วิธีตรวจความเป็นพ่อลูก มีกี่วิธี อะไรบ้าง
การตรวจพิสูจน์ความเป็นพ่อลูก หรือการตรวจพิสูจน์ความเป็นบิดา เป็นการตรวจที่มีความสำคัญต่อเด็กและพ่อแม่เด็ก เพื่อให้เด็กได้รับสิทธิและผลประโยชน์ต่าง ๆ อย่างชอบธรรมตามกฎหมาย รวมทั้งช่วยให้พ่อแม่แจ้งข้อมูลสุขภาพของเด็กได้อย่างถูกต้องในกรณีที่เด็กป่วยและต้องเข้ารับการรักษา
นอกจากนั้นยังเป็นการยืนยันเพื่อสร้างสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างพ่อกับลูก ทั้งนี้ การตรวจ DNA เพื่อพิสูจน์ความเป็นพ่อลูก ทำได้ 2 วิธี คือตรวจระหว่างทารกอยู่ในครรภ์ และตรวจหลังทารกคลอด ซึ่งมีเทคนิคในการตรวจที่แตกต่างกัน บทความนี้จะนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับวิธีตรวจความเป็นพ่อลูก ว่ามีกี่วิธี ต้องเก็บสิ่งส่งตรวจอะไรไปตรวจบ้าง และความแม่นยำของการตรวจแต่ละวิธี มีมาก-น้อยเท่าใด
ตรวจความเป็นพ่อลูก ตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์
ตรวจความเป็นพ่อลูก ตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์มีวิธีหลักๆอยู่ 2 วิธี คือ 1.การตรวจ DNA จากเซลล์ของทารกโดยตรง ด้วยการเจาะน้ำคร่ำ หรือเจาะเอาชิ้นเนื้อรกมาตรวจ และ 2.การตรวจเศษของ DNA ของลูกที่ลอยอยู่ในเลือดแม่ (cell-free fetal DNA) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1. การตรวจ DNA จากเซลล์ของทารกโดยตรง
เทคนิคการตรวจ DNA เพื่อหาความสัมพันธ์ของพ่อและลูก เนื่องจากลูกจะได้รับ DNA จากพ่อและแม่ มาอย่างละครึ่ง จึงทำให้มี DNA ปริมาณ 50% เหมือนพ่อ ดังนั้นหากรูปแบบ DNA ตรงกัน โอกาสในการเป็นพ่อคือ 99.99 %
วิธีการเก็บสิ่งส่งตรวจ จะต้องอาศัยสูตินรีแพทย์ เนื่องจากต้องอาศัยการเจาะน้ำคร่ำของทารก หรือเจาะเอาชิ้นเนื้อรกที่มี DNA ของทารก* มาตรวจเปรียบเทียบกับ DNA ของพ่อซึ่งอาจจะเก็บจากการเจาะเลือดตรวจ การใช้ไม้ป้ายกระพุ้งแก้มเก็บเซลล์มาตรวจ หรืออาจจะเก็บจากผม(ที่มีรากผม) หรือเล็บ หรือส่วนอื่นๆของร่างกายก็ได้ แต่ก็จะมีความยากในการตรวจมากขึ้น
* การเจาะเอาเซลล์ของทารกในครรภ์มาตรวจโดยตรงนั้น มีโอกาสทำให้เกิดผลแทรกซ้อนต่อทารกในครรภ์ เช่น น้ำคร่ำรั่ว น้ำคร่ำติดเชื้อ และแท้งบุตรได้
สิ่งส่งตรวจที่ใช้
-
- เซลล์ของทารก :
-
- จากการเจาะน้ำคร่ำ (Amniocentesis) หรือ
-
- การเจาะชิ้นเนื้อรก (Chorionic Villus Sampling : CVS)
-
- เซลล์ของทารก :
-
- เซลล์ของผู้ที่สงสัยว่าเป็นบิดา :
-
- จากการเจาะเลือด 2-5 ml ในหลอดเลือดชนิด EDTA หรือ
-
- ไม้ป้ายเซลล์จากกระพุ้งแก้ม (Buccal swab) หรือ
-
- เส้นผมที่มีชิ้นส่วนของเซลล์รากผม 5-10 เส้น (มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม)
-
- เศษเล็บ 5-10 ชิ้น (มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม)
-
- รอยคราบเลือดที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง มากกว่า 1 เซนติเมตร (มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม)
-
- เซลล์ของผู้ที่สงสัยว่าเป็นบิดา :
2. การตรวจเศษของ DNA ของลูกที่ลอยอยู่ในเลือดแม่ (cell-free fetal DNA) หรือการตรวจ NIPPT
เทคโนโลยีทางการแพทย์ยุคใหม่ในปัจจุบัน เป็นการตรวจโดยใช้เทคโนโลยี Next Generation Sequencing (NGS) และ Single Nucleotide polymorphism (SNP) โดยทำการตรวจวิเคราะห์ตำแหน่งของยีนกว่า 5,500 ตำแหน่ง บนดีเอ็นเอที่ล่องลอยปะปนอยู่ในกระแสเลือดของมารดา (Cell-free fetal DNA) สามารถตรวจเศษของ DNA ที่หลุดมาจากรกของทารกในครรภ์ เพื่อนำมาตรวจเปรียบเทียบกับ DNA ของเซลล์ของผู้ที่สงสัยว่าเป็นบิดาได้ โดยมาความแม่นยำสูงมากกว่า 99.9% เช่นกัน โดยวิธีนี้ มีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่า Non-Invasive Prenatal Paternity Test (NIPPT) สามารถตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 7 สัปดาห์ โดยการเจาะเลือดมารดามาทำการตรวจวิเคราะห์ จึงทำให้ปลอดภัย ไม่มีผลแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับทารกในครรภ์
การตรวจ DNA พ่อลูกขณะตั้งครรภ์ ไม่เสี่ยงแท้งบุตร ความแม่นยำ 99.9%
วิธีนี้ราคา 34,800 บาท
สนใจติดต่อได้ที่ LINE ID : @HealthSmile หรือคลิกที่ link นี้ https://link.healthsmile.co.th/add-line/5
สิ่งส่งตรวจที่ใช้
-
- เศษ DNA ของทารกที่ลอยอยู่ในเลือดมารดา
-
- จากการเจาะเลือดมารดาปริมาณ 10 ซีซี ใส่หลอดเลือดชนิดพิเศษ ที่เรียกว่า Streck tube
-
- เศษ DNA ของทารกที่ลอยอยู่ในเลือดมารดา
-
- เซลล์ของผู้ที่สงสัยว่าเป็นบิดา : จากการเจาะเลือด / ไม้ป้ายกระพุ้งแก้ม / ผม เล็บ รอยคราบเลือด (มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม)
ข้อดีของการตรวจความเป็นพ่อลูก ตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์
1. การยืนยันความเป็นพ่อได้อย่างรวดเร็ว
ช่วยให้ทราบแน่ชัดว่าพ่อที่คาดหวังเป็นพ่อทางชีววิทยาของทารก ทำให้ลดความเครียดและความกังวล ลดความไม่แน่ใจของทั้งพ่อและแม่เกี่ยวกับความเป็นพ่อลูก
2. การเตรียมความพร้อมทางอารมณ์และจิตใจของครอบครัว
ช่วยการสร้างความผูกพันกับทารกในครรภ์ได้ การทราบแน่ชัดว่าทารกเป็นลูกของตนเองช่วยให้พ่อมีความผูกพันทางอารมณ์กับทารกตั้งแต่ช่วงแรกของการตั้งครรภ์ นอกจากนี้คุณพ่อยังสามารถให้การสนับสนุนกับคู่รัก และกันและกันมากขึ้น
3. การวางแผนทางการเงินและการดูแลทารกในครรภ์
ช่วยให้พ่อแม่สามารถวางแผนการเงินที่เหมาะสมสำหรับการดูแลทารกตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์จนถึงหลังคลอด และเตรียมสิ่งจำเป็นต่างๆ สำหรับทารกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. การดูแลสุขภาพของมารดาและทารกในครรภ์
ช่วยให้ทีมแพทย์มีข้อมูลที่ครบถ้วนในการดูแลสุขภาพของแม่และทารกในครรภ์ เช่น กรณีทั้งคุณพ่อและคุณแม่เป็นคู่เสี่ยงที่ทารกในครรภ์จะเป็นธาลัสซีเมียรุนแรง เป็นต้น นอกจากนี้ หากคุณพ่อมีความเสี่ยงโรคทางพันธุกรรม ก็จะได้สามารถทำการตรวจสอบเพิ่มเติมและวางแผนการรักษาล่วงหน้าได้ดียิ่งขึ้น
5. การยืนยันสิทธิ์ทางกฎหมาย
เช่น สิทธิ์ในการรับมรดก และการสนับสนุนทางการเงินจากพ่อ สิทธิ์ในการประกันสุขภาพ โดยทารกจะได้รับสิทธิ์ในการประกันสุขภาพและสิทธิประโยชน์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับพ่อได้ด้วย นอกจากนี้ในช่วงหลังคลอดก็จะได้จัดเตรียมเอกสารทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงดูและสิทธิ์ของทารกได้ทันที
6. การป้องกันปัญหาทางสังคม
ช่วยลดความขัดแย้งและความไม่แน่ใจในครอบครัวและในชุมชนเกี่ยวกับความเป็นพ่อลูก โดยในบางกรณี แม่อาจตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์ได้ตั้งแต่เนิ่นๆหากคาดว่าจะเกิดปัญหาทางครอบครัวหรือทางสังคมตามมาในภายหลังได้
ข้อเสียของการตรวจความเป็นพ่อลูก ตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์
1. ความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
การเจาะตรวจน้ำคร่ำ (Amniocentesis) หรือการตรวจชิ้นเนื้อรก (Chorionic Villus Sampling (CVS)) มีความเสี่ยงต่อการแท้งแม้ว่าจะต่ำ แต่ก็เป็นปัจจัยที่ควรพิจารณาถึงความคุ้มค่า ในกรณีที่ไม่ต้องการความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์อาจเลือกเป็นวิธีการตรวจ Non-Invasive Prenatal Paternity Testing (NIPP) ซึ่งเจาะแค่เลือดของมารดาแทน
2. ค่าใช้จ่ายสูง
ค่าใช้จ่ายในการตรวจ DNA ตั้งแต่ในครรภ์มีค่าใช้จ่ายสูง อาจเป็นภาระทางการเงินสำหรับบางครอบครัว
3. ความกังวลทางจิตใจและอารมณ์
ระหว่างการรอผลการตรวจ DNA อาจทำให้พ่อแม่มีความเครียดและความวิตกกังวลสูง และหากผลการตรวจ DNA ออกมาไม่เป็นที่คาดหวัง อาจก่อให้เกิดปัญหาทางอารมณ์และความสัมพันธ์ในครอบครัวได้อย่างมาก รวมถึงอาจก่อให้เกิดข้อขัดแย้งทางกฎหมาย เช่น การยืนยันหรือปฏิเสธความเป็นพ่อลูก
4. ความไม่แน่นอนของผลการตรวจ
แม้ว่าการตรวจ DNA จะมีความแม่นยำสูง แต่ก็ยังมีความเป็นไปได้เล็กน้อยที่ผลการตรวจจะไม่ถูกต้อง เนื่องจากสาเหตุต่างๆทางด้านเทคนิค โดยในปัจจุบันจะยืนยันความถูกต้องที่ 99.9% เท่านั้น หากผลการตรวจไม่ชัดเจน อาจต้องทำการตรวจซ้ำ ซึ่งเพิ่มค่าใช้จ่ายและความเครียดได้
ตรวจความเป็นพ่อลูก หลังทารกคลอด
หลังจากทารกคลอดแล้ว การตรวจความเป็นพ่อลูกจะสามารถทำได้ง่ายกว่า เนื่องจากสามารถนำเซลล์ของลูกมาตรวจได้โดยตรง ทำให้มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า
การตรวจ DNA พ่อลูก หลังคลอด ตรวจ 2 ท่าน (พ่อ 1 ท่าน ลูก 1 ท่าน)
วิธีนี้ราคารวม 12,000 บาท
สนใจติดต่อได้ที่ LINE ID : @HealthSmile หรือคลิกที่ link นี้ https://link.healthsmile.co.th/add-line/5
สิ่งส่งตรวจที่ใช้
-
- เซลล์ของเด็ก หรือทารกที่ต้องการตรวจ
-
- จากการเจาะเลือด 2-5 ml ในหลอดเลือดชนิด EDTA หรือ
-
- ไม้ป้ายเซลล์จากกระพุ้งแก้ม (Buccal swab) หรือ
-
- เส้นผมที่มีชิ้นส่วนของเซลล์รากผม 5-10 เส้น (มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม)
-
- เศษเล็บ 5-10 ชิ้น (มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม)
-
- รอยคราบเลือดที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง มากกว่า 1 เซนติเมตร (มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม)
-
- เซลล์ของเด็ก หรือทารกที่ต้องการตรวจ
-
- เซลล์ของผู้ที่สงสัยว่าเป็นบิดา :
-
- จากการเจาะเลือด 2-5 ml ในหลอดเลือดชนิด EDTA หรือ
-
- ไม้ป้ายเซลล์จากกระพุ้งแก้ม (Buccal swab) หรือ
-
- เส้นผมที่มีชิ้นส่วนของเซลล์รากผม 5-10 เส้น (มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม)
-
- เศษเล็บ 5-10 ชิ้น (มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม)
-
- รอยคราบเลือดที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง มากกว่า 1 เซนติเมตร (มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม)
-
- เซลล์ของผู้ที่สงสัยว่าเป็นบิดา :
-
-
เซลล์ของผู้ที่เป็นมารดา (ถ้ามี)
-
ข้อดีของการตรวจความเป็นพ่อลูก หลังทารกคลอด
1. ความปลอดภัยต่อสุขภาพของทารก
การตรวจหลังคลอดไม่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพของทารก ไม่เสี่ยงต่อการแท้งหรือภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์
2. ความแม่นยำสูง
การตรวจดีเอ็นเอหลังคลอดมีความแม่นยำสูงมากและไม่มีปัจจัยทางเทคนิคที่อาจทำให้ผลการตรวจผิดพลาด
3. ค่าใช้จ่ายต่ำกว่า
ค่าใช้จ่ายในการตรวจดีเอ็นเอหลังคลอดมักต่ำกว่าการตรวจขณะตั้งครรภ์ เนื่องจาก อาจจะช่วยประหยัดเรื่องค่าเจาะน้ำคร่ำ หรือ ค่าตรวจ NIPPT ได้-
ข้อเสียของการตรวจหลังทารกคลอด
1. การรอคอยนาน กว่าจะได้รับผลการตรวจ
ต้องรอจนกว่าทารกจะคลอดจึงจะสามารถทำการตรวจได้ อาจทำให้พ่อแม่รู้ความเป็นพ่อลูกช้ากว่าการตรวจขณะตั้งครรภ์ โดยกรณีมีโรคต่างๆทางพันธุกรรมที่มีความเสี่ยง ก็อาจจะไม่ได้รับการดูแล / ตรวจ / แก้ไข ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ หรือหากกรณีผลออกมาไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง ก็จะยุติการตั้งครรภ์ไม่ทัน
2. ผลกระทบทางจิตใจ
หากผลการตรวจไม่เป็นที่คาดหวัง อาจส่งผลกระทบทางจิตใจหลังจากทั้งกับมารดา และเด็กในภายหลังได้
3. การจัดการปัญหาทางกฎหมายและสังคม
หากผลการตรวจไม่เป็นที่คาดหวัง อาจเกิดปัญหาทางกฎหมายและสังคมที่ต้องจัดการหลังคลอด ซึ่งอาจแก้ไขใดๆไม่ทัน เนื่องจากเด็กทารกคลอดออกมามีชีวิต เป็นประชากรไทยและมีสิทธิหน้าที่ต่างๆแล้ว
สรุป
การตรวจความเป็นพ่อลูก สามารถตรวจได้ตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์ 7 สัปดาห์ขึ้นไป จนถึงการตรวจหลังทารกคลอดออกมาแล้วก็ได้ ซึ่งการตรวจความเป็นพ่อลูกขณะตั้งครรภ์ เหมาะสำหรับครอบครัวที่ต้องการความแน่ใจและเตรียมความพร้อมตั้งแต่เนิ่นๆ แม้ว่าจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า ส่วนการตรวจความเป็นพ่อลูกหลังทารกคลอด จะเหมาะสำหรับครอบครัวที่ต้องการความปลอดภัยและความแม่นยำที่สูงกว่า โดยไม่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพของแม่และทารก และมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า
การเลือกวิธีตรวจควรพิจารณาจากสถานการณ์ส่วนตัวของครอบครัว ความพร้อมทางการเงิน และการปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการตัดสินใจที่เหมาะสม
References
DNA paternity test. (n.d.). Cleveland Clinic. Retrieved July 8, 2024, from https://my.clevelandclinic.org/health/diagnostics/10119-dna-paternity-test
Hunter, W. (2023, October 12). How to get a paternity test: A complete guide. KnowYourDNA; Joel. https://knowyourdna.com/where-to-get-a-paternity-test/
Paternity testing การตรวจพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางสายเลือดของบิดาและบุตร. (2023, November 1). BCC GROUP THAILAND. https://www.bccgroup-thailand.com/paternity-testing/
การตรวจ DNA พิสูจน์ความเป็นบิดาทำอย่างไร. (n.d.). Thailand-dna-test.com. Retrieved July 8, 2024, from https://www.thailand-dna-test.com/th/วิธีการตรวจพิสูจน์ความเป็นบิดา.html
การตรวจดีเอ็นเอความเป็นพ่อ. (n.d.). Hmong.in.th. Retrieved July 8, 2024, from https://hmong.in.th/wiki/Paternity_test
ตรวจ DNA เรื่องสำคัญที่ควรรู้. (2017, September 14). Pobpad. https://www.pobpad.com/ตรวจ-dna-เรื่องสำคัญที่ควร
ตรวจดีเอ็นเอ DNA พิสูจน์ความเป็นพ่อแม่ลูก. (n.d.). Haijai.com. Retrieved July 8, 2024, from https://www.haijai.com/2211/
ตรวจพิสูจน์ความเป็นบิดาของทารกในครรภ์. (n.d.). paternitythai. Retrieved July 8, 2024, from https://www.paternity-thai.com/paternity-test
Last Updated on 7 พฤศจิกายน 2024 by นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์