• คุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ ต้องใส่ใจในเรื่องอาหารมากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะ อาหารสำหรับคนแพ้ท้อง ไม่ว่าคุณแม่จะทานอาหารแบบไหนเข้าไปในร่างกาย ทารกในครรภ์ก็จะได้รับอาหารที่คุณแม่ทานด้วย คุณแม่จึงต้องเลือกอาหารที่ครบ 5 หมู่เพื่อประโยชน์ของลูกน้อยในครรภ์ให้แข็งแรง
  • ช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์จำเป็นต้องทานอาหารที่มีประโยชน์และหลากหลาย ในปริมาณที่เพียงพอ ต้องการพลังงานที่มากกว่าเดิม 300 kal ต่อวัน คุณแม่จึงควรกินอาหารให้ครบหมู่และพอดี อาทิเช่น คือ กรดโฟลิก โปรตีน ธาตุเหล็ก วิตามินซี วิตามินดี ไอโอดีน แคลเซียม โคลีน และดีเอชเอ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดความบกพร่องพิการของทารก

การดูแลอาหารช่วงตั้งครรภ์ 1-3 เดือน สำคัญอย่างไร

  • คนท้องช่วงไตรมาสสำคัญมากๆ เพราะระยะนี้ทารกอยู่ในช่วงกระบวนการสร้างเซลล์และอวัยวะต่างๆ หากได้รับสารอาหารบางชนิดไม่เพียงพอช่วงไตรมาสแรก เช่น กรดโฟลิก ธาตุเหล็ก อาจเสี่ยงให้ทารกพิการหรือมีปัญหาเกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆในอนาคตได้
  • เรื่องโภชนาการที่ดีจึงสำคัญมากที่คุณแม่ต้องให้ความสำคัญเอาใจใส่ตั้งแต่ท้องจนทารกจะคลอดและหย่านม

สารอาหารเพื่อสุขภาพของคุณแม่ช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสแรก

  • โปรตีน มีส่วนช่วยสร้างกล้ามเนื้อให้ทารก และช่วยเพิ่มความแข็งแรงเพิ่มพลังงานให้คุณแม่ ควรเป็นโปรตีนที่ไขมันต่ำ เช่น เนื้อปลา เนื้อไก่ เต้าหู้ หรือ โปรตีนจากพืช ช่วงระหว่างตั้งครรภ์มากกว่าปกติ แนะนำว่า ผู้หญิงตั้งครรภ์ควรได้รับโปรตีน 1 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม และเพิ่มไปอีก 25 กรัมต่อวัน
  • คาร์โบไฮเดรต ควรเป็นคาร์โบไฮเดรต(เชิงซ้อน) ที่ให้ดัชนีน้ำตาลต่ำ แต่ให้พลังงานสูง เช่น ข้าวกล้อง หรือ ขนมปังโฮลวีท
  • ควรกินผักผลไม้ ที่หวานน้อย(มีน้ำตาลต่ำ) แต่ให้ใยอาหารสูง เพื่อทำให้ระบบขับถ่ายเป็นปกติ เนื่องจากผู้หญิงที่มีครรภ์มักจะมีปัญหาท้องผูกบ่อยๆ
  • ธาตุเหล็ก ร่างกายของคุณแม่จำเป็นที่จะต้องใช้ธาตุเหล็กในการสร้างฮีโมโกลบิน เพื่อลำเลียงออกซิเจนจากปอดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ดังนั้น เมื่อตั้งครรภ์ร่างกายของคุณแม่จึงต้องการธาตุเหล็กมากขึ้นเป็นสองเท่า เพื่อให้มีปริมาณธาตุเหล็กที่เพียงพอต่อการสร้างงฮีโมลโกลบินในร่างกายตนเอง และเพียงพอที่จะใช้ลำเลียงส่งออกซิเจนไปยังทารกในครรภ์ เพราะทารกเองก็ต้องใช้ธาตุเหล็กในการสร้างเซลล์เลือดของตัวเองด้วย มากไปกว่านั้น การขาดธาตุเหล็กในขณะตั้งครรภ์อาจนำไปสู่ความเสี่ยงของโรคโลหิตจางได้
  • น้ำมันปลาโอเมก้า 3 มี ดีเอชเอ (DHA) ส่วนช่วยให้ทารกได้พัฒนาด้านสมองและระบบประสาท ควรกินในปริมาณที่เหมาะสมซึ่งเป็นไขมันจากปลาทะเล อุดมไปด้วยกรมไขมันโอเมก้า 3
  • กรดโฟลิกหรือโฟเลต หรือ วิตามินบี9 ถือเป็นสารอาหารที่สำคัญมากสำหรับคนท้อง มีบทบาทในการส่งเสริมสุขภาพคุณแม่และการพัฒนาการของทารก ลดความเสี่ยงการบกพร่องของท่อประสาท หรือป้องกันความบกพร่องของการสร้างเซลล์สมอง ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของทารก ลดความเสี่ยงความบกพร่องทางหัวใจในทารก
    **คุณแม่ควรได้รับกรดโฟลิคจากอาหารหลายๆแหล่ง เช่น ผักใบเขียว ,ถั่ว ,ธัญพืช, ไข่ และผลไม้
  • ไอโอดีน ไอโอดีนเป็นแร่ธาตุที่สำคัญ ในการพัฒนาสมองและระบบประสาทของทารกในระหว่างตั้งครรภ์ มีส่วนสำคัญในการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งมีบทบาทควบคุมการทำงานของร่างกาย และป้องกันอาการไทรอยด์โตได้ สามารถพบได้ในอาหารจำพวกปลา นม ชีส โยเกิร์ต อาหารเสริมไอโอดีน
  • แคลเซียม มีส่วนในการพัฒนากระดูก ฟัน หัวใจ กล้ามเนื้อ เส้นประสาทของทารก หากคุณแม่รับสารอาหารที่เป็นแคลเซียมไม่เพียงพอจะทำให้ผมร่วงง่าย กล้ามเนื้ออ่อนแรง อ่อนเพลีย จึงไม่ควรละเลย สามารถพบได้ในอาหารจำพวกนม ชีส โยเกิร์ต บรอกโคลี

เพื่อสุขภาพของคุณแม่และลูกในครรภ์ คุณแม่ควรได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและมีประโยชน์ต่อร่างกาย ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาการของทารกในครรภ์ให้เติบโตได้อย่างสมบูรณ์และสมวัย เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเป็นปัญหาสุขภาพของทารกในครรภ์ได้

อาหารที่คนท้องอ่อนต้องเลี่ยง

สิ่งสำคัญในการดูแลสุขภาพคุณแม่ที่ท้องอ่อนๆ ควรเลี่ยงเพราะมีความไวต่ออาหารและมีอาการคลื่นไส้เพิ่มขึ้นหากกินหรือดื่มเข้าไปอาจส่งผลเสียต่อร่างกายคุณแม่ กับลูกในครรภ์ได้ และอาจส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของทารกในครรภ์ เป็นอาหารจำพวก

  1. อาหารที่มีกลิ่นฉุน กลิ่นแรงๆ : อาหารที่มีกลิ่นหอม หรือกลิ่นของอาหารแรงๆ อาจกระตุ้นอาการคลื่นไส้ได้ เช่น ปลาร้า, หัวหอม, กระเทียม, ข่า ตะไคร้ เครื่องแกงกะหรี่ พริกไทย หรือผลไม้ที่มีสารกำมะถันอย่าง ทุเรียน สะตอ ชะอม
  2. อาหารที่มีรสเผ็ด : อาหารที่มีรสเผ็ดหรือเครื่องเทศที่แรงมากอาจทำให้คนท้องรู้สึกไม่สบาย เช่น อาหารไทยที่มีพริกมาก, อาหารเม็กซิกัน.
  3. อาหารที่มีการปรุงรสหลายชนิด : บางสารเสริมอาหารอาจทำให้ไม่สบายในกรณีคนท้องอ่อน เช่น กลูตามีนในผงชูรส เป็นต้น
  4. อาหารที่มีปริมาณไขมันสูง : อาหารที่มีปริมาณไขมันสูงจะทำให้การย่อยอาหารลำบาก เช่น ของทอด, อาหารที่ผัดในน้ำมันมาก
  5. อาหารที่มีแป้งมากๆ : อาจทำให้คนท้องอ่อนรู้สึกท้องอืด อิ่มเร็ว เช่น ขนมปังขาว, ขนมปังทั้งหลาย.
  6. อาหารที่มีคาเฟอีน : อาหารที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ, ช็อกโกแลต.
  7. อาหารที่ไม่สะอาดหรือไม่สด : การบริโภคอาหารที่ไม่สะอาดหรือไม่สดอาจทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ

แต่สำหรับบางท่านที่มีอาการคลื่นไส้รุนแรง ควรได้รับคำแนะนำเพิ่มเติมจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ได้รับเลือกการทานอาหารให้เหมาะสมต่อคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์อีกครั้ง

หากคุณแม่แพ้ท้อง จนแทบกินอะไรไม่ได้

อาการแพ้ท้องเป็นเรื่องปกติของคนท้อง แต่ความรุนแรงจะแตกต่างกันไป บางคนแพ้ท้องรุนแรง บางคนแพ้ท้องนิดเดียว อาการจะลดลงมาเข้าสู่ไตรมาสที่สอง ทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนจนอาจเครียดและเหนื่อย จากที่เคยทานอาหารที่ชอบได้ก็ทำให้แพ้จนไม่สามารถทานได้ระยะหนึ่ง

แต่อย่างไรเพื่อบรรเทาอาการแพ้ท้อง ยังต้องทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลูกน้อยในครรภ์ด้วย

อาหารเพื่อสุขภาพ เพื่อคุณแม่แพ้ท้อง

เมื่อคุณแม่มีอาการแพ้ท้องช่วงไตรมาสแรกที่ท้องอ่อนๆ การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมอาจช่วยลดอาการแพ้ท้องที่รุนแรงได้ โดยควรเลือกอาหารที่ให้พลังงานสูง เน้นอาหารกลุ่มโปรตีนอิ่มท้องนอนขึ้น และอาการแพ้ท้องดียิ่งขึ้นด้วย

  1. ขนมปัง : ขนมปังที่ทำจากธัญพืชอาจช่วยลดคลื่นไส้ได้ และควรเลือกขนมปังที่มีใยอาหารสูง
  2. ไข่ : ไข่เป็นอาหารที่สะดวกและง่าย มีโปรตีนที่ดี สามารถเป็นตัวช่วยในการลดคลื่นไส้
  3. กล้วย : กล้วยเป็นผลไม้ที่มีวิตามินบี 6 ช่วยเพิ่มพลังานแก่ร่างกาย เป็นผลไม้ที่ยอมรับของคนท้องแพ้.
  4. นมเปรี้ยว: นมเปรี้ยว เช่น โยเกิร์ต อุดมไปด้วยโพรไบโอติกและมีประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหาร.
  5. ข้าวกล้อง: ข้าวกล้องเป็นแหล่งพลังงานที่ดีและอาหารที่ทำให้รู้สึกอิ่ม.
  6. น้ำมะนาวหรือน้ำมะเขือเทศ: น้ำมะนาวหรือน้ำมะเขือเทศสามารถช่วยลดคลื่นไส้ และมีประโยชน์จากวิตามิน C
  7. น้ำมะพร้าว: น้ำมะพร้าว เป็นทางเลือกที่ดีเพราะมีคุณสมบัติในการบรรเทาความร้อนในท้อง.
  8. ผักใบเขียว: ผักใบเขียวมีใยอาหารสูงและสามารถช่วยในการทำลายรสชาติที่เบา
  9. แอปเปิ้ลหรือบลูเบอร์รี: ผลไม้เหล่านี้มีรสชาติหวานและสามารถเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนท้อง
  10. น้ำ: การดื่มน้ำเป็นสิ่งสำคัญ มีบทบาทช่วยลดคลื่นไส้ และทำให้ร่างกายไม่เพลียได้

คุณแม่ควรทดลองรับประทานแต่ละอย่างในปริมาณที่เล็กน้อยดูก่อนว่ามีผลต่อการแพ้ท้องหรือไม่ หากทดลองสักระยะจนรู้ว่าอาการแพ้ท้องมีอาการที่ดีขึ้น สามารถเลือกรับประทานเป็นส่วนหนึ่งของอาหารประจำวันได้ ถ้าคุณแม่กังวลไม่แน่ใจก็สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อเพิ่มความมั่นใจจากผู้เชี่ยวชาญได้

Last Updated on 15 พฤษภาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์

ต้องการคำปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม หรือนัดหมายตรวจ NIPT คลิกที่นี่

✅✅✅✅✅

เฮลท์สไมล์ บริการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ และตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ ครบ 23 คู่ทุกโครโมโซมที่มีในมนุษย์ รู้เพศ และโรคอื่นๆที่เกิดจากการขาด/เกินของโครโมโซมขนาดเล็กได้มากถึง 92 โรค กับ Brand NIFTY® และ NGD NIPS

✔ ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมอื่นๆ ผลแม่นยำสูง 99.9%

✔ เจาะเลือดเพียง 10 ซีซี ไม่เสี่ยงแท้ง

✔ ราคาคุ้มค่า ประหยัด ค่าบริการเริ่มต้นที่ 9,500 บาท รวมค่าบริการเจาะเลือดถึงบ้าน และแพทย์อ่านผลให้ทุกเคส

✔ สะดวก สบาย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ลดความเสี่ยงจากการเดินทางออกนอกสถานที่

✔ บริการตรวจถึงบ้านทั่วประเทศ ฟรี

✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @Healthsmile

📞 โทร : 089 874 9565

🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของทารกในครรภ์ ได้ที่นี่ https://healthsmile.co.th/prenatal-screening/

สูตินรีแพทย์ ที่สนใจด้านโครโมโซม ยีน DNA และการตรวจสุขภาพเชิงลึก ให้การดูแลมารดาตั้งครรภ์ ตรวจความผิดปกติของทารกในครรภ์ รักษาสุขภาพทางเพศ และให้ความรู้ด้านการตรวจยีนสุขภาพ การศึกษา - สถานะความรู้ความชำนาญเฉพาะทางที่แพทยสภารับรอง : สาขา สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ( Obstetrics and Gynaecology ) - ประกาศนียบัตรฯ ที่แพทยสภารับรอง : ด้านเวชศาสตร์จีโนมเบื้องต้นสำหรับแพทย์เฉพาะทาง

Last Updated on 15 พฤษภาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์