ หากทดลองสักระยะจนรู้ว่าอาการแพ้ท้องมีอาการที่ดีขึ้น สามารถเลือกรับประทานเป็นส่วนหนึ่งของอาหารประจำวันได้ ถ้าคุณแม่กังวลไม่แน่ใจก็สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อเพิ่มความมั่นใจจากผู้เชี่ยวชาญได้

ต้องการคำปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม หรือนัดหมายตรวจ NIPT คลิกที่นี่

call to action NIPT ท้ายบทความ สีชมพู

✅✅✅✅✅

เฮลท์สไมล์ บริการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ และตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ ครบ 23 คู่ทุกโครโมโซมที่มีในมนุษย์ รู้เพศ และโรคอื่นๆที่เกิดจากการขาด/เกินของโครโมโซมขนาดเล็กได้มากถึง 92 โรค กับ Brand NIFTY® และ NGD NIPS

✔ ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมอื่นๆ ผลแม่นยำสูง 99.9%

✔ เจาะเลือดเพียง 10 ซีซี ไม่เสี่ยงแท้ง

✔ ราคาคุ้มค่า ประหยัด ค่าบริการเริ่มต้นที่ 9,500 บาท รวมค่าบริการเจาะเลือดถึงบ้าน และแพทย์อ่านผลให้ทุกเคส

✔ สะดวก สบาย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ลดความเสี่ยงจากการเดินทางออกนอกสถานที่

✔ บริการตรวจถึงบ้านทั่วประเทศ ฟรี

✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @Healthsmile

📞 โทร : 089 874 9565

🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของทารกในครรภ์ ได้ที่นี่ https://healthsmile.co.th/prenatal-screening/

ตารางราคา NGD NIPT 5chromosome 8900 บาท NIFTY focus 10900 บาท NGD NIPS 23 chromosomes 11900 บาท NIFTY Core 12900 บาท NIFTY Pro 17400 บาท
สูตินรีแพทย์ ที่สนใจด้านโครโมโซม ยีน DNA และการตรวจสุขภาพเชิงลึก ให้การดูแลมารดาตั้งครรภ์ ตรวจความผิดปกติของทารกในครรภ์ รักษาสุขภาพทางเพศ และให้ความรู้ด้านการตรวจยีนสุขภาพ การศึกษา - สถานะความรู้ความชำนาญเฉพาะทางที่แพทยสภารับรอง : สาขา สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ( Obstetrics and Gynaecology ) - ประกาศนียบัตรฯ ที่แพทยสภารับรอง : ด้านเวชศาสตร์จีโนมเบื้องต้นสำหรับแพทย์เฉพาะทาง