เนื้อหาในบทความนี้

7 สาเหตุ ที่อาจทำให้ผลตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม (NIPS, NIPT, NIFTY) ผิดพลาด

ปัจจุบันการตรวจ NIPT, NIPS หรือที่เรียกกันตามแบรนด์ต่างๆว่า NIFTY, NGD NIPS, Panorama ฯลฯ นั้นถือว่าเป็นการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมของทารกในครรภ์ที่มีประสิทธิภาพดีมาก คือมีความแม่นยำถึง 99.9% เมื่อเทียบกับการเจาะน้ำคร่ำซึ่งมีความเสี่ยงทำให้เกิดการแท้งบุตรได้

แต่เนื่องจากการตรวจชนิดนี้ อาศัยเลือดของแม่เพื่อนำมาตรวจหาส่วนของ DNA จากรกของลูกที่ลอยอยู่ในเลือดของมารดา (cell-free fetal DNA : cffDNA) จึงทำให้โรคบางโรคของแม่สามารถทำให้ผลตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมด้วยวิธี NIPT, NIPS, NIFTY ผิดพลาด หรือตรวจพบความผิดปกติได้

สาเหตุที่ทำให้ผลตรวจ NIPT ออกมาผิดปกติ : มีความเสี่ยงสูง แต่ทารกในครรภ์นั้นปกติ (False positive) มีทั้งสาเหตุจากรก, ทารก และสาเหตุจากมารดา รวมทั้งสิ้น 7 สาเหตุ ดังนี้

สาเหตุจากรก หรือ ทารก

    • Confined placental mosaicism คือการที่ “รก (placenta)” มีภาวะโครโมโซมแตกต่างจากตัวทารกในบางส่วน (อ่านเพิ่มเรื่อง Mosaicism ได้ที่นี่ : Mosaic)

    • vanishing twin คือการตั้งครรภ์แฝดในตอนแรก แต่ทว่าตัวอ่อน 1 ตัวเสียชีวิตไปในตอนต้น จึงทำให้อัลตราซาวนด์เห็นตัวอ่อนเพียงตัวเดียว ซึ่ง DNA ของทารกที่เสียชีวิตไปก่อนหน้านี้ อาจทำให้ผลผิดปกติได้

สาเหตุจากมารดา

    • Maternal aneuploidy (e.g., 47,XXX) คือ มารดามีโครโมโซม X เกินมา 1 ตัว

    • Maternal mosaicism (e.g., 45X/46XX) คือ มารดามีการขาดหายของโครโมโซม X ในบางเซลล์ (Mosaicism)

    • Maternal copy number variations (e.g., subchromosomal duplications or deletions, including 22q11.2 microdeletion carriers) มารดามีโครโมโซมผิดปกติบางส่วน

    • Maternal neoplasms (benign or malignant) มารดามีเนื้องอกในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นเนื้องอกปกติ หรือมะเร็ง

    • Prior organ transplant มารดาเคยได้รับการผ่าตัดปลูกอวัยวะ อาจแสดงผลตรวจว่าได้ทารกเป็นเพศชาย ถ้าอวัยวะที่ได้นำมาปลูกถ่ายให้มารดาเป็นของเพศชาย

การนำเลือดของมารดา มาตรวจหา DNA ของบุตรที่ลอยอยู่ในเลือดของมารดานั้น ทำให้โรคประจำตัวของมารดาสามารถทำให้ผลการตรวจผิดปกติได้ และในทางกลับกัน ผลที่ตรวจออกมาผิดปกติ ก็อาจจะบ่งชี้ถึงโรคของมารดาที่ไม่เคยตรวจพบมาก่อนเช่นกัน

ผลของโรคประจำตัวของมารดาที่ส่งผลต่อความแม่นยำในการตรวจ NIPT, NIPS หรือ NIFTY

บางครั้ง การส่งเลือดของมารดาเพื่อตรวจ NIPT, NIPS หรือ NIFTY นั้น อาจจะไม่สามารถแปลผลได้ และในใบรายงานผลจะแจ้งว่า “No call” ซึ่งเป็นผลมาจากการที่มี DNA จากรกลูกอยู่ปริมาณน้อยเกินกว่าที่จะแปลผลได้อย่างถูกต้อง (โดยปกติจะต้องมีปริมาณส่วน DNA ของลูกอย่างน้อย 4% จึงจะสามารถแปลผลได้) และจำเป็นต้องมีการตรวจเลือดซ้ำอีกครั้ง หรือสองครั้ง ทั้งนี้ สาเหตุที่ทำให้เกิด “No call” มีดังนี้

1. มารดาน้ำหนักตัวมาก, เป็นโรคอ้วน

โรคอ้วนนั้นมีความเกี่ยวข้องกับการอักเสบในร่างกาย และเพิ่มการหมุนเวียนของเซลล์ในเนื้อเยื่อไขมัน มีการศึกษาแบบ case-control เปรียบเทียบระดับ cfDNA ในหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคอ้วนและหญิงตั้งครรภ์ที่ผอม พบว่าหญิงที่เป็นโรคอ้วนมีการสลายของเซลล์มากกว่า ทำให้ปริมาณ cfDNA ของมารดาเพิ่มขึ้นมากกว่าถึงประมาณ 2 เท่า ซึ่งก็จะทำให้ % cfDNA ของทารกลดลง และทำให้ผลออกมาเป็น “No call” ได้

ในการศึกษาทางคลินิกของผู้หญิงจำนวน 1949 ราย ที่ได้รับการตรวจ NIPT พบว่าน้ำหนักของมารดามีความสัมพันธ์กับสัดส่วนของ DNA ของทารกในครรภ์ต่ำอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งหากมารดามีน้ำหนักตัว 60 กิโลกรัม จะมีโอกาสเกิด “No call” <1% แต่ถ้ามารดาหนัก 160 กิโลกรัมขึ้นไป จะพบ “no call” ได้สูงกว่า 50% เลยทีเดียว

2. โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือโรคพุ่มพวง หรือ SLE

โรคแพ้ภูมิตัวเองนั้น ทำให้ร่างกายมีการสร้างและสลายตัวของเซลล์เพิ่มขึ้น และผู้ป่วยโรคลูปัส / โรคพุ่มพวง (SLE) นั้นมีการเพิ่มขึ้นของ cfDNA ของมารดา จากการศึกษาเมื่อเร็ว ๆ พบว่ามีความผิดปกติของ cfDNA ในพลาสมาผู้ป่วยโรคลูปัส / โรคพุ่มพวง (SLE) ทำให้ cfDNA นั้นมีขนาดสั้นลง มีความเปลี่ยนแปลงในการแสดงตัวของ cfDNA และเกิดภาวะ hypomethylation ได้

ดังนั้น ควรใช้ความระมัดระวังเมื่อตีความผลลัพธ์ของ NIPT ในหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคอ้วน หรือเป็นโรค SLE

มีรายงานผู้ป่วยหญิงตั้งครรภ์ที่มีโรคแพ้ภูมิตัวเองอย่างรุนแรง (รวมถึงภาวะเกล็ดเลือดต่ำอย่างรุนแรงและภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ) หลังเจาะตรวจ NIPT พบว่าได้ผล “No call” เนื่องจาก %DNA ทารกในครรภ์ต่ำ แต่เมื่อโรคของมารดาดีขึ้น การตรวจ NIPT ครั้งที่สามก็ประสบความสำเร็จ และได้ผลที่ตรงกับการตรวจด้วยการเจาะน้ำคร่ำ

อิทธิพลอื่น ๆ ของมารดาต่อ %DNA ของทารกในครรภ์

มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติอื่น ๆ ของปัจจัยของมารดาที่มีต่อ %DNA ของทารกในครรภ์ รวมถึงเชื้อชาติ, การสูบบุหรี่ และโรคความดันโลหิตสูง (ตารางที่ 2)

ปัจจัยที่มีผลต่อ %Fetal fraction

ปัจจัยที่ทำให้ %Fetal fraction เพิ่มสูงขึ้น

    • อายุครรภ์ ยิ่งมาก %fetal fraction ยิ่งสูง

    • ขนาดความยาวของตัวอ่อนในครรภ์

    • ปริมาณสาร pregnancy-associated plasma protein A (PaPP-A) ในเลือดมารดา

    • ปริมาณสาร beta-hCG ในเลือดมารดา

    • ทารกเป็นดาวน์ซินโดรม (Trisomy 21)

ปัจจัยที่ทำให้ %Fetal fraction ลดลง

    • น้ำหนักตัวมารดา

    • มวลร่างกายของมารดา (BMI)

    • ปริมาตรเลือดของมารดา

    • การตั้งครรภ์แฝด (%Fetal fraction ของทารกแต่ละคนจะลดลง)

    • ภาวะ Mosaicism ของทารก

    • Edward syndrome (Trisomy 13)

    • Patau syndrome (Trisomy 18)

    • ภาวะการตั้งครรภ์ Digynic triploid pregnancy

    • โรคความดันโลหิตสูง

ปัจจัยที่ไม่มีผลต่อ %Fetal fraction

    • อายุมารดา

    • เพศของบุตร

    • ความหนาของต้นคอทารกในครรภ์

    • โรคเบาหวาน

    • โรคไทรอยด์เป็นพิษ

ยาที่มารดารับประทาน ตัวไหนส่งผลต่อการตรวจ NIFTY, NIPT, NIPS บ้าง

ยาบางอย่างของมารดาสามารถรบกวนการทำงานของ NIPT ได้เช่นกัน ได้แก่

เฮปารินน้ำหนักโมเลกุลต่ำ (LMWH)

สำหรับป้องกันหรือรักษาโรคหลอดเลือดอุดตัน เป็นยาที่รายงานว่ามีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของ NIPT อาจทำให้เกิด “no call” ได้ เนื่องจากตัวอย่างพลาสมาของผู้ที่ใช้ยาดังกล่าวมีสัดส่วนชิ้นดีเอ็นเอขนาดเล็กสูงผิดปกติ ซึ่งยังไม่ทราบกลไกที่แน่นอนว่าทำไม LMWH จึงรบกวนผลตรวจของ NIPT แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อทำการเจาะตรวจซ้ำ ก็สามารถรายงานผลได้ ดังนั้นในมารดาที่ใช้ยาดังกล่าว ควรกำหนดเวลาให้เจาะเลือดห่างจากการใช้ยามากที่สุด

ส่วนข้อมูลยาอื่นๆ ยังมีข้อมูลน้อยมากเกี่ยวกับยา หรือการรักษาอื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อ cfDNA และ NIPT ในปัจจุบัน

การรักษาด้วยอิมมูโนโกลบูลิน (IVIG) ทางหลอดเลือดดำ ไม่มีผลเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญใด ๆ ใน fetal fraction

มารดาได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ (Transplantation surgery)

ผู้หญิงที่เคยได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะจำเป็นต้องได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษก่อนที่จะมีการทำ NIPT เนื่องจากอวัยวะที่ได้รับการปลูกถ่ายจากผู้บริจาคเพศชายสามารถทำให้เกิดการวินิจฉัยที่ผิดพลาดของทารกในครรภ์เป็นเพศชายได้ เนื่องจากการปล่อยลำดับดีเอ็นเอบนโครโมโซม Y ออกมาจากอวัยวะดังกล่าว

ผู้หญิงที่เคยได้รับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (stem cell) หรือการตั้งครรภ์กับไข่ของผู้บริจาค (donor egg) ไม่ควรตรวจด้วยวิธี single nucleotide polymorphism (SNP) (ได้แก่ Brand Panorama) แต่สามารถตรวจ NIPT ด้วยวิธี random massively parallel sequencing based assays (ได้แก่ Brand NIFTY, NGD NIPS) ได้

Last Updated on 17 กรกฎาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์

ต้องการคำปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม หรือนัดหมายตรวจ NIPT คลิกที่นี่

✅✅✅✅✅

เฮลท์สไมล์ บริการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ และตรวจโครโมโซมทารกในครรภ์ ครบ 23 คู่ทุกโครโมโซมที่มีในมนุษย์ รู้เพศ และโรคอื่นๆที่เกิดจากการขาด/เกินของโครโมโซมขนาดเล็กได้มากถึง 92 โรค กับ Brand NIFTY® และ NGD NIPS

✔ ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมอื่นๆ ผลแม่นยำสูง 99.9%

✔ เจาะเลือดเพียง 10 ซีซี ไม่เสี่ยงแท้ง

✔ ราคาคุ้มค่า ประหยัด ค่าบริการเริ่มต้นที่ 9,500 บาท รวมค่าบริการเจาะเลือดถึงบ้าน และแพทย์อ่านผลให้ทุกเคส

✔ สะดวก สบาย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ลดความเสี่ยงจากการเดินทางออกนอกสถานที่

✔ บริการตรวจถึงบ้านทั่วประเทศ ฟรี

✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @Healthsmile

📞 โทร : 089 874 9565

🌐 อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมของทารกในครรภ์ ได้ที่นี่ https://healthsmile.co.th/prenatal-screening/

HealthSmile Medical writer team เป็นทีมเขียนบทความทางการแพทย์ของบริษัท วัฒนา เมดิคอล แอนด์ เวลล์บีอิง จำกัด ที่มีความต้องการที่จะกระจายความรู้ด้านการแพทย์เชิงลึก เกี่ยวกับการตรวจความผิดปกติของโครโมโซม ยีน และ DNA รวมไปถึงความรู้ด้านการตั้งครรภ์ การตรวจสุขภาพ และโรคภัยต่างๆ หากมีข้อเสนอแนะ สามารถแจ้งได้ที่ [email protected]

Last Updated on 17 กรกฎาคม 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์