10 ผลกระทบของฮอร์โมนเพศชาย เทสโทสเตอโรน (Testosterone) ต่ำ

ไม่กระชุ่มกระชวย ไม่ค่อยมีพลัง

ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำจะทำให้รู้สึกเหนื่อยล้า คุณอาจรู้สึกว่าไม่ค่อยมีแรง ไม่ค่อยอยากทำอะไร หรือคุณอาจจะเหนื่อยง่ายอย่างไม่น่าเชื่อ

แต่สิ่งอื่น ๆ อีกมากมายสามารถดูดพลังงานของคุณได้เช่นกันรวมถึงความแก่ชราและภาวะซึมเศร้า

การนอนหลับให้เพียงพออาจช่วยยกระดับพลังงานของคุณ พยายามนอนหลับให้ได้อย่างน้อย 7 ถึง 8 ชั่วโมงในแต่ละคืน แต่ถ้าไม่แน่ใจ ควรไปพบแพทย์เพื่อขอตรวจเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเหนื่อยล้าที่ผิดปกติ

ความต้องการทางเพศต่ำ

ความต้องการทางเพศของคุณลดลงอาจเป็นเพราะฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำ ทำให้เกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศได้

ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่ใช่สาเหตุเพียงอย่างเดียวที่ทำให้อวัยวะเพศของคุณอ่อนแอและแข็งตัวน้อยลง ปัญหาทางการแพทย์อื่น ๆ เช่น โรคหัวใจ หรือโรคเบาหวาน ก็เป็นสาเหตุของอวัยวะเพศไม่แข็งตัวได้

ปรึกษาเราได้ที่นี่ เพื่อตรวจวัดระดับฮอร์โมนของคุณ หากคุณมีระดับเทสโทสเทอโรนต่ำ เมื่อตรวจและรับการรักษา อาจทำให้ระดับแรงขับทางเพศของคุณดีขึ้นได้

การคิดวนเวียน คลุมเครือ สมองไม่โล่ง

เทสโทสเตอโรนต่ำ อาจทำให้จิตใจห่อเหี่ยว และทำให้ความจำของคุณลดลง คุณอาจลืมสิ่งที่คุณวางแผนจะทำและมีปัญหาในการเพ่งสมาธิ สิ่งนี้เกิดบ่อยขึ้นเมื่อระดับเทสโทสเทอโรนต่ำลงมากๆ 

คุณอาจจะรู้สึกเศร้าและมีอาการซึมเศร้า  ลองทำสมาธิ โยคะ ออกกำลังกาย หรือนวดเพื่อช่วยบรรเทาความเครียดได้

อารมณ์เปลี่ยนแปลง

เทสโทสเทอโรนต่ำสามารถทำให้คุณหงุดหงิดได้ ไม่มากก็น้อย ซึ่งก็คล้ายๆกับผู้หญิงวัยทองที่ขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน ผู้ชายบางคนก็จะมีการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพ เวลาที่ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำลง และเหมือนจะไม่มีอะไรทำให้มีความสุขอีกต่อไป และคุณอาจจะเบื่อในสิ่งที่เคยทำแล้วมีความสุข

เมื่อระดับเทสโทสเทอโรนกลับสู่ปกติผู้ชายมักพูดว่าพวกเขารู้สึกเหมือนตัวเองอีกครั้ง

การเปลี่ยนแปลงของกล้ามเนื้อ

เพราะฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนช่วยสร้างกล้ามเนื้อ เมื่อมันลดลงมวลกล้ามเนื้อและความแข็งแรงของคุณจะลดลง เมื่อคุณออกกำลังกายคุณจะไม่เห็นผลลัพธ์ที่ปกติคุณคาดหวังจากการออกกำลังกาย

ออกกำลังกายเป็นประจำสามารถช่วยเพิ่มระดับเทสโทสเทอโรนของคุณได้ เมื่อออกกำลังกาย อย่าลืมออกกำลังกล้ามเนื้อมัดใหญ่ และยกน้ำหนัก (Weight training) ร่วมด้วย

ไขมันในร่างกายมากขึ้น

ไม่เพียง แต่คุณจะสูญเสียกล้ามเนื้อด้วยเทสโทสเทอโรนต่ำ แต่ไขมันก็ยังมาเพิ่มขึ้นได้อีกด้วย หากคุณรับประทานอาหารเข้าไป โดยไม่ได้ออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ แคลอรี่จากอาหารส่วนเกินจะเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมในร่างกาย ทำให้อ้วนพุงโย้ได้

ควรกินอาหารเพื่อสุขภาพ เมื่อคุณเริ่มที่จะควบคุมอาหาร เพื่อลดน้ำหนักและไขมันส่วนเกินออกจากร่างกาย ร่างกายของคุณอาจตอบสนองด้วยการสร้างฮอร์โมนเพศชายเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งก็จะช่วยให้การสร้างมวลกล้ามเนื้อนั้นดีขึ้นได้

เส้นขนตามตัวลดน้อยลง (แต่ไม่เกี่ยวกับหัวล้าน)

ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำอาจทำให้คุณสูญเสียขนบนใบหน้า, หนวด, ขนหัวหน่าวและขนบนแขนและขาส่วนล่าง แต่มักจะไม่ส่งผลกระทบต่อเส้นผมบนหัวของคุณ

แต่สิ่งหนึ่งที่คุณควรรู้ คือ การรักษาด้วยการใช้ฮอร์โมนเพศชาย จะมีผลข้างเคียง อาจทำให้ศีรษะล้านได้ ดังนั้นก่อนรับยาฮอร์โมน ควรพูดคุยกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เกี่ยวกับผลข้างเคียงของการรักษาด้วยฮอร์โมนเพศชาย

การสูญเสียมวลกระดูก

เทสโทสเตอโรนต่ำมีความเกี่ยวข้องกับโรคกระดูกพรุนซึ่งเป็นโรคที่ทำให้กระดูกอ่อนแอ แต่มีสาเหตุอื่นของโรคกระดูกพรุนด้วยดังนั้น หากพบว่ากระดูกพรุน หรือกระดูกบาง ก็ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุอื่นๆด้วย

การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ เป็นสาเหตุที่ทำให้กระดูกของคุณบางและพรุนได้ ส่วนออกกำลังกายเป็นประจำรวมถึงการออกกำลังกายยกน้ำหนัก ก็จะช่วยให้กระดูกแข็งแรงขึ้นได้

ปัญหาการนอนหลับ

เมื่อระดับเทสโทสเทอโรนต่ำคุณอาจมีปัญหากับการนอนไม่หลับและกระสับกระส่ายตอนกลางคืน

เพื่อช่วยให้นอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มที่ ควรเข้านอนและตื่นในเวลาเดียวกันแม้ในวันหยุดสุดสัปดาห์ ทำให้ห้องนอนของคุณมืด เงียบสงบและสะดวกสบาย และใช้เพื่อการนอนหลับและมีเพศสัมพันธ์เท่านั้น ไม่ควรใช้ห้องนอนเพื่อการดูทีวี อ่านหนังสือ หรือทำกิจกรรมอื่นๆบนเตียง

ปัญหาเกี่ยวกับงาน

ผลกระทบของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำ อาจทำให้มีปัญหาการโฟกัสในการแก้ปัญหา ทำให้มีปัญหาด้านการควบคุมอารมณ์ และความกระตือรือร้นที่จะทำงานต่ำ – ซึ่งจะส่งผลเสียอย่างยิ่งต่อการทำงานได้

หากคุณพบว่าชีวิตการทำงาน หรือชีวิตในบ้านของคุณเปลี่ยนไปอย่างผิดหูผิดตา การตรวจสุขภาพอย่างเต็มรูปแบบอาจช่วยหาสาเหตุได้ การตรวจเลือดสามารถแสดงว่าคุณมีระดับเทสโทสเทอโรนต่ำ

หากคุณมีฮอร์โมนเพศต่ำ การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตให้มีสุขภาพดีเป็นสิ่งสำคัญ พร้อมกันนี้อาจจะต้องรับการบำบัดด้วยฮอร์โมนเพศชายโดยมีแพทย์ที่เชี่ยวชาญแนะนำ

ที่มา : WebMD
แปลและเรียบเรียงโดย ภก.ธนชล โชคอำนวย
ตรวจทานโดย นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์