เหล่าคุณพ่อ คุณแม่มือใหม่ที่มีลูกวัย 3-5 ปี ควรให้ความสำคัญกับการเตรียมพร้อมพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจปฐมวัย พัฒนาการด้านสติปัญญาปฐมวัยให้ลูก เพราะเป็นวัยที่ลูกจะเริ่มเข้าสู่สังคมกับเพื่อนๆ ที่โรงเรียน
พัฒนาการเด็กวัย 3-5 ปี อยู่ในช่วงพัฒนาการเด็ก 3 ขวบ พัฒนาการเด็ก 4 ขวบ พัฒนาการเด็ก 5 ขวบ ซึ่งเป็นช่วงปลายของพัฒนาการตามวัย 0-5 ปี ที่ควรให้ความสำคัญไม่แพ้กับช่วงวัยอื่นๆ ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านได้แนะนำไว้ว่า พัฒนาการตามวัย 0-5 ปี คือโอกาสทองครั้งเดียวในชีวิต เพราะเป็นช่วงวัยของการสร้างรากฐานสำหรับการเติบโตและการเรียนรู้ของเด็ก ดังนั้น คุณพ่อ คุณแม่ควรเข้าใจพัฒนาการตามวัย 0-5 ปี และรู้จักวิธีการส่งเสริมพัฒนาการ 0-5 ปี เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้อย่างเหมาะสมในชีวิตประจำวันของเด็ก
ซึ่งในบทความที่ผ่านมา เราได้นำเสนอพัฒนาการเด็กแรกเกิด-1 ปี พร้อมกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ตามคู่มือ dspm พัฒนาการเด็กปฐมวัย (เด็กตั้งแรกเกิด-ก่อนเข้าประถมศึกษาชั้นปีที่ 1) และได้ให้ความหมายถึงความสำคัญของการคัดกรองพัฒนาการเด็กปฐมวัย การส่งเสริมพัฒนาการ 5 ด้าน ตามคู่มือ dspm ที่ผู้ปกครองควรรู้เบื้องต้น ซึ่งเป็นเกณฑ์ dspm คัดกรองพัฒนาการเด็กปฐมวัย พร้อมแนวทางการส่งเสริมพัฒนาการ 5 ด้าน ที่ถูกใช้กันโดยทั่วไปในระดับสถานีอนามัย
อ่านเพิ่มเติม : Checklist! พัฒนาการเด็กแรกเกิด-1 ปี พร้อมกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ (ใส่ลิงก์บทความ)
นอกจากนี้ เราก็ยังได้นำเสนอบทความพัฒนาการเด็กวัย 1-3 ปี พร้อมแนวทางส่งเสริมพัฒนาการตามวัย การส่งเสริมพัฒนาการ 5 ด้าน ตามคู่มือ dspm ไว้เช่นกันค่ะ คุณพ่อ คุณแม่ที่มีลูกวัยนี้ สามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้เลยค่ะ
อ่านเพิ่มเติม : Checklist! พัฒนาการเด็กแรกเกิด-1 ปี พร้อมกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ (ใส่ลิงก์บทความ)
ในบทความนี้เราจะพาคุณพ่อ คุณแม่ ไปเช็กลิสต์พัฒนาการเด็ก 3 ขวบ พัฒนาการเด็ก 4 ขวบ พัฒนาการเด็ก 5 ขวบ พร้อมกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการตามวัย เพื่อให้ลูกน้อยเติบโตมีศักยภาพ พร้อมเข้าสู่สังคมใหม่ๆ ที่โรงเรียน
พัฒนาการเด็กวัย 3-5 ปี พร้อมกิจกรรรมส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ครบ 5 ด้าน ตามคู่มือ dspm
คุณพ่อ คุณแม่สามารถเช็กลิสต์พัฒนาการเด็กวัย 1-3 ปี ได้เองที่บ้าน เพื่อดูว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง ไม่ได้บ้าง พร้อมทำกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการตามวัย กิจกรรมการส่งเสริมพัฒนาการ 5 ด้านได้เองที่บ้าน ดังนี้ค่ะ
พัฒนาการเด็กวัย 3-4 ปี
1.ด้านการเคลื่อนไหว (Gross motor)
●อายุ 3 ปี 1-5 เดือน ยืนขาเดียวได้ 3 วินาที
ผู้ปกครองควรทำการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ด้วยการยืนขาเดียวเป็นตัวอย่างให้เด็กดู แล้วทำการฝึกให้เด็กยืนขาเดียว โดยการยืนหันหน้าเข้าหาเด็ก และจับมือสองข้างไว้ แล้วบอกให้เด็กทำตาม หากเด็กเริ่มทรงตัวได้ ให้ค่อยๆ ปล่อยมือ
●อายุ 3 ปี 6 เดือน ยืนขาเดียวได้ 5 วินาที
ผู้ปกครองควรส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ด้วยการยืนขาเดียวเป็นตัวอย่างให้เด็กดู แล้วทำการฝึกให้เด็กยืนขาเดียว โดยการยืนหันหน้าเข้าหาเด็ก และจับมือสองข้างไว้ แล้วบอกให้เด็กทำตาม หากเด็กเริ่มทรงตัวได้ ให้ค่อยๆ ปล่อยมือ
●อายุ 3 ปี 7 เดือน – 4 ปี กระโดดขาเดียวได้ อย่างน้อย 2 ครั้ง
ผู้ปกครองควรส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ด้วยการชวนเด็กทำกิจกรรมที่กระโดดขาเดียว เช่น การละเล่นพื้นบ้าน อย่าง ตั้งเต
2.ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก และสติปัญญา (Fine Motor)
●อายุ 3 ปี 1-5 เดือน วาดรูปวงกลมได้เอง โดยไม่มีรอยเส้น
ผู้ปกครองควรทำการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ด้วยการสอนให้เด็กวาดวงกลมลงบนกระดาษโดยเริ่มจากจุดกำหนดให้ และกลับมาสิ้นสุดที่จุดกำหนดเดิม พร้อมออกเสียง
●อายุ 3 ปี 6 เดือน แยกรูปทรงเรขาคณิตได้ถูกต้อง
ผู้ปกครองควรส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ด้วยการสอนให้เด็กรู้จักรูปทรงเรขาคณิต โดยอาจจะเลือกของเล่นที่เป็นรูปทรงเรขาคณิตต่างๆ มาทำกิจกรรมร่วมกับเด็ก โดยมีเป้าหมายให้เด็กรู้จัก และแยกรูปทรงได้
●อายุ 3 ปี 7 เดือน – 4 ปี เลียนแบบการวาดรูปกากบาทได้ (เส้นแนวดิ่งตัดกับเส้นแนวนอน)
ผู้ปกครองควรส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ด้วยการวาดรูปกากบาทให้เด็กดูเป็นตัวอย่าง แล้วให้เด็กลองทำตาม โดยอาจจะเริ่มจากให้เด็กวาดตามเส้นรอยประ แล้วจับมือเด็กลากเส้น หากเด็กเริ่มทำได้ ให้ลบเส้นรอยประออก
3.ด้านการเข้าใจภาษา (Receptive Language)
●อายุ 3 ปี 1-5 เดือน ทำตามคำสั่งผู้ปกครองได้อย่างต่อเนื่อง
ผู้ปกครองควรทำกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการตามวัย โดยการสั่งให้เด็กทำตาม ตามสถานการณ์ต่างๆ เช่น ขณะแต่งตัว บอกให้เด็กใส่กางเกงแล้วไปหวีผม แล้วบอกซ้ำๆ เพื่อกระตุ้นความจำเด็กว่าต่อไปต้องทำอะไร
●อายุ 3 ปี 6 เดือน เลือกจัดกลุ่มสิ่งของต่างๆ ตามหมวดหมู่เดียวกันได้
ผู้ปกครองควรทำกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ด้วยการวางของแต่ละประเภทในหมวดหมู่เดียวกันให้เด็กดู แล้วสอนเด็กว่าแต่ละอย่างคืออะไร จากนั้นสั่งให้เด็กหยิบของแต่ละชิ้นตามคำสั่ง แล้วนำไปรวมกับหมวดหมู่อื่นๆ
●อายุ 3 ปี 7 เดือน – 4 ปี รู้จักสิ่งของที่มีขนาดใหญ่กว่า เล็กกว่า เมื่อนำมาเปรียบเทียบกัน
ผู้ปกครองควรทำกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ด้วยการฝึกเด็กให้รู้จักสิ่งของขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ตามสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน โดยการสอนว่าชิ้นไหนใหญ่กว่า เล็กกว่ากัน แล้วถามเด็กกลับว่าชิ้นไหนใหญ่กว่า เล็กกว่า
4.ด้านการใช้ภาษา (Expressive Language)
●อายุ 3 ปี 1-5 เดือน ใช้คำถามที่ต่างความหมายกันได้ เช่น ใคร ทำไม
ผู้ปกครองควรทำการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ด้วยการเล่านิทานให้เด็กฟัง พร้อมตั้งคำถามจากในนิทานให้เด็กตอบ และกระตุ้นให้เด็กเป็นผู้ถามกลับ
●อายุ 3 ปี 6 เดือน เล่าเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นให้ฟังได้
ผู้ปกครองควรทำการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ด้วยการถามถึงเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เพิ่งผ่านไปไม่เกิน 10 นาที และกระตุ้นให้เด็กตอบ หากตอบไม่ได้ให้ทำท่าทางประกอบ หรือถามซ้ำอีกรอบ
●อายุ 3 ปี 7 เดือน – 4 ปี พูดเป็นประโยค 3 คำ ติดต่อกันได้ โดยมีความหมาย และเหมาะสมกับสถานการณ์
ผู้ปกครองควรส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ด้วยการสอนให้เด็กพูดในสถานการณ์ต่างๆ โดยพูดให้เด็กฟังเป็นตัวอย่าง แล้วบอกให้เด็กพูดตาม เช่น ในสถานการณ์ ขอบคุณ สวัสดี ขอโทษ
5.ด้านการช่วยเหลือตนเอง และสังคม (Personal and Social)
●อายุ 3 ปี 1-5 เดือน เมื่อเล่นกับคนอื่นๆ ทำตามกฎกติกาได้ โดยมีผู้ดูแลแนะนำ
ผู้ปกครองควรทำกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ด้วยการพาเด็กไปร่วมเล่นกิจกรรมกับเด็กคนอื่นๆ โดยการเล่นมีกฎกติการ่วมกับเด็กคนอื่นๆ เช่น เล่นซ่อนหา และฝึกให้เด็กรู้แพ้ รู้ชนะ
●อายุ 3 ปี 6 เดือน สวมใส่เสื้อผ้าให้ตนเองได้ โดยไม่ต้องติดกระดุม
ผู้ปกครองควรทำการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย โดยการสวมใส่เสื้อผ้าให้เด็กดูเป็นตัวอย่าง แล้วสอนให้เด็กลองใส่เอง โดยที่ผู้ปกครองทำการช่วยเหลือ เมื่อเด็กทำได้ให้ลดการช่วยเหลือลง
●อายุ 3 ปี 7 เดือน – 4 ปี ติดกระดุมได้เองอย่างน้อย 3 เม็ด
ผู้ปกครองควรส่งเสริมพัฒนาการตามวัย โดยการสอนวิธีติดกระดุมให้เด็กดู แล้วบอกให้เด็กทำตาม ถ้ายังทำไม่ได้ให้ช่วยจับมือเด็กทำ แล้วลดการช่วยเหลือลง
พัฒนาการเด็ก 4-5 ปี
1.ด้านการเคลื่อนไหว (Gross motor)
●อายุ 4 ปี 1-6 เดือน กระโดด 2 เท้า ไปข้างหน้าพร้อมกัน และถอยหลังได้
ผู้ปกครองควรทำการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ด้วยการกระโดดไปข้างหน้า ซ้าย ขวา ถอยหลังให้เด็กดูเป็นตัวอย่าง และชวนเด็กเล่นกระโดด และมีการสั่งให้เด็กกระโดดไปในทิศทางต่างๆ แต่ควรทำด้วยความระมัดระวัง
●อายุ 4 ปี 7-11 เดือน เดินต่อส้นเท้าได้ โดยไม่เสียการทรงตัว
ผู้ปกครองควรทำการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ด้วยการเดินก้าวสลับเท้าโดยให้ส้นเท้าต่อกับปลายเท้าอีกข้างให้เด็กดู และบอกให้เด็กทำตาม โดยช่วยพยุง
●อายุ 5 ปี เดินต่อเท้าเป็นเส้นตรงไปข้างหน้าได้
ผู้ปกครองควรส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ด้วยการฝึกให้เด็กเดินทรงตัวบนพื้นที่มีลายเป็นเส้นขนาน ให้เท้าไม่ออกนอกเส้น โดยที่ผู้ปกครองคอยช่วยเหลือ และดูแลอยู่ข้างๆ จนกว่าเด็กจะทำได้เอง
2.ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก และสติปัญญา (Fine Motor)
●อายุ 4 ปี 1-6 เดือน ประกอบชิ้นส่วนของรูปภาพได้ถูกต้อง
ผู้ปกครองควรทำการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ด้วยการชวนเด็กเล่นต่อจิ๊กซอว์ โดยวางรูปตรงหน้าเด็กให้เด็กสังเกตรูปภาพ จากนั้นแยกรูปภาพออกจากกัน แล้วกระตุ้นให้เด็กต่อภาพกลับให้เหมือนเดิม
●อายุ 4 ปี 7-11 เดือน จับดินสอได้ถูกต้อง
ผู้ปกครองควรทำการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ด้วยการจับดินสอให้ดูเป็นตัวอย่าง แล้วชวนให้เด็กจับดินสอขีดเขียนบนกระดาษ
●อายุ 5 ปี วาดรูปคนได้ โดยประกอบด้วย หู ตา แขน ขา เท้า
วาดรูปคนได้ ผู้ปกครองควรส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ด้วยการชวนให้เด็กดูรูปคน พร้อมกับชี้ว่าแต่ละส่วนคืออะไร แล้ววาดรูปคนให้เด็กดู โดยวาดแค่ส่วนหน้า ทำเป็นวงกลม แล้วให้เด็กวาดเสริม และชวนเด็กพูดคุยว่า แต่ละส่วนมีหน้าที่อะไรบ้าง หากเด็กทำได้ให้ชมเชย
3.ด้านการเข้าใจภาษา (Receptive Language)
●อายุ 4 ปี 1-6 เดือน แยกรูปภาพช่วงเวลากลางวัน และกลางคืนได้ถูกต้อง
ผู้ปกครองควรทำการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ด้วยการสอนให้เด็กรู้จักเวลากลางวัน กลางคืนตามรูปภาพที่แสดงเวลากลางวัน และกลางคืน แล้วลองให้เด็กชี้ทีละภาพตามคำสั่ง หากยังชี้ไม่ถูกตามที่สั่งให้จับมือเด็กชี้
●อายุ 4 ปี 7-11 เดือน แยกสีได้ และเลือกสีได้ตามคำสั่งอย่างถูกต้อง
ผู้ปกครองควรทำการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ด้วยการสอนให้เด็กรู้จักสีต่างๆ จากสิ่งของรอบตัว โดยให้เด็กพูดตามด้วย
●อายุ 5 ปี จับใจความได้ เมื่อฟังนิทาน หรือเรื่องเล่า
ผู้ปกครองควรส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ด้วยการเล่านิทานให้เด็กฟัง ชวนเด็กพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องที่เล่า ให้เด็กพูดถึงสิ่งที่ชอบในเรื่อง โดยผู้ปกครองสรุปใจความให้ว่าในเรื่อง ใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไร แล้วให้เด็กลองเล่าให้คนอื่นๆ ฟัง
4.ด้านการใช้ภาษา (Expressive Language)
●อายุ 4 ปี 1 – 6 เดือน ตอบคำถามได้ตรงประเด็น
ผู้ปกครองควรทำการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย โดยเมื่อเด็กบอกความต้องการ ให้ผู้ปกครองถามกลับ โดยคำถามเชื่อมโยงกับสิ่งที่เด็กบอกความต้องการ ถ้าเด็กตอบไม่ได้ ให้อธิบายเกี่ยวกับสิ่งนั้นๆ เพิ่มเติม เช่น “หนูหิวน้ำก็ต้องไปดื่มน้ำ”
●อายุ 4 ปี 7-11 เดือน ผลัดกันพูดโต้ตอบกับเพื่อนคนอื่นๆ ได้
ผู้ปกครองควรทำการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย โดยการพยายามให้เด็กมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในสถานการณ์ต่างๆ หรือเมื่อเด็กพูดแทรก ให้บอกเด็กว่า “หนูรอก่อนนะ เดี๋ยวแม่ขอพูดให้จบก่อน แล้วหนูค่อยพูดต่อ”
●อายุ 5 ปี อ่านออกเสียงพยัญชนะ (ก-ฮ) ได้ถูกต้อง 5 ตัว
ผู้ปกครองควรส่งเสริมพัฒนาการตามวัย โดยการอ่านพยัญชนะให้เด็กฟัง พร้อมกับชี้ภาพในหนังสือให้เด็กดูประกอบ แล้วให้เด็กอ่านตาม
5.ด้านการช่วยเหลือตนเอง และสังคม (Personal and Social)
●อายุ 4 ปี 1-6 เดือน ทำความสะอาดตนเอง หลังจากขับถ่ายได้
ผู้ปกครองควรทำการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย โดยการฝึกให้เด็กล้างก้นด้วยตนเองทุกขั้นตอน ฝึกซ้ำๆ จนเด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้
●อายุ 4 ปี 7-11 เดือน เลียนแบบอาชีพต่างๆ หรือบทบาทของผู้ใหญ่
ผู้ปกครองควรทำการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ด้วยการร่วมเล่นบทบาทสมมติกับเด็ก เช่น เล่นเป็นครู เล่นเป็นหมอ โดยให้เด็กเลือกเองว่าอยากเล่นเป็นบทบาทไหน
●อายุ 5 ปี แสดงออกถึงความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
ผู้ปกครองควรส่งเสริมพัฒนาการตามวัย โดยการทำเป็นแบบอย่างให้เด็กเห็นในโอกาสต่างๆ หรือร่วมเล่นบทบาทสมมติเรื่องการช่วยเหลือผู้อื่น เมื่อเด็กแสดงความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ให้ชื่นชม
อยากให้ลูกรักมีพัฒนาการดี ควรเริ่มต้นที่ผู้ปกครอง เพราะผู้ปกครองคือบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุด การหมั่นสังเกต เช็กลิสต์พฤติกรรม และลักษณะอาการที่เด็กแสดงออกมาตามพัฒนาการแต่ละช่วงวัย เพื่อคัดกรองพัฒนาการเด็ก ดูว่าเด็กมีพัฒนาการตามวัยหรือไม่ และควรมีการทำกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการตามวัยที่บ้านในทุกๆ วัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองทุกท่านควรให้ความสำคัญ
ดังนั้น การเข้าใจในพัฒนาการเด็ก 3 ขวบ พัฒนาการเด็ก 4 ขวบ พัฒนาการเด็ก 5 ขวบ รวมไปถึงพัฒนาการตามวัย 0-5 ปี พัฒนาการเด็กปฐมวัย ที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้มีการส่งเสริมพัฒนาการ 0-5 ปี เพราะเป็นโอกาสทอง ที่จะปูพื้นฐานพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจปฐมวัย พัฒนาการด้านสติปัญญาปฐมวัย จะช่วยให้ผู้ปกครองสามารถทำกิจกรรมส่งเสริมพัฒนการตามวัยได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้เด็กเติบโตอย่างมีศักยภาพ ทั้งด้านอารมณ์ ความคิด การเรียนรู้ตามพัฒนาการแต่ละช่วงวัย
หากผู้ปกครองอยากเรียนรู้พัฒนาการแต่ละช่วงวัย และต้องการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 3 ขวบ พัฒนาการเด็ก 4 ขวบ พัฒนาการเด็ก 5 ขวบ ตลอดจนพัฒนาการตามวัย 0-5 ปี พร้อมทริคกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการ 0-5 ปี เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการแต่ละช่วงวัยที่ดี ทั้งพัฒนาการด้านสติปัญญาปฐมวัย พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจปฐมวัย ครบทั้งพัฒนาการ 5 ด้าน ไปพร้อมกับผู้เชี่ยวชาญที่บ้าน HealthSmile เรามีนักจิตวิทยาคลินิก แพทย์ พยาบาล ผู้เชี่ยวชาญ คอยให้คำปรึกษา สนใจแอดไลน์ได้ที่ @healthsmilecenter หรือคลิกได้ที่ลิงก์นี้ค่ะ https://lin.ee/CDUgd8d
อ้างอิงข้อมูลจาก คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ของกระทรวงสาธารณสุข
Last Updated on 17 กรกฎาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์