อัลตราซาวนด์พบจุดที่หัวใจ (EIF) จะอันตรายกับลูกไหม

เนื้อหาในบทความนี้

อัลตราซาวนด์ พบจุดที่หัวใจ (EIF)

Echogenic intracardiac focus (EIF) หมายถึงการอัลตราซาวนด์แล้วพบจุดสว่างเล็กๆในหัวใจ ซึ่งจุดสว่างนี้จะอยู่ในกล้ามเนื้อ papillary ของหัวใจ

EIF พบได้ในประมาณ 3-5% ของการตั้งครรภ์ และมักไม่เป็นอันตราย แต่ว่าก็มีความเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของโครโมโซมของทารกในครรภ์รวมถึงภาวะดาวน์ซินโดรมได้

EIF ถือเป็น “สิ่งบ่งขี้อย่างอ่อน (Soft marker)” สำหรับดาวน์ซินโดรม หากตรวจพบความผิดปกตินี้เพียงอย่างเดียว จะสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นสำหรับดาวน์ซินโดรม 1.4-1.8 เท่า และความเสี่ยงนี้จะเพิ่มขึ้นเมื่อมีการอัลตราซาวนด์พบความผิดปกติอย่างอื่นเพิ่มเติม และปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น มารดามีอายุมาก

การอัลตราซาวนด์พบว่ามี EIF ไม่ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจทารกใดๆทั้งสิ้น และทารกทั่วๆไปก็อาจจะอัลตราซาวนด์พบ EIF ได้ในบางครั้ง ดังนั้นหากตรวจไม่พบความผิดปกติอื่นๆ รวมถึงไม่พบความผิดปกติของโครโมโซม คุณแม่ก็ไม่ต้องกังวลว่าทารกในครรภ์จะผิดปกติ

จะเกิดอะไรขึ้นหลังจากอัลตราซาวนด์พบ EIF แล้ว?

เมื่ออัลตราซาวนด์ทารกในครรภ์แล้วพบ EIF ในอัลตราซาวนด์ คุณพ่อ-คุณแม่จะมีตัวเลือกสำหรับการทดสอบเพิ่มเติม ดังนี้

แนะนำให้ใช้อัลตราซาวนด์ที่มีรายละเอียดมากขึ้น

เช่น การอัลตราซาวนด์กับแพทย์เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ (MFM) เพิ่มเติม เพื่อค้นหาข้อมูลทางโครงสร้างของทารกในครรภ์เพิ่มเติมว่ามีความผิดปกติอื่นๆด้วยหรือไม่

แนะนำให้ตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์ (NIPT)

เนื่องจาก EIF จะเพิ่มความเสี่ยงที่ทารกในครรภ์จะเป็นดาวน์ซินโดรมขึ้นเล็กน้อย ดังนั้น การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมที่มีความแม่นยำสูงด้วยการตรวจ NIPT (Non-Invasive Prenatal Testing) จึงเป็นวิธีที่แนะนำให้ตรวจดู หากผลการตรวจคัดกรอง เป็นลบ (ความเสี่ยงต่ำที่ลูกจะเป็นดาวน์ซินโดรม) ก็ไม่จำเป็นต้องทำการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม

อย่างไรก็ตาม หากแพทย์สงสัยว่าทารกในครรภ์จะมีความผิดปกติของโครโมโซม ก็อาจจะแนะนำให้ตรวจวินิจฉัยก่อนคลอดโดยการเจาะน้ำคร่ำ เพื่อทดสอบความผิดปกติของโครโมโซมในระหว่างตั้งครรภ์ (อ่านเพิ่ม : ผลตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารก มีความเสี่ยงต่ำ เราต้องเจาะน้ำคร่ำอีกหรือไม่)

มีการให้คำปรึกษาทางพันธุกรรม

สิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่า EIF มักเป็นตัวแปรปกติที่ไม่มีผลเสียต่อทารก ดังนั้น หากอัลตราซาวนด์อย่างละเอียดแล้วไม่พบความผิดปกติของโครงสร้างทารกในครรภ์ ไม่มีความผิดปกติของโครโมโซมทารก คุณพ่อ-คุณแม่ก็ไม่ต้องกังวลว่าทารกในครรภ์จะผิดปกติใดๆ

ตัวอย่างภาพอัลตราซาวนด์ของ EIF

References

Caughey, A. B., Lyell, D. J., Filly, R. A., Washington, A. E., & Norton, M. E. (2001). The impact of the use of the isolated echogenic intracardiac focus as a screen for Down syndrome in women under the age of 35 years. American Journal of Obstetrics and Gynecology185(5), 1021–1027. https://doi.org/10.1067/mob.2001.117674

Jones, J., & Weerakkody, Y. (2010). Echogenic intracardiac focus. In Radiopaedia.org. Radiopaedia.org.

Ultrasound of Echogenic Intracardiac Foci. (n.d.). Fetalultrasound.com. Retrieved May 23, 2024, from https://www.fetalultrasound.com/online/text/7-112.HTM

Last Updated on 13 มิถุนายน 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์

ต้องการคำปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม หรือนัดหมายตรวจ NIPT คลิกที่นี่

✅✅✅✅✅

เฮลท์สไมล์ บริการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ และตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ ครบ 23 คู่ทุกโครโมโซมที่มีในมนุษย์ รู้เพศ และโรคอื่นๆที่เกิดจากการขาด/เกินของโครโมโซมขนาดเล็กได้มากถึง 92 โรค กับ Brand NIFTY® และ NGD NIPS

✔ ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมอื่นๆ ผลแม่นยำสูง 99.9%

✔ เจาะเลือดเพียง 10 ซีซี ไม่เสี่ยงแท้ง

✔ ราคาคุ้มค่า ประหยัด ค่าบริการเริ่มต้นที่ 9,500 บาท รวมค่าบริการเจาะเลือดถึงบ้าน และแพทย์อ่านผลให้ทุกเคส

✔ สะดวก สบาย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ลดความเสี่ยงจากการเดินทางออกนอกสถานที่

✔ บริการตรวจถึงบ้านทั่วประเทศ ฟรี

✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @Healthsmile

📞 โทร : 089 874 9565

🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของทารกในครรภ์ ได้ที่นี่ https://healthsmile.co.th/prenatal-screening/

สูตินรีแพทย์ ที่สนใจด้านโครโมโซม ยีน DNA และการตรวจสุขภาพเชิงลึก ให้การดูแลมารดาตั้งครรภ์ ตรวจความผิดปกติของทารกในครรภ์ รักษาสุขภาพทางเพศ และให้ความรู้ด้านการตรวจยีนสุขภาพ การศึกษา - สถานะความรู้ความชำนาญเฉพาะทางที่แพทยสภารับรอง : สาขา สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ( Obstetrics and Gynaecology ) - ประกาศนียบัตรฯ ที่แพทยสภารับรอง : ด้านเวชศาสตร์จีโนมเบื้องต้นสำหรับแพทย์เฉพาะทาง

Last Updated on 13 มิถุนายน 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์